bloggang.com mainmenu search
{afp}
วันนี้มีโอกาสดีได้ไปชมการบรรยายประกอบการสาธิต "มหรสพสมโภชการพระเมรุสมัยรัตนโกสินทร์" เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระพี่นางฯ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาจ้ะ
งานนี้ สถาบันไทยคดีศึกษาของ มธ.จัดขึ้น ที่หอประชุมศรีบูรพา
เลยถือโอกาสแชะรูปมาฝากเพื่อนๆ ชาวบล็อกแก็งค์ซะหน่อย
เป็นการเีรียกน้ำย่อยและแรงบันดาลใจ
ให้อยากไปชมการแสดงจริงให้เป็นบุญตา
ในงานพระเมรุสมเด็จพระพี่นางฯ ที่จะจัดขึ้นสิ้นปีนี้ที่สนามหลวงจ้ะ

งานนี้จัดตั้งแต่เช้าแปดโมงฝ่า
ป้าฝ่าความง่วงงุนไปถึงงานตรงเวลา
ตอนแรกคิดว่าคงจะมีคนมาดูไม่มากนัก
แต่ที่ไหนได้ พบว่ามีมหาชนจำนวนมากรอเข้าชมงานอยู่
และขอบอกว่าหอประชุมดูแคบและแออัดไปถนัดตา เพราะไม่เพียงแต่ที่นั่งจะเต็มทุกที่
แต่ทุกขั้นบันไดและทางเดิน ต่างก็เต็มไปด้วยผู้คนที่ประสงค์จะชมการแสดงมหรสพสำคัญของชาติเป็นบุญตาทั้งสิ้น

ช่วงเช้าเป็นการบรรยายประกอบการสาธิตการละเล่นของหลวงที่มักจะจัดในการพระเมรุสมัยรัตนโกสินทร์จ้ะ ดังปรากฏหลักฐานอ้างถึงในวรรณคดีและเอกสารประวัติศาสตร์
การละเล่นที่วิทยากรนำมาสาธิตให้ดูในวันนี้ มีตามรูปเลยจ้า

เริ่มจาก มงครุ่ม สนุกครึกครื้นดี




ตามด้วย กุลาตีไม้ มีทหารถือดาบไม้เล็กๆ ออกมานั่งล้อมวง เอาดาบเคาะกันเป็นจังหวะ และจากนั่งก็ค่อยเปลี่ยนเป็นยืนและวิ่งวนๆ (โดยยังคงเอาดาบเคาะกันเป็นจังหวะ)
พร้อมทั้งร้องเพลงที่มีเนื้อหายอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไปด้วยจ้ะ
การละเล่นนี้สนุกดี รู้สึกปลุกใจและครึกครื้นเหมือนกัน



ต่อมาเป็น แทงวิไสย
อันนี้คนรำแต่งตัวงามมากเหมือนทวารบาล
ออกมารำอาวุธต่อสู้กัน ให้อารมณ์เหมือนดูวิทยายุทธ์เส้าหลินแบบอ่อนช้อย
งามมากและเพลินตาทีเดียว



ถัดมาเป็น ระเบ็ง
อันนี้มีเนื้อเรื่องน่าสนใจ กล่าวถึงกษััตริย์ร้อยเอ็ดนคร จะเดินทางไปงานโสกันต์พระขันทกุมาร
ระหว่างทางเจอพระกาฬมาขวางไว้ พระกาฬเป่ามนต์ให้ทุกคนสลบเพื่อขัดขวางไม่ให้ไป
แต่พอเห็นทุกคนสลบหมด ก็มานึกได้ว่า วันนี้เป็นวันมงคล เกิดเหตุเช่นนี้คงจะไม่เป็นการดี
เก๊าะเลยเป่ามนต์ให้ทุกคนฟื้นขึ้นมาใหม่ แต่บอกให้เลิกทัพกลับไป กษัตริย์ร้อยเอ็ดนครก็ยอมกลับไปโดยดี
เสน่ห์และความสนุกของระเบ็งอยูที่ตอนพระกาฬออกมา แล้วมีการปะทะคารมกับกษัตริย์ร้อยเอ็ดนคร และตอนที่พระกาฬพยายามสำรวจว่ากษัตริย์ทั้งหมดสลบหมดแล้วจริงหรือไม่ ฮามากๆ
(พระกาฬเป็นตัวตลกอ่ะ)


ตอนนี้พระกาฬออกมาแล้ว ให้อารมณ์เหมือนชูชกหรือจี้กงมากๆ


ถัดมาเป็นกระอั้วแทงควาย เป็นการละเล่นชาวบ้านแบบสนุกๆ โปกฮา
กล่าวถึงครอบครัว พ่อ แม่ ลูก (ผุ้ชายแสดงหมดฮ่ะ คนลูกแต่งตัวเหมือนนาจามาก)
แม่อยากกินตับควาย เลยจะให้พ่อแทงควาย
ก็เลยเกิดการไล่แทงควาย ควายไล่แทงคน วิ่งวนวุ่นวายกรี้ดกร้าด ฮาดี
อ้อ คนที่เล่นเป็นพ่อ เก๊าะคือคนเดียวกับที่เล่นเป็นพระกาฬ ข้างบนอ่ะจ้ะ
พี่แกเล่นบทแบบนี้ได้ดีมากๆ




ต่อมาเป็น รำโคมญวณ อันนี้เนื้อร้องและทำนองออกจีนๆ เลย
ตามประวัติบอกว่า เป็นการแสดงที่ชาวญวณที่มาพึ่งพระบารมีได้จัดแสดงถวายในงานพระเมรุ
ตั้งแต่ครั้งต้นกรุงแน่ะ ตอนท้ายมีการต่อตัวเป็นมังกรด้วยนะ สวยดีๆ นี่ถ้าแสดงตอนกลางคืนคงสวยมาก



ถัดจากโคมญวณ ก็เป็นโคมไทยบ้าง
ของญวณต่อตัว ของเราก็ต่อตัวเหมือนกั๊น



ส่วนการแสดงภาคบ่าย จะเป็นพวก ละคร หนัง และหุ่นหลวง จ้า

เริ่มจาก ละครชาตรี เล่นตอน พระรถเสนหนีนางเมรี เนื้อหาตอนนี้ก็คือพระรถพยายามหลอกถามความลับและมอมเหล้านางเมรีนั่นเอง
ก่อนจะชิ่งหนีมาพร้อมของวิเศษ
ขอบอกว่าสนุกมาก ตัวละครทั้งร้อง ทั้งพูด ทั้งรำเอง และแสดงได้ดีมากๆ
โดยเฉพาะนางเมรีตีบทแตกสุดๆ ฮาดี
รูปนี้พระรถพยายามมอมนางเมรี

รูปนี้เมรีเมาแล้ววว


ต่อจากละครชาตรี
ก็เป็นการสาธิต ละครในเรื่องอิเหนา ตอนตัดดอกไม้ฉายกริช ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญสำหรับป้าในวันนี้ เรียกได้ว่าเหตุผลนึงที่มางานวันนี้ก็เพราะการแสดงนี้เลยเชียวว
(สำคัญอย่างไร คนใกล้ตัวเท่านั้นที่รู้ดี อิอิ )
ขอบอกว่าตอนอิเหนาออกมา ตะลึงงันมากๆ อรชนอ้อนแอ้นงดงามสมกับเป็นละคร "ข้างใน" จริงๆ ด้วย
รูปนี้ี้เป็นตอนที่อิเหนาเจ๊อะนางยุบลค่อมหลงทางอยู่ในป่า เลยอาสาจะหาพากลับพลับพลา แลกกับการที่อิเหนาจะฝากดอกปะหนันกลับไปให้บุษบา


รูปนี้เป็นตอนที่อิเหนาเที่ยวลัดเลาะป่าเพื่อหาดอกปะหนันจ้ะ มีการเ่ล่นกับผ้า "ซ่าโบะ" ด้วย โดยนำมาเช็ดเหงื่อซับหน้า


รูปนี้ได้ดอกปะหนันแล้วจ้า (ดอกใหญ่มาก) ซึ่งอิเหนาได้็จัดการจารสารถึงบุษบาลงบนกลีบดอกไม้เรียบร้อยแล้ว (ข้อความในสารตอนหนึ่งก็คือที่บอกว่า แม้นแผ่นดินสิ้นชายที่พึงเชย อย่ามีคู่เสียเลยจะดีกว่า ไงจ้ะ)


รูปนี้บุษบารับสารจากนางค่อม นางบุษบางามมากๆ เหมือนหลุดออกมาจากรูปวาดเลย


จบจากละครใน
ก็เป็นการแสดง หุ่นหลวง จ้า เล่นตอนพระลักษมณ์รบอินทรชิต


ปิดท้ายด้วย หนังใหญ่ เล่นตอน หนุมานรบวิรุณจำับังจ้ะ



จบแล้วจ้า สำหรับการสาธิตมหรสพและการแสดงในการพระเมรุสมัยรัตนโกสินทร์

ในการพระเมรุของสมเด็จพระพี่นางฯ ตอนปลายปีนี้ ก็คงจะมีมหรสพสมโภชทำนองนี้เช่นกันจ้ะ
แต่อาจจะหลากหลายหรือเยอะกว่า
ยังไงถ้ามีโอกาสก็อย่าลืมไปชมกันนะ
ไปร่วมชื่นชมและภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของเราเอง...
อย่ารอให้้ต้องสูญหายไปก่อน..แล้วค่อยมาเสียดายทีหลังนะเอ้อ

Create Date :12 กรกฎาคม 2551 Last Update :13 กรกฎาคม 2551 0:26:31 น. Counter : Pageviews. Comments :5