bloggang.com mainmenu search


21 มิถุนายน 2555 

เป็นวาระครบ 150 ปีประสูติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวรรณคดีไทย 
และเมื่อปี 2504 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
ได้ยกย่องพระองค์ท่านให้เป็นบุคคลสำคัญระดับโลก (เป็นบุคคลแรกของไทย) 
ปีนี้ก็ถือเป็นวาะครบ 50 ปีอีกด้วย 








ในฐานะของผู้ที่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวรรณคดี 
เรามักอ่านพบชื่อพระองค์ท่านในคำนำของหนังสือวรรณคดีหลายเล่ม 
พบว่าการอ้างอิงทางวิชาการหลายๆ เรื่อง ก็อิงการค้นคว้าของพระองค์ท่าน 
และในบ้านเราก็มีหนังสือผลงานพระนิพนธ์ของพระองค์ท่านอยู่บ้าน
กำลังอยู่ระหว่างติดตามเก็บสะสมเวอร์ชั่นที่สำนักพิมพ์มติชนตีพิมพ์ขึ้นใหม่  ...ยังไม่ครบ 

ในโอกาสสำคัญควรแก่การระลึกถึงเช่นนี้
เราก็เลยหยิบเอาหนังสือที่วางกอง "ดอง" ไว้รออ่านอยู่ข้างเตียง
ขึ้นมาแปะไว้ก่อน (ทั้งๆ ที่ยังอ่านไม่จบ) 


ไทยรบพม่า



พระราชนิพนธ์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ 
สำนักพิมพ์คลังวิทยา พิมพ์ครั้งที่ 7 : 2520
จำนวน 859 หน้า / ราคา 90 บาท 
ซื้อเมื่อ : 14 พฤศจิกายน 2530  


หนังสือเล่มนี้ออกแนว "พงศาวดาร"  ที่ทรงให้ พระไพรสนฑ์สาลารักษ์ (อองเทียน สุพินทุ) กับมองต่อ
แปลเรื่องจากสำเนาหนังสือพงศาวดารพม่าฉบับหลวง "เรื่องมหาราชวงศ์ฉบับหอแก้ว" 
เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (หรือที่เรียกว่า "สยาม" ในขณะนั้น) 
ทรงเห็นว่าเป็นเรื่องการทำสงครามกับไทย และมีบางช่วงแปลกไปจากพงศาวดารไทย
จึงเก็บเนื้อความเรื่องไทยรับกับพม่าจากพงศาวดารทั้งสองฝ่ายมาพิมพ์เป็น "ประชุมพงศาวดารภาคที่ 6" 
และต่อมาได้จดหมายเหตุฝรั่งเพิ่มเข้ามาจากต่างประเทศอีกหลายเรื่อง 
จึงทรงรื้อหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ 6 ออกแต่งใหม่ให้ได้ความสมบูรณ์ (โดยพิสดาร) 
เรียกชื่อใหม่ว่า "พงศาวดารเรื่องเรารบพม่า"  ตีพิมพ์ในพ.ศ. 2463 
ต่อมาเมื่อพิมพ์ซ้ำก็มีการแก้ขื่อใหม่อีกเป็น "พงศาวดารเรื่องไทยรบพม่า" 

ทรงปรารภไว้ในคำนำว่า 

"ข้าพเจ้าตั้งใจแต่งหนังสือเรื่องนี้ให้เป็นประโยชน์ในทางความรู้พงศาวดารเป็นสำคัญ
ในหนังสือเรื่องนี้มีคติทางการเมืองฝ่ายพลเรือนอยู่แต่ต้นจนปลาย
ใครอ่านถึงจึงเป็นทหารหรือพลเรือนก็คงจะได้ความรู้เรื่องพงศาวดารสยาม
ซึ่งยังไม่ปรากฎวในหนังสือเรื่่องอื่นมีอยู่มาก" 

หนังสือเล่มนี้เรียบเรียงการสงครามระหว่างชนชาติไทยกับพม่าไว้ทั้งสิ้น 44 ครั้ง 
ตั้งแต่แรกสุด คราวพม่าตีเมืองเชียงกราน เมื่อปีพ.ศ.2091  สมัยกรุงศรีอยุธยา
จนถึงสงครามครั้งสุดท้าย คราวไทยไปตีเมืองเชียงตุง ในแผ่นดินรัชกาลที่ 4



ที่เราหยิบเอาหนังสือเล่มนี้มากองไว้ "รออ่าน" 
ก็เพราะเป็นเรื่องราวอันเกี่ยวกับ "พม่า"
ประเทศที่เป็นจุดหมายในการท่องเที่ยวของเรา
อ่านเรื่องพม่ามาหลายเล่ม ...อ่านย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ซะบ้าง 
ก็จะทำให้การท่องเที่ยวและเรียนรู้ศิลปะ วัฒนธรรม ของเพื่อนบ้านได้สนุกขึ้น 



อ่านประวัติ : คลิกเวป  พิพิธภัณฑ์วังวรดิษ
Create Date :21 มิถุนายน 2555 Last Update :21 มิถุนายน 2555 22:01:59 น. Counter : 6529 Pageviews. Comments :6