พระพุทธเจ้าทรงมีเส้นผมและดวงตาเป็นสีท้องทะเล (Dark Blue)


เผ่าพันธุ์ของพระพุทธเจ้า
ควรเป็น Mongoloid ไม่ใช่ Cuacasoid

จากตำรามหาปุริสลักษณะของพระพุทธเจ้า หากวิเคราะห์ดีๆ จะดูใกล้เคียงกับชาวโพ้นหิมาลัย (Trans-Himalayan) หรือพวกจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan) มากกว่าพวกแขกขาวอินโด-อิเรเนียน (Indo-Iranian) ดังนี้

- พระเกศาแยกเส้นกัน สีนิลเข้มเหมือนสียาป้ายขอบตาหรือสีดอกอัญชัน หรือสีโคนหางนกยูง ขมวดเวียนขวา (ภินฺนาญฺชนมยูรกลาปาภินีลวลฺลิตปฺรทกฺษิณาวรฺตเกศะ)

พระเกศาแยกเส้น … แสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงมีเส้นผมแต่ละเส้นถูกจัดวางเรียงอย่างเป็นระเบียบ (เส้นผมสลวยแบบพวก Sino-Tibetan) ไม่ยุ่งเหยิงพันกัน ไม่หยิกฟู แบบพวก Indo-Iranian

ส่วนเส้นผมเวียนขวาเป็นทักษิณาวัตรนั้น ไม่ได้หมายถึงว่าท่านมีผมหยิกจนดูตะปุ่มตะป่ำ แต่เป็นลักษณะเส้นผมที่หมุนไปทางขวา หากใครนึกภาพไม่ออกว่าเส้นผมที่หมุนเป็นทักษิณาวัตรนั้นเป็นยังไง ก็ให้ไปดูตำแหน่งขวัญบนยอดหัว แล้วจะเห็นชัดเจนว่าโคนผมมันหมุนไปทางไหน (บางคนหมุนขวา บางคนหมุนซ้าย)

- มีดวงตาสีนิลเข้ม (อภินีลเนตฺระ) สีนิลของดวงตาของพระพุทธเจ้าควรจะเป็นสีนิลเดียวกันกับที่ใช้อธิบายสีของเส้นผมของพระองค์ ซึ่งก็คือนิลที่เข้มดูดำขลับเงา (คงไม่มีใครบอกว่าพระพุทธเจ้ามีผมสีนิลคือมีผมสีน้ำเงิน)

- มีผิวละเอียดสีทอง (สูกฺษม สุวรฺณรฺณจฺฉวิ) อันนี้ชัดเจนว่าเป็นลักษณะของ Sino-Tibetan แท้ๆ ไปหาภาพดูกันได้เลยว่า Mongoloid ตามแนวเทือกเขาหิมาลัยลากยาวมาตะวันออกจนถึงอรุณาจัลประเทศ ผิวอร่ามดั่งทองขนาดไหน ส่วนเรื่องผิวละเอียดนั้น คือ มีผิวละเอียดจนฝุ่นจับไม่ติด นี่ก็ลักษณะ Mongoloid แท้ๆ เพราะพวก Cuacasoid นั้นผิวหยาบ รูขุมขนลึก แถมมีขนดก ฝุ่นจับติดแน่นอน

ข้อสังเกตอีกอย่าง คือ ภาษาบาลี เป็น Creole ของภาษาสันสกฤตพระเวทและสันสกฤตปาณินี กล่าวคือ เดิมตระกูลศากยะวงศ์ไม่ได้พูดสันสกฤต แต่พูดภาษา Old Sino-Tibetan ครั้นเมื่อรับภาษาใหม่ จึงทำให้เกิดไวยากรณ์ผิดพลาด

อ่านหนังสือที่วิเคราะห์เปรียบเทียบภาษาบาลีกับสันสกฤตโบราณ สันสกฤตแคลสสิก และภาษามคธ ปรากฏว่าบาลีมีความแปลกพิสดารหลายประการ มีทั้งลักษณะเก่าๆ และใหม่ๆ ผสมกัน

อีกอย่างชนพื้นเมืองของเนปาล พูดภาษา จีน-ทิเบต น่าจะมีเพียงวรรณะพราหมณ์ที่เผยแพร่ศาสนาจากตอนใต้ขึ้นมาและเข้ามาเป็นครูสอนให้เผ่าจีน-ทิเบตโบราณหัดพูดสันสกฤต แต่ก็เหมือนคนไทยที่พยายามพูดภาษาอังกฤษ กล่าวคือ ก็เป็นสันสกฤตสำเนียงเนปาลโบราณ

ริชาร์ด เอฟ. กอมบริช (Richard F. Gombrich) นักอินเดียวิทยาและนักวิชาการด้านภาษาบาลี-สันสกฤต และพุทธศึกษา ซึ่งเคยเป็นศาสตราจาย์ด้านภาษาสันสกฤต แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กล่าวว่า กบิลพัสดุ์อยู่ค่อนข้างไกลจากศูนย์กลางอารยธรรมพราหมณ์ (ฮินดู) ตำราของพราหมณ์จึงแทบมิได้กล่าวถึงสถานที่แห่งนี้ และก็น่าสงสัยว่าอิทธิพลของคัมภีร์พระเวทน่าจะยังเข้าไม่ถึงบ้านเกิดของเจ้าชายสิทธัตถะ (ในยุคพุทธกาล) เห็นได้จากการที่ครอบครัวของเจ้าชายสิทธัตถะเองยังมีการแต่งงานในหมู่เครือญาติ ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวถือเป็นเรื่องต้องห้ามตามสังคมพราหมณ์ และมีความเป็นไปได้ที่ภาษาแม่ของเจ้าชายสิทธัตถะจะไม่ใช่ภาษาในตระกูลอินโด-อิเรเนียน (Indo-Iranian)

ผมสีนิล ตาสีนิล (สีดำขลับเงา)
เส้นผมเรียงสลวย ไม่หยิก ไม่หยอย
ผิวพรรณละเอียด ฝุ่นจับไม่ติด

เส้นผมเวียนขวา
เป็นทักษิณาวัตร
(เหมือนก้นหอย)

มีผิวพรรณสีทอง คล้ายกับความงามของนางในวรรณคดีไทย คือ มีผมสีนิล ตาสีนิล ผิวสีทอง หญิงไทยโบราณจึงนิยมเอาขมิ้นมาทาผิวกัน

สีนิลในความหมาย ควรตามภาพนี้ คือ ผมสีดำออกขลับๆ เงาๆ เงินๆ

คัมภีร์ว่าพระพุทธเจ้ามีเส้นผมสีนิลและดวงตาสีนิล ไม่ได้หมายความว่าพระพุทธเจ้าท่านจะต้องมีผมสีน้ำเงินจ๋าและตาสีน้ำเงินจ๋า

สีนิลแท้ๆ เป็นยังไง ให้ดูสีของน้ำมหาสมุทรลึกๆ มันจะดำๆ เงาๆ เงินๆ ไม่ใช่มีดวงตาสีน้ำเงินและเส้นผมสีน้ำเงิน

สีนิลจะประมาณนี้ มหาสมุทรลึกๆ สีมันจะออกดำๆ เงินๆ มันจะไม่น้ำเงินแบบที่เราเข้าใจ ยิ่งถ้าอยู่กลางมหาสมุทร แล้วมองจากบนเรือลงไปในน้ำลึกแบบแนวดิ่งจะเห็นชัดเลยว่าสีของมหาสมุทรมันคือสีดำประกายเงิน

ผมสีนิลแบบ Fashion

สาวเวียดนามกับผมสีนิล

หนุ่มทิเบตกับผมและตาสีนิล

สีอภินิล (นิลเข้ม) คือสี Dark Blue
ไม่ใช่ สีแบบ Sky Blue

คนตามแนวเขาหิมาลัย ทิเบต ลากลงมาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีผมธรรมชาติสีนิลกันเยอะ เป็นสีท้องสมุทร ภาษาไทยเรียก ดำขลับ (นิล) ไม่ใช่ ดำมืด (กาฬ) ถ้าคนมีผมและตาสีดำมืดนั่นไม่ใช่คนแล้ว ผีมากกว่า

ดังนั้น ลักษณะมงคลอันงามสุดยอดที่สุดของมนุษย์ชายหญิงตามคัมภีร์พุทธ สรุปง่ายๆ คือ ผมไม่หยิกหยอยเหมือนรังนก ผมต้องตรงหรือหยักศก (ผมเรียงเป็นเส้น) และเส้นผมต้องเวียนไปทางขวาเหมือนทักษิณาวัตร เส้นผมและดวงตาต้องมีสีนิลเหมือนโคนหางนกยูง (สีมหาสมุทร-ดำขลับ) ผิวต้องละเอียดขนตามตัวน้อย (ไม่ขนดกเหมือนลิงที่เป็นสัตว์เดรัจฉาน) ผิวละเอียดจนฝุ่นจับไม่ติด และผิวต้องมีสีเหลืองดุจทอง

ปล.มนุษย์ในศาสนาพุทธมาจากพรหมที่หมดบุญ ร่างกายจึงต้องงดงามและละเอียดดุจพรหม (มนุษย์ในศาสนาพุทธไม่ได้มาจากลิงเอปที่เป็นสัตว์เดรัจฉาน พวกเผ่าพันธุ์ขนดกแบบลิงตัดทิ้งไปได้เลย ไม่ใช่เผ่าพันธุ์เดียวกับพระพุทธเจ้าแน่นอน)

ภาพหญิงไทยภาคกลางต่างจังหวัด
ที่มีผมสีนิลเหมือนโคนหางนกยูง (สีมหาสมุทร)

กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก

ชมเผ้าเจ้าดำขลับ
แสงยับยับกลิ่นหอมรวย
ประบ่าอ่าสละสลวย
คือมณีสีแสงนิล

ชมเกศดำขลับเจ้า     สาวสลวย
แสงระยับหอมรวย    กลิ่นแก้ว
ละเอียดเสียดเส้นสวย    ประบ่า
คือมณีเนื้อแล้ว    คลับคล้ำแสงนิล ฯ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่