Page 9 - ใบความรู้ ม.3 เทอม1
P. 9

ใบความรู้ที่ ๕


               ชื่อหน่วย ระบำเบ็ดเตล็ด                            ระดับชั้นประกาศนียบัตร์วิชาชีพปีที่ ๒

               ชื่อแผน ระบำโบราณคดี ชุด ลพบุรี                           เวลา ๒๔ คาบ

                                           ....................................................................
               จุดประสงค์การเรียนรู้

                        ๑. บอกประวัติความเป็นมา ของระบำเบ็ดเตล็ด ระบำโบราณคดี ชุด ระบำลพบุรี ได้
                        ๒. ระบุองค์ประกอบของระบำเบ็ดเตล็ด ระบำโบราณคดี ชุด ระบำลพบุรี เครื่องแต่งกาย        เครื่อง

               ดนตรี โอกาสที่ใช้ในการแสดงได้

                        ๓. นักเรียนสามารถอธิบายนาฏยศัพท์ที่ใช้ในการรำระบำลพบุรี


               ระบำโบราณคดี ชุด ระบำลพบุรี
               ประวัติความเป็นมา

                        ระบำโบราณคดีเกิดจากแนวความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของนายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร  ที่มี

               วัตถุประสงค์จะจูงใจให้ผู้ดูผู้ชม  ศึกษาหาความรู้จากโบราณวัตถุสถานให้แพร่หลายออกไป  โดยอาศัยภาพปั้นหล่อ
               จำหลักของศิลปะโบราณวัตถุสมัยต่างๆ ได้แก่ สมัยทวาราวดี สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี สมัยเชียงแสน สมัยสุโขทัย

               มาเป็นหลักในการวางแนวสร้างระบำประจำสมัยของศิลปโบราณวัตถุแต่ละชุดขึ้น ซึ่งมีทั้งหมด ๕ ชุด คือ ระบำ

               ทวาราวดี ระบำศรีวิชัย ระบำลพบุรี ระบำเชียงแสน ระบำสุโขทัย ซึ่งรวมเรียกเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า “ระบำชุด
               โบราณคดี” โดยมีนายธนิต อยู่โพธิ์ ประดิษฐ์สร้าง นายมนตรี ตราโมท สร้างเพลงดนตรี คุณหญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี

               นางลมุล ยมะคุปต์  นางเฉลย ศุขะวณิช ให้ท่ารำและฝึกซ้อมนาฏศิลป์ นายสนิท ดิษฐพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่ง
               กาย

                        ระบำชุดนี้ได้จัดแสดงถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชินีนาถ   ทอดพระเนตรเป็น

               ครั้งแรกในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารสร้างใหม่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เมื่อวันที่ ๒๕
               พฤษภาคม ๒๕๑๐

                        สำหรับระบำโบราณคดีชุด ลพบุรีนี้ สร้างขึ้นจากหลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถานสมัยหนึ่งซึ่ง
               สร้างขึ้นตามศิลปะแบบขอม เช่น พระปรางค์สามยอดที่จังหวัดลพบุรี ปราสาทหินพิมายที่จังหวัดนครราชสีมา

               ปราสาทหินพนมรุ้งที่จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น นักปราชญ์ทางโบราณคดีกำหนดเรียกว่า “ศิลปะลพบุรี” ด้วยเหตุนี้

               ทำนองเพลงของระบำชุดนี้จึงมีสำเนียงเป็นเขมร
                        ระบำลพบุรี เกิดขึ้นโดยเลียนแบบลักษณะท่าทางต่างๆ ของเทวรูป ตลอดจนภารเขียน  ภาพแกะสลัก

               รูปปั้น รูปหล่อโลหะ และภาพศิลาจำหลักที่ทับหลังประตู นำมาเป็นข้อมูลในการประดิษฐ์          ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14