เนื้อหาของคอร์ส
แบบทดสอบก่อนเรียน
0/1
หน่วยที่ 6 พลังงานบนโลกของเรา
รูปแบบพลังงาน การเปลี่ยนพลังงานหนึ่งไปเป็นอีกพลังงานหนึ่ง การทำงานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แหล่งพลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้า ประโยชน์และโทษของไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย
0/7
แบบทดสอบหลังเรียน
0/1
วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (ว13101) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
เกี่ยวกับบทเรียน

การหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้เราเห็นดวงอาทิตย์ปรากฎขึ้นบนท้องฟ้าในเวลากลางวันจากขอบฟ้าด้านหนึ่งและตกลับขอบฟ้าอีกด้านหนึ่ง ทำให้โลกเข้าสู่ช่วงเวลากลางคืน ซึ่งการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ทำให้เรากำหนดทิศได้

การขึ้นตกของดวงอาทิตย์

โลกหมุนรอบตัวเองไปพร้อม ๆ กับโคจรรอบดวงอาทิตย์ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเมื่อมองจากบริเวณเหนือขั้วโลกเหนือ ทำให้เกิดปรากฎการณ์การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ โดยคนบนโลกมองเห็นดวงอาทิตย์ปรากฎขึ้นจากขอบฟ้าด้านหนึ่ง แล้วเคลื่อนที่ไปบนท้องฟ้าจนลับขอบฟ้าอีกด้านหนึ่ง หมุนเวียนเป็นแบบรูปซ้ำ ๆ ต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุดเป็นวัฏจักร

การกำหนดทิศ 

การหมุนรอบตัวเองของโลกยังทำให้เกิดการกำหนดทิศโดยกำหนดให้ด้านที่ผู้สังเกตบนโลกมองเห็นดวงอาทิตย์เริ่มปรากฏขึ้นจากขอบฟ้าเป็นทิศตะวันออกและด้านที่ผู้สังเกตบนโลกมองเห็นดวงอาทิตย์ปรากฏลับขอบฟ้าเป็นทิศตะวันตก

รูปที่ 1 ทิศกับผู้สังเกตบนโลก ณ ตำแหน่งที่ 1

จากรูปที่ 1 แสดงให้เห็นว่า เมื่อผู้สังเกตอยู่ตำแหน่งที่ 1 จะเริ่มมองเห็นดวงอาทิตย์พ้นขอบฟ้าขึ้นมาทางด้านขวามือ (ด้านที่ยื่นแขนออกมา) คนบนโลกจึงกำหนดให้ด้านที่มองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นทิศตะวันออก

รูปที่ 2 ทิศกับผู้สังเกตบนโลก ณ ตำแหน่งที่ 2

เมื่อโลกหมุนไปจนผู้สังเกตไปอยู่ตำแหน่งที่ 2 ดังรูปที่ 2 ผู้สังเกตจะเห็นดวงอาทิตย์อยู่กลางศีรษะ ขณะที่ขวามือของผู้สังเกตยังคงเป็นทิศตะวันออก และเมื่อโลกหมุนไปจนผู้สังเกตอยู่ตำแหน่งที่ 3 ดังรูปที่ 3 ผู้สังเกตจะมองเห็นดวงอาทิตย์อยู่ทางซ้ายมือ จึงกำหนดเป็นทิศตะวันตก

รูปที่ 3 ทิศกับผู้สังเกตบนโลก ณ ตำแหน่งที่ 3

และเมื่อโลกหมุนจนผู้สังเกตอยู่ตำแหน่งที่ 4 ดังรูปที่ 4 จะเป็นเวลากลางคืน มองไม่เห็นดวงอาทิตย์

รูปที่ 4 ทิศกับผู้สังเกตบนโลก ณ ตำแหน่งที่ 4

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ดวงอาทิตย์ไม้ได้เคลื่อนที่ แต่การที่เรามองเห็นดวงอาทิตย์ปรากฎขึ้นและตกลับขอบฟ้าเป็นเพราะโลกหมุนรอบตัวเอง จึงใช้การมองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตกมาใช้กำหนดทิศ 

 

ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเองในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเมื่อมองจากบริเวณเหนือขั้วโลกเหนือจนผู้สังเกตมาอยู่ตำแหน่ง