The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Pizza, 2022-11-19 07:59:06

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ไทย

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ไทย

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

ครูเฉลย ศุขะวณิช

ชีวประวัติ

เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๔๗ การศึกษาที่โรงเรียนราษฎร์ใกล้บ้านมีความรู้พออ่าน
ออกเขียนได้ เมื่ออายุประมาณ 7 ขวบ มารดาได้ฝากไว้ให้อยู่ในความอุปการะของคุณหญิงจรรยายุทธกิจ
ครูเฉลยเป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนและออกแบบนาฏศิลป์ไทย แห่งวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ซึ่งมี
ความรู้ความสามารถสูงในกระบวนท่ารำทุกประเภท ทางราชการได้มอบหมายให้เป็นผู้วางรากฐานจัดสร้าง
หลักสูตรการเรียนการสอนวิชานาฏศิลป์ตั้งแต่ระดับต้นจนถึงขั้นปริญญา เป็นผู้มีความเมตตาเอื้ออารี อุทิศ
ตนเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและงานศิลป์อย่างต่อเนื่อง ได้รับปริญญาครุศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขา
นาฏศิลป์ สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา นางเฉลย ศุขะวณิช สมควรได้รับ
การยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๐

การทำงานและรับราชการ

ครูเฉลย เข้ารับราชการเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ ขณะนั้นมีอายุ ๕๓ ปีได้เป็นตำแหน่งครูสอนพิเศษสอน นาฏศิลป์ ละคร วิทยาลัย
นาฏศิลป์ กรมศิลปากรครูเฉลยได้มีโอกาสแสดงละครประเภทต่างๆเช่น ละครนอก ละครใน ละครดึกตำบรรพ์ โดยได้รับเป็น
ตัวเอกของเรื่องแทบทุกครั้ง นางเฉลย ศุขะวณิช จนกระทั่งอายุได้ ๒๑ ปี จึงได้สมรสกับพระยาอมเรศร์สมบัติ(ต่วน ศุขะวณิช)
ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้ากรมกองผลประโยชน์พระคลังข้างที่ หลังจากสมรส สามีขอร้องให้เลิกการแสดง ท่านจึงต้องอำลาจากเวที
ละครและปฏิบัติหน้าที่แม่บ้านเพียงอย่างเดียว นางเฉลยมี บุตรและธิดากับพระยาอมเรศร์สมบัติ ๔ คนและ เมื่ออายุ ๔ต ปี
พระยาอมเรศร์สมบัติผู้สามีถึงแก่อนิจกรรม นางเฉลยจึงได้กลับคืนมาสู่ วงการนาฎศิลปอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้น ท่านยังเป็นผู้มี
ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนวิชานาฎศิลป์ เป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมใน การร่างหลักสูตรวิชานาฎศิลป์ไทยระดับนาฎ
ศิลป์ชั้นต้นจนถึงระดับปริญญา เป็นผู้พัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอนระดับปริญญา วิทยาลัยนาฏศิลป์สมทบใน คณะ
นาฎศิลป์และดุริยางค์วิทยาลัยเทคโนโลยีและอา ชีวศึกษาให้ก้าวหน้าทันต่อวัตกรรมทางการ ศึกษา เป็นผู้คิดริเริ่มสร้างสรรค์
รู้จักประดิษฐ์ ลีลาท่ารำระบำต่าง ๆ ตลอดจนการแสดงให้ ผสมผสานตามยุค ตามโอกาสและสมัยนิยม

การแสดงเป็นตัวนางและการคิดค้นท่า

การแสดงเป็นตัวนางขณะอยู่วังสวนกุหลาบ •ละครนอก
๑.เรื่องสังข์ทอง แสดงเป็น นางมณฑา นางจันทร์
•ละครใน ๒.เรื่องสังข์ศิลป์ไชย แสดงเป็น เกสรสุมณฑา
๑.เรื่องอิเหนา แสดงเป็น มะเดหวี ดรสา ๓.เรื่องคาวี แสดงเป็น คันรมาลี เฒ่าทัศ ประสาท
๒.เรื่องอุณรุท แสดงเป็น นางศุภลักษณ์ ๔.เรื่อง พระอภัยมณี แสดงเป็น นางวารี นางสุวรรณมาลี
๓.เรื่องรามเกียรติ์ แสดงเป็น ชมพูพาน ๕.เรื่อง เงาะป่า แสดงเป็น นางฮอยเงาะ




ครูเฉลยได้คิดค้นท่ารำและระบำใหม่ๆร่วมกับนางลมุล ยมะคุปต์ ขึ้นหลายชุด เช่น

-ระบำกินนร ประกอบเพลงหน้าพาทย์กินนร ณ หอประชุมโรงเรียนนาฏศิลป์ พ.ศ.๒๕๐๘

-ระบำโบราณ ๔ ชุด คือ ระบำทวารวดี ระบำศรีวิชัย ระบำลพบุรี และระบำเชียงแสน ผลงานต่างๆนี้ทำให้ครู

เฉลยได้รับการยกย่องและได้รับเกียรติคุณต่างๆ เช่น เครื่องอิสริยาภรณ์ตริตราภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)

-พ.ศ.๒๕๒๕ ได้รับพระราชทานโล่เกียรติคุณด้านนาฏศิลป์ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยาบรมราชกุมาร

เนื่องในวโรกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี

ผลงานด้านการประดิษฐ์ท่ารำ รำฝรั่งคู่

•เช่น รำแม่บทสลับคำ รำพัดรัตนโกสินทร์ชุดลักษณ์อุ้มสม ฉุยฉายวันทองแปลง
ฉุยฉายศูรปนขา ฉุยฉายยอพระกลิ่น รำกริชดรสา ร่ำฝรั่งคู่ ระบำศรีชัยสิงห์ ระบำ
กาญจนาภิเษก ระบำเทพอัปสรพนมรุ้ง ระบำขอม ระบำกินแร ระบำมิตรไมตรีซีเกมส์
ฟ้อนลาวสมเด็จ เซิ้งสราญ เป็นต้น

การรำฉุยฉายวันทอง

ที่มา : https://youtu.be/t8a6HxOWj3s

รำเบิกโรงนาฏยาภิธาน

ที่มา : https://youtu.be/AyKHnKgGVIA

พระยอเข้าห้อง(เพลงยวนเคล้า) ท่ารำโดย
ครูลมุล ยมะคุปต์ และ ครูเฉลย ศุขะวณิช

ที่มา : https://youtu.be/94O6YIzE2Hk

เมขลานั่งวิมาน ฉุยฉายศูรปนขา

And before you
know it,

ที่มา : https://youtu.be/7JtF3MXefYQ you'll be standing at

ที่มา : https://yotuhteu.fbien/isphjXli1nyen-wwiUthA4
great memories.

ฉุยฉายเบญกาย รำเชิดฉิ่งศุภลักษณ์
กระบวนท่าโดยครูเฉลย ศุขะวณิช

ที่มา : https://youtu.be/RA6cnF5k_as ที่มา : https://youtu.be/GgbUXoxmYn0

การสั่งสมประสบการณ์

เป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนและ ออกแบบนาฎศิลป์ไทย แห่งวิทยาลัยนาฎศิลปี กรมศิลปากร เป็น
ศิลปีนอาวุโส ซึ่งมีความรู้ความสามารถสูง ในกระบวนท่รำทุกประเภท เป็นผู้อนุรักษ์แบบแผนเก่า
และยังได้สร้างสรรค์และประดิษฐ์ผลงานค้านนาฎศิลป์ ขึ้นใหม่มากมาย ซึ่งกรมศิลปากรและวงการ
นาฏศิลป์ทั่วประเทศได้ถือเป็นแบบฉบับของศิลปะการ ร่ายรำสืบทอดต่อมาจน ถึงทุกวันนี้ ทาง
ราชการได้มอบหมายให้ เป็นผู้วางรากฐานจัดสร้างหลักสูตรการเรียน การสอนวิชานฏศิลป์ตั้งแต่
ระดับต้นจนถึงขั้นปริญญา นิเทศการสอนในวิทยาลัยนาฏศิลป์ทุกสาขาทั้งใน ส่วนกลางและ
ภูมิภาคถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านนาฏศิลป์แก่นักศึกษามาตลอดเวลากว่า 40 ปี จนถึงปัจจุบัน
ให้คำปรึกษาค้านวิชาการแก่สถาน ศึกษาและสถาบันต่าง ๆ เป็นผู้มีความมดตาเอื้อ อารี อุทิศตน
เพื่อประ โยชน์แก่การศึกษาและงานศิลป์ อย่างต่อเนื่อง จนสามารถแสดงให้แพร่หลายออกไป
อย่างกว้างขวางทั้งในและนอกพระราชอาณาจักร ได้รับปริญญาครูศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิ
ชานาฎศิลป์ สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

จัดทำโดย

ปวีณสมร สอาด ม.6/15 เลขที่
29

เสนอ



คุณครู กุลรัศมิ์ จิรายุวัฒน์ขจร


Click to View FlipBook Version