The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นาฏยศิลป์ในสมัยรัชกาลที่ 5

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Thananan. k, 2023-01-29 03:48:43

หนังสือนาฏยศิลป์ สมัยรัชกาลที่ 5

นาฏยศิลป์ในสมัยรัชกาลที่ 5

หนังสือนาฏยศิลป์ไทย สมัยรัตนโกสินทร์ สมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) เสนอ คุณครูณัฐดนัย หมั่นเที่ยง จัดทำ โดย 1. นางสาวกฤตธีรา มูลบุญ เลขที่ 31 2. นางสาวธนนันท์ ขาวทอง เลขที่ 30 3. นางสาวศศิกาญจน์ อัทธนมุณี เลขที่ 32 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๙ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา


รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาศิลปะ 5 ศ 33101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาความรู้เรื่องนาฏยศิลป์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ สมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ซึ่งรายงานนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ บุคคลสำ คัญด้านนาฏศิลป์สมัยรัชกาลที่ 5 พระราชนิพนธ์บทละคร และ กรมมหรสพสมัยรัชกาลที่ 5 ผู้จัดทำ ได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำ รายงาน เนื่องมาจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจและ ต้องขอขอบคุณคุณครู ณัฐดนัย หมั่นเที่ยง ผู้ให้ความรู้และแนวทางการศึกษา เพื่อน ๆ ทุกคนที่คอยช่วยเหลือจนทำ ให้รายงานเล่มนี้ สำ เร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ผู้จัดทำ หวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน คณะผู้จัดทำ คำ นำ


สารบัญ เรื่อง หน้า พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 1 ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ 4 บุคคลสำ คัญด้านนาฏศิลป์สมัยรัชกาลที่ 5 7 พระราชนิพนธ์บทละคร 9 กรมมหรสพสมัยรัชกาลที่ 5 11


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จ- พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีประสูติเมื่อวันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามกรมว่า กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรสังกาศ หลังจากทรงผนวชเป็นสามเณรทรงได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ กรมขุนพินิตประชานาถ ทรงเป็นพระราชปิโยรสที่สมเด็จพระบรมชนกนาถ โปรดให้เสด็จอยู่ใกล้ชิดติดพระองค์เสมอเพื่อให้มีโอกาสแนะนำสั่งสอนวิชาการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิชารัฏฐาภิบาล ราชประเพณีและโบราณคดี นอกจากนั้นยังทรงศึกษาภาษามคธ ภาษาอังกฤษ การยิงปืน ไฟ รวมทั้งการบังคับช้าง พระบาทสมเด็จ ด็ พระจุล จุ จอมเกล้า ล้ เจ้า จ้ อยู่หั ยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการกราบบังคมทูลเชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อ จากสมเด็จพระบรมราชชนกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ด้วยพระชนมายุเพียง 15 พรรษา ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2411 โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จนหลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 เมื่อ พระชนมายุ 20 พรรษาในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 จึงทรงปกครองแผ่นดินด้วยพระองค์เอง อย่างสมบูรณ์ทรงครองราชย์อยู่เป็นเวลายาวนานถึง 42 ปีและได้ทรงพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ทัดเทียมอารยประเทศทุกวิถีทาง การขึ้นขึ้ครองราชย์


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรอบรู้และเอาพระทัยใส่ในศิลปะวิทยาการต่าง ๆ และ ทรงฝากฝีพระหัตถ์ไว้หลายด้าน ที่เด่นชัด คือ การถ่ายภาพและวรรณกรรม ในด้านการถ่ายภาพนั้น ไม่ว่า เสด็จประพาสที่ใดจะทรงติดกล้องถ่ายรูปไปด้วยเสมอ ดังนั้น ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์จึงกลายเป็นหลักฐานสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ด้วยแสดงให้เห็นสภาพบ้านเมืองและผู้คนในรัชสมัยได้อย่างดียิ่ง ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในพระราชพิธีลงสรงรับพระนามาภิไธย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาด้านหน้า พระบรมมหาราชวัง (ตำหนักแพ ท่าราชวรดิษฐ์) ถ่ายเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๒๙ ซุ้มประตูช้างคู่ ถ่ายเมื่อราวปีพ.ศ. ๒๔๕๐ การถ่าถ่ยภาพและด้า ด้ นวรรณกรรม


ส่วนในด้านวรรณกรรมนั้น ทรงเป็นทั้งกวีและนักแต่งหนังสือที่มีความรู้ลึกซึ้ง ทรงสามารถแเต่งโคลง ฉันท์กาพย์กลอน บทละคร ตลอดจนร้อยแก้วต่าง ๆ ได้อย่างดียิ่ง ทรงพระราชนิพนธ์ หนังสือไว้มากมายหลายประเภททั้งทางด้านประวัติศาสตร์ประเพณีวรรณคดีและอื่น ๆ ซึ่งล้วนแต่มีคุณค่าเป็นที่ ยอมรับและได้รับการยกย่องในวงวิชาการวรรณกรรมไทยทั้งสิ้น นอกจากนั้น ยังทรงจัดตั้งหอพระสมุดสำหรับ พระนครขึ้น และให้มี คณะกรรมการออกหนังสือของหอพระสมุดติดต่อกันหลายเล่มในชื่อ วชิรญาณ และ วชิรญาณวิเศษ ทั้งยังมีการตราพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ขึ้นเป็นครั้งแรกอีกด้วย ด้า ด้ นวรรณกรรม การละครในยุคนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการละครแบบตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่วงการนาฏศิลป์ ทำ ให้เกิด ละครประเภทต่าง ๆ ขึ้นมากมาย เช่น ละครพันทาง ละครดึกดำ บรรพ์ ละครร้อง ละครพูด และลิเก ทรงส่งเสริมการ ละครโดยเลิกกฎหมายการเก็บอากรมหรสพเมื่อ พ.ศ. 2450 ทำ ให้กิจการละครเฟื่องฟูขึ้นกลายเป็นอาชีพได้ เจ้าของ โรงละครทางฝ่ายเอกชนมีหลายราย นับตั้งแต่เจ้านายมาถึงคนธรรมดา ในสมัยนี้ยังเกิดคำ ฮิตในหมู่คณะละครลิเก ว่า "week" ซึ่งหมายถึงช่วงการแสดงละครที่แสดงเรื่องเดิมทั้งเดือน ด้า ด้ นนาฏศิลป์


ละครที่ปรับรั ปรุงขึ้นขึ้ใหม่ ละครดึกดำบรรพ์เป็นละครรำที่เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้รับ ละครที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่เป็นการนำละครรำ แบบดั้งเดิมมาพัฒนาปรับปรุงใหม่ เกิดขึ้นใน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ช่ ร์ วงปลายรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่5 และสืบทอดมาถึงปัจจุบัน แขกบ้าบ้นแขกเมือง เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัวิฒน์ สนอง พระราชดำรัส แล้วกราบทูลขอให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เ ศ์ ธอเจ้าฟากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ให้ทรงช่วยใน การจัดการแสดงขึ้น โดยการนําบทละครมาร้องเป็น เรื่องราวเกิดเป็นการแสดง ที่เรียกว่า “คอนเสิร์ตเรื่อง” จัดแสดงเพื่อต้อนรับชาวต่างชาติ ต่อมาเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ชวนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ให้ร่วม กันคิดการแสดงขึ้นมาใหม่โดยปรับปรุงละครรำแบบเดิมให้มีวิธีการแสดงที่แตกต่างไปจากเดิม โดยนำเอา ลักษณะของการแสดงละครในมาผสมผสานกับกัการแสดงละครโอเปราที่ให้ ตัวละครร้องและรำเองแบบละคร โอเปรา แต่ยังคงแบบแผนของการแสดงละครในไว้บทร้องให้มีแต่บทที่เป็นคำพูด และตัดบทที่แสดงกิริยา ออก ชื่อละครดึกดำบรรพ์นั้นเรียกชื่อตามโรงละครที่ชื่อว่า “โรงละครดึกดำบรรพ์” ที่จัดแสดงขึ้นในครั้งแรก เรื่องที่ใชใŒนการแสดง ปรับปรุงไว้มี 8 เรื่อง คือ สังข์ทอง คาวี อิเหนา สังข์ศิลป์ชัย กรุงพาณชมทวีป รามเกียรติ์ตอนศูรปนขา อุณรุท และมณีพิชัพิย อิทธิพลมาจากการแสดงของชาวตะวันตก พระองค์มีพระราชดำรัสให้มีการจัดการแสดง เพื่อใช้ในการต้อนรับ ละครพันทาง เป็นละครรำ ที่เกิดขึ้นช่วงปลายรัชกาลที่ 4 แต่ปรากฏหลักฐานชัดเจนในสมัยรัชกาลที่5 ผู้ที่ริเริ่มการแสดงละครชนิดนี้ คือ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ท่านได้เดินทางไปยุโรปจึงนำเอาการแสดง ละครยุโรปมาปรับปรุงละครของท่านให้มีความแปลกใหม่โดยยึดรูปแบบของการแสดงละครนอกแต่มีลักษณะ คล้ายกับละครพูด มีการเจรจาดำเนินเรื่องด้วด้ยคำร้อง มีเพลง ท่านปรับปรุงลีลาท่ารำของชนต่างชาติกับท่าทาง อิริยาบถของคนธรรมดาสามัญเข้ามาผสมกัน การแสดงจะใช้ท่ารำไทยผสมผสานกับท่ารำของชนชาติที่กล่าวถึง ในเนื้อเรื่อง แต่งกายตามลักษณะของเชื้อชาติการแสดงละครพันทางมีการแบ่งฉากตามท้องเรื่อง ผู้แสดงมี ทั้งชาย และหญิง บทร้องและบทเจรจามักเลียนสำ เนียงภาษาของชนชาติต่าง ๆ เช่น พม่า มอญ จีน ลาว เป็นต้นต้ เรื่องที่ใชใŒนการแสดง นำมาจากพงศาวดารของชาติต่าง ๆ มาแต่ง เป็นบทละครประกอบการแสดง เช่น ราชาธิราช พระลอ สามกก เป็นต้นต้


ละครเสภา คำว่า “เสภา” เป็นการเล่านิทานหรือการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ โดยมีกรับเป็นเครื่องดนตรีที่ ใช้ประกอบในการขับ การขับเสภามีมาตั้งแต่สต่ มัยอยุธยาตอนปลาย การขับเสภาในสมัยโบราณนั้นไม่มีดนตรี ประกอบจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงโปรดเกล้าฯให้มีวงปพาทย์บรรเลง ประกอบ สมัยรัชกาลที่ 5 มีผู้นำเอาตัวละครเข้ามาแสดงการรำ และตีบทตามการขับเสภา และร้องเพลง เรียกว่า “เสภารำ ” พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้กวีช่วยกันแต่งบทเสภาเรื่องนิทราชาคริต เพื่อ พื่ ใช้ขับเสภา ในเวลา ทรงเครื่องใหญ่ ซึ่งในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลง คือ มีการขับเสภาที่ใช้ภาษาพื้นบ้านมาใช้สำนวนแบบหลวง เสภารำ เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า - เจ้าอยู่หัว มีวิธีการเล่น คือ มีคนขับเสภาและวงปพาทย์ บรรเลงบางครั้งก็ใช้วงมโหรีแทนตัวละครออกมาแสดงตามคำ ขับเสภา และมีกมีารเจรจาตามเนื้อ นื้ เรื่อง เสภารำมีทั้งแบบสุภาพและแบบ ตลก เรื่องที่ใชŒในการแสดง มักจะนำมาจากนิทานพื้นบ้าน เช่น เรื่องขุนช้างขุนแผน ไกรทอง ละครร้อง คือ ละครที่ดำเนินเรื่องด้วยการร้อง ใช้ท่าทางสามัญชนสื่อความหมายตามบทร้อง เกิดขึ้น ในสมัยมัรัชกาลที่5 ได้แก่ ละครรอŒงสลับพูด เป็นละครที่ดำเนินเรื่อ รื่ งด้วยการร้องและการพูด แต่เน้นการร้องเป็นสำคัญ ส่วนการพูด เป็นเพียงแทรกเข้ามาสลับ และเป็นการพูดทวนบทที่ร้องเพื่อเป็นการย้ำเท่านั้น เป็นละครที่พระเจ้าบรมวงศ์เ ศ์ ธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ได้ทรงคิดค้นดัดแปลง โดยปรับปรุงมาจากละครบังสวัน ของมลายู แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “Malay Opera” มาดัดแปลงและปรับปรุงขึ้นใหม่เรียกว่า “ละครร้อง” พระองค์ทรง ได้รับยกย่องว่าเป็น “พระบิดาแห่งละครร้อง” ทรงตั้งคณะละครชื่อว่า “ละครนฤมิตร” หรือ “ละครหม่อมหลวงต่วน” ละครเรื่องแรกที่คณะละครนฤมิตรแสดงคือเรื่อง “อาหรับราตรี” ต่อมาในป พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานเกียรติให้เป็นละครหลวง จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ละคร หลวงนฤมิตร” ใช้ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน และใช้ผู้ชายเป็นตัวตลก เรื่องที่ใชแŒ สดง เช่นเรื่อง กากีภารตะ ตุกตายอดรัก สาวเครือฟา เครือณรงค์ สีหราชเดโช ขวดแก้ว เจียระไน เป็นต้น


ละครพูด เกิดกิขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ ด็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จนิวัตกลับจากประเทศอินเดียในปพ.ศ. 2415 ผู้แสดงได้แก่ บรรดาขุนนางและข้าราชบริพารทั้งหลายต่างพร้อมใจกันแสดงถวายเพื่อทอดพระเนตร การแสดงในครั้งนั้นไม่มีการเขียนบท ผู้แสดงต้องจดจำเนื้อเรื่อง และกำหนดบทเจรจาด้วยตนเอง เรื่องที่นำมาแสดงคือเรื่อง อิเหนา ต่อมาในปพ.ศ. 2421 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง พระราชนิพนธ์บท ละครเรื่อง ลิลิตนิทราชาคริต โดยทรงพระราชนิพนธ์ บทประพันธ์เป็นคำโคลงที่เรียกว่า โคลงสี่สุภาพ และร่ายสุภาพ การแสดง ละครเรื่องลิลิตนิทราชาคริตนี้เป็นการแสดงละครพูดตามบทเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ยังมีการแสดงละครพูดภาษาอังกฤษ จึงนับว่าเป็นการแสดงละคร พูดภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ละครพูดเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ไม่เป็นที่แพร่หลายนักเพราะ เป็นละครพูดแบบใหม่ที่ ม่ ได้รับอิทธิพลมาจากยุโรป ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยในการละครพูดพู ทรงศึกษาและทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดไว้หลายเรื่อง อีกทั้งยังทรงร่วมแสดงละครร่วมกับข้าราชบริพริ ารของพระองค์ จึงทำให้พระองค์ทรงได้รับยกย่องเป็น “พระบิดาแห่งละครพูด” และยังถือว่าเป็นยุคทองของละครพูดอีกด้วย ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง ละครเสภา ละครร้อง ละครพูด


บุค บุ คลสำ คัญคัด้า ด้ นนาฏศิลป์สมัยมัรัชรักาลที่ 5 1. เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์(ม.ร.ว.หลาน กุญชร) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ นามเดิม หม่อมราชวงศ์หลาน- กุญชร เป็นพระโอรสในพระวรวงศ์เ ศ์ ธอพระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงค์- ฤทธิ์ กับหม่อมสุด กุญชร ณ อยุธยา เคยรับราชการในตำแหน่ง สำคัญหลายตำแหน่ง เช่น เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เสนาบดี กระทรวงเกษตราธิการ นอกจากการรับราชการในตำแหน่งทั่วไปแล้ว เจ้าพระยาเทเวศร์ฯ ยังมีหน้าที่ในการควบคุมกรมที่เกี่ยวกับการแสดง ต่าง ๆ ถึง ๕ กรม ได้แก่ กรมมหรสพ กรมโขน กรมพิณพาทย์ กรมรำโคม และกรมหุ่น และด้วยในสมัยนั้นมีต่างชาติเข้ามาเจริญ สัมพันธไมตรีกับประเทศไทยอยู่เป็นประจำ จึงมีหน้าที่ในการจัดการ แสดงสำหรับต้อนรับพระราชอาคันตุกะ ในการนี้ท่านจึงได้ทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรม- พระยานริศรานุวัดติวงศ์ร่วมเป็นที่ปรึกษาสำหรับจัดการแสดงต้อนรับพระราชอาคันตุกะ โดยพยายามคิด การแสดงใหม่ขึ้น มีการบรรเลงคอนเสิร์ต การแสดงละครดึกดำบรรพ์ และท่านยังมีโรงละครดึกดำบรรพ์ที่ เป็นกิจกิการของท่านเอง สังสัข์ท ข์ อง ตอนทิ้ง ทิ้ พวงมาลัยลั ตีคตีลี และตอนถอดรูปรู คาวี ตอนเผาพระขรรค์ ชุบชุ ตัวตั และตอนหึงหึ อิเอิหนา ตอนตัดตั ดอกไม้ฉม้ ายกริชริ ไหว้พว้ ระ 2. สมเด็จด็ พระเจ้าจ้บรมวงศ์เ ศ์ ธอ เจ้าจ้ฟ้าฟ้กรมพระยานริศริรานุวันุดวัติวติงศ์ สมเด็จ ด็ พระเจ้าจ้บรมวงศ์เ ศ์ ธอ เจ้าจ้ฟ้าฟ้กรมพระยานริศริรานุวันุดวัติวติงศ์ เป็น ป็ พระราชโอรสพระองค์ที่ ค์ ที่ ๖๒ ในพระบาทสมเด็จ ด็ พระจอมเกล้าล้- เจ้าจ้อยู่หัยู่ วหั (รัชรักาลที่ 4) ในรัชรักาลพระบาทสมเด็จ ด็ พระจุลจุจอมเกล้าล้เจ้าจ้ อยู่หัยู่ วหั (รัชรักาลที่ 5) ได้ทด้รงเป็น ป็ เสนาบดีกดีระทรวงโยธาธิกธิาร กระทรวง พระคลังลั และกระทรวงกลาโหม ตลอดจนกระทรวงวังวั นอกจากนั้น นั้ ยังยั ทรงพระปรีชรีาเป็น ป็ พิเพิศษในทางการช่าช่ ง และศิลศิปะทุกทุ สาขารวมทั้ง ทั้ วรรณศิลศิป์ ดนตรี และการละคร ทรงนิพนิ นธ์บ ธ์ ทละครดึกดึดำ บรรพ์ไพ์ ว้หว้ลายเรื่อ รื่ ง เช่นช่ 1. 2. 3. และตอนบวงสรวง 4.รามเกียกีรติ์ ตอนศูรศูปนขาตีสีตีดสีา บทคอนเสิร์ต 1. เรื่องรามเกียรติ์ตอนนางลอย นาคบาศ และพรหมาศ 2. เรื่องอิเหนา ตอนบวงสรวง


3. เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง มีนามเดิมว่า วันเพ็ญ ครั้นพระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์เป็นรัชกาลถัดมารับ สถาปนาเป็น ป็ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงท่านเป็นเจ้าของคณะละคร แต่เดิมคณะละครของท่านจัดแสดงละครนอก และละครใน ต่อมา ท่านได้เดินทางไปยุโรปจึงนำเอาการแสดงละครยุโรปมาปรับปรุง ละครของท่าท่ นให้มีความแปลกใหม่ โดยยึดรูปแบบของการแสดงละคร นอกแต่มีลักษณะคล้ายกับละครพูด มีการเจรจาดำเนิน เรื่องด้วยคำร้อง มีเพลงหน้าพาทย์เหมือนกับกัการแสดงละครนอก เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงได้ตั้งชื่อโรง ละครของทานว่า “โรงละครปริ้นเธียเตอร์” เป็นคณะละครคณะแรกที่เล่นประจำ และเก็บค่าชมการแสดง จัดแสดงเดือนละ 7 วัน เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรมแล้วโรงละครจึงตกเป็นของบุตรของท่าน คือ เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (บุศย์) และเรียรีกชื่อใหม่เป็น “คณะบุตรมหินทร์” 4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เป็นพระราชโอรสพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประสูติแต่ เจ้าจอมมารดาเขียน เมื่อเจริญพระชนม์ขึ้นทรงเริ่มรับราชการในด้าน การคลัง จนกระทั่งทรงดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมพระคลังมหา สมบัติ ในรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2432 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น ป็ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ ราชการพิเศษที่ทรงได้รับมอบหมาย คือ เป็นนายด้านปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทำบานซุ้มประตูโตูดยรอบพระพุทธปรางค์ปราสาท (ปราสาทพระเทพบิดร) และ พระศรีรัตนเจดีย์สลักเป็นรูปเขี้ยวกางลงรักปิดปิ ทองทำขึ้นใหม่ และปั้นประดับกระเบื้องก่อก่ ฐานยักษ์ยืนประตู คู่หนึ่ง ต่อมาเป็นกรรมสัมปาทิกหอพระสมุดวชิรญาณ นอกจากจะทรงควบคุมกิจการโรงละครปรีดาลัยและ พัฒนารูปแบบการแสดงละครร้องแล้ว ยังทรงพระนิพนธ์บทละครแบบใหม่และงานประพันธ์อื่น ๆ อีก ทั้งที่ เป็นร้อร้ยกรองและร้อยแก้ว ในพ.ศ. 2464 ทรงได้รับสถาปนาเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิป ประพันพั ธ์พงศ์ พระนิพนิ นธ์ของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์มีศ์ ทั้งงานแต่ง งานแปล และงานแปลงจากภาษา อังกฤษ เช่น อาหรับราตรีรุไบยาต และเรื่อ รื่ งสั้นในวชิรญาณวิเศษ โดยใช้พระนามแฝงหลายพระนาม เช่น ประเสริฐอักษร หมากพญา พานพระศรีพระศรีเป็นต้น


พระราชนิพนธ์บ ธ์ ทละคร เงาะป่า เป็นวรรณคดีไทย ประเภทบทละครร้อยกรอง พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในระหว่างการพักฟื้น หลังทรงพระประชวร โดยใช้เวลาเพียง 8 วันเท่านั้น กลอนนี้เป็นที่รู้จักจากการใช้แนวคิดชาติพันธุ์วิทยา แบบใหม่ในการจัดทำแนวความคิดเกี่ยวกับภูมิหลังของ เรื่องราว มีกลอนที่เรียรี บง่ายแต่น่าติดตาม บทละครเรื่องเงาะป่านี้แต่งด้วยกลอนบทละครตลอดทั้งเรื่อง มีการบอกเพลงกำกับไว้ด้ ว้วย ทรงใช้ภาษาอย่างเรียบง่ายแต่มีความไพเราะ ไม่มีศัพท์สูงๆ ที่เข้าใจยากอย่างวรรณคดีทั่วไป แต่ได้ทรงสอดแทรกคำศัพท์ภาษาก็อย ( ซาไก ) ไว้โดยตลอด อย่างไรก็ตาม ก่อนถึงเนื้อ เรื่อง มีบัญชีศัพท์ภาษาก็อยใส่ไว้เพื่อให้ผู้อ่านสามารถพลิกมาเปิดหาความหมายของคำ ศัพท์ เหล่านั้นได้โดยสะดวก โดยภาษาซาไกนั้น พระองค์ทรงเก็บมาจาก เงาะป่า คนหนึ่ง ชื่อ "คนัง" ที่ทรงนำไปเลี้ยงในวัง สาระสำคัญของเรื่องเงาะป่า เป็นเรื่องความรักสาม เส้าระหว่างชายสองหญิงหนึ่ง ผลที่เกิดขึ้นคือความทุกข์ ความเดือดร้อนวุ่นวายของคนทั้งสาม จนกระทั่งพาไปสู่ ความตายที่ก่อให้เกิดความสลดใจแก่ผู้อยู่เบื้องหลัง


คำ เจรจาละครเรื่อรื่งอิเอิหนา วงศ์เทวราช เป็นวรรณกรรมประเภท บทละครพูด มีวัตถุประสงค์ ในการแต่งเพื่อใช้แสดงละคร บทเจรจาละครเรื่องอิเหนาเริ่มเรื่องตอนที่จรกาทราบ ข่าวว่าท้าวกะหมังกุหนิงยกทัพมาประชิดเมืองดาหา จบลง ตอนที่สังคามาระตาเตือนสติอิเหนาเมื่ออิเหนาคร่ำครวญ หลังจากที่รู้ว่าบุษบาหายไป ส่วนที่เป็นพระนิพนธ์ของกรม หลวงพิชิตปรีชากรเริ่มตอนที่จรกาออกว่าราชการ ม้าใช้อ่าน สารดาหาให้ไปช่วยการศึก จบด้วยฤาษีเสกน้ำมนตร์เมื่อ มะเดหวีพาบุษบามากราบฤาษี เป็นวรรณกรรมประเภท บทละคร โดยมีวัตถุประสงค์ ในการแต่งเพื่อ สะท้อนภาพสังคม หรือ เสียดสีประชด ประชัน วงศ์เทวราช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นล้อผู้แต่งวงศ์เทวราชเดิม คือหลวง พัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์) เมื่อยังเป็นขุนจบพลรักษ์ซึ่ง แต่งผิดอยู่หลายอย่างเพราะความไม่รู้จริงในราชประเพณี และยังทรงล้อบุคคลต่าง ๆ ซึ่งมีตัวตนอยู่ในเวลาเมื่อทรง พระราชนิพนธ์ที่มีอัธยาศัยและเรื่องประวัติขบขันหลายคน รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ขณะที่ทรงประชวรไข้ต้องประทับอยู่แต่ในพระราชมณเฑียร พอทรงหายประชวรก็เลิก เดิมหนังสือนี้จึงมีแต่ฉบับข้างที่ กับที่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้า นายฝ่ายในคัดสำเนาไปน้อยฉบับด้วยกัน


ระเบ็ง เป็นการละเล่นในชุดพระราชพิธีที่แปลกกว่าอย่างอื่น คือ แสดงเป็นเรื่องมาจากเทพนิยาย เนื้อร้องกล่าวถึง เทวดามาบอกให้บรรดากษัตริย์ร้อยเอ็ดเจ็ดพระนครไปเขาไกรลาส ระหว่างเดินทางก็ เดินชมนกชมไม้ไป จนพบพระกาลมาขวางทางไว้กษัตริย์เหล่านั้นไม่รู้จัก ก็ไล่ให้หลีกทางไป เงื้อธนูจะยิง พระกาลกริ้วมาก จึงสาปให้สลบ แล้วพระกาลเกิดสงสาร จึงถอนคำสาบให้ฟื้นดังเดิม แล้วขอร้องให้กลับ เมืองดังเดิม กษัตริย์ก็เ ก็ชื่อฟังกลับเมือง กรมมหรสพสมัย มั รัชรั กาลที่ 5 กรมมหรสพมีหน้าที่เกี่ยวกับการละเล่นของหลวง 5 ประเภท คือ 1.ระเบง 2.มงครุ่ม มงครุ่ม เป็นการละเล่นมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา การแต่งตัวของผู้เล่นเหมือนกับระเบ็ง มือถือไม้กำพต คือ กระบองสั้น แต่มีด้ามยาว มีกลองประกอบการเล่น กลองใหญ่เหมือนกลองทัด หน้ากว้างประมาณ ๕๕ เซนติเมตร ผู้เล่นแบ่งออกเป็นกลุ่ม จะมีกี่กลุ่มก็ได้กลุ่มละ ๔ คน กลุ่มหนึ่งมีกลองโมงครุ่ม ๑ ใบ อยู่ตรง กลางด้านหน้ามีผู้เล่น ๑ คน มายืนตรงหน้าคอยตีโหม่ง บอกท่าทาง ให้ผู้เล่นทำตาม


3.กุลาตีไม้ 4.แทงวิสัย 5.กระอั้วแทงควาย กุลาตีไม้ไม่มีดนตรีประกอบ ผู้เล่นจะแบ่งเป็นกลุ่มกี่กลุ่มก็ได้ตามความเหมาะสมกับสถานที่กลุ่มหนึ่ง ต้องมีจำนวนคู่ นั่งคุกเข่าหันหน้าเข้าหากัน ล้อมเป็นวงกลม วางไม้กำพตพาดทับกันไว้ตรงด้านหน้า เริ่มเล่น ด้วยการร้อง แล้วตบมือให้เข้ากับจังหวะ แล้วจะหยิบไม้กำพตตีเป็นจังหวะ แล้วหันไปตีกับคนซ้ายและขวา แล้วลุกขึ้นยืนตีกันเป็นคู่ๆ ท่าที่ขยับย่าง และใช้ไม้กำพตตีกันจะเป็นไปตามจังหวะเพลงที่ร้อง แทงวิสัย เป็นการละเล่นที่ใช้เวลาไม่นานนัก ผู้เล่นแต่งตัวสวมเสื้อผ้ารุ่มร่าม ผัดหน้าติดหนวดเครา คล้ายตัวเสี้ยวกาง ของจีน ศีรษะสวมเทริด มือถือหอกหรือทวน ผู้เล่นจะใช้ปลายอาวุธแตะกันข้างบนบ้าง ข้างล่างบ้าง เต้นเวียนไปเวียนมา ซ้ายทีขวาทีตามทำนอง และจังหวะของปี่พาทย์ที่บรรเลงประกอบ กระอั้วแทงควาย เป็นการเล่นของทวายหรือของพม่า มอญ มีผู้เล่น ๔ คน คำว่า "กระอั้ว" ไม่ใช่ ภาษาไทย เป็นภาษาทวาย เป็นชื่อสามีของนาง "กะแอ" ผู้เล่นชุดนี้มี๔ คน คือ ตากระอั้ว นางกะแอ และ ควาย ซึ่งใช้ผู้เล่น ๒ คน อยู่ในชุดควาย คือ เป็นตอนหัวควาย ๑ คน และตอนท้ายอีก ๑ คน


Click to View FlipBook Version