.
   



Statistics Statistics
570440
Online User Online1
Today Today20
Yesterday Yesterday139
ThisMonth This Month159
LastMonth Last Month4,899
ThisYear This Year29,208
LastYear Last Year163,901

ศูนย์บริการวิชาการธรรมสุทัศน์  


สถานที่ตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า

เจดีย์พุทธคยา

            สถานที่ตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า ณ ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งปัจจุบันเป็นต้นที่ 4 นับจากต้นที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ส่วนเจดีย์พุทธคยาที่เห็นนี้ สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ราว พ.ศ. 236 และได้ต่อเติมสมัยพระเจ้าหุวิชกะ กษัตริย์แห่งเมืองมคธโบราณสถานที่แห่งนี้เป็นหนึ่งในสังเวชนียสถานทั้ง 4 ซึ่งประกอบด้วย สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน
       หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย



     สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ

           ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้

           ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย

           ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 

ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา            

       เมื่อพระบรมโพธิสัตว์มีชัยต่อพญามารวัสวดีด้วยพระบารมีตั้งแต่เวลาสายัณห์พระอาทิตย์ยังมิทันจะอัสดงคต ทำให้บังเกิดความเบิกบานพระทัยด้วยปีติเกษม จึงทรงเจริญสมาธิภาวนาทำจิตให้ปราศจาก อุปกิเลส จนได้บรรลุ ปฐมฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน อันเป็นส่วนรูปฌานสมาบัติตามลำดับ ต่อจากนั้นทรงเจริญญาณอันเป็นองค์ปัญญาชั้นสูง ๓ ประการตามลำดับแห่งยามสาม ซึ่งในทางศาสนาแบ่งกลางคืนออกเป็น  ๓  ส่วน แต่ละส่วนเรียกว่ายามหนึ่ง ๆ คือ ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม ในราตรีนั้น คือ ในวันเพ็ญพระจันทร์เสวยดาวฤกษ์ชื่อว่าวิสาขา คือ วันเพ็ญเดือนวิสาขะเป็นเวสาขะ ในราตรีวันเพ็ญนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ธรรม ก่อนแต่ตรัสรู้เรียกว่า พระโพธิสัตว์ แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในความรู้ อันหมายความว่า ไม่ทรงข้องอยู่ในสิ่งอื่น ข้องอยู่แต่ในความรู้ จึงทรงแสวงหาความรู้จนได้ตรัสรู้ จึงเรียกว่า พุทธะ ที่แปลว่า ผู้รู้ หรือ ตรัสรู้ เราเรียกกันว่า พระพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสรู้ที่ภายใต้ต้นไม้ชื่อว่า อัสสัตถะ ต่อมาก็เรียกว่า ต้นโพธิ์ คำว่า โพธิ แปลว่า ตรัสรู้ เพราะพระพุทธเจ้าไปประทับนั่งใต้ไม้นั้นตรัสรู้ จึงได้เรียกว่า ต้นไม้ตรัสรู้ เรียกเป็นศัพท์ว่า โพธิพฤกษ์ แต่ชื่อของต้นไม้ชนิดนี้ว่า อัสสัตถะ ที่ตรัสรู้นั้นอยู่ใกล้ฝั่ง แม่น้ำเนรัญชรา ใน ตำบลอุรุเวลา ใน มคธรัฐ

ทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณพระองค์ทรงตรัสรู้ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า “พุทธคยา” เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้อริยสัจสี่ หรือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เสมอเหมือน ดังนั้น วันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าจึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่บังเกิดพระพุทธเจ้าพระนามว่า “โคตมะ” อุบัติขึ้นในโลก

พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียร ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า “ฌาน” เพื่อให้บรรลุ “ญาณ” จนเวลาผ่านไปจนถึง ...

ยามต้น :  ทรงบรรลุ “ปุพเพนิวาสานุติญาณ” คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
ยามสอง :  ทรงบรรลุ “จุตูปปาตญาณ” คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ยามสาม :  ทรงบรรลุ “อาสวักขยญาณ” คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ ๔ คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค 
ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุ
ได้ ๓๕ พรรษา

ในปฐมยาม ทรงบรรลุบุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกอดีตชาติที่พระองค์ทรงเกิดมาแล้วได้ทั้งสิ้น ย้อนหลังไปตั้งแต่มีชัยต่อพญามารวัสวดี ลอยถาดทอง ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรารับมธุปายาสจากานางสุชาดา ทรงสุบินบุพนิมิตมหามงคล ๕ ประการ ย้อนไปจนถึงเมื่อครั้งไปศึกษาวิชากับ อาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบส รามบุตร ทรงให้ปฏิญาณแก่พระเจ้าพิมพิสาร ทรงบรรพชา ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมาเสด็จหนีออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ ประสูติในสวนลุมพินีวัน ตราบจนเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร และทรงระลึกย้อนหลังไปถึง ๔ อสงไขย ๑  แสนมหากัปป์

ในมัชฌิมยาม ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ หรือ ทิพยจักษุญาณ สามารถหยั่งรู้การเวียนว่ายตายเกิดของเหล่าสรรพสัตว์อื่นได้หมดเปรียบประหนึ่งผู้ยืนบนปราสาทอันตั้งตระหง่านอยู่หว่าง กลางถนน ๔ แพร่ง จึงสามารถเล็งเห็นมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย เมื่อ นั่ง ยืน เดิน เข้าออกจากเรือน หรือระหว่างสัญจรไปตามวิถีแห่งทาง ๔ แพร่ง

ในปัจฉิมยาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ ทรงพระปรีชาสามารถทำอาสวกิเลสทั้งหลายให้ดับสิ้นไป จนได้บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ ญาณอันประเสริฐอันเป็นเครื่องตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ  ในเวลาปัจจุบันสมัยรุ่งอรุโณทัย จึงเปล่งพระพุทธสีหนาทปฐมอุทาน ตรัสทักตัณหาด้วยความเบิกบานพระทัยว่า

“นับตั้งแต่ตถาคตท่องเที่ยวสืบเสาะหานายช่างเรือนอันก่อสร้างนามรูปคือตัวตัณหา ด้วยการเวียนว่ายตายเกิดมาตลอด ๔ อสงไขยแสนมหากัลป์ บัดนี้ได้พบและทำลายสูญสิ้นแล้ว จิตของเราปราศจากสังขารเครื่องปรุงแต่งให้เกิดในภพอื่นแล้ว”

พลันได้บังเกิดมหาอัศจรรย์ขึ้นในเวลานั้นกล่าวคือ พื้นปฐพีอันกว้างใหญ่เกิดหวั่นไหว มหาสาครสมุทรตีฟองคะนองคลื่นพฤกษาชาติทั้งหลายต่างผลิดอกออกช่อเบ่งบานงามตระการดารดาษไปทั่วทุกอุทยาน บรรดาแก้วมณีอันประดับอยู่ในทุกวิมานชั้นฟ้าล้วนเปล่งแสงส่องประกายรัศมีอันโอภาสบรรเจิด ทิพยดนตรีต่างบรรเลงเสียงเพลงไพเราะเสนาะโสต เทพยดาและผู้เรืองฤทธิ์ในทุกสวรรค์ชั้นฟ้าป่าหิมพานต์ต่างพนมกรแซ่ซ้องสาธุการโปรยปรายบุปผามาลัยทำการสักการบูชา เปล่งวาจาว่าบัดนี้พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลกแล้วตรงกับวันเพ็ญกลางเดือน ๖ หรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ หรือ วันวิสาขบูชา

สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันอยู่ในตำบลที่เรียกว่า พุทธคยา ห่างจากเมืองกัลกัตตาประมาณ ๒๓๐ ไมล์

เหตุการณ์สำคัญในวันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพราะประกอบด้วยเหตุการณ์ ๓ ประการคือ

๑. เป็นวันประสูติ       ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ก่อน พ.ศ. ๘๐ปี
๒. เป็นวันตรัสรู้         ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ก่อน พ.ศ. ๔๕ ปี
๓. เป็นวันปรินิพพาน   ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ก่อน พ.ศ. ๑ปี

พระพุทธองค์ทรงพิจารณาบัว 4 เหล่า