วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การละเล่นไทย

การละเล่นไทย
การละเล่นเด็กไทย  เป็นการละเล่นของเด็กตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ในปัจจุบันมักไม่ค่อยได้พบเห็นการละเล่นประเภทเหล่านี้กันบ่อยนัก เพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนไป    การเล่นถือเป็นกิจกรรมตามธรรมชาติของเด็กๆ ที่ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดความสนุกสนานหรือทำให้อารมณ์เบิกบานเท่านั้น แต่การเล่นมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในด้านต่างๆอย่างมากมาย ดังนั้นการเล่นจึงมีส่วนสำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางด้านสติปัญญาของเด็ก ๆ ด้วย
การละเล่นแบบไทย แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
1.การละเล่นในร่ม ที่มีบทร้องประกอบ เช่น แมงมุมขยุ้มหลังคา จ้ำจี้มะเขือเปราะ หรือที่ไม่มีบทร้องประกอบ เช่น หมากเก็บ หมากตะเกียบ เป่ากบ ตบแปะ อีขีดอีเขียน ปั่นแปะ นาฬิกาทางมะพร้าว
2.การละเล่นกลางแจ้ง ที่มีบทร้องประกอบ เช่น รีรีข้าวสาร งูกินหาง อ้ายเข้อ้ายโขง มอญซ่อนผ้า โพงพาง หรือที่ไม่มีบทร้องประกอบ เช่น ขี่ม้าส่งเมือง ขี่ม้าก้านกล้วย ชักคะเย่อ ลูกข่าง ตี่จับ ห่วงยาง การเล่นว่าว กระโดดเชือกเดี่ยว กระโดดเชือกคู่ กระโดดเชือกหมู่ โปลิศจับขโมย วิ่งสามขา วิ่งสวมกระสอบ ยิงปืนก้านกล้วย
 การเล่นมีหลายแบบ ทั้งเล่นคนเดียว เล่นกับคุณพ่อคุณแม่ เพื่อนฝูง เล่นโดยใช้หรือไม่ใช้อุปกรณ์ เล่นกลางแจ้งหรือเล่นในร่ม สุดแต่จะคิดสรรหรือแล้วแต่ความพอใจหรือความสะดวก แต่สมัยนี้การเล่นส่วนใหญ่มักเน้นที่อุปกรณ์ จำพวกของเล่นสำหรับเด็กที่มีให้เลือกซื้อหามากมาย ซึ่งของเล่นบางอย่างก็มีประโยชน์ต่อพัฒนาการของเด็ก เช่น บล็อกที่ทำจากไม้หรือพลาสติก เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยฝึกการใช้สายตา มือ ฝึกสมาธิและรู้จักการแก้ปัญหา แต่คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่า จริงๆแล้วการเล่นแบบโบราณ หรือการละเล่นแบบไทยๆอย่างที่เด็กๆในสมัยก่อนเล่นกัน ก็มีคุณค่าและมีประโยชน์ไม่แพ้การเล่นแบบสมัยใหม่เลย                                                    พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายของการละเล่นไว้ดังนี้ว่า การละเล่น มหรสพต่างๆ การแสดงต่างๆ เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง   ภาษาอังกฤกใช้คำว่า play และ game  ในความหมายที่ต่างกันตามพจนานุกรมดังนี้
 Play คือ การเล่น เล่นสนุก
Game คือ     กิจกรรมที่เกิดจากการร่วมมือกันหรือการแข่งขันในการตัดสินใจที่จะก้าวหน้า              
โดยมีวัตถุประสงค์และกฎเกณฑ์ที่แน่นอน
จาก the encyclopedia britannica vol.4ให้ความหมายของคำว่า play และ game ไว้ดังนี้ว่า
Play หมายถึง การเล่นอย่างบริสุทธิ์ และมักเป็นการเล่นแบบง่ายๆจะเล่นเพียงคนเดียว หรือหลายคนก็ได้ เล่นด้วยความสมัครใจ ไม่มีกฎเกณฑ์บังคับ
Game เล่นตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้
 ความหมายการละเล่น คำว่า การละเล่นหมายถึง การกระทำหรือกิจกรรมใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความสนุกสนานรื่นเริงบันเทิงใจ ซึ่งมักมีกติกาการเล่นหรือการแข่งขันง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อนมากนัก จุดประสงค์ส่วนใหญ่ มุ่งเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพื่อออกกำลังกาย และก่อให้เกิดความสามัคคีทั้งระหว่างผู้เล่นและผู้ชม กติกาอาจกำหนดขึ้นไว้ก่อนและเคยปฏิบัติมาแล้วหรือ ตกลงกันตั้งขึ้นขณะจะเริ่มเล่นก็ได้ คือ ไม่ค่อยพิถีพิถันในเรื่องกติการมากนัก สรุปการละเล่นพื้นบ้านจึงหมายถึง กิจกรรมที่ประชาชนร่วมกันทำขึ้นเพื่อให้สนุกสนานและอื่น ๆ ในแต่ละท้องถิ่นหรือตำบลหมู่บ้าน บางอย่างอาจเหมือนกันกับท้องถิ่นอื่น และบางอย่างอาจแตกต่างกันไปบ้างตามความนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ การละเล่นต่างกับกีฬา การละเล่นแตกต่างจากกีฬาตรงที่การละเล่น จัดทำเพื่อมุ่งความสนุกสนานเป็นใหญ่ ไม่มุ่งที่จะเอาชนะกันอย่างจริงจัง ทั้งผู้เล่นก็ไม่จำเป็นต้องได้ฝึกซ้อมเตรียมตัวมาก่อนแต่อย่างใด คือ จะเล่นเมื่อไรก็อาจเข้าร่วมกิจกรรมเลยก็ได้ ส่วนกีฬา หมายถึง การละเล่นที่ต้องใช้กำลังพอสมควร การแข่งก็มีกติกาวางไว้แน่นอน และเป็นการกระทำที่ สลับซับซ้อน มีกลวิธีการเล่นและผู้เล่นซึ่งเรียกว่า นักกีฬา ก็ต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อนพอสมควร               ทั้งมีเทคนิคหรือกลวิธีการเล่นต่าง ๆ มากมาย เพื่อหวังให้ได้ชัยชนะ และการเล่นกีฬา ไม่ว่าจะไปเล่นที่ไหน ก็ต้องเล่นแบบนั้น เหมือนกัน เพราะมีกติกากำหนดไว้เป็นการแน่นอนตายตัวอยู่แล้ว การละเล่นพื้นบ้านจึงแตกต่างไปจากกีฬา ตรงที่เป็นการเล่นแบบง่าย ๆ เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน มากกว่าหวังแพ้ชนะเช่นการเล่นกีฬา แต่การละเล่นบางอย่างก็อาจอนุโลมเข้าเป็น นักกีฬา โดยยากที่แยกจากกันอย่างเด็ดขาดคืออาจเป็นกึ่งกีฬากึ่งการละเล่น แต่คนโบราณ ภาคอีสาน นิยมเรียกการละเล่นว่า การเล่นกันทั้งนั้น ไม่นิยมเรียกว่า กีฬาแม้จะมีการแข่งขันกันเหมือนกับการเล่นกีฬาก็ตาม  ความสำคัญของการละเล่นได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า ธรรมชาติของมนุษย์เกิดมาย่อมมีการเคลื่อนไหวจะอยู่นิ่งไม่ได้ยิ่งเป็นเด็กแล้วจะต้องมีการเคลื่อนไหวบ่อยๆ ทั้งนี้ เพื่อบริหาร ร่างกายให้มีการเจริญเติบโต การเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งของมนุษย์ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ตลอดถึงผู้สูงอายุและมนุษย์มีนิสัยชอบสังคม คือ ชอบอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม จึงต้องมีการคบหาสมาคมกัน และมีการระบายออกทางจิตใจ เพื่อให้มีความสบายทั้งกายและใจด้วย การละเล่นจึงเป็นการแสดงออกของการเชื่อมความสามัคคีของคน ทำให้คนคบหากันได้อย่างสนิทสนมจึงนับเป็นนันทนาการอย่างหนึ่ง นอกจากนี้การละเล่นเมื่อมีการจัดเป็นระบบหรือแบบแผน มีกติกาให้คนในกลุ่มปฏิบัติ ย่อมเป็นการแสดงถึงความเจริญงอกงามของคนในกลุ่มนั้น และเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งด้วย อันแสดงถึงความเป็นผู้มีวัฒนธรรมของคนกุ่มนั้นด้วย การละเล่นจึงเป็นเครื่องช่วยส่งเสริมให้มีการพัฒนา ทั้งกายและจิตใจของคน ทำให้คนได้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความสามัคคีกลมเกลียวก้าวหน้านับเป็นวัฒนธรรมได้อย่างหนึ่ง ดังนั้นหากได้มีการฟื้นฟู แก้ไขเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมการละเล่นของคนในกลุ่ม ในแต่ละหมู่บ้านให้คงมีอยู่ ผลที่ตามมาก็คือ นอกจากประชาชนได้ออกกำลังกายและทำให้จิตใจสบายแล้ว ยังทำให้คนในกลุ่มอยู่ด้วยกันด้วยความรักใคร่กลมเกลียวกัน และมีความสุขด้วย การละเล่นพื้นบ้านจึงนับมีความสำคัญ ซึ้งเราควรจะได้มีการอนุรักษ์ให้คงมีอยู่ และหาทางส่งเสริมหรือพัฒนาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ประโยชน์ของการละเล่น
การละเล่นของเด็ก หมายถึง การกระทำของเด็กที่ทำไปเพื่อความสนุกสนาน     หรือผ่อนคลายอารมณ์ให้เพลิดเพลิน
ความสำคัญของการเล่น  การละเล่นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดการละเล่นทำให้มนุษยได้ผ่อนคลายความตึงเครียดจากงานในชีวิตประจำวันนอกจากนั้นยังเป็นการเสริมสร้างกำลังกายให้แข็งแรงลับสมองให้มีสติปัญญาแหลมคมมีจิตใจเบิกบานสนุกสนานร่าเริงทั้งยังทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีขึ้นในหมู่มวลมนุษย์การละเล่นมีมาแต่สมัยใดไม่มีใครกำหนดแน่นอนได้เพียงแต่สันนิษฐานกันตามประวัติศาสตร์เท่านั้น  






ความสำคัญด้านวัฒนธรรม
1. เสริมสร้างพลานามัยให้สมบูรณ์
2. เสริมสร้างทักษะต่างๆ ห้เจริญ เช่น ทักษะในการใช้สายตา สังเกต ทักษะในการเคลื่อไหวอวัยวะเป็นต้น
3. ส่งเสริมความเจริญทางด้านจิตใจ โดยปลูกฝังให้มีคุณธรรม อันจำเป็นแก่การเป็นพลเมืองที่ดี
4. ส่งเสิรมความเจริญทางสติปัญญา เช่น ฝึกให้ใช้ความคิดฝึกให้มีไหวพริบฝึกการคาดคะเนเหตุการณ์     เป็นต้น

ความสำคัญด้านสังคม
1.) การละเล่นของเด็กไทย สะท้อนให้เห็นสภาพของสังคมไทยในด้านต่าง ๆ เช่น สภาพความเป็นอยู่และอาชีพของชาวบ้านตลอดจนความเชื่อและค่านิยมของคนไทยสมัยโบราณ
2. ) การละเล่นช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพของเด็กทั้งทางกายและจิตใจ ฝึกให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย                  มีความรับผิดชอบ มีความสามัคคีในหมู่คณะ
ความสำคัญด้านภาษา

   บทร้องประกอบการละเล่นของเด็กไทยในแต่ละภาคนั้น มีคุณค่าด้านภาษาทั้งในแง่ของวรรณศิลป์ และในแง่ของการสื่อสาร
  ในแง่ของวรรณศิลป์นั้น บทร้องมีรูปแบบไม่จำกัดตายตัว มีการใช้คำเป็นวรรคสั้น ๆ และมีเสียงสัมผัสคล้องจองทำให้เกิดความไพเราะ



การละเล่นไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1.การละเล่นในชีวิตประจำวัน
2.การละเล่นในเทศกาลต่างๆ เพลงแห่ดอกไม้ เพลงพิษฐาน เพลงพวงมาลัย เพลงเหย่อยหรือเพลงพาดผ้า
3.การ ละเล่นของหลวง ซึ่งมีมาแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ หมายถึงการละเล่นที่แสดงในพระราชพิธีต่างๆ ไม่เพียงแสดงหน้าที่นั่งในเขตพระราชฐาน ข้างนอกก็แสดงได้
1.การละเล่นในชีวิตประจำวัน  แบ่งเป็น
1.1.การละเล่นของเด็ก ซึ่งจะแยกออกเป็นการเล่นกลางแจ้ง การเล่นในร่ม การเล่นกลางแจ้งและในร่ม การเล่นกลางแจ้งหรือในร่มที่มีบทร้อง การเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่ การเล่นใช้อุปกรณ์ การเล่นของเด็กชาย-หญิงโดยเฉพาะ การเล่นสะท้อนสังคม การเล่นในน้ำ การเล่นปริศนาคำทาย บทร้องเล่น
 1.2.การละเล่นของเด็กและผู้ใหญ่ เช่น ชักเย่อ ลูกช่วง งูกินหาง โค้งตีนเกวียน จ้องเตหรือต้องเต ไม้หึ่ง รีรีข้าวสาร มอญซ่อนผ้า สะบ้า แม่ศรี คล้องช้าง ว่าว
1.3.การละเล่นของผู้ใหญ่ มีเพลงเกี่ยวข้าว เพลงร้อยชั่ง เพลงเต้นกำ(รำเคียว) เพลงสงฟาง เพลงสงคอลำพวน เพลงเตะข้าว เพลงชักกระดาน การเล่นตะกร้อ
 2.การละเล่นในเทศกาลต่างๆ เพลงแห่ดอกไม้ เพลงพิษฐาน เพลงพวงมาลัย เพลงเหย่อยหรือเพลงพาดผ้า
 3.การละเล่นของหลวง ซึ่งมีมาแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ หมายถึงการละเล่นที่แสดงในพระ   ราชพิธีต่างๆ ไม่เพียงแสดงหน้าที่นั่งในเขตพระราชฐาน ข้างนอกก็แสดงได้




คุณค่าและประโยชน์ของการละเล่นแบบไทย
1. ด้านร่างกาย การละเล่นไทยไม่ว่าจะเป็นกลางแจ้งหรือว่าในร่ม ล้วนแต่ช่วยให้เด็กได้เคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่างๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการฝึกการใช้กล้ามเนื้อแล้วยังทำให้เด็กได้ออกกำลังกายด้วย เช่น การเล่นงูกินหาง ที่เด็กต้องโยกตัว วิ่ง ทำท่ากางแขนบิน หรือการเล่นตังเต ที่เด็กต้องกระโดด ต้องฝึกการทรงตัวจากการเขย่งเท้าข้างเดียว
2. ด้านอารมณ์ การละเล่นไทยทุกประเภทเมื่อเด็กได้เล่นแล้วจะช่วยให้เด็กอารมณ์ดี เบิกบาน สดชื่น กระฉับกระเฉง สนุกสนาน คลายเครียด
3. ด้านสังคม การละเล่นไทยส่วนใหญ่จะเป็นการเล่นเป็นกลุ่ม ซึ่งจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ถึงความสามัคคี ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตาม ฝึกการยอมรับข้อตกลงและเคารพกฎกติกาในการเล่น รวมทั้งฝึกการมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ให้รู้จักรู้แพ้-รู้ชนะ-รู้อภัย
4. ด้านสติปัญญา การละเล่นของไทยหลายประเภทช่วยฝึกทางด้านสติปัญญา เช่น การเล่นหมากเก็บ ช่วยฝึกเรื่องคณิตศาสตร์ ในการนับจำนวน การเล่นจ้ำจี้มะเขือเปราะและรีรีข้าวสาร ช่วยฝึกในเรื่องของภาษา จากคำศัพท์และคำคล้องจองที่ใช้ร้องประกอบในการเล่น การเล่นตี่จับ ที่ฝึกให้รู้จักวางแผนและใช้ความคิดในการแก้ไขปัญหา
จะเห็นได้ว่าการละเล่นแบบไทยที่คุณพ่อคุณแม่เคยเล่นกันมาในสมัยเด็กมีประโยชน์และมีคุณค่าอย่างมากมายไม่แพ้การเล่นแบบสมัยใหม่เลย ทั้งยังไม่ต้องสิ้นเปลืองอะไรด้วย แต่ปัจจุบันคงต้องยอมรับว่าการละเล่นแบบไทยนี้ค่อยๆถูกลืมเลือนไปจากสังคมของเราทุกที ซึ่งคงเป็นที่น่าเสียดายที่สิ่งดีๆเหล่านี้จะหายไป หากเป็นไปได้ผู้เขียนอยากให้คุณพ่อคุณแม่ได้นำการละเล่นแบบไทยนี้มาเล่นกับลูกๆบ้าง
เช่น เล่นมอญซ่อนผ้า เล่นพ่องูแม่งู เล่นหมากเก็บ หรือตบแปะ ซึ่งการละเล่นเหล่านี้ทั้งเล่นได้ง่าย ทั้งสนุก เป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวได้เป็นอย่างดี และมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ด้านต่างๆของเด็กๆ และที่สำคัญยังได้ร่วมอนุรักษ์สิ่งดีๆเหล่านี้ไว้ให้อยู่ในสังคมไทยของเราต่อไปตราบชั่วลูกชั่วหลาน              

     


1. เป็นการช่วยบริหารร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง ในขณะที่แสดงการละเล่นร่างกายได้เคลื่อนไหว การละเล่นบางอย่างได้มีการออกแรงและแข่งขันกันด้วย จึงทำให้ผู้เล่นได้บริหารร่างกาย ผู้ร่วมกิจกรรมได้ออกกำลังกายได้ด้วย อันเป็นผลให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงจึงมี สุขภาพพลานามัยดี มีอำนาจต้านทานโรค ช่วยทำให้สุขภาพจิตดีเพลิดเพลิน เนื่องจากการละเล่นเป็นนันทนาการส่วนหนึ่ง ทำให้ผู้เล่นรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลิน จิตใจร่าเริงแจ่มใส จึงทำให้จิตใจสบาย มีอารมณ์ดี เป็นการช่วยรักษาสุขภาพจิตของผู้แสดงการละเล่น และคลายความตึงเครียดของประสาทได้เป็นอย่างดีด้วย
2. เป็นการส่งเสริมให้เกิดความสามัคคี รักหมู่คณะ การละเล่นพื้นบ้านแทบทุกอย่าง จะมีคนร่วมกันเล่นคราวละหลาย ๆ คน นอกจากนี้ ยังมีผู้ร่วมชมและการสนับสนุนการแสดงการละเล่นด้วย บุคคลเหล่านี้จะร่วมกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ได้มีส่วนร่วมการแข่งขัน การแสดงหรือร่วมสนุกสนานกับกลุ่มคนเหล่านี้ เมื่อได้ร่วมกิจกรรมกัน ความรักใคร่กลมเกลียว ความคุ้นเคยเป็นกันเอง ย่อมมีขึ้นดุจญาติพี่น้องอันแท้จริง ย่อมก่อให้เกิดความรักใคร่สามัคคีในหมู่คณะ บางโอกาสเมื่อผู้ใดมีธุระการงาน ได้รับความเดือดร้อน หรือมีความจำเป็นอะไรบางอย่าง ก็จะได้รับความช่วยเหลือจากผู้สนิทคุ้นเคยเหล่านั้นเป็นอย่างดี ฝึกให้เป็นผู้มีน้ำใจต่อสู้กล้าหาญและมีน้ำใจนักกีฬา การละเล่นบางอย่างย่อมจะมีการต่อสู้และแข่งขันกัน ระหว่างบุคคลต่อบุคคลและหมู่คณะต่อหมู่คณะ การต่อสู้นี้ย่อมต้องอาศัยความสามารรถทั้งด้านกำลังกายและกำลังใจ ผู้ใดได้แข่งขันบ่อย ๆ ย่อมทำให้ร่างกายและจิตใจเข้มแข็งพร้อมที่จะเผชิญปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ เป็นการฝึกคนให้รู้จักต่อสู้และกล้าหาญ ทั้งเป็น การอบรมให้เป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย เป็นต้น นับเป็นการสร้างเสริมนิสัยที่ดีแก่ผู้แสดงการละเล่น
3. เป็นการส่งเสริมการริเริ่มสร้างสรรค์ ก่อนแสดงการละเล่น ย่อมมีการปรึกษาหารือ และตกลงกันถึงวิธีการเล่นหรือกติกา การจัดหาอุปกรณ์ และค้นหาดัดแปลงวิธีการละเล่นแปลก ๆ ที่เหมาะสมเพิ่มเติม เป็นการฝึกให้บุคคลเหล่านั้น รู้จักคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในสิ่งที่ดีงาม ซึ่งการริเริ่มสร้างสรรค์นี้ควรฝึกให้มีขึ้น โดยเฉพาะเด็ก ๆ และเยาวชน ควรได้มีการฝึกให้มาก ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน การละเล่นบางอย่าง เช่น การละเล่นของเด็ก เป็นการเลียนแบบของผู้ใหญ่ ทำให้เด็กมีจินตนาการและได้ฝึกปฏิบัติตามอย่างผู้ใหญ่ เป็นการฝึกให้มีปฏิญาณไหวพริบ ช่วยให้เกิดความรอบรู้บางอย่าง เป็นการส่งเสริมประสบการณ์ชีวิต โดยครูอาจารย์อาจ นำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียน และผลที่ได้จากการแสดงการละเล่น อาจนำไปใช้ เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันต่อไปด้วย
        
4. เป็นการฝึกปฏิญาณไหวพริบ เพราะการละเล่นต่าง ๆ ส่วนมากมักจะมีการแข่งขันกัน การแข่งขันกันจะมีชัยชนะได้ จะต้องอาศัยปฏิญาณไหวพริบของผู้เล่นแต่ละคนประกอบด้วยหากผู้เล่นมีปฏิญาณไหวพริบดี ย่อมมีส่วนช่วยให้ผู้เล่นมีชัยชนะในที่สุด ในขณะเล่นผู้เล่นทุกคน ต้องพยายามใช้สมองหรือไหวพริบของตนเอง เมื่อมีการฝึกใช้สมองหรือไหวพริบบ่อย ๆ เข้า ย่อมจะช่วยให้ผู้ช่วยให้ผู้นั้นมีปฏิญาณไหวพริบดีขึ้น นอกนี้การละเล่นบางอย่างอาจช่วยฝึกการสังเกต และฝึกความจำด้วย ฝึกระเบียบวินัย การเชื่อฟัง และรู้จักหน้าที่ ธรรมดาการละเล่นย่อมมีกติกา ผู้เล่นต้องอยู่ในขอบข่ายของกติกา และจะต้องถือระเบียบวินัยแห่งการเล่นและปกติการละเล่นย่อมมักมีผู้ตัดสิน บางทีมีหัวหน้าทีม ผู้เล่นจะต้องเชื่อฟังผู้ตัดสิน และจะต้องเชื่อฟังหัวหน้าทีมด้วย จึงจะทำให้การเล่นดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และการเล่นถ้าจะให้ได้ชัยชนะข้อสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ผู้เล่นจะต้องรู้จักหน้าที่ของตน และพยายามทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด การละเล่นจึงนับเป็นการฝึกสิ่งดีงามดังกล่าวไปในตัว ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเด็กซุกซนหรือเล่นเป็นโทษ ตามธรรมชาติของเด็ก ย่อมไม่ชอบอยู่นิ่ง ๆ บางทีการไม่อยู่นิ่งของเด็กอาจเล่นเป็นโทษ เช่น ทำให้เกิดเสียหายหรืออันตรายต่อ ตนเองหรือผู้อื่น ตลอดทรัพย์สิ่งของด้วย เมื่อมีการละเล่นขึ้น เด็กย่อมมีโอกาสระบายออกซึ่ง ความอัดอั้นใน ด้านกำลังกายและจิตใจ ทั้งการละเล่นส่วนมากย่อมมีผู้ควบคุมและอยู่ในกรอบแห่งกติกาการละเล่นจึงช่วยให้ผู้เล่นได้แสดงออกในทางที่เหมาะที่ควรทั้งเป็นการแก้ปัญหาในด้าน ความซุกซนหรือการเล่นเป็นโทษของเด็กได้เป็นอย่างดี ช่วยทำให้งานประเพณีสนุกสนานครึกครื้น ในงานเทศกาลตามประเพณี เช่น งานบุญตรุษสงกรานต์งานบุญเข้าพรรษาบุญข้าวสาก บุญออกพรรษา เป็นต้นนอกจากมีการคบงันและจัดกิจกรรมต่าง ๆ แล้วเมื่อมีการละเล่นประกอบด้วย ก็จะทำให้งานนั้นๆสนุกสนานครึกครื้นเป็นการส่งเสริมให้งานมีชีวิตชีวา ช่วยทำให้มีผู้มาร่วมงานมากขึ้น ทำให้ผู้ร่วมงาน รู้จัก คุ้นเคย และรักใคร่ สามัคคี มีความรื่นเริงบันเทิงใจ





5. เป็นการสร้างเสริมในด้านขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เนื่องจากการละเล่นพื้นบ้านบางอย่าง ประชาชนได้นำมาเล่นในงานประเพณี ช่วยให้งานนั้นสนุกสนานยิ่งขึ้น การละเล่นจึงนับมีส่วนส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีด้วย นอกจากนี้การละเล่นยังเป็นมาดกตกทอด ลอกเลียนแบบต่อ ๆ กันมาแต่โบราณ เป็นเครื่องบอกถึง ความเจริญก้าวหน้า ของบรรพบุรุษเป็นการแสดงออกของวิถีชีวิต การพัฒนาสังคม ความสามัคคี กลมเกลียวก้าวหน้า จึงนับเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม และการละเล่นของบางท้องถิ่นก็แตกต่าง กันไปจึงนับเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นด้วย ที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า การละเล่นพื้นบ้านนับว่า เป็นสิ่งที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากควรจะได้มีการอนุรักษ์และส่งเสริมให้คงมีอยู่ต่อไป และควรจะได้มีการดัดแปลงแก้ไขการละเล่นบางอย่างให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
 ก็เชื่อว่า การละเล่นพื้นบ้าน คงจะอำนวยประโยชน์แก่ประชาชน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เป็นอย่างมาก ข้อควรปฏิบัติการแสดงการละเล่น การแสดงการละเล่นพื้นบ้าน มีข้อควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
- ก่อนแสดงการละเล่น ก่อนแสดงการละเล่น ควรนะได้มีการเตรียมบางอย่างไว้ให้พร้อม เพื่อให้การละเล่นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เป็นต้นว่าจัดสถานที่ ที่เหมาะสม เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ให้พร้อมเรียบร้อย หากจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ ก็ควรเตรียมจัดหาให้พร้อม มีสภาพเรียบร้อย ครบถ้วนและปลอดภัย จัดสถานที่เล่นให้เหมาะสมแก่การเล่นแต่ละอย่าง ก่อนลงมือเล่นควรซักซ้อมวิธีการเล่น ตลอดจนกติกาให้เข้าใจ เพื่อมิให้มีปัญหา ถกเถียงกันภายหลัง จัดแบ่งผู้เล่นตามกำลังความสามารถพอเหมาะสมกันทุกฝ่าย เพื่อความเป็นธรรม
- ขณะแสดงการละเล่น ในขณะดำเนินการละเล่น ผู้ควบคุมหรือผู้เป็นหัวหน้าควรดูแลอย่างใกล้ชิด ให้ผู้เล่นได้รับความเป็นธรรม และปลอดภัยมิให้ผู้เล่นเอาเปรียบซึ่งกันและกัน แก้ปัญหาเมื่อเกิดขึ้น และพยายามดูแลการละเล่น ให้ดำเนินไปตามกติการหรือข้อตกลงให้เป็นที่สนุกสนานและพอใจของทุกฝ่าย เป็นต้น ภายหลังการละเล่น ควรเสนอแนะผู้เล่นให้มีใจกว้าง รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ร่วมมือกันด้วยความยินดีสนุกสนาน หากมีข้อบกพร่องอะไรก็เสนอแนะ เพื่อจะได้แก้ไข หากจะมีการเล่นในโอกาสหน้า จัดเก็บอุปกรณ์และความสะอาดของสถานที่เล่นให้เรียบร้อย นัดหมายผู้เล่น หากจะมีการเล่นอีกในวันต่อไป เป็นต้น ส่งเสริมการวิธีการละเล่น การละเล่นพื้นบ้านมีความสำคัญและให้ประโยชน์อย่างไรท่านก็ทราบแล้ว ซึ่งเราควรหาทางส่งเสริมให้คงมีอยู่ พยายามพัฒนาให้ก้าวหน้าและเผยแพร่ให้เป็นที่ทราบอย่างแพร่หลาย ตลอดจนการนำไปปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง และจริงจังยิ่งขึ้นกว่าเท่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ การส่งเสริมการละเล่นที่ควรดำเนินการ ได้แก่ มีการฟื้นฟูการละเล่นพื้นบ้านที่มีอยู่แต่เดิม ซึ่งกำลังจะสูญหายไปให้คงมีอยู่ โดยให้คิดว่าการละเล่นเป็นมรดกของบรรพบุรุษที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น ถือว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ซึ่งอนุชนรุ่นหลังควรจะต้องอนุรักษ์ให้คงมีอยู่ตลอดต่อไป ให้มีการค้นคว้าบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านขึ้นไว้เป็นหลักฐาน ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและปฏิบัติ พยายามเผยแพร่ผลงานที่ค้นคว้า ให้เป็นที่แพร่หลายโดยทั่วกัน ผู้ใหญ่หรือคนเฒ่าคนแก่ที่มี่ความรู้เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน ควรให้ความร่วมมือ ชี้แจงแนะนำและถ่ายทอดวิธีการละเล่นที่เคยและเคยปฏิบัติมา ให้คนรุ่นหลังได้ทราบ โดยการชี้แจงให้เข้าใจหรือสาธิตวิธีการละเล่นให้ผู้ที่สนใจได้ทราบ ผู้นำท้องถิ่น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พระสงฆ์ และผู้ที่ประชาชนเชื่อถือ ฯลฯ ควรจะได้เป็นความสำคัญและหาทางสนับสนุน ให้มีการฟื้นฟูการละเล่นพื้นบ้านขึ้น แนะนำคนอื่นให้เป็นความสำคัญของการละเล่น และร่วมจัดกิจกรรมการละเล่นในโอกาสต่าง ๆ เช่น ในงานทำบุญตามประเพณี ได้แก บุญตรุษสงกรานต์ บุญเข้าพรรษา บุญข้าวสาก บุญออกพรรษา เป็นต้น สถานศึกษาหรือโรงเรียนควรเห็นความสำคัญของการละเล่นพื้นบ้าน ครูอาจารย์ควรจะได้สนใจศึกษา ไม่ควรมองไปว่า การละเล่นพื้นบ้านที่เรามีอยู่เป็นของล้าสมัย และควรพยายามนำเอาการละเล่นพื้นบ้านไปฝึกให้เด็กได้เล่นกัน และการละเล่นบางอย่างครูอาจารย์อาจนำไปใช้ประกอบการเรียน การสอน ให้เกิดประโยชน์แก่เด็กให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐจัดงานอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น ควรจะได้จัดให้มีการละเล่นพื้นบ้าน ในงานเทศกาล หรืองานประเพณีนั้น ๆ ควรพยายามนำการละเล่นไปเสริมกิจกรรมของงาน หากสามารถจัดทำได้เป็นประจำ จนให้ประชาชนมองเห็นความสำคัญของการละเล่นและจัดให้มีการละเล่นในงานที่จัดขึ้นโดยสม่ำเสมอได้ยิ่งดี
ประวัติความเป็นมาของการละเล่นไทย              
คำ "การละเล่น" เป็นคำเกิดใหม่ ผู้วชาญภาษาไทยท่านว่าเป็นการปรับเสียงคำ "การเล่น" ให้ออกเสียงง่ายขึ้น ขณะที่กรมศิลปากรให้ความหมายกว้างออกไปถึงการเล่นเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจหลังจากประกอบกิจประจำวัน และการเล่นในเทศกาลท้องถิ่นหรือในงานมงคลบ้าง อวมงคลบ้าง เช่น เพลงพื้นเมือง ละคร ลิเก ลำตัด หุ่น หนังใหญ่ ฯลฯ
การละเล่นของไทยคือการเล่นดั้งเดิมของเด็กและผู้ใหญ่ สืบทอดต่อกันมา เล่นเพื่อความบันเทิงใจ มีทั้งมีกติกาและไม่มีกติกา มีบทร้องหรือไม่มีบทร้อง บ้างมีท่าเต้นท่ารำประกอบเพื่อให้งดงามและสนุกสนานยิ่งขึ้น ผู้เล่นและผู้ชมสนุกร่วมกัน
การละเล่นของไทยพบหลักฐานว่ามีมาแต่กรุงสุโขทัย แต่ที่ชัดเจนปรากฏในบทละครเรื่อง "มโนห์รา" ครั้งกรุงศรีอยุธยา คือ การเล่นว่าว ลิงชิงเสา ปลาลงอวน
การละเล่นไทยแตกต่างไปตามสภาพท้องถิ่น บางอย่างไม่สามารถจะชี้ขาดลงไปได้ว่าเป็นการละเล่นของเด็กหรือของผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม วิธีการเล่นส่วนใหญ่มีคุณค่าในทางเสริมสร้างพลานามัย ประเทืองปัญญา ช่วยให้อารมณ์แจ่มใส ฝึกจิตใจให้งดงาม มีความสามัคคี และสร้างคนดี

สมัยสุโขทัย
                   การละเล่นของเด็กไทยนั้นมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ก่อนประวัติศาสตร์แล้ว กล่าวคือ เมื่อมนุษย์รู้จักเอาดินมาปั้นเป็นภาชนะ สิ่งของเครื่องใช้ในครั้งแรกแล้วจึงพัฒนามาเป็นลำดับ เด็ก ๆ เห็นผู้ใหญ่ทำก็เลียนแบบนำดินมาปั้นเล่นบ้าง ประวัติศาสตร์ได้มีการบันทึกว่า คนไทยมีการละเล่นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จากความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง สมัยสุโขทัยหลักที่ 1 กล่าวว่า “…ใครใคร่จักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน…” แต่ไม่มีรายละเอียดกล่าวไว้ว่าคนสมัยนั้นมีการละเล่นอะไรบ้าง ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีการกล่าวถึงการละเล่นของคนสมัยนั้นว่า “...เดือนยี่ถึงการพระราชพิธีบุษยาภิเษก เถลิงพระโค กินเลี้ยงเป็นนักขัตฤกษ์ หมู่นางในก็ได้ดูชุดชักว่าวหง่าวฟังสำเนียง เสียงว่าว ร้องเสนาะลั่นฟ้าไปทั้งทิวาราตรี...

สมัยกรุงศรีอยุธยา
                     ในสมัยอยุธยา ก็ได้กล่าวถึงการแสดงเรื่อง มโนห์รา ไว้ในบทละครครั้งกรุงเก่า ซึ่งเรื่องนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า แต่งก่อนสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ การละเล่นที่ปรากฏในบทละครเรื่องนี้ คือ ลิงชิงหลักและการเล่นปลาลงอวน ซึ่งประเพณีและวัฒนธรรมสมัยก่อน มักสอดแทรกความสนุกสนานบันเทิงควบคู่กันไปกับการทำงาน ทั้งในชีวิตประจำวัน และเทศกาลงานบุญ ตามระยะเวลาแห่งฤดูกาล    
ในสมัยอยุธยา บทละครกรุงเก่าได้กล่าวถึงการละเล่นบางอย่างที่คุณคงจะคุ้นเคยดีเมื่อสมัยยังเด็ก คือลิงชิงหลักและปลาลงอวน ในบทที่ว่า
เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา ว่าเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นกระไรดี เล่นให้สบายคลายทุกข์ เล่นให้สนุกในวันนี้ จะเล่นให้ขันกันสักทีเล่นให้สนุกกันจริงจริง มาเราจะวิ่งลิงชิงเสา ช้างโน้นนะเจ้าเป็นแดนพี่ ช้างนี้เป็นแดนเจ้านี้ เล่นลิงชิงเสาเหมือนกัน ถ้าใครวิ่งเร็วไปข้างหน้า ถ้าใครวิ่งช้าอยู่ข้างหลัง เอาบัวเป็นเสาเข้าชิงกัน ขยิกไล่ผายผันกันไปมา
 เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา บอกเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นปลาลงอวน บัวผุดสุดท้องน้องเป็นปลา ลอยล่องท่องมาเจ้าหน้านวลจะขึงมือกันไว้เป็นสายอวน ดักท่าหน้านวลเจ้าล่องมา ออกหน้าที่ใครจับตัวได้ คุมตัวเอาไว้ว่าได้ปลา
สมัยรัตนโกสินทร์
ในเรื่อง อิเหนาวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ก็ปรากฏการละเล่นหลายอย่าง เช่น ตะกร้อ จ้องเต ขี่ม้าส่งเมือง ดังว่า
“...บ้างตั้งวงเตะตะกร้อเล่น  เพลาเย็นแดดร่มลมสงัด
ปะเตะโต้คู่กันเป็นสันทัด          บ้างถนัดเข้าเตะเป็นน่าดู
ที่หนุ่มหนุ่มคะนองเล่นจ้องเต    สรวลเสเฮฮาขึ้นขี่คู่
บ้างรำอย่างชวามลายู            เป็นเหล่าเหล่าเล่นอยู่บนคิรี
หรือในขุนช้างขุนแผนกก็กล่าวถึงการละเล่นไม้หึ่งไว้ว่า
“...เมื่อกลางวันยังเห็นเล่นไม้หึ่ง กับอ้ายอึ่งอีดูกลูกอีมี
แล้วว่าเจ้าเล่าก็ช่างนั่งมึนมี       ว่าแล้วซิอย่าให้ลงในดิน
พระยาอนุมานราชธน ได้กล่าวถึง การละเล่นของเด็กไทยสมัยท่านไว้ใน ฟื้นความหลัง ว่า
 “ การละเล่นของเด็กปูนนี้ไม่ใช่มีปืน มีรถยนต์เล็กๆ อย่างที่เด็กเล่นกันเกร่ออยู่ในเวลานี้ ลูกหนัง



ปัจจุบัน
การละเล่นของเด็กไทยในปัจจุบัน เด็กผู้หญิงเล่นตุ๊กตากระดาษชุดขายของพลาสติกเลียนแบบของจริง วิดีโอเกม เด็กผู้ชายก็เล่นปืน จรวด เกมกด และเครื่องเล่นต่างๆ ซึ่งมีขายมากมาย และมีการละเล่นหลาย ชนิดที่นิยมเล่นทั้งในเด็กชายและเด็กหญิง นอกจากนั้นยังเล่นตามฐานะและเศรษฐกิจของครอบครัว ดังนั้นการละเล่นของเด็กไทยสมัยก่อนจึงค่อยๆ เลื่อนหายไปทีละน้อยๆ จนเกือบจะสูญหายไปหมดแล้ว เช่น กาฟักไข่ เขย่งเก็งกอย ตั้งเต ตี่ ขี่ม้าส่งเมืองขี้ตู่กลางนา เตย งูกินหาง ช่วงชัย ชักเย่อ ซ่อนหา มอญซ่อนผ้า ไอ้โม่ง รีรีข้าวสาร ฯลฯ

ลักษณะของกิจกรรมบันเทิงที่จัดอยู่ในการละเล่น ได้แก่
การแสดงหมายถึง การละเล่นที่รวมทั้งที่เป็นแบบแผนและการแสดงทั่วไปของชาวบ้าน ในรูปแบบการร้อง การบรรเลง การฟ้อนรำ ซึ่งประกอบด้วยดนตรี เพลงและนาฏศิลป์
มหรสพหมายถึง การแสดงที่ฝ่ายบ้านเมืองจะเรียกเก็บค่าแสดงเป็นเงินภาษีแผ่นดินตามพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้ตั้งแต่พุทธศักราช 2404 เป็นต้นมา ประกาศมหรสพว่าด้วยการละเล่นหลายประเภท ดังนี้ ละคร งิ้ว หุ่น หนังต่างๆ เพลง สักวา เสภา ลิเก กลองยาว ลาวแพน มอญรำและทวายรำ พิณพาทย์ มโหรี กลองแขก คฤหัสถ์สวดศพ และจำอวด
กีฬาและนันทนาการ คือ การละเล่นเพื่อความสนุกสนานตามเทศกาลและเล่นตามฤดูกาล และการละเล่นเพื่อการแข่งขัน หรือกิจกรรมที่ทำตามความสมัครใจในยามว่าง เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และผ่อนคลายความตึงเครียด
การละเล่นของเด็กจะเริ่มตั้งแต่เป็นทารกแบเบาะะจนกระทั่งเจริญวัย มีการละเล่นง่ายๆอยู่ภายในบ้าน การละเล่นสนุกนอกบ้าน การละเล่นที่นำอุปกรณ์การเล่นมาจากวัสดุธรรมชาติ เป็นการเล่นที่มุ่งเพื่อการพัฒนาร่างกาย สมอง และจิตใจตามวัย การละเล่นไทยของเด็ก ดังตัวอย่างการละเล่นเด็กไทย เช่น การเล่นรีรีข้าวสาร การเล่นโพงพาง การเล่นจ้ำจี้ ฯลฯ

การละเล่นของผู้ใหญ่ มีความซับซ้อนในวิธีการเล่นตามประเภทการแสดง มีทั้งมุ่งแสดงเพื่อบวงสรวงสิ่งศักสิทธิ์อันเป็นพิธีกรรมการเฉลิมฉลองพระเกียรติพระมหากษัตริย์ การสมโภชน์งานทางศาสนา และการสังสรรค์สนุกสนานของชาวบ้าน เช่น การแสดงละคร การฟ้อนรำ การแสดงโขน ลำตัด ลิเก ฯลฯ ลักษณะของการละเล่นพื้นเมือง
การละเล่นของเด็กไทย  การเล่นเป็นชีวิตจิตใจของเด็กไม่มีเด็กคนไหนที่ไม่ชอบเล่นไม่ว่าจะเล่นคนเดียวหรือเล่นกับเพื่อนๆ การเล่นและเด็กจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น  
               การเล่นไม่ใช่การใช้เวลาสูญเปล่า  แต่เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมความสามารถทางกายจิตใจ และช่วยให้มีมนุษยสัมพันธ์อันดี ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในชิวิต  
               การละเล่นที่แสดงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยโดยสามารถแบ่งตามการละเล่นแต่ละภาค 

การละเล่นในแต่ละภาค มีดังนี้
-  การละเล่นภาคเหนือ
-  การละเล่นภาคกลาง
-  การละเล่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน
-  การละเล่นภาคใต้



ตัวอย่างและวิธีเล่นการละเล่นไทย มีดังนี้

กงจักร


 
  
จำนวนผู้เล่น
ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น
ผู้เล่นนำฝาเบียร์มาทับให้แบน เจาะรูตรงกลาง นำเชือกร้อยเข้าไปในรูตรงกลางถือเชือกไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง แกร่งเชือกให้เป็นเกลียวมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แล้วดึงให้ฝาเบียร์จะหมุนอย่างรวดเร็ว
อุปกรณ์
ฝาเบียร์, ตะปู, ค้อน, เชือก



กระโดดกบ




จำนวนผู้เล่น
ไม่เกิน 10 คน
วิธีเล่น
เอาผ้าผูกขา 2 ข้างของผู้เล่นติดกัน เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้เล่นทุกคนจะกระโดดออกจากเส้นเริ่มต้นไปจนถึงเส้นชัย ใครไปถึงก่อนเป็นผู้ชนะ
อุปกรณ์
ผ้าสำหรับใช้ผูกขาเท่าจำนวนผู้เล่น




กระโดดเชือกคู่



 


จำนวนผู้เล่น
ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่
เลือกผู้เล่น 2 คนมาจับปลายเชือกคนละข้าง แล้วแกว่งไปด้านข้างทางเดียวกัน  ผู้เล่นที่เหลือเข้าไปกระโดดข้ามเชือกที่กำลังแกว่าง  จะกระโดดทีละคนหรือพร้อมกันหลายๆ คนก็ได้  ถ้าใครกระโดดสะดุดเชือก หรือกระโดดคร่อมเชือก ถือว่าตายต้องไปถือเชือกแกว่ง และให้คนที่ถือเชือกอยู่เดิมมากระโดดแทน
อุปกรณ์
เชือก 1 เส้น ยาวประมาณ 5.10 เมตร




กระโดดเชือกเดี่ยว




จำนวนผู้เล่น
ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น
ผู้เล่นจับปลายเชือก 2 ข้าง แก่งไปข้างหน้าพอเชือกแกว่งมาถึงปลายเท้าก็กระโดดข้ามเชือกทีละขา หรือพร้อมกันทั้ง 2 ขาก็ได้ ถ้าเหยียบเชือกหรือกระโดดข้ามไม่พ้นเชือกก็ต้องให้ผู้เล่นคนอื่นกระโดดต่อ  ซึ่งในการกระโดดเชือกเดี่ยวนี้บางคนอาจจะแกว่งเชือกไปทางด้านหลังก็ได้
อุปกรณ์
เชือก 1 เส้น มีความยาวเท่ากับความสูงของผู้เล่น (เมื่อจับเชือกสองมือใช้เท้าเหยียบกลางเชือก แล้วยกแขนขึ้นสูงระดับศีรษะของตัวเอง)


กระโดดยาง




จำนวนผู้เล่น
3 คนขึ้นไป
วิธีเล่น
นำหนังยางมาต่อกันคล้ายๆ โซ่ เวลาเล่นจะต้องมีผู้เล่น 2 คนถือยางคนละข้าง ดึงให้ตึงพอสมควร แล้วให้ผู้เล่นที่เหลือกระโดดข้าม แต่ละเกมการเล่นจะแบ่งเป็นระดับตามความสูงของการถือยาง คือจากต่ำไปจนถึงสูง หากผู้กระโดดไม่สามารถกระโดดข้ามได้ในความสูงระดับใดถือว่าแพ้ ต้องหยุดเล่นแล้วนั่งดูผู้ที่เหลือเล่นจนจบเกม
อุปกรณ์
ยาง


กระต่ายขาเดียว




จำนวนผู้เล่น
ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น
ขีดเส้นแบ่งเขตบนพื้น และมีเขตจำกัดเส้นออกไว้ด้วย แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่ายเท่าๆ กัน ตกลงกันว่าใครจะเป็นกระต่ายก่อน กลุ่มที่เป็นกระต่ายจะคิดคำขึ้นหนึ่งคำ ให้มีพยางค์เท่ากับจำนวนคนในหมู่และจำต้องกำหนดพยางค์ให้แต่ละคนด้วย เมื่อคิดคำได้แล้วหมู่ที่เป็นฝ่ายเล่นทั้งหมดก็จะเป็นผู้เลือกว่า จะเอาพยางค์ใด ฝ่ายกระต่ายคนที่มีพยางค์ตรงกับที่โดนเลือกก็จะวิ่งกระโดดขาเดียวให้เร็วที่สุด และไล่จับแตะคนในฝ่ายเล่น ถ้าคนใดโดนจับหรือถูกตัวกระต่ายก็ต้องออกจากการเล่น แต่ถ้ากระต่ายเปลี่ยนขาหรือขาแตะพื้นจะต้องเปลี่ยนเป็นกระต่ายตัวใหม่ที่ฝ่ายเล่นจะเลือก เมื่อฝ่ายเล่นถูกไล่ตีจนหมดแล้วก็ถือว่าแพ้ ต้องมาเป็นฝ่ายกระต่ายบ้าง
ตัวอย่างการเล่น
ฝ่ายกระต่ายมีสมาชิก 4 คน ก็คิดคำ 4 พยางค์ เช่น ทุเรียนหมอนทอง คนแรกเป็น ทุคนที่2 เป็นเรียนคนที่3 เป็นหมอนคนที่4 เป็นทองเมื่อฝ่ายเล่นเรียกทองคนที่เป็นทองต้องกระโดดขาเดียวไล่จับคนฝ่ายเล่น ถ้าเท้าตกถึงพื้นฝ่ายเล่นจะเลือกคนใหม่อีก จนกว่าจะหมด ถ้าฝ่ายกระต่ายแตะได้ก่อน หรือฝ่ายเล่นวิ่งออกนอกเส้นแบ่งเขต จะหมดสิทธิ์เป็นฝ่ายเล่นต้องมาเป็นฝ่ายกระต่ายแทน
ก่อกองทราย






จำนวนผู้เล่น
ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น
นำทรายมากองไว้จำนวนมากๆ จากนั้นผู้เล่นทำการก่อกองทราย โดยการโกยทรายทำเป็นรูปร่างต่างๆ ตามจินตนาการ เช่น ปราสาทใหญ่ บ้าน เป็นต้น
อุปกรณ์
ทราย



กาฟักไข่




จำนวนผู้เล่น
ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น
ใช้ผลไม้หรืออะไรก็ได้ สมมุติว่าเป็นไข่ และเขียนวงกลมลงบนพื้น เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 ฟุต 1 วง และอีกวงหนึ่งอยู่ในวงแรก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ฟุต วางทั้งหมดไว้ในวงกลมเล็ก ให้คนใดคนหนึ่งเป็นกา ยืนในวงกลมวงใหญ่ หรือนั่งคร่อมวงกลมเล็ก นอกนั้นทุกคนยืนรอบนอกวงกลมวงใหญ่ คอยแย่งไข่ คนเป็นกามีหน้าที่ป้องกันไข่ โดยมีกติกาการเล่น ดังนี้
1.     ผู้มีหน้าที่หยิบไข่ เข้าไปในวงกลมไม่ได้
2.     ผู้มีหน้าที่หยิบไข่ ต้องระวังมิให้อีกาตีถูกมือ หรือแขนของตน ซึ่งล่วงล้ำเข้าไปในวงกลมได้
3.     ถ้าแย่งไข่ไปจากอีกาได้หมดแล้ว ให้ปิดตากาแล้วเอาไข่ไปซ่อนให้อีกาตามหาไข่ ถ้าพบไข่ที่ผู้เล่นคนใดเป็นคนซ่อน ผู้นั้นต้องเปลี่ยนมาเป็นกาแทน
อุปกรณ์
ก้อนหินหรือผลไม้เท่าจำนวนคนเล่น ยกเว้นคนที่เป็นกา 1 คน

กำทาย



จำนวนผู้เล่น
จำนวน 2 คนขึ้นไป
วิธีเล่น
ก่อนเล่นผู้เล่นต้องจับไม้สั้นไม้ยาว เพื่อให้ผู้ชนะได้เป็นผู้กำทายก่อน และผู้เล่นคนที่ 1 กำเมล็ดถั่วจำนวนเท่าใดก็ได้ไว้ในมือ แล้วให้ผู้เล่นคนอื่นเป็นคนทายว่ามีกี่เมล็ด หากผู้เล่นคนใดทายถูกก็จะได้เป็นเจ้าของเมล็ดถั่วนั้น.
อุปกรณ์
เมล็ดถั่วสำหรับการทาย




เก้าอี้ดนตรี




จำนวนผู้เล่น
ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น
ตั้งเก้าอี้เรียงเป็นวงกลมให้เก้าอี้มีจำนวนน้อยกว่าผู้เล่น 1 ตัว  แล้วให้ผู้เล่นยืนเป็นวงกลมล้อมเก้าอี้ เมื่อเพลงขึ้นให้ผู้เล่นเดินไปรอบวงพร้อมกับรำไปด้วยให้เข้าจังหวะเพลง พอเพลงหยุดผู้เล่นต้องรีบนั่งลงบนเก้าอี้ ผู้ใดที่ไม่มีที่นั่งต้องออกจากการแข่งขันไป แล้วดึงเก้าอี้ออกไป 1 ตัว จากนั้นก็เริ่มเล่นต่อไปจนกระทั่งเหลือผู้เล่น 2 คนสุดท้าย และเหลือเก้าอี้ 1 ตัว ผู้ใดที่นั่งได้ก่อนเป็นผู้ชนะ
อุปกรณ์
เก้าอี้


ขาไก่ติดกัน




จำนวนผู้เล่น
ไม่น้อยกว่า 4 คน (ต้องเป็นจำนวนคู่)
วิธีเล่น
ให้จับคู่กันเป็นคู่ๆ แล้วเอาขาข้างใดข้างหนึ่งที่เป็นข้างเดียวกันไขว้กัน หรือเกี่ยวกันโดยหันหลังให้กัน เมื่อเกี่ยวกันได้แล้ว ให้กระโดดอยู่กับที่ ถ้าขาของคู่ใดหลุดออกจากกัน หรือล้มลง คู่นั้นต้องออกจากการแข่งขัน คนที่ยืนอยู่ได้โดยที่ขาไม่หลุดออกจากกันจะเป็นผู้ชนะ
อุปกรณ์
ไม่มี

  

ขายแตงโม



จำนวนผู้เล่น
ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น
คนหนึ่งเป็นคนซื้อ อีกคนเป็นคนขาย คนขายต้องนั่งยึดเสา หรือยึดสิ่งถาวรเป็นหลักให้คนที่เป็นแตงโมซึ่งจะมีกี่คนก็ได้ นั่งยึดเอวเอาไว้ให้แน่น แล้วให้คนอื่นๆยึดเอวต่อๆกันไป จนหมดจำนวนคน ผู้ขายก็ต้องถามว่า "จะซื้อไปไหน"ผู้ซื้อจะเอานิ้วดีดศรีษะเหมือนดีดแตงโมจริงๆแล้วบอกว่าต้องการใบไหน คนขายให้หยิบเอาเอง คนซื้อก็จะพยายามดึงแตงโมนั้นออกมาผู้ที่เป็นแตงโมก็จะยึดแน่นไม่ยอมปล่อย ถ้าแย่งได้แตงโมคนนั้นต้องเป็นคนซื้อ ระหว่างเล่นจะมีการโต้ตอบกัน
อุปกรณ์
เสาหลัก



ขี่ม้าโยนบอล





จำนวนผู้เล่น
ไม่จำกัดจำนวน แต่ต้องครบคู่
วิธีเล่น
แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 กลุ่มเท่าๆกันตั้งวงกลมแล้วเลี้ยงคู่ต่อคู่ฝ่ายแพ้จะถูกฝ่ายชนะขี่หลังแต่ละคู่ยืนห่างกัน 3 - 5 เมตร ผู้ที่ขี่หลังจะโยนลูกบอลส่งให้กับฝ่ายที่ถูกขี่หลังต้องไม่กระดุกกระดิกเวลาที่ฝ่ายขี่โยนลูกบอลถ้าฝ่ายถูกขี่กระดุกกระดิกพยายามให้ลูกบอลตกฝ่ายขี่จะเอาลูกบอลเคาะศรีษะได้ถ้าฝ่ายขี่รับลูกบอลไม่ได้ จะต้องรีบลงจากหลังวิ่งหนี ฝ่ายถูกขี่จะหยิบลูกบอลขว้างได้ฝ่ายขี่ถ้าขว้างไม่ถูกจะต้องถูกขี่ใหม่อีก แต่ถ้าขว้างถูกจะได้เปลี่ยนเป็นฝ่ายขี่แทน
อุปกรณ์
ลูกบอล


ขี่ม้าส่งเมือง



จำนวนผู้เล่น
ผู้เล่นมีจำนวน 6-8 คน
วิธีเล่น
ผู้เล่นจะถูกแบ่งเป็น 2 ฝ่ายเท่าๆกัน และจะมีผู้เล่น 1 คนเป็น เจ้าเมืองแต่ละฝ่ายจะผลัดกันเดินมากระซิบบอกชื่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามคนหนึ่งกับเจ้าเมือง จากนั้นอีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องส่งผู้เล่นคนหนึ่งออกมาหาเจ้าเมืองบ้าง หากคนที่ออกมาตรงกับชื่อที่อีกฝ่ายมาบอกไว้ เจ้าเมืองก็จะร้องว่า โป้งผู้เล่นที่ถูกโป้งต้องตกเป็นเชลยและฝ่ายใดถูกจับเป็นเชลยหมดก่อน ก็ต้องแพ้ไปกลายเป็น ม้าให้ฝ่ายชนะขี่หลัง
อุปกรณ์
ไม่มี




แข่งเรือบก



จำนวนผู้เล่น
ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น
แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย เท่าๆ กัน  แล้วทั้ง 2 ฝ่ายนั่งเข้าแถวต่อกันเป็น 2 แถว ห่างกันพอสมควร โดยให้คนแรกของแถวอยู่ในระดับเดียวกัน  คนที่นั่นอยู่ข้างหลังใช้ขารัดเองของคนข้างหน้าไว้ต่อๆ กัน  เมื่อกรรมการให้สัญญาณเริ่มแข่งขัน ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะต้องกระเถิบตัวไปข้างหน้าให้เร็วที่สุด และไม่ให้ขาหลุดจากเอวคนข้างหน้าเป็นอันขาด ฝ่ายใดไปถึงเส้นชัยก่อนเป็นฝ่ายชนะ
อุปกรณ์
ไม่มี



โคเกวียน



จำนวนผู้เล่น
ไม่จำกัดจำนวน
วิธีเล่น
แบ่งผู้เล่นเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน โดยให้ 2 คนจับแขนกันให้แน่นทั้งสองแขน สมมุติว่าเป็น โคส่วนคนที่ 3 สมมุติว่าเป็นเกวียน ต้องขึ้นไปนั่งบนแขนของคนทั้ง 2 นั้น ใช้แขนโอบไหล่คนเป็นโคให้แน่น เมื่อเริ่มการเล่น โคจะต้องวิ่งออกจากจุดเริ่มต้นให้เร็วที่สุด โดยมิให้คนที่เป็นเกวียนตกลงมา และแขนต้องไม่หลุดออกจากกัน กลุ่มใดถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ
อุปกรณ์
ไม่มี



งูกินหาง




จำนวนผู้เล่น
ผู้เล่นมีจำนวน 8-10 คน
วิธีเล่น
แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายที่ 1 จะต้องเป็น พ่องู” 1 คน ฝ่ายที่ 2 มี แม่งู” 1 คน ที่เหลือเป็น ลูกงูซึ่งผู้เล่นเป็นลูกงูจะต้องเกาะเอวผู้เล่นเป็นแม่งู จากนั้น พ่องูเริ่มถามว่า แม่งูเอ๋ยแม่งูและลูกงูก็ร้องตอบว่า เอ๋ยพอช่วงท้ายพ่องูถามว่า กินหัว กินหางแม่งูตอบว่า กินกลางตลอดตัวผู้เป็นพ่องูจะไล่จับลูกงูจากปลายแถว ฝ่ายแม่งูจะต้องกางมือเพื่อป้องกันลูก หากลูกงูตัวใดถูกพ่องูดึงจนหลุดออกจากแถวไป ก็จะต้องออกจากการเล่น ผู้เล่นที่เหลือก็เริ่มเล่นกันอีกจนกว่าลูกงูจะถูกจับจนหมด
อุปกรณ์
ไม่มี


จ้ำจี้


จำนวนผู้เล่น
ผู้เล่นจะมีจำนวน 3-4 คน
วิธีเล่น
ผู้เล่นจะวางมือบนพื้น แล้วเด็กคนแรกเป็นคนชี้นิ้วไปเรื่อยๆ พร้อมกับร้องเพลง จ้ำจี้มะเขือเปาะเมื่อร้องจบแล้วนิ้วชี้ไปตกที่นิ้วของใคร คนนั้นจะต้องหดนิ้วไว้ในอุ้งมือ จากนั้นก็เริ่มร้องเพลงต่อไปเรื่อยๆ สุดท้ายนิ้วใครขาดหายไปมากที่สุดจะถือว่าเป็นผู้แพ้
อุปกรณ์
ไม่มี
เพลงประกอบ
จ้ำจีมะเขือเปราะ                  พายเรืออกแอ่น
สาวๆ หนุ่มๆ                       อาบน้ำท่าวัด
เอากระจกที่ไหนส่อง         กะเทาะหน้าแว่น
กระแท่นต้นกุ่ม                    อาบน้ำท่าไหน

เอาแป้งที่ไหนผัด เยี่ยมๆ มองๆ นกขุนทองร้องฮู้