12.01.2015 Views

FullText - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

FullText - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

FullText - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

“หินทรายผาแต้ม”


เนื่องในปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ อันเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ของ<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ เป็นปีแห่งการสถาปนากรมทรัพยากรธรณี<br />

ครบรอบ ๑๒๐ ปี เพื่อแสดงความสำานึกในพระมหากรุณาธิคุณ แสดงความจงรักภักดี และแสดงความมุ่งมั่น<br />

ที่จะปฏิบัติหน้าที่อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้วิชาการด้านธรณีวิทยาอย่างกว้างขวางตามรอยพระยุคลบาท<br />

ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่วิชาการด้านธรณีวิทยาของประเทศอย่างหาที่สุดมิได้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา<br />

กอปรกับในปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ สำานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่อง<br />

มาจากพระราชดำาริ(สำานักงาน กปร.) ได้รับพระราชทานพื้นที่โรงงานสุราบางยี่ขัน (เดิม) แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด<br />

กรุงเทพมหานคร เพื่อก่อสร้างอาคารสำานักงานแห่งใหม่เพื่อใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติงานของข้าราชการสำ านักงาน กปร.<br />

และเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อสนองงานพระราชดำาริร่วมกัน โดยอาคารสำานักงานได้จัดพื้นที่จัดแสดง<br />

หินและแร่สัญลักษณ์ของจังหวัด อันจะสื่อถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรม-<br />

วงศานุวงศ์ทุกพระองค์ที่ได้เสด็จพระราชดำาเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ<br />

กรมทรัพยากรธรณีโดยคณะกรรมการคัดเลือกและจัดทำาข้อมูลเอกสารหินหรือแร่สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

คณะอนุกรรมการคัดเลือกและจัดทำาข้อมูลเอกสารทรัพยากรธรณีของจังหวัด และคณะอนุกรรมการพิจารณา<br />

จัดทำาสื่อความหมายและเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรธรณีสัญลักษณ์ของจังหวัด ได้ดำาเนินการคัดเลือกทรัพยากรธรณี<br />

ของจังหวัดต่างๆ ให้ถูกต้องและตรงกับข้อเท็จจริงทางวิชาการธรณีวิทยา ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของแต่ละจังหวัด<br />

ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดแสดงตัวอย่างทรัพยากรธรณีบริเวณอาคารสำานักงาน กปร. และจัดทำา<br />

สื่อเอกสารและหนังสือทรัพยากรธรณีสัญลักษณ์ของจังหวัด เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ ความเข้าใจ และ<br />

ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ผู้สนใจทั่วไป และภาคส่วนต่างๆ ได้รับทราบถึงสัญลักษณ์ทรัพยากรธรณีของแต่ละ<br />

จังหวัด และสำานึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระราชกรณียกิจที่พระองค์ได้เสด็จพระราชดำาเนินไปทั ่วทุกภูมิภาค<br />

ของประเทศไทย เพื่อดูแลทุกข์สุขของพสกนิกรชาวไทยของพระองค์ รวมทั้งเป็นการปลูกฝังและสร้างจิตสำานึก<br />

ในการนำาความรู้และข้อมูลธรณีวิทยาไปใช้เป็นปัจจัยพื้นฐานและประโยชน์ต่อไปในการสนองพระบรมราโชวาทที่ว่า<br />

“วิชาการทั้งปวงนั้น ถึงจะมีประเภทมากมายเพียงใดก็ตาม แต่เมื่อนำามาใช้สร้างสรรค์สิ่งใด<br />

ก็ต้องใช้ด้วยกัน หรือต้องนำามาประยุกต์เข้าด้วยกันเสมอ อย่างกับอาหารที่เรารับประทาน กว่าจะสำาเร็จรูปขึ้นมา<br />

ให้รับประทานได้ ต้องอาศัยวิชาประสมประสานกันหลายอย่าง และต้องผ่านการปฏิบัติมากมาย<br />

หลายอย่างหลายตอน ดังนั้นวิชาต่างๆ มีความสัมพันธ์ถึงกันและมีอุปการะแก่กัน ทั้งฝ่ายวิทยาศาสตร์<br />

และศิลปศาสตร์ ไม่มีวิชาใดที่นำามาใช้โดยลำาพังตัวหรือเฉพาะอย่างได้เลย”<br />

(พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ครูใหญ่โรงเรียนและนักเรียนที่สมควรได้รับพระราชทานรางวัล<br />

ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ประจำาปีการศึกษา ๒๕๑๙​วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๒๑)


สารบัญ<br />

พระราชกรณียกิจและพระกรณียกิจ ๔<br />

ด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี<br />

ธรณีวิทยาประเทศไทย ๑๐<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด ๑๗<br />

กรุงเทพมหานคร ๑๘<br />

กระบี่ ๑๙<br />

กาญจนบุรี ๒๐<br />

กาฬสินธุ์ ๒๑<br />

กำาแพงเพชร ๒๒<br />

ขอนแก่น ๒๓<br />

จันทบุรี ๒๔<br />

ฉะเชิงเทรา ๒๕<br />

ชลบุรี ๒๖<br />

ชัยนาท ๒๗<br />

ชัยภูมิ ๒๘<br />

ชุมพร ๒๙<br />

เชียงราย ๓๐<br />

เชียงใหม่ ๓๑<br />

ตรัง ๓๒<br />

ตราด ๓๓<br />

ตาก ๓๔<br />

นครนายก ๓๕<br />

นครปฐม ๓๖<br />

นครพนม ๓๗<br />

นครราชสีมา ๓๘<br />

นครศรีธรรมราช ๓๙<br />

นครสวรรค์ ๔๐<br />

นนทบุรี ๔๑<br />

นราธิวาส ๔๒<br />

น่าน ๔๓<br />

บึงกาฬ ๔๔<br />

บุรีรัมย์ ๔๕<br />

ปทุมธานี ๔๖<br />

ประจวบคีรีขันธ์ ๔๗<br />

ปราจีนบุรี ๔๘<br />

ปัตตานี ๔๙<br />

พระนครศรีอยุธยา ๕๐<br />

พะเยา ๕๑<br />

พังงา ๕๒<br />

พัทลุง ๕๓<br />

พิจิตร ๕๔<br />

พิษณุโลก ๕๕<br />

เพชรบุรี ๕๖<br />

เพชรบูรณ์ ๕๗<br />

แพร่ ๕๘<br />

ภูเก็ต ๕๙<br />

มหาสารคาม ๖๐<br />

มุกดาหาร ๖๑<br />

แม่ฮ่องสอน ๖๒<br />

ยโสธร ๖๓<br />

ยะลา ๖๔<br />

ร้อยเอ็ด ๖๕<br />

ระนอง ๖๖<br />

ระยอง ๖๗<br />

ราชบุรี ๖๘<br />

ลพบุรี ๖๙<br />

ลำาปาง ๗๐<br />

ลำาพูน ๗๑<br />

เลย ๗๒<br />

ศรีสะเกษ ๗๓<br />

สกลนคร ๗๔<br />

สงขลา ๗๕<br />

สตูล ๗๖<br />

สมุทรปราการ ๗๗<br />

สมุทรสงคราม ๗๘<br />

สมุทรสาคร ๗๙<br />

สระแก้ว ๘๐<br />

สระบุรี ๘๑<br />

สิงห์บุรี ๘๒<br />

สุโขทัย ๘๓<br />

สุพรรณบุรี ๘๔<br />

สุราษฎร์ธานี ๘๕<br />

สุรินทร์ ๘๖<br />

หนองคาย ๘๗<br />

หนองบัวลำาภู ๘๘<br />

อ่างทอง ๘๙<br />

อำานาจเจริญ ๙๐<br />

อุดรธานี ๙๑<br />

อุตรดิตถ์ ๙๒<br />

อุทัยธานี ๙๓<br />

อุบลราชธานี ๙๔<br />

บรรณานุกรม ๙๕


พระราชกรณียกิจและพระกรณียกิจ<br />

ด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี<br />

The Royal Duties<br />

Related to Geology and Mineral Resources<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชานุญาตให้นายอภิชัย ชวเจริญพันธ์<br />

อธิบดีกรมทรัพยากรธรณีและคณะผู้บริหาร เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายสมุดแผนที่ทรัพยากรธรณี<br />

ประเทศไทย เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐<br />

His Majesty King Bhumibol Adulyadej graciously granted an audience<br />

to the Director-General of Department of Mineral Resources, Mr. Apichai Chawacharoenphan,<br />

and government officials to present mineral resources map of Thailand on August 9, 2007.<br />

4


พ.ศ. ๒๕oo - ๒๕๒o<br />

A.D. 1957 - 1977<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ<br />

เสด็จพระราชดำาเนินไปทอดพระเนตรการประกอบกิจการเหมืองแร่ที่ภาคใต้ เมื่อปี<br />

พ.ศ. ๒๕๐๒ โดยมีข้าราชการและพนักงานกรมโลหกิจ (กรมทรัพยากรธรณี)<br />

เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ<br />

His Majesty King Bhumibol Adulyadej and Her Majesty Queen Sirikit<br />

graciously paid a visit to mining industry in the South in 1959. On this<br />

occasion, His Majesty the King and Her Majesty the Queen graciously granted<br />

an audience to the civil servants and personnel of the former Department of<br />

Mines (currently the Department of Mineral Resources).<br />

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ขณะดำารงพระอิสริยยศพระเจ้าลูกยาเธอ<br />

เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ เสด็จพระราชดำาเนินพร้อมด้วยพระสหาย ไปทอดพระเนตรการดำาเนิน<br />

การด้านทรัพยากรธรณีของกรมโลหกิจ (กรมทรัพยากรธรณี) ถนนพระรามที่ ๖ เขต<br />

ราชเทวี กรุงเทพฯ เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยมีข้าราชการ<br />

และพนักงานกรมโลหกิจเฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จและกราบบังคมทูลบรรยาย<br />

During the time when His Royal Highness Crown Prince Maha Vajiralongkorn still held<br />

the royal title of His Royal Highness Prince Vajiralongkorn, the prince accompanied<br />

by his friends graciously paid a visit to the former Department of Mines (currently the<br />

Department of Mineral Resources), located on Rama VI Road, Ratchathewi District,<br />

Bangkok on Children’s Day, 1961. On this occasion, the prince graciously granted<br />

an audience to the civil servants and personnel of the former Department of Mines<br />

to report on the Department’s activities.<br />

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ขณะดำารงพระอิสริยยศ<br />

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ เสด็จพร้อมด้วยพระสหายร่วมชั้น<br />

ไปทอดพระเนตรโรงทดลองแต่งแร่ของกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ<br />

ถนนพระรามที่ ๖ เขตราชเทวี กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยมีนายสันต์<br />

รัชฎาวงศ์ นายช่างเอก กองการเหมืองแร่ พร้อมข้าราชการและพนักงานกรมทรัพยากรธรณี<br />

เฝ้ารับเสด็จและกราบทูลอธิบายโดยละเอียด<br />

Her Royal Highness Princess Chulabhorn accompanied by her classmates graciously<br />

paid a visit to the pilot plant of Department of Mineral Resources, Ministry of National<br />

Development, located on Rama VI Road, Ratchathewi District on September 15,<br />

1970. On this occasion, the princess was welcomed to the site by Chief Engineer of<br />

Mining Division, Mr. Sant Rachadawongse and other civil servants and personnel<br />

of Department of Mineral Resources.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

5


พ.ศ. ๒๕๒๑ - ๒๕๔o<br />

A.D. 1978 - 1997<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

6<br />

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำาเนินไปทรงเป็นประธานในพิธีเปิด<br />

แหล่งก๊าซธรรมชาติบงกช อ่าวไทย เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๖<br />

Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn graciously presided over the opening<br />

ceremony of Bongkot Natural Gas Field in the Gulf of Thailand on September 15, 1983.<br />

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำาเนินพร้อมด้วย<br />

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ไปทอดพระเนตรการแสดงนิทรรศการ<br />

ของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมทรัพยากรธรณี ในงานเวิลด์เทค ’๙๕ เมื่อวันที่<br />

๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ณ จังหวัดนครราชสีมา โดยมีนายปรีชา อรรถวิภัชน์<br />

ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ กราบบังคมทูลรายงาน<br />

และนำาเสด็จเยี่ยมชมส่วนแสดงนิทรรศการ<br />

Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn accompanied<br />

by Her Royal Highness Princess Bajrakitiyabha graciously paid a visit<br />

to the exhibition booth of Department of Mineral Resources, Ministry<br />

of Industry, which was held at WorldTech ’95 expo on November 4,<br />

1995, Nakhon Ratchasima Province. Upon arrival, the princesses<br />

were welcomed to the exhibition area by Mr. Preecha Attavipach,<br />

the Permanent Secretary of Ministry of Industry.


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี<br />

เสด็จพระราชดำาเนินไปทอดพระเนตรหลุมขุดค้น<br />

ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว อำาเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์<br />

เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘ โดยมีนาย<br />

วราวุธ สุธีธร นักธรณีวิทยาของกรมทรัพยากรธรณี<br />

กราบบังคมทูลอธิบายวิธีขุดค้นไดโนเสาร์และ<br />

นำาเสด็จเยี่ยมชมหลุมขุดค้นบริเวณใกล้เคียง<br />

Her Royal Highness Princess Maha Chakri<br />

Sirindhorn graciously paid a visit to Phu Kum<br />

Khao Dinosaur Excavation Pit, Sahatsakhan<br />

District, Kalasin Province on November 24,<br />

1995. The princess was welcomed to the site<br />

and received report about the exploration of<br />

dinosaur remains by Mr. Voravudh Suteethorn,<br />

Department of Mineral Resources geologist.<br />

พ.ศ. ๒๕๔๑ - ปัจจุบัน<br />

A.D. 1998 - present<br />

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร<br />

เสด็จพระราชดำาเนินเยี่ยมพื้นที่ที่เกิดธรณีพิบัติภัย<br />

ที่บ้านนํ้าต๊ะ อำาเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่<br />

๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยมีนายสมศักดิ์ โพธิสัตย์<br />

อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ถวายการบรรยาย<br />

His Royal Highness Crown Prince Maha<br />

Vajiralongkorn graciously paid a visit to an area<br />

severely affected by landslide at Baan Nam<br />

Ta, Tha Pla District, Uttaradit Province, on July<br />

5, 2006. The Crown Prince was welcomed by<br />

the Director-General of Department of Mineral<br />

Resources, Mr. Somsak Potisat.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

7


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำาเนินไปทอดพระเนตร<br />

การแสดงนิทรรศการของกรมทรัพยากรธรณี ในงานวันเกษตรแห่งชาติ เมื่อเดือนมกราคม<br />

พ.ศ. ๒๕๔๕ ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีนายนภดล มัณฑะจิตร อธิบดี<br />

กรมทรัพยากรธรณี เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ กราบบังคมทูลรายงานและนำาเสด็จ<br />

เยี่ยมชมส่วนแสดงนิทรรศการของกรมทรัพยากรธรณีโดยรอบ<br />

Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn graciously paid<br />

a visit to the exhibition of Department of Mineral Resources organized on<br />

National Agriculture Day, at Chiang Mai University in January 2002. On<br />

this occasion, the princess was welcomed to the exhibition area by the<br />

Director-General of Department of Mineral Resources, Mr. Nopadon Mantajit.<br />

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำาเนินไปทอดพระเนตร<br />

โครงการโรงเรียนพระราชทาน ซึ่งกรมทรัพยากรธรณีได้เข้าร่วมสนับสนุนด้านการขุดเจาะ<br />

นํ้าบาดาล ณ อำาเภอซ็อมโบร์ จังหวัดกำาปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕<br />

โดยมีนายสมศักดิ์ โพธิสัตย์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ<br />

และกราบบังคมทูลรายงาน<br />

Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn graciously paid<br />

a visit to the royal award school that Department of Mineral Resources<br />

provided deep well at Sombor District, Kampong Thom Province,<br />

Cambodia in 2002. On this occasion, the princess was welcomed by the<br />

Director-General of Department of Mineral Resources, Mr. Somsak Potisat.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

8<br />

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำาเนิน<br />

ไปทรงเป็นประธานเปิดพิพิธภัณฑ์สิรินธร อำาเภอสหัสขันธ์ จังหวัด<br />

กาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑<br />

Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn graciously<br />

presided over the opening ceremony of Sirindhorn Museum,<br />

Sahatsakhan District, Kalasin Province on December 9, 2008.<br />

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี<br />

เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการเรื่องธรณีวิทยา บริเวณสวนสมเด็จ<br />

พระศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓<br />

Her Royal Highness Princess Chulabhorn graciously paid a visit<br />

to geological exhibition at Somdet Phra Srinagarindra Park,<br />

Kanchanaburi Province in 2000.


สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จทอดพระเนตร<br />

งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี ๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒<br />

ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติกรุงเทพ ไบเทค บางนา<br />

Her Royal Highness Princess Chulabhorn graciously paid a visit to National<br />

Science and Technology Fair 2009 at BITEC Bang Na on August 13, 2009.<br />

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรม-<br />

โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จแทนพระองค์ไปทรงเยี่ยม<br />

ให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบอุทกภัย ณ บ้านนํ้าต๊ะ อำาเภอท่าปลา<br />

จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อเวลา ๑๓.oo น. วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๙<br />

Her Royal Highness Princess Srirasm, Royal Consort to His Royal<br />

Highness Crown Prince Maha Vajiralongkorn graciously paid<br />

a visit on behalf of the Crown Prince to the flood victims at Baan<br />

Nam Ta, Tha Pla District, Uttaradit Province on June 26, 2006.<br />

On this occasion, the princess also provided reliefs to the flood<br />

victims in that area.<br />

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์<br />

สิรินธร จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ โดยมี<br />

นางพรทิพย์ ปั่นเจริญ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี คณะผู้บริหาร<br />

และประชาชน เฝ้ารับเสด็จ ทอดพระเนตรภายในอาคารหลุมขุดค้น<br />

ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว<br />

Her Royal Highness Princess Bajrakitiyabha graciously paid<br />

a visit to Sirindhorn Museum, Kalasin Province on February<br />

13, 2011. Upon entering Phu Kum Khao Dinosaur Excavation<br />

Pit building, the princess was welcomed by the Director-<br />

General of Department of Mineral Resources, Mrs. Pornthip<br />

Puncharoen, government officials and other civilians.<br />

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกร<br />

รัศมีโชติ เสด็จเยี่ยมพิพิธภัณฑ์แร่-หิน<br />

พร้อมด้วยพระสหายโรงเรียนจิตรลดา<br />

เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒<br />

โดยมีนายอดิศักดิ์ ทองไข่มุกต์ อธิบดี<br />

กรมทรัพยากรธรณี ถวายการต้อนรับ<br />

His Royal Highness Prince Dipangkorn<br />

Rasmijoti accompanied by his<br />

Chitralada classmates graciously paid<br />

a visit to the Geological Museum on<br />

December 22, 2009. The prince was<br />

welcomed by the Director-General of<br />

Department of Mineral Resources,<br />

Mr. Adisak Thongkaimook.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

9


ธรณีวิทยาประเทศไทย<br />

กว่าห้าร้อยล้านปี สรรค์สร้างผืนธรณี “สุวรรณภูมิ”<br />

ประเทศไทยมีประวัติทางด้านธรณีวิทยาที่เก่าแก่<br />

ยาวนานมาตั้งแต่ก่อนยุคแคมเบรียนหรือเมื่อกว่า ๕๐๐ ล้านปีก่อน<br />

และต่อเนื่องตามธรณีกาลมาจนถึงปัจจุบัน หลักฐานทาง<br />

ธรณีวิทยาประเภทต่างๆ ที่พบทั้งจากการลำาดับชั้นหิน โครงสร้าง<br />

ทางธรณีวิทยา และซากดึกดำาบรรพ์ ฯลฯ ทำาให้ทราบได้ว่า<br />

ประเทศไทยตั้งอยู่บนรอยเชื่อมต่อของแผ่นเปลือกโลก (Tectonic<br />

plate) ขนาดใหญ่ ๒ แผ่น คือ แผ่นเปลือกโลกฉาน-ไทยทางด้าน<br />

ทิศตะวันตกและแผ่นเปลือกโลกอินโดจีนทางด้านทิศตะวันออก<br />

โดยเชื่อมต่อกันตามแนวรอยตะเข็บในแนวเหนือ-ใต้ ตั้งแต่<br />

จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี นครนายก สระแก้ว ตราด ถึงนราธิวาส<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

10


มหายุค<br />

ERA<br />

ยุคและสมัย<br />

PERIOD & EPOCH<br />

วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต<br />

EVOLUTION OF LIFE<br />

ธรณีวิทยาและชีวิต<br />

GEOLOGY & LIFE<br />

ซีโนโซอิก<br />

CENOZOIC<br />

มีโซโซอิก<br />

MESOZOIC<br />

พาลีโอโซอิก<br />

PALEOZOIC<br />

พรีแคมเบรียน<br />

PRECAMBRIAN<br />

ควอเทอร์นารี<br />

QUATERNARY<br />

๒.๕ ล้านปี<br />

นีโอจีน<br />

NEOGENE<br />

๒๓ ล้านปี<br />

พาลีโอจีน<br />

PALEOGENE<br />

๖๕ ล้านปี<br />

โฮโลซีน / HOLOCENE<br />

ไพลสโตซีน / PLEISTOCENE<br />

ไพลโอซีน / PLIOCENE<br />

ไมโอซีน / MIOCENE<br />

โอลิโกซีน / OLIGOCENE<br />

อีโอซีน/ EOCENE<br />

พาลีโอซีน /PALEOCENE<br />

ครีเทเชียส<br />

CRETACEOUS<br />

จูแรสซิก<br />

JURASSIC<br />

ไทรแอสซิก<br />

TRIASSIC<br />

๒๕๑ ล้านปี<br />

เพอร์เมียน<br />

PERMIAN<br />

๒๙๙ ล้านปี<br />

คาร์บอนิเฟอรัส<br />

CARBONIFEROUS<br />

๓๕๙ ล้านปี<br />

ดีโวเนียน<br />

DEVONIAN<br />

๔๑๖ ล้านปี<br />

ไซลูเรียน<br />

SILURIAN<br />

๔๔๔ ล้านปี<br />

ออร์โดวิเชียน<br />

ORDOVICIAN<br />

๔๘๘ ล้านปี<br />

แคมเบรียน<br />

CAMBRIAN<br />

๕๔๒ ล้านปี<br />

โปรเทอโรโซอิก<br />

PROTEROZOIC<br />

๒,๕๐๐ ล้านปี<br />

อาร์เคียน<br />

ARCHEAN<br />

๑๔๕ ล้านปี<br />

๒๐๐ ล้านปี<br />

๔,๖๐๐ ล้านปี<br />

ยุคของมนุษย์ปัจจุบัน<br />

ภูเขาไฟปะทุให้แหล่งแร่พลอย เป็นยุคของมนุษย์สมัยหิน<br />

ถ่านหินสะสมตัวอย่างกว้างขวาง มีช้าง<br />

และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่แพร่หลาย<br />

ไม้ดอกเจริญเต็มที่ เริ่มมีหมีและสุนัข<br />

แอ่งอ่าวไทยเริ่มพัฒนาจนเป็นแหล่งปิโตรเลียมในปัจจุบัน เริ่มมีหนู และลิง<br />

เริ่มต้นสัตว์ตระกูลม้า สัตว์กีบ และช้าง<br />

มีการสะสมตัวของเกลือหินและโพแทช หินแกรนิต<br />

แทรกดันขึ้นมาให้แร่ดีบุกและทังสเตน เริ่มมีพรรณไม้ดอก<br />

หอยนํ้าจืดแพร่หลาย ไดโนเสาร์ดับสิ้นสูญพันธุ์ในช่วงปลายยุค<br />

ทะเลเริ่มถดถอยจากแผ่นดินไทย เริ่มมีนก พบแอมโมนอยด์<br />

แพร่หลาย เป็นยุคเฟื่องฟูของไดโนเสาร์<br />

แผ่นเปลือกโลกประสานรวมกันเป็นผืนแผ่นดินไทย มีการปะทุ<br />

ของภูเขาไฟ และมีการแทรกดันของหินแกรนิต เกิดแหล่งแร่<br />

มากมาย เป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลาน และเริ่มมีไดโนเสาร์<br />

มีการสะสมตัวของหินปูนในทะเลอย่างกว้างขวาง<br />

บางบริเวณเกิดแหล่งแร่ยิปซัม เริ่มมีแมลงปีกแข็ง พบสัตว์<br />

เลื้อยคลานหลากหลายพันธุ์ และไทรโลไบต์เริ่มสูญพันธุ์<br />

เป็นยุคของพืชบก มีเฟิร์นขนาดยักษ์ และป่าไม้เจริญเต็มที่<br />

เป็นยุคของปลา และเป็นช่วงการกำาเนิดฉลาม เริ่มพบแมลง<br />

และมีสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกคืบคลานอยู่บนพื้นดิน<br />

เริ่มยุคนํ้าแข็ง เริ่มมีแกรปโตไลต์แพร่หลาย<br />

เริ่มมีสัตว์ตระกูลปลา แต่ไม่มีครีบและขากรรไกร<br />

พบไทรโลไบต์ขนาดใหญ่มาก นอติลอยด์ขนาดยักษ์<br />

และมีปะการังแพร่หลาย<br />

เริ่มมีสัตว์ที่มีเปลือกแข็งหุ้มตัว เช่น ไทรโลไบต์ที่เกาะตะรุเตา<br />

จังหวัดสตูล มีไครนอยด์และหอยชนิดต่างๆ<br />

มีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอาศัยในทะเล<br />

พบหลักฐานสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น แบคทีเรีย<br />

และสาหร่ายสีเขียวแกมนํ้าเงิน<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

11


วางรากหินฐานซับซ้อน<br />

ในสมัยบรรพกาลประเทศไทยไม่ได้ตั้งอยู่ที่ตำาแหน่งปัจจุบัน หากแต่ได้มีการเคลื่อนที่ไปกับแผ่นเปลือกโลกตามแรงขับของพลังงาน<br />

จากภายในโลก ในช่วงก่อนยุคแคมเบรียน (มากกว่า ๕๔๐ ล้านปีก่อน) ประเทศไทยได้เริ่มก่อกำาเนิดเป็นหินฐานซับซ้อน (Basement complex)<br />

ที่ประกอบด้วยหินอัคนีและหินตะกอนที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการทับถมในที่ลึกกลายเป็นหินแปรเกรดสูง จำาพวกหินไนส์ หินชีสต์ หินแคลก์-<br />

ซิลิเกต และหินอ่อน ซึ่งปัจจุบันพบแผ่กระจายตัวอยู่ตามแนวแกนของแผ่นเปลือกโลกฉาน-ไทย ในเขตจังหวัดเชียงใหม่และตาก โดยวางตัว<br />

อยู่ใต้หินตะกอนของมหายุคพาลีโอโซอิก<br />

๑๙๐ ล้านปี<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

๕๐ ล้านปี<br />

12<br />

๑๐๐ ล้านปี


๒๖๐ ล้านปี<br />

๓๙๐ ล้านปี<br />

ทิวเขาสลับซับซ้อนในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และตลอดแนวชายแดน<br />

ตะวันตกของไทยตั้งแต่เหนือจรดใต้ ซึ่งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกฉาน-ไทย ปรากฏ<br />

หลักฐานการสะสมตัวของตะกอนทรายและดินเหนียวบริเวณชายฝั่งทะเล และ<br />

หินปูนเนื้อโคลนชั้นบางๆ ที่ก่อตัวบริเวณทะเลตื้นต่อเนื่องไปจนถึงในทะเล<br />

ค่อนข้างลึกในช่วงต้นของมหายุคพาลีโอโซอิก ภายหลังจึงแข็งตัวเป็นหินตะกอน<br />

ที่มีซากดึกดำาบรรพ์ที่ทำาให้สามารถระบุอายุหินได้แน่นอน ในขณะที่บริเวณ<br />

ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบางส่วนของภาคตะวันออกที่<br />

อยู่บนแผ่นเปลือกโลกอินโดจีนมีการสะสมตัวของหินปูนในทะเลตื้นอย่าง<br />

กว้างขวาง ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งวัสดุก่อสร้างที่สำาคัญของ<br />

ประเทศ ทั้งหินก่อสร้าง ปูนซีเมนต์ และหินอ่อน<br />

ส่วนในทะเลลึกมีการสะสมตัวของชั้นหินเชิร์ต<br />

จำานวนมหาศาล ที่ใช้เป็นแหล่งวัสดุดินถม<br />

ในปัจจุบัน<br />

ในช่วงปลายยุคเพอร์เมียนเกิด<br />

การมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร<br />

เข้าใต้แผ่นเปลือกโลกฉาน-ไทย และ<br />

อินโดจีน ทำาให้มีการปะทุของภูเขาไฟ<br />

อย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นแนวหินภูเขาไฟ<br />

หลายแนวที่เป็นต้นกำาเนิดของแหล่งแร่<br />

ทองคำาและแร่เงิน เช่น แนวเชียงราย-ลำาปาง-<br />

สุโขทัย แนวเลย-พิจิตร-ลพบุรี และแนวสระแก้ว-<br />

ตราด-นราธิวาส ปัจจุบันมีการทำาเหมืองแร่<br />

ทองคำาที่จังหวัดพิจิตรและจังหวัดเลย<br />

ปัจจุบัน<br />

• ภาพแสดงวิวัฒนาการของโลก นับตั้งแต่<br />

ดาวเคราะห์โลกถือกำาเนิดขึ้นเมื่อ ๔,๖๐๐<br />

ล้านปีก่อน ดาวเคราะห์ดวงนี้ยังคงมีความ<br />

เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และจุดสีแดง<br />

ที่ปรากฏบนดาวเคราะห์โลกคือตำาแหน่ง<br />

ของประเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงไปใน<br />

แต่ละยุคตั้งแต่เมื่อ ๓๙๐ ล้านปีก่อน<br />

จนแปรเปลี่ยนเป็นรูปขวานทองในปัจจุบัน<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

13


สองแผ่นเปลือกโลกเชื่อมประสาน<br />

แผ่นเปลือกโลกฉาน-ไทยและแผ่นเปลือกโลกอินโดจีน<br />

เคลื่อนที่เข้าหากันอย่างต่อเนื่อง และเริ่มชนกันในช่วงต้น<br />

ยุคไทรแอสซิก หรือประมาณ ๒๕๐ ล้านปีก่อน การชนกัน<br />

และมุดกันของแผ่นเปลือกโลกดำาเนินเรื่อยมาประมาณ<br />

๕๐ ล้านปี และมาสิ้นสุดในปลายยุคไทรแอสซิก ในช่วงเวลา<br />

ดังกล่าวมีการปะทุของภูเขาไฟอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน<br />

หินหนืดบางส่วนแทรกขึ้นมาเป็นหินแกรนิตและดันให้เปลือกโลก<br />

บริเวณรอยต่อยกตัวขึ้นเป็นเทือกเขาสูง<br />

บริเวณแนวการชนกันของแผ่นเปลือกโลกทั้งสอง<br />

ปรากฏหลักฐานทางธรณีวิทยาที่บ่งชี้ว่าเคยเกิดอยู่ใต้เปลือก<br />

โลกระดับลึก เช่น แร่โครไมต์ แร่นิกเกิล แร่แมกนีไซต์ และ<br />

แร่ทัลก์ และที่สำาคัญมีการแทรกดันตัวของหินหนืดใต้ผิวโลก<br />

ขึ้นมาตกผลึกเป็นหินแกรนิตใต้เปลือกโลกในระหว่างยุค<br />

ไทรแอสซิก เป็นแนวยาวจากเหนือจรดใต้ถึงสองแนว คือ<br />

แนวตะวันออก และแนวตอนกลาง พร้อมทั้งพาธาตุต่างๆ<br />

มาสะสมจนเกิดเป็นแหล่งแร่โลหะหลายชนิด เช่น ทองคำา<br />

ดีบุก วุลแฟรม แหล่งแร่อโลหะ เช่น ฟลูออไรต์ เฟลดสปาร์<br />

และดินขาว ตลอดจนหินประดับและหินก่อสร้าง<br />

• แรงขับจากเทือกเขากลางสมุทรผลักดันให้แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรมุดตัวลงใต้แผ่น<br />

เปลือกโลกฉาน-ไทย และอินโดจีน เกิดการระเบิดของภูเขาไฟอย่างรุนแรงตลอดแนวการมุดตัว<br />

งานตะกอนสะสมถมทับ<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

14<br />

ภายหลังการชนและเชื่อมต่อกันของแผ่นเปลือกโลกทั้งสอง ทะเลโบราณ<br />

ถอยร่นไปเหลือเป็นทะเลตื้นเล็กๆ บนแผ่นเปลือกโลกฉาน-ไทย พบหินกรวดมน หินทราย<br />

สีแดง หินดินดาน และหินปูนของยุคไทรแอสซิก-จูแรสซิก ถูกปิดทับอย่างมีแนว<br />

ไม่ต่อเนื่องด้วยหินทรายแดงที่สะสมตัวในระหว่างยุคจูแรสซิก-ครีเทเชียสบนแผ่นดิน<br />

ในยุคครีเทเซียสแผ่นเปลือกโลกพม่าตะวันตกเคลื่อนที่เข้ามาชนแผ่นเปลือกโลก<br />

ฉาน-ไทยทำาให้เกิดหินแกรนิตแนวที่สาม คือ แนวตะวันตกที่ให้แร่ดีบุกและวุลแฟรม<br />

บริเวณชายแดนไทย-พม่า<br />

ส่วนบนแผ่นเปลือกโลกอินโดจีนมีสภาพเป็นแอ่งสะสมตะกอนบนภาคพื้นทวีป<br />

เกือบตลอดช่วงมหายุคมีโซโซอิก ในสภาวะแวดล้อมที่ร้อนชื้น บางช่วงแห้งแล้ง<br />

จนมีสภาพเป็นทะเลทราย ในบางช่วงมีการท่วมเข้ามาของนํ้าทะเล จึงเป็นที่รวม<br />

ของตะกอนหลายชนิด รวมทั้งเกลือหินและแร่โพแทช ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักของพืช<br />

และเป็นช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์หลากหลายสายพันธุ์มีวิวัฒนาการอย่างเฟื่องฟู จนกระทั่ง<br />

ดับสิ้นสูญพันธุ์ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส ทิ้งหลักฐานโครงกระดูกและรอยตีน<br />

ไว้บนชั้นตะกอนที่พวกมันเคยอาศัยอยู่ โดยปัจจุบันสามารถค้นพบซากดึกดำาบรรพ์<br />

ของไดโนเสาร์ได้มากมายจากชั้นหินทรายและหินดินดานในกลุ่มหินโคราช และเป็น<br />

ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ที่มีการค้นพบเป็นครั้งแรกในเมืองไทยถึง ๔ สายพันธุ์<br />

ที่สำาคัญที่สุดและเป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ ไดโนเสาร์คอยาว ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน<br />

(Phuwiangosaurus sirindhornae) ซึ่งชื่อชนิดได้รับพระราชทานจากสมเด็จ<br />

พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


ปรับโครงสร้างธรณี<br />

ต่อมาในช่วงมหายุคซีโนโซอิกซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของสัตว์เลี้ยงลูก<br />

ด้วยนม หรือประมาณ ๖๕ ล้านปีเป็นต้นมา แผ่นเปลือกโลกอินเดียได้เคลื่อนที่<br />

ขึ้นมาชนกับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย ทำาให้ประเทศไทยถูกดันให้หมุนตาม<br />

เข็มนาฬิกา ประเทศไทยด้านแผ่นเปลือกโลกอินโดจีนถูกยกตัวขึ้น<br />

เป็นที่ราบสูงโคราช เกิดการโค้งงอของแนวเทือกเขาในภาคเหนือ และมี<br />

การยกตัวขึ้นเป็นภูเขาน้อยใหญ่ตลอดแผ่นดินไทย พร้อมกันนี้ได้มีการ<br />

พัฒนาแนวรอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) ที่สำาคัญใน<br />

ทิศทางตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ เช่น รอยเลื่อน<br />

แม่ปิง รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ และในทิศทางตะวันออก<br />

เฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ เช่น รอยเลื่อนอุตรดิตถ์-น่าน<br />

รอยเลื่อนระนอง และรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย เป็นต้น<br />

ในขณะเดียวกัน ด้านแผ่นเปลือกโลกฉาน-ไทยถูกดึง<br />

จนเกิดรอยเลื่อนปกติในแนวเหนือ-ใต้ และมีการแยกตัวเป็นแอ่ง<br />

ขนาดเล็กๆ มากมายตลอดเหนือจรดใต้ วางตัวขนานกับรอยเลื่อน<br />

รวมทั้งทำาให้ตอนกลางของไทยเปิดตัวออกเป็นอ่าวไทย โดยแอ่งส่วนใหญ่<br />

เป็นที่สะสมตะกอนและซากพืชซากสัตว์ เป็นแหล่งกำาเนิดของเชื้อเพลิงธรรมชาติ<br />

ทั้งถ่านหินและปิโตรเลียมประเภทต่างๆ ทั้งบนบกและในทะเลของประเทศไทย<br />

ในช่วงปลายมหายุคซีโนโซอิกมีการแทรกดันตัวของหินหนืดขึ้นมาตามรอยแตก<br />

ปะทุเป็นภูเขาไฟในภาคเหนือ แนวเขาเพชรบูรณ์ ภาคตะวันตก ขอบด้านใต้ของ<br />

ที่ราบสูงโคราช และภาคตะวันออก หินภูเขาไฟเหล่านี้ประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ<br />

ที่เป็นประโยชน์สำาหรับพืช และบางบริเวณหินหนืดได้อุ้มผลึกพลอยที่เกิดอยู่ใต้ผิวโลก<br />

ระดับลึกขึ้นมาด้วย<br />

ปันสายนทีทั่วสุวรรณภูมิ<br />

กระบวนการทางธรณีวิทยาต่างๆ มีทั้งการสร้างสรรค์และการทำาลาย ซึ่งล้วนเป็นการ<br />

สร้างสภาวะสมดุลให้แก่โลก ยกตัวอย่างเช่นการแทรกดันของหินหนืดขึ้นมาเป็นเทือกเขาแกรนิต<br />

หรือระเบิดเป็นภูเขาไฟ การยกตัวของแอ่งสะสมตะกอนขึ้นเป็นที่ราบสูงเป็นการรังสรรค์<br />

ทางธรณีวิทยา ในขณะเดียวกัน กระบวนการกัดเซาะทำาลายที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทั้งจากนํ้า ลม<br />

แสงแดด และสารเคมีในธรรมชาติ ก็ส่งผลในทางสร้างสรรค์ ทางนํ้าเล็กๆ ทุกสาขาที่สลักเสลา<br />

ทิวเขาสูงสลับซับซ้อนในทุกภูมิภาคให้เกิดเป็นลำาธารและประสานรวมเป็นแม่นํ้า ต่างพัดพา<br />

ตะกอนพร้อมอินทรียสารในธรรมชาติลงสู่เบื้องล่าง การคัดขนาดของตะกอนตามกำาลังของนํ้า<br />

ทำาให้เกิดแหล่งกรวด ทราย และดินเหนียว ในลุ่มนํ้าหลักทั้ง ๒๕ แห่งของไทย คลื่นลม<br />

ทะเลที่พัดโหมกระหนํ ่าชายฝั ่งทั ้งสองฟากของแหลมไทยได้ทำาหน้าที ่ปรับธรณีสัณฐาน<br />

และภูมิประเทศให้เป็นเกาะ หน้าผา ชายหาด และป่าชายเลน กระบวนการทางธรณีวิทยา<br />

ที่ดำาเนินมาอย่างต่อเนื่องยาวนานเหล่านี้ล้วนส่งผลถึงความอุดมสมบูรณ์ของสุวรรณภูมิ<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

15


ทรัพยากรธรณี<br />

สัญลักษณ์ของจังหวัด


กรุงเทพมหานคร<br />

ดินเหนียวกรุงเทพ<br />

(Bangkok Clay)<br />

เป็นชั้นดินเหนียวอ่อน เนื้อนุ่มและเนียน สีเขียว<br />

อมเทา สะสมตัวในทะเลเมื่อ ๖,๐๐๐ ปีก่อน มีความหนา<br />

ตั้งแต่ ๑ ถึง ๑๕ เมตร วางตัวรองรับพื้นที่ทั้งหมดของ<br />

กรุงเทพมหานครและบางส่วนของปริมณฑล จึงเรียกว่า<br />

ดินเหนียวกรุงเทพฯ<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

18<br />

สมัยโฮโลซีน<br />

รอยชั้น<br />

ไม่ต่อเนื่อง<br />

สมัยไพลสโตซีน<br />

BANGKOK<br />

Bangkok Clay is the geological symbol of Bangkok. The layer of<br />

grayish green and soft Bangkok Clay deposited in marine environment<br />

around 6,000 years ago with thickness varied from 1 to 15 meters<br />

underlain most of Bangkok area and some parts of its surrounding.<br />

กรุงเทพมหานครตั้งอยู่บน<br />

ที่ราบลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยา ประกอบด้วย<br />

ตะกอนดินและทรายยุคควอเทอร์นารี<br />

(Quaternary) ที่สะสมตัวอันเนื่องมาจาก<br />

การเปลี่ยนแปลงระดับนํ้าทะเลที่เริ่มในสมัยโฮโลซีน<br />

(Holocene ประมาณ ๑.๑๗ หมื่นปีก่อน) ซึ่งได้ท่วมขึ้น<br />

สูงสุดเมื่อ ๖,๐๐๐ ปีก่อน ในขณะนั้น ที่ราบภาคกลางตอนลาง<br />

มีลักษณะราบเรียบเปนบริเวณกวาง นํ้าที่ไหลลงมาถึงบริเวณ<br />

ปากแมนํ้าเจาพระยาเมื่อปะทะกับนํ้าทะเลทําใหไหลช้าลง เกิดการสะสม<br />

ของตะกอนอยางรวดเร็วจนเปนดินดอนสามเหลี่ยมปากแมนํ้า และในส่วน<br />

ของที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างบริเวณที่มีนํ้าขึ้นนํ้าลง จะมีการสะสมตัว<br />

ของตะกอนทะเลหรือดินเคลยทะเล (marine clay) เนื่องจากนํ้าทะเลที่ไหล<br />

เข้ามาตามแม่นํ้าลําคลองที่มีอยู่มากมายในช่วงนั้นได้นําดินเหนียวเข้ามา<br />

สะสมตัว ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ดินเหนียวกรุงเทพ


จังหวัดกระบี่<br />

หอยเจดีย์แหลมโพธิ์<br />

เป็นลานซากหอยเจดีย์นํ้าจืดขนาดใหญ่จํานวนมากทับถมอัดแน่นเป็น<br />

แผ่น มีลักษณะคล้ายแผ่นซีเมนต์ที่วางเอียงตัวเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออก<br />

เฉียงใต้ มีความโดดเด่นทางด้านธรณีวิทยาระดับโลก และเป็นแหล่งท่องเที่ยว<br />

ที่สําคัญของประเทศ ปัจจุบันพบเพียงแห่งเดียวในโลกบริเวณสุสานหอย<br />

แหลมโพธิ์ อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ตําบลไสไทย<br />

อําเภอเมืองกระบี่<br />

ธรณีวิทยา<br />

หอยเจดีย์แหลมโพธิ์เป็นหอยเจดีย์นํ้าจืด<br />

ขนาดใหญ่หลายสกุล เช่น Margarya sp., Melanoides<br />

sp. และ Viviparus sp. อาศัยอยู่ในบึงนํ้าจืดขนาด<br />

ใหญ่เมื่อประมาณ ๓๗ - ๓๑ ล้านปีก่อน เมื่อตายลง<br />

หอยเจดีย์นํ้าจืดได้ถูกทับถมร่วมกับตะกอนโคลน ทราย<br />

และซากพืชที่เกิดร่วมในบึง และต่อมาถูกอัดตัวแน่น<br />

แข็งเป็นชั้นหินหลายชั้น หนาประมาณ ๐.๕ - ๒.๐ เมตร<br />

ปัจจุบันพบชั้นหอยโผล่ให้เห็นชัดเจนบริเวณริมชายทะเล<br />

โดยชั้นหอยที่แหลมโพธิ์ ๑ และแหลมโพธิ์ ๒ มีอายุ<br />

แก่กว่าชั้นหอยที่แหลมโพธิ์ ๓<br />

KRABI<br />

Hoi Chedi Laem Pho is the geological symbol of Krabi Province. The fossils of<br />

Hoi Chedi Laem Pho, large freshwater mollusks, deposited some 37 - 31 million<br />

years ago. The Hoi Chedi formed as large sheets of mollusk fossilized beds,<br />

0.5 - 2.0 meters thick, that look similar to concrete plates.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

19


จังหวัดกาญจนบุรี<br />

หินบะซอลต์บ่อพลอย<br />

เป็นหินภูเขาไฟสีเทาเข้มที่เขาลั่นทม อําเภอบ่อพลอย ซึ่งเป็น<br />

แหล่งต้นกําเนิดอัญมณีที่สวยงามและมีค่าของประเทศไทย ทั้งประเภท<br />

พลอยไพลิน เขียวส่อง บุษราคัม และนิลเสี้ยน นิลตะโก และเป็นที่มา<br />

ของชื่ออําเภอบ่อพลอย<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

20<br />

KANCHANABURI<br />

Bo Phloi Basalt, a dark gray volcanic rock, formed 4 - 3 million years<br />

ago, found at Khao Lanthom, Bo Phloi District, is the geological symbol<br />

of Kanchanaburi Province. Bo Phloi Basalt is a source rock of most<br />

beautiful and valuable gem of Thailand including blue sapphires<br />

(Phloi Phailin) and black spinel (Nil Tako).<br />

ธรณีวิทยา<br />

หินบะซอลต์บ่อพลอยเกิดจากการแทรกดันตัวของหินหนืด<br />

ขึ้นมาจากปล่องภูเขาไฟเมื่อ ๔ - ๓ ล้านปีก่อน พร้อมกับพลอย<br />

นิล และชิ้นส่วนของหินอัคนีระดับลึกประเภทเลอโซไลต์ แล้ว<br />

ไหลอาบเป็นลานลาวาบนหินเดิม และเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วเป็น<br />

หินบะซอลต์ เนื้อแน่น ละเอียด บางส่วนมีรูพรุน บางส่วนเย็นตัว<br />

เร็วมากจนมีลักษณะเป็นแก้ว ส่วนกลางของชั้นลาวามักพบ<br />

โครงสร้างรูปเสาเหลี่ยม (columnar jointing) หินบะซอลต์<br />

เมื่อผุพังเป็นเศษหินและดินจะถูกพัดพาไปสะสมตัวในที่ตํ่า<br />

พร้อมกับพลอยและนิลที่อยู่ในหินเดิม เกิดการสะสมตะกอน<br />

ชั้นกะสะ กลายเป็นแหล่งพลอยที่มีชื่อเสียงของกาญจนบุรี<br />

โดยมีก้อนกรวดจํานวนมหาศาลที่นําไปใช้เป็นหินประดับ<br />

ในอุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นผลพลอยได้


จังหวัดกาฬสินธุ์<br />

หินทรายเสาขัว<br />

เป็นหินทรายแดงของหมวดหินเสาขัว อายุกว่า<br />

๑๒๐ ล้านปี ที่มีการขุดพบซากดึกดําบรรพ์กระดูกไดโนเสาร์<br />

หลายพันธุ์ เช่น ไดโนเสาร์กินเนื้อ กินรีมิมัส (Kinnareemimus)<br />

และไดโนเสาร์กินพืชคอยาว ภูเวียงโ+กซอรัส สิรินธรเน ที่มี<br />

สภาพสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย ที่ภูกุ้มข้าว อำาเภอสหัสขันธ์<br />

จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สิรินธร พิพิธภัณฑ์<br />

ไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย<br />

ธรณีวิทยา<br />

หินทรายเสาขัวเป็นหินทรายสีแดงสลับ<br />

ด้วยหินทรายแป้งและหินโคลน วางตัวอย่าง<br />

ต่อเนื ่องอยู ่บนหมวดหินพระวิหารและอยู ่ใต้<br />

หมวดหินภูพาน กลุ ่มหินโคราช มีความหนา<br />

ของลําดับชั ้นหินตั ้งแต่ ๒๕๐ - ๖๐๐ เมตร<br />

เกิดจากการสะสมตัวจากแม่นํ้าโค้งตวัดในส่วน<br />

ของตะกอนร่องนํ้าและตะกอนที่ราบนํ้าท่วมถึง<br />

ในสภาพภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้งช่วงยุคครีเทเชียส<br />

ตอนต้น หมวดหินเสาขัวเป็นหมวดหินที ่พบซาก<br />

ดึกดําบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังมากที่สุดในบรรดา<br />

หินมหายุคมีโซโซอิกทั ้งหลายที ่พบในประเทศไทย<br />

อาทิ ปลาฉลามนํ้าจืด จระเข้ ไดโนเสาร์ทั้งประเภทกินเนื้อ<br />

และประเภทกินพืช<br />

KALASIN<br />

Red Sandstone of the early Cretaceous Sao Khua Formation is the geological symbol of Kalasin Province.<br />

This rock unit contains various types of fossils especially the meat-eating Kinnareemimus dinosaurs existed over<br />

120 million years ago. Kalasin is one of a few provinces in Thailand that a number of various types of dinosaurs<br />

sites have been reported, especially in the Sao Khua sandstone unit.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

21


จังหวัดกำาแพงเพชร<br />

นํ้ามันดิบเพชร<br />

เป็นนํ้ามันดิบที่ได้รับพระราชทานนามว่า “เพชร” ตาม<br />

ชื่อจังหวัดกําแพงเพชร นํ้ามันดิบเพชรผลิตได้จากแหล่งนํ้ามันดิบ<br />

ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และได้รับพระราชทานนามว่า แหล่งนํ้ามัน<br />

สิริกิติ์ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอําเภอลานกระบือที่ปรากฏอยู่ในคําขวัญ<br />

ของจังหวัดกําแพงเพชรด้วย<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

22<br />

KAMPHAENG PHET<br />

“Phet” Crude Oil is Kamphaeng Phet’s geological symbol. The name “Phet” was royally given after<br />

its provincial name, Kamphaeng Phet. The crude oil has been produced from the largest onshore oil<br />

production site of Thailand, named after Her Majesty the Queen, Sirikit Oil Field, located in Lan Krabue<br />

District.<br />

นํ้ามันดิบเพชรมีลักษณะเป็นของเหลวหนืดข้น สีดําทึบแสง มีปริมาณ<br />

ซัลเฟอร์ตํ่า จัดอยู่ในประเภทพาราฟิน คือเมื่อกลั่นแล้วได้ของเหลือเป็นไข<br />

(wax) นํ้ามันดิบเพชรเกิดจากการสะสมตัวของเศษซากสิ่งมีชีวิตทั้งพืช<br />

และสัตว์ในยุคพาลีโอจีน - นีโอจีน (อายุราว ๖๕ - ๒ ล้านปี) ร่วมกับตะกอนใน<br />

สภาพแวดล้อมแบบทะเลสาบนํ้าจืด ในระหว่างการสะสมตัวของตะกอนจาก<br />

ทางนํ้าซึ่งเปลี่ยนทิศทางและทับถมซํ้าไปมาผ่านสภาวะอากาศทั้งแห้งแล้งและ<br />

ชุ่มชื้นสลับกันนั้น แอ่งมีการขยายตัวกว้างขึ้นและทรุดตัวลึกขึ้น ซากอินทรียสาร<br />

ที ่สะสมในแอ่งเมื ่อถูกบีบอัดด้วยนํ้าหนักกดทับและความร้อนอย่างค่อยเป็น<br />

ค่อยไป จะกลายสภาพเป็นนํ้ามันดิบซึ่งเป็นสารเคอราเจนกึ่งแข็งกึ่งหนืด และ<br />

ก๊าซธรรมชาติอยู่ภายในหินดินดานและหินโคลนของหมวดหินชุมแสงซึ่งเป็น<br />

หินต้นกําเนิดปิโตรเลียม จากนั้นจึงไหลมารวมตัวกันในช่องว่างและรูพรุนของ<br />

หินทรายหมวดหินลานกระบือ ซึ่งเป็นชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมในแหล่งสิริกิติ์<br />

และถูกปิดกั้นด้วยหินโคลนของหมวดหินชุมแสงอีกครั้ง ซึ่งจากการเกิดสลับกัน<br />

ของหินทั้งสองหน่วยหิน ทําให้มีชั้นหินกักเก็บนํ้ามันได้ถึง ๔ ชั้น


จังหวัดขอนแก่น<br />

กระดูกไดโนเสาร์<br />

ประเทศไทยมีการค้นพบซากดึกดําบรรพ์<br />

กระดูกไดโนเสาร์ “ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน” อายุ<br />

๑๓๐ ล้านปี เป็นครั้งแรกที่ภูประตูตีหมา อําเภอภูเวียง<br />

จังหวัดขอนแก่น ซึ่งชื่อชนิดได้รับพระราชทาน<br />

จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ<br />

สยามบรมราชกุมารี ผู้สนพระราชหฤทัย<br />

ในงานด้านโบราณชีววิทยาเป็นอย่างมาก<br />

ธรณีวิทยา<br />

ซากดึกดําบรรพ์กระดูกขาขนาดใหญ่ของไดโนเสาร์ซอโรพอด<br />

ที่มีคอยาว หางยาว เดิน ๔ ขา พบบริเวณหลุมขุดค้นที่ ๑ - ๓ ภูเวียง<br />

ฝังตัวอยู่ในชั้นหินทรายเนื้ออาร์โคสสีแดงที่มีเนื้อหินปูนบางส่วน<br />

หมวดหินเสาขัว กลุ่มหินโคราช ยุคครีเทเชียสตอนต้น เมื่อมีการ<br />

ศึกษาเปรียบเทียบกับซากดึกดำาบรรพ์ไดโนเสาร์จากแหล่งต่างๆ<br />

ทั่วโลกแล้ว พบว่าเป็นไดโนเสาร์กินพืชสกุลใหม่ ชื่อว่า “ภูเวียง<br />

โกซอรัส สิรินธรเน” (Phuwiangosaurus sirindhornae) ที่พบใน<br />

ประเทศไทยเป็นแห่งแรกในโลก<br />

KHON KAEN<br />

The geological symbol of Khon Kaen Province is the Fossil of Dinosaur Bones<br />

of plant-eating sauropod dinosaurs lived in the area around 130 million years<br />

ago. This dinosaur has been named “Phuwiangosaurus Sirindhornae”. The<br />

name “Sirindhornae” was given to highly honor Her Royal Highness Princess<br />

Maha Chakri Sirindhorn, who is interested in paleontology. Khon Kaen is<br />

the first province where dinosaur fossils were firstly reported in Thailand.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

23


จังหวัดจันทบุรี<br />

หินบะซอลต์<br />

เขาพลอยแหวน<br />

เป็นหินภูเขาไฟสีดําประเภทหินบะซอลต์<br />

ตั้งอยู่ที่ตําบลเขาพลอยแหวน อําเภอท่าใหม่ จังหวัด<br />

จันทบุรี ซึ่งเป็นแหล่งพลอยที่สําคัญของจันทบุรี<br />

และเป็นต้นกำาเนิดพลอยสีเขียวผักตบที่เรียกว่า<br />

พลอยเมืองจันท์<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

24<br />

CHANTHABURI<br />

Khao Phloi Waen Basalt is the geological symbol of Chanthaburi Province. This basalt<br />

is a dark gray volcanic rock, which is a parent rock for the famous green sapphires<br />

and other corundum of Chanthaburi. Chanthaburi is famous for gems of outstanding<br />

quality, beauty and rarity of Thailand.<br />

ธรณีวิทยา<br />

เขาพลอยแหวนเป็นปล่องภูเขาไฟเก่าที่ประกอบ<br />

ด้วยหินบะซอลต์แบบฮาวายไอต์ และแบบอัลคาไลน์<br />

โอลิวีนสีเทาเข้มและสีเทาเขียว เนื้อละเอียดถึงละเอียด<br />

มาก เกิดจากลาวา (lava) หรือหินหนืดที่อุ้มพลอย<br />

แซปไฟร์และคอรันดัมที่ตกผลึกอยู่ก่อนแล้วใต้ผิวโลก<br />

ไหลผ่านทางรอยแตกหรือรอยแยกขึ้นมาบนผิวโลก<br />

ในยุคควอเทอร์นารี และแผ่กระจายแข็งตัวปิดทับอยู่บน<br />

ภูมิประเทศของหินเดิม ต่อมาหินบะซอลต์ได้ผุพังอยู่กับที่<br />

ด้วยสภาพภูมิอากาศตามธรรมชาติ ทำาให้เกิดเป็นชั้นหิน<br />

บะซอลต์ผุ ชั้นดินบะซอลต์ และกะสะพลอย กลายเป็น<br />

แหล่งพลอยในปัจจุบัน


จังหวัดฉะเชิงเทรา<br />

หินแกรนิตเขาหินซ้อน<br />

เป็นหินแกรนิตเนื้อดอกที่มีเนื้อสวยงาม<br />

สามารถนํามาทําหินประดับได้ พบที่เขาหินซ้อนและ<br />

เขาหน้ามอด ตําบลเขาหินซ้อน อําเภอพนมสารคาม<br />

จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มองเห็นเด่นชัดได้แต่ไกล และ<br />

เป็นสถานที่ตั้งของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน<br />

อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ซึ่งเป็นโครงการศึกษา<br />

ทดลอง วิจัย และพัฒนาที่ดินเสื่อมโทรม<br />

ให้กลับมาใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร<br />

ธรณีวิทยา<br />

เขาหินซ้อนเป็นภูเขาหินแกรนิตที่เกิดจากการ<br />

แทรกดันตัวขึ้นมาของแมกมา (magma) และเย็นตัว<br />

ตกผลึกใต้ผิวโลกในช่วงยุคไทรแอสซิก (ประมาณ<br />

๒๔๕ - ๒๑๐ ล้านปี) หินแกรนิตที่พบมีสีเทาและเทาขาว<br />

เนื้อปานกลางถึงหยาบ เป็นหินแกรนิตชนิดฮอร์นเบลนด์-<br />

ไบโอไทต์ ที่ประกอบด้วยแร่ควอร์ตช์ เฟลด์สปาร์ ฮอร์นเบลนด์<br />

และไบโอไทต์เป็นหลัก ทั่วไปมีเนื้อผลึกสองขนาดโดยพบแร่<br />

เฟลด์สปาร์เป็นแร่ดอก บางส่วนพบการแตกในลักษณะเป็นกาบ<br />

(exfoliation) บางบริเวณพบหินปลอมปน (xenolith) ที่เป็น<br />

หินภูเขาไฟชนิดหินแอนดีไซต์<br />

CHACHOENGSAO<br />

Formed during the Triassic (245 - 210 million years ago) period, the Khao Hin Son Granite, the geological symbol of<br />

Chachoengsao Province, inhibits beautiful porphyritic texture of feldspar. The rock crops out in the area of Khao Hin<br />

Sorn Royal Development Study Center, where the study, experiment, research and development of royal projects<br />

focus on rehabilitating degraded soil to be used for agricultural purpose.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

25


จังหวัดชลบุรี<br />

หินแคลก์-ซิลิเกต<br />

เขาชีจรรย์<br />

เขาชีจรรย์เป็นภูเขาหินแคลก์-ซิลิเกตที่มีภูมิทัศน์ยิ่งใหญ่<br />

สง่างามตามธรรมชาติ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญของประเทศ<br />

ตั้งอยู่ในอําเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี หน้าเขาสูงชันซึ่งในอดีต<br />

เคยเป็นเหมืองหินที่ถูกระเบิดทําลายได้รับการปรับพื้นผิว และ<br />

ประดิษฐานพระพุทธรูปสลักลายเส้นในลักษณะพระพุทธฉาย<br />

ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นพระพุทธรูปประจํารัชกาลที่ ๙ ซึ่งพระบาท<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามว่า “พระพุทธมหา<br />

วชิรอุตตโมภาสศาสดา”<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

26<br />

CHON BURI<br />

Khao Chi Chan Calc-silicates is the geological symbol of Chon Buri Province. These<br />

series of metamorphic rocks inhibit beautiful foliation, alternated dark and light parallel<br />

strips. The rocks were found at Khao Chi Chan quarry where the large laser-carved<br />

Buddha is presence. This is also an important site for the province.<br />

ธรณีวิทยา<br />

หินแคลก์-ซิลิเกตเขาชีจรรย์เป็นหินแปร<br />

สีเทาดํา-สีขาวแทรกสลับกัน มีแถบหินเนื้อดินสีดํา-<br />

นํ้าตาลดําแทรกสลับร่วมด้วย มีลักษณะเนื้อแน่น<br />

แข็งและเหนียว ซึ่งเกิดจากหินปูนผสมดินเนื้อแน่น<br />

ที่ถูกแปรสภาพเนื่องจากการแทรกดันของหินแกรนิต<br />

ขึ้นมาทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเขาชีจรรย์<br />

ในยุคไทรแอสซิกเมื่อกว่า ๒๐๐ ล้านปีก่อน อิทธิพล<br />

ความร้อนและความดันจากแมกมาที่แทรกดันขึ้นมา<br />

ทําให้หินปูนที่อยู่ใกล้แนวสัมผัสกับหินแกรนิตถูกแปร<br />

สภาพเป็นหินแคลก์-ซิลิเกตดังปัจจุบัน


จังหวัดชัยนาท<br />

ทรายบกชัยนาท<br />

เป็นทรายร่วนสีนํ้าตาลอ่อน เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนตามร่องนํ้า<br />

เก่าของแม่นํ้าเจ้าพระยา ปัจจุบันทรายบกชัยนาทเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สําคัญในการ<br />

ก่อสร้างถนน อาคารบ้านเรือน และสาธารณูปโภคของจังหวัด<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรายบกชัยนาทเป็นตะกอนสีนํ้าตาลแกมเหลือง<br />

ชั้นหนาตั้งแต่ ๑๐ ถึง ๓๐ เมตร เกิดจากการสะสมตะกอน<br />

บริเวณร่องนํ้าเก่าของแม่นํ้าเจ้าพระยาตามทางนํ้าโค้งตวัด<br />

(meandering belt) ตั้งแต่สมัยโฮโลซีน (Holocene ๑.๑๗ หมื่นปี<br />

ก่อน) จนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยเม็ดทรายกลมมนของแร่<br />

ควอตซ์ เศษหินต่างๆ และแร่ไมกา และแสดงลักษณะการลําดับ<br />

ขนาดตะกอนละเอียดอยู่ด้านบนและหยาบมากอยู่ด้านล่าง<br />

บางบริเวณพบกรวด ทรายปนกรวด และดินเหนียวบ้างเล็กน้อย<br />

ตะกอนชุดนี้พบวางตัวแทรกอยู่ในตะกอนที่ราบนํ้าท่วมถึง<br />

ในลักษณะรูปเลนส์ ในบางบริเวณด้านบนถูกปิดทับด้วยชั้นดิน<br />

เคลย์ บางบริเวณตะกอนด้านบนค่อยๆ เปลี่ยนเป็นตะกอน<br />

คันดินธรรมชาติ (natural levee)<br />

CHAINAT<br />

The unit of Chainat Sand, a geological symbol of Chainat Province, comprises<br />

pale brown sand beds 10 - 30 meters thick with some clay and gravel grains<br />

found as a result of sedimentation along the old channel of the Chao Phraya river.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

27


จังหวัดชัยภูมิ<br />

โพแทชบำาเหน็จณรงค์<br />

เป็นแร่เกลือหินชนิดหนึ่ง สีขาวอมส้ม เกิดจากการระเหยของนํ้าทะเล<br />

โบราณที่รุกเข้ามาในช่วง ๙๐ ล้านปีก่อน เป็นแร่สําคัญในการผลิตปุ๋ยโพแทช<br />

และอุตสาหกรรมเคมีอื่นๆ แหล่งโพแทชที่สําคัญของจังหวัดอยู่ที่บ้านตาล<br />

ตําบลบ้านตาล อําเภอบําเหน็จณรงค์<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

28<br />

แร่โพแทชเป็นชื่อกลุ่มแร่ที่เกิดจากกระบวนการระเหย<br />

ของนํ้าทะเลตื้นโดยตรง ประกอบด้วยแร่สําคัญๆ หลายชนิด<br />

เช่น แร่ซิลไวต์ (Sylvite) คาร์นัลไลต์ (Carnallite) แลงบีไนต์<br />

(Langbeinite) ไคไนต์ (Kainite) และโพลีเฮไลต์ (Polyhalite) เป็น<br />

แร่ที่ละลายนํ้าได้ง่ายมาก มีรสเฝื่อนถึงขมมากแต่ไม่เค็มจัดเหมือน<br />

เกลือหินหรือแร่เฮไลต์ โพแทชบําเหน็จณรงค์เป็นส่วนหนึ่งของ<br />

แอ่งเกลือหิน-โพแทช ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กึ่งหนึ่งของภาคตะวันออก<br />

เฉียงเหนือ อยู่ในลําดับชั้นหินส่วนล่างของหมวดหินมหาสารคาม<br />

กลุ่มหินโคราช ในพื้นที่ที่มีเกลือหินและโพแทชมักพบคราบเกลือ<br />

ละลายนํ้าซึมขึ้นมาบนผิวดิน บริเวณที่ชั้นเกลือถูกดันแทรกขึ้นมา<br />

ในชั้นหินระดับตื้นในลักษณะโดมเกลือ (salt dome) มักถูกละลาย<br />

จนเป็นหนองนํ้าหรือบึงนํ้าใหญ่ แต่ก็มีบางแห่งที่ใช้ทํานาเกลือ<br />

CHAIYAPHUM<br />

Bamnet Narong Potash is the geological symbol of Chaiyaphum Province. Potash usually referred to a series of minerals that<br />

formed in association with rock salt indicating that the area used to be dominated by shallow sea in the ancient time.<br />

These minerals are easily dissolved in water thus leaving behind traces of white salt on the ground surface or that the area<br />

is dominated by large and small ponds as the result of weathering and erosion processes.


จังหวัดชุมพร<br />

หินทรายแดงชุมพร<br />

เป็นหินทรายสีแดง บริเวณหน้าผาชายทะเล<br />

บ้านผาแดง ตําบลหาดทรายรี อําเภอเมืองชุมพร<br />

จังหวัดชุมพร ซึ่งมีลักษณะภูมิทัศน์ของธรณีสัณฐาน<br />

ชายฝั่งแบบสะพานหินธรรมชาติ และเป็นแหล่งอนุรักษ์<br />

ทางธรณีวิทยาที่มีทิวทัศน์สวยงามประจําจังหวัด<br />

(1)<br />

(2)<br />

ธรณีวิทยา<br />

ชั้นหินทรายชายฝั่งบ้านผาแดงเกิดจากการสะสมตะกอนตาม<br />

แม่นํ้าและเนินตะกอนรูปพัดโบราณในช่วงยุคครีเทเชียสตอนปลาย<br />

ประกอบด้วยหินทรายหยาบชั้นหนา เม็ดทรายค่อนข้างเหลี่ยม<br />

มีชั้นหินกรวดมนและหินทรายแป้งแทรกสลับ เม็ดกรวดส่วนใหญ่<br />

เป็นหินทรายสีแดงถึงแดงเข้มที่วางเรียงตัวกันโดยเอียงเทไปทางต้ นํ้า<br />

ภายหลังจากการสะสมตะกอนสิ้นสุดลง แอ่งหินทรายได้ถูกยกตัว<br />

เป็นภูเขา และเกิดการกัดเซาะโดยธรรมชาติจากกระแสคลื่นตาม<br />

แนวชายฝั่ง ทําให้ชายฝั่งบ้านผาแดงมีสภาพเป็นแหลมที่ยื่นออกจาก<br />

แนวหน้าผาและแบ่งชายหาดออกเป็น ๒ ส่วน หลังจากนั้นกระแส<br />

คลื่นได้กัดเซาะส่วนหัวแหลมที่ยื่นออกมา ทําให้เกิดลักษณะเป็น<br />

สะพานหินธรรมชาติ มีรูปร่างเป็นซุ้มหินโค้ง และส่วนปลายสุดมีโขดหิน<br />

ขนาดใหญ่ตั้งอยู่เป็นเกาะหินโด่ง (stack) ตามภูมิทัศน์ปัจจุบัน<br />

(3)<br />

CHUMPHON<br />

Chumphon Red Sandstone, the geological symbol of Chumphon Province,<br />

formed as rocky natural bridge and stack found by the seashore of<br />

Ban Pha Daeng, Hat Sai Ri Subdistrict, Mueang Chumphon District,<br />

Chumphon Province. The place is considered one of the most important<br />

geological conservation site of the country.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

29


จังหวัดเชียงราย<br />

แร่แมงกานีสเชียงราย<br />

เป็นแร่โลหะชนิดหนึ่ง มีสีดํา พบที่อําเภอพญาเม็งราย<br />

อําเภอเทิง และอําเภอเวียงป่าเป้า แมงกานีสเป็นแร่ที่สําคัญของ<br />

ประเทศซึ่งนําไปใช้ในอุตสาหกรรมถ่านไฟฉาย อุตสาหกรรมเหล็ก<br />

และโลหะผสมแมงกานีส เป็นตัวทําให้สีแห้ง เป็นตัวฟอกสี<br />

ในอุตสาหกรรมแก้ว ใช้ทําแบตเตอรี่แห้ง หรือเป็นตัวทําให้เกิดสี<br />

ในอิฐ เครื่องปั้นดินเผา และแก้ว เป็นต้น<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

30<br />

CHIANG RAI<br />

Chiang Rai Manganese is the geological symbol of Chiang Rai Province,<br />

found in Phaya Mengrai, Thoeng and Wiang Pa Pao Districts. This black<br />

metallic mineral is important to the country to be used in battery and iron<br />

industries as well as manganese alloy.<br />

ธรณีวิทยา<br />

สินแร่แมงกานีสที่พบในจังหวัดส่วนใหญ่เป็นแร่<br />

ไพโรลูไซต์และแร่ไซโลมีเลน สําหรับแร่ไพโรลูไซต์มักพบเป็น<br />

คราบบางๆ รูปกิ่งไม้ เคลือบตามรอยแตกและผิวก้อนกรวด<br />

เกิดเป็นสายแร่ร่วมกับควอตซ์ และเป็นแร่พลัดอยู่ในชั้น<br />

ดินแลงกึ่งแข็งตัว ส่วนแร่ไซโลมีเลนมีเนื้อแน่น มักพบใน<br />

ลักษณะเป็นรูปพวงองุ่นหรือรูปไต มีการเกิดแบบสะสมตัวใหม่<br />

โดยอิทธิพลของนํ ้าบาดาล เป็นชั ้นอยู ่ในชั ้นดินแลงและชั ้น<br />

ศิลาแลง สินแร่แมงกานีสสามารถแบ่งตามประโยชน์ของการ<br />

ใช้งานตามเปอร์เซ็นต์ของธาตุแมงกานีสออกไซด์ได้ ๓ เกรด<br />

คือ เกรดโลหกรรม เกรดเคมี และเกรดแบตเตอรี่


จังหวัดเชียงใหม่<br />

หินไนส์ดอยอินทนนท์<br />

เป็นหินแปรสีดําสลับขาว แสดงริ้วขนานสวยงาม และมีอายุ<br />

เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย พบที่ดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นดอยที่สูงที่สุด<br />

ในประเทศไทย และเป็นที่ตั้งของพระมหาสถูปเจดีย์ดอยอินทนนท์<br />

นอกจากนี้ยังพบได้ทั่วไปบริเวณเส้นทางหลวงจอมทอง-อินทนนท์<br />

บริเวณนํ้าตกแม่ยะ นํ้าตกแม่กลาง นํ้าตกสิริภูมิ และนํ้าตกวชิรธาร<br />

อําเภอจอมทอง และที่อุทยานแห่งชาติออบหลวง อําเภอฮอด<br />

ธรณีวิทยา<br />

หินไนส์ดอยอินทนนท์เป็นหินชั้นเก่าแก่แห่งมหายุค<br />

พรีแคมเบรียนอายุกว่า ๕๙๐ ล้านปี ที่ถูกแปรสภาพในระดับ<br />

ปานกลางถึงสูงไม่ตํ่ากว่า ๕ ครั้ง แรงดันและความร้อน<br />

ใต้เปลือกโลกผ่านระยะเวลาแสนนานทําให้ผลึกแร่ที่เกิดใน<br />

ส่วนล่างของหินเดิมแปรสภาพ เปลี่ยนรูปทรง หรือเปลี่ยนเป็น<br />

แร่ชนิดอื่น เกิดเป็นหินไนส์ที่มีการเรียงตัวของแร่เป็นลวดลาย<br />

สีดําสลับขาว และบางส่วนถูกแปรสภาพรุนแรงจนถึงขั้น<br />

เริ่มหลอมเหลว จากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกทําให้หินไนส์<br />

ดอยอินทนนท์ยกตัวอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เมื่อ ๕๕ ล้านปีก่อน<br />

จนถึงปัจจุบัน ประกอบกับเนื้อหินไนส์ส่วนใหญ่ประกอบด้วย<br />

แร่ซิลิกาที่มีความแกร่งและทนทานต่อการกัดกร่อน จึง<br />

ทําให้ดอยอินทนนท์ตั้งตระหง่านเป็นเทือกเขาที่สูงที่สุด<br />

ในประเทศไทย<br />

CHIANG MAI<br />

Doi Inthanon Gneiss, the geological symbol of Chiang Mai Province, is a<br />

Precambrian (>590 million years ago) metamorphic rock with alternated<br />

dark and light strips showing beautiful dark-light layers. Doi Inthanon (Peak),<br />

the highest mountain peak of Thailand, where the Doi Inthanon Pagoda<br />

located, is the important site where this rock is cropped out.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

31


จังหวัดตรัง<br />

หินอ่อนตรัง<br />

เป็นหินอ่อนสีขาว เทาแกมชมพู ลายสีดํา<br />

มีความโดดเด่น สวยงาม และเป็นเอกลักษณ์<br />

จังหวัดตรังจึงเป็นแหล่งผลิตหินประดับที่สำาคัญ<br />

ของภาคใต้<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

32<br />

TRANG<br />

The geological symbol of Trang Province is the unique white to pinky gray with black stripes<br />

Trang Marble. The rock is a result of metamorphism of Thung Song’s limestone caused by<br />

granite intrusion during the Triassic period. Trang Marble occurs along a narrow area along<br />

the foothills in Pak Chaem Subdistrict, Huai Yot District. There are a total of nine active<br />

mines with total reserves of 800 million tons.<br />

หินอ่อนเป็นหินแปรชนิดหนึ่งซึ่งประกอบด้วย<br />

แร่แคลไซต์และ/หรือโดโลไมต์ เกิดจากการแปรสภาพ<br />

ของหินปูนด้วยอิทธิพลของความร้อนและความกดดัน<br />

ทําให้หินปูนหลอมและตกผลึกใหม่มีขนาดละเอียดถึง<br />

หยาบ โดยปรกติจะมีเนื้อผลึกสมํ่าเสมอ หินอ่อนตรัง<br />

เกิดจากการแปรสภาพของหินปูนกลุ่มทุ่งสงของยุค<br />

ออร์โดวิเชียน เนื่องจากการแทรกดันตัวของหินแกรนิต<br />

แนวตอนกลางของไทยในช่วงยุคไทรแอสซิก ในทาง<br />

การค้าหรืออุตสาหกรรม หินอ่อนใช้เรียกหินปูนที่มี<br />

ผลึกที่สามารถนํามาขัดหรือใช้กับงานสถาปัตยกรรม<br />

ที่ละเอียดประณีต ใช้เพื่อการประดับตกแต่ง แหล่ง<br />

หินอ่อนในจังหวัดตรังพบเป็นแนวแคบๆ บริเวณ<br />

เชิงเขา ในเขตตําบลปากแจ่ม อําเภอห้วยยอด<br />

มีทั้งหมดจํานวน ๙ แหล่ง มีปริมาณสํารองประมาณ<br />

๘๐๐ ล้านตัน


จังหวัดตราด<br />

หินบะซอลต์<br />

วัดเมืองเก่าแสนตุ่ม<br />

เป็นหินภูเขาไฟสีเทาเข้ม ที่แสดงการแตกเป็นแท่งรูปเสาหิน<br />

หกเหลี่ยมคล้ายเสาหินเมืองโบราณ พบที่วัดเมืองเก่าแสนตุ่ม และ<br />

โบราณสถานเขาโต๊ะโมะ หมู่ที่ ๗ บ้านอีเร็ม ตําบลประณีต อําเภอเขาสมิง<br />

ซึ่งเป็นสถานที่สําคัญของจังหวัดตราด<br />

ธรณีวิทยา<br />

หินบะซอลต์วัดเมืองเก่าแสนตุ่มมีเนื้อละเอียดสีเทาเข้ม<br />

มีแร่ดอกเป็นแร่นิลและแร่ไคลโนไพรอกซีน เกิดจากการปะทุของ<br />

หินหนืดใต้ผิวโลกขึ้นมาตามรอยแยกเมื่อประมาณ ๓ - ๑ ล้าน<br />

ปีก่อน ลาวาร้อนเหลวเมื่อขึ้นมาถึงผิวโลกจะเย็นตัวแข็งเป็นหิน<br />

บะซอลต์อย่างรวดเร็ว พร้อมกับมีการหดตัวของมวลหินในทุก<br />

ทิศทาง ทําให้เกิดการแตกเป็นกลุ่มแท่งหินรูปหกเหลี่ยมเส้นผ่าน<br />

ศูนย์กลาง ๑๕ - ๒๐ เซนติเมตร และยาวตั้งแต่ ๓๐ - ๑๕๐ เซนติเมตร<br />

บางแท่งอาจมีเหลี่ยมน้อยหรือมากกว่าหกเหลี่ยมก็ได้<br />

TRAT<br />

The geological symbol of Trat Province is Basalt of Wat Mueang Kao Saen<br />

Tum, a dark volcanic rock with columnar joints that formed a similar shape<br />

of pillars of the ancient city. The rock was found in Mueang Kao Saen Tum<br />

Temple and Khao Tomo, Khao Saming District. The site is one of the most<br />

important place of Trat Province.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

33


จังหวัดตาก<br />

หินแกรนิตตาก<br />

เป็นหินอัคนีสีเทาอมฟ้า หรือเรียกว่าฟ้าดิบ ซึ่งเป็นสี<br />

ที่มีความสวยงามและมีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะ<br />

จังหวัดตากเป็นจังหวัดที่ผลิตหินประดับชนิดหินแกรนิตที่ใหญ่<br />

ที่สุดในประเทศไทย<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

34<br />

TAK<br />

Tak Granite is the geological symbol of Tak Province. This bluish gray intrusive igneous rock of<br />

unique beauty and high quality has long been used as a dimension stone for decoration. Tak is<br />

thus famous for its largest center for granite dimension stone production site of the country.<br />

หินแกรนิตที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดตาก<br />

เป็นหินแกรนิตที่มีสีเทาอมฟ้าซึ่งเป็นสีของแร่เฟลด์สปาร์<br />

กลุ่มแพลจิโอเคลส (Plagioclase) หินแกรนิตตากเป็น<br />

ส่วนหนึ่งของหินแกรนิตแนวตะวันออก (Eastern Belt Granite)<br />

ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวหินแกรนิตจํานวน ๓ แนวของไทย หินแกรนิต<br />

ในแนวตะวันออกมักเกิดเป็นมวลหินขนาดเล็ก หรืออาจเกิด<br />

เป็นมวลหินขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยมวลหินขนาดเล็กๆ ของ<br />

หินแกรนิตชนิดต่างๆ แทรกทับซ้อนกันอยู่ หินแกรนิตแนวนี้<br />

มีประเภทหินและแร่ประกอบหินแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ที่มีเนื้อหิน<br />

ใกล้เคียงกับหินภูเขาไฟ มีสีเข้มมากถึงดํา จนถึงเป็นหินแกรนิตแท้ๆ<br />

เนื้อหยาบและสีจาง ผลึกแร่มักจะไม่แสดงการเรียงตัวเหมือนหินแกรนิต<br />

ฟ้าดิบ และจะพบเศษหินแปลกปลอม (xenolith) ประเภทหินอัคนี<br />

สีเข้มและหินภูเขาไฟปนอยู่ในเนื้อหินแกรนิตเสมอ


จังหวัดนครนายก<br />

หินสบู่ดิกไคต์<br />

หินชนิดนี้มีชื่อเรียกทางธรณีวิทยาว่าแร่ดิกไคต์ และ<br />

มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่าหินอ่อนหรือหินสบู่ เป็นแร่ดินชนิดหนึ่ง<br />

มีเนื้อละเอียดคล้ายสบู่ มีสีเทาอ่อนหรือสีเขียวตองอ่อน ใช้ทํา<br />

เครื่องประดับ งานแกะสลัก หรืออุตสาหกรรมเซรามิก หินสบู่<br />

ดิกไคต์พบเฉพาะที่เขาชะโงก ตําบลพรหมณี อําเภอเมือง<br />

นครนายก<br />

ธรณีวิทยา<br />

ดิกไคต์ (Dickite) เป็นแร่ดินชนิดหนึ่งในกลุ่ม<br />

เคโอลิไนต์ ซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมีเหมือนกัน แต่มี<br />

โครงสร้างผลึกต่างกัน พบเป็นหินแข็ง มีสีหลากหลาย<br />

ตั้งแต่เทาอ่อน นํ้าตาลอ่อน ไปจนถึงเขียวตองอ่อน ดิกไคต์<br />

เกิดจากการที่นํ้าแร่ร้อนและแก๊สซึมผ่านรอยแตกของหินเดิม<br />

ที่เป็นหินไรโอไลต์และทัฟฟ์ แล้วเปลี่ยนสภาพแร่ประกอบ<br />

หินเดิมให้เป็นแร่ดิกไคต์ หรือเกิดจากการที่นํ้าแร่ไหลเข้าไป<br />

บรรจุในรอยแตกที่มีอยู่ในหิน การแพร่กระจายของแร่<br />

จึงสัมพันธ์กับแนวโครงสร้างธรณีวิทยา การใช้ประโยชน์<br />

ขึ้นอยู่กับคุณภาพแร่ตามปริมาณของอะลูมินา คือ ร้อยละ<br />

๒๘ - ๓๒ ส่วนมากใช้ทำาเครื่องประดับหรืองานแกะสลัก เช่น<br />

พระพุทธรูป แจกัน ฯลฯ ร้อยละ ๑๑ - ๒๘ ใช้ในอุตสาหกรรม<br />

เซรามิก ที่ตํ่ากว่านั้นใช้ผสมทําปูนซีเมนต์ขาว<br />

NAKHON NAYOK<br />

The geological symbol of Nakhon Nayok Province is dickite. Usually referred to<br />

as “soft rock” or “soap rock”, the pale green to pale brown “dickite” is in fact<br />

one of the kaolinite group formed under the influence of hydrothermal water that<br />

seeped through fractures in parent rocks, e.g. rhyolite and tuff. Dickite usually<br />

contains a considerable amount of alumina (28 - 32 percent) and always used<br />

as carving materials or ceramics.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

35


จังหวัดนครปฐม<br />

ทรายบกกำาแพงแสน<br />

เป็นทรายปนกรวดสีนํ้าตาลอ่อน ที่เกิดจากการสะสมตัว<br />

แบบเนินตะกอนรูปพัดของแม่นํ้าเมื่อประมาณ ๗ แสนปีก่อน<br />

จนเป็นแหล่งทรายขนาดใหญ่ที่มีปริมาณทรายมหาศาล เช่น<br />

ที่บ้านหนองกร่าง ตําบลทุ่งลูกนก อําเภอกําแพงแสน จังหวัด<br />

นครปฐม ในอดีตทรายบกกําแพงแสนเคยเป็นแหล่งวัสดุ<br />

ก่อสร้างขนาดใหญ่และสําคัญที่สุดของกรุงเทพมหานคร<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

36<br />

NAKHON PATHOM<br />

Kamphaeng Saen Alluvial Sand is the geological symbol of Nakhon Pathom Province,<br />

comprising pale brown gravels and sand with fragments of wood and animal bones<br />

deposited as alluvial fan around 700,000 years ago. Kamphaeng Saen Sand used to be the<br />

largest and most important construction material for Bangkok Metropolitan.<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรายบกกําแพงแสนมีขนาดตั้งแต่ทราย<br />

ละเอียดถึงหยาบมาก เนื้อร่วน สีนํ้าตาลอ่อน<br />

มีกรวดปน เม็ดทรายประกอบด้วยแร่ควอตซ์<br />

และเศษหินชนิดต่างๆ เม็ดค่อนข้างมน การคัด<br />

ขนาดไม่ดี มักพบเศษไม้หรือเศษกระดูกปะปน<br />

ด้วยเล็กน้อย เกิดจากการสะสมตัวแบบเนิน<br />

ตะกอนรูปพัด (alluvial fan deposit) ขนาด<br />

ใหญ่มากของแม่นํ้าแม่กลองในช่วงที่ไหลลงสู่<br />

ที่ราบลุ่มเจ้าพระยา


จังหวัดนครพนม<br />

รอยตีนไดโนเสาร์ท่าอุเทน<br />

เป็นซากดึกดําบรรพ์รอยตีนไดโนเสาร์กินรีมิมัส บนหินทราย<br />

สีแดงอายุกว่า ๑๐๐ ล้านปี ที่สมบูรณ์และพบมากที่สุดในเอเชียตะวันออก<br />

เฉียงใต้ ด้วยความสําคัญทั้งทางด้านโบราณชีววิทยาและธรณีวิทยา<br />

กรมทรัพยากรธรณีจึงได้ประกาศให้เหมืองหินทรายเก่า หมู่ที่ ๒ ตําบล<br />

พนอม อําเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นแหล่งซากดึกดําบรรพ์<br />

ขึ้นทะเบียนแห่งแรกของประเทศ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔<br />

พร้อมทั้งพัฒนาเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้และท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา<br />

โดยส่งมอบให้จังหวัดนครพนมบริหารจัดการ<br />

ธรณีวิทยา<br />

แหล่งรอยตีนไดโนเสาร์ท่าอุเทนเป็นรอยพิมพ์แนวทางเดิน<br />

ของฝูงไดโนเสาร์นกกระจอกเทศกินรีมิมัส จำานวนมากกว่า ๓๒ แนว<br />

บนชั้นหินทรายสีนํ้าตาลแกมแดงและหินโคลนสีนํ้าตาลแดงของ<br />

หมวดหินโคกกรวด กลุ่มหินโคราช ยุคครีเทเชียสตอนกลาง ลักษณะ<br />

รอยตีนที่พบแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มของไดโนเสาร์นกกระจอกเทศ<br />

กินรีมิมัส ลักษณะของรอยตีนเป็น ๓ นิ้ว คล้ายรอยตีนไก่ ที่ปลายนิ้ว<br />

มีร่องรอยของเล็บแหลมคม บางรอยมีรอยครูดของเล็บให้เห็น แสดง<br />

ลักษณะของสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร เดินด้วย ๒ ขาหลัง จํานวน ๒๐๐ รอย<br />

เหยียบยํ่าบนรอยริ้วคลื่น (ripple marks) และรอยระแหงโคลน<br />

(mudcracks) โบราณ นอกจากนี้ยังพบกลุ่มของไดโนเสาร์ออร์นิโธพอด<br />

และกลุ่มของจระเข้ขนาดเล็กอีกหลายแนว และยังพบรูปพิมพ์นูน<br />

ของรอยตีนไดโนเสาร์ที่สมบูรณ์อีกมากมายใต้ชั้นหินทรายที่ปิดทับบน<br />

รอยพิมพ์เหล่านี้อีกด้วย<br />

NAKHON PHANOM<br />

The over 100-million-year-old Tha Uthen Dinosaur Footprints on red<br />

sandstone rock unit represent the geological symbol of Nakhon Phanom<br />

Province. The site was considered the best preserved Kinnareemimus<br />

dinosaur footprints and most abundant in Southeast Asia region found<br />

in sandpits of Tha Uthen District. The Department of Mineral Resources<br />

has realized the importance of the site thus registered as the first fossil<br />

site of the country on 18 May 2011 as well as developed it to be a study<br />

and geotourism site of the province. Other geological features of<br />

sandstone unit include ripple marks and mudcracks.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

37


จังหวัดนครราชสีมา<br />

ไม้กลายเป็นหิน<br />

เป็นซากดึกดําบรรพ์ชนิดพืช เกิดจากสารละลายซิลิกา<br />

เข้าไปแทนที่เนื้อไม้ ทําให้แข็งเป็นหิน แต่ยังคงสภาพโครงสร้าง<br />

เนื้อไม้เดิมไว้ จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่พบไม้กลายเป็นหิน<br />

มากที่สุดในประเทศ และยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็น<br />

หินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

38<br />

NAKHON RATCHASIMA<br />

The geological symbol of Nakhon Ratchasima Province is petrified wood.<br />

Petrified wood is a kind of plant fossil that its structure was replaced by silica<br />

solution making it rock solid with some remain of wood tissues. Nakhon<br />

Ratchasima is the province where petrified wood has been most abundant<br />

and the largest petrified wood collection and museum of the country is<br />

located.<br />

ธรณีวิทยา<br />

ไม้กลายเป็นหินคือซากดึกดําบรรพ์ของพืช เกิดจาก<br />

ท่อนไม้ถูกฝังกลบและแช่อยู่ในสารละลายซิลิกาที่มีความเข้มข้น<br />

สูงเพียงพอในสภาพที่ขาดออกซิเจน ทําให้เนื้อไม้ไม่เน่าเปื่อย<br />

บางช่วงเวลาที่ท่อนไม้และสารละลายซิลิกาได้สัมผัสกับออกซิเจน<br />

ทําให้สารละลายซิลิกาตกตะกอนในรูปของซิลิกาเจล สะสมตัว<br />

แทนที่ช่องว่างของเนื้อไม้ ด้วยระยะเวลานับร้อยนับพันปีทําให้<br />

ท่อนไม้กลายเป็นเนื้อหินโดยที่ยังรักษาโครงสร้างเนื้อไม้ดั้งเดิมเอาไว้<br />

เนื้อไม้กลายเป็นหินบางส่วนมีการพัฒนาเป็นโอปอลที่มีสีสัน<br />

สวยงาม โดยแร่ธาตุต่างๆ ที่ปะปนอยู่ทําให้เกิดสีต่างๆ กัน เช่น<br />

สีดําจากคาร์บอน สีแดง-นํ้าตาล-เหลืองจากเหล็กออกไซด์ เป็นต้น


จังหวัดนครศรีธรรมราช<br />

หินปูนทุ่งสง<br />

เป็นหินปูนเนื้อดินสีเทาเข้ม ที่สะสมตัว<br />

บริเวณทะเลนํ้าตื้นเมื่อ ๔๕๐ ล้านปีก่อน<br />

มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัวและเป็นกลุ่มหิน<br />

ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นชั้นหินแบบฉบับสําหรับ<br />

หินปูนยุคออร์โดวิเชียนของประเทศไทย รวมทั้ง<br />

เป็นแหล่งวัสดุหินสําหรับอุตสาหกรรมก่อสร้าง<br />

และซีเมนต์ที่สําคัญของภาคใต้<br />

ธรณีวิทยา<br />

หินคาร์บอเนตยุคออร์โดวิเชียน รู้จักกันโดยทั่วไปใน<br />

ชื่อว่า “กลุ่มหินปูนทุ่งสง” ซึ่งมีสภาวะแวดล้อมการสะสมตัวใน<br />

บริเวณชายฝั่งทะเลนํ้าตื้น กลุ่มหินนี้มีความหนากว่า ๑,๖๐๐ เมตร<br />

โดยทั่วไป ประกอบด้วยหินปูนสีเทาถึงเทาดํา ชั้นหนาถึงหนามาก<br />

มักจะมีชั้นดินแทรกสลับ ในบางบริเวณหินปูนจะมีเนื้อเป็นเม็ดแบบ<br />

ไข่ปลา หรือเป็นเนื้อหินปูนโดโลไมต์ ส่วนบนของกลุ่มหินนี้จะเป็น<br />

หินปูนที่มีเนื้อดินปน และในบางบริเวณมีหินดินดานสีเทาดํา<br />

แทรกสลับ ในเนื้อหินปูนทุ่งสงมักพบซากดึกดําบรรพ์ที่เกิดในทะเล<br />

อาทิ หอยฝาเดียว แบรคิโอพอด ไทรโลไบต์ และนอติลอยด์<br />

NAKHON SI THAMMARAT<br />

Thung Song Limestone is the geological symbol of Nakhon Si Thammarat Province. The dark gray Thung Song<br />

limestone was accumulated in shallow sea environment about 450 million years ago with the thickness over<br />

1,600 meters. This is the type locality of the Thung Song Group.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

39


จังหวัดนครสวรรค์<br />

หินแกรนิตสีส้ม<br />

นครสวรรค์<br />

เป็นหินประดับที่มีความสวยงาม เป็น<br />

เอกลักษณ์โดดเด่นของจังหวัด นิยมนํามาทําหิน<br />

ประดับอาคาร แหล่งหินแกรนิตสีส้มพบตาม<br />

เนินเขาและเขาโดดทางทิศตะวันออกของ<br />

จังหวัด เช่น ที่เขาพระ-เขาสูง ตําบลหนองกลับ<br />

และที่ตําบลหนองบัว อําเภอหนองบัว และ<br />

อําเภอไพศาลี<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

40<br />

NAKHON SAWAN<br />

Nakhon Sawan Orange Granite is the geological symbol of Nakhon Sawan Province.<br />

The granite formed as a part of Central Belt Granite of the country of Triassic age<br />

(225 - 210 million years ago). This porphyritic rock clearly exhibits its pink to orange<br />

background as a result of the changing of orthoclase feldspar (white) to microcline<br />

feldspar (pink). The outcrops also show exfoliation feature.<br />

หินแกรนิตสีส้มนครสวรรค์เป็นหินแกรนิต<br />

เนื้อดอกขนาดปานกลาง พื้นหินมีสีชมพู สีเทาอมส้ม<br />

และสีส้ม โดยมีลายจุดสีดําของแร่สีเข้มแทรกประอยู่<br />

ทั่วไป สําหรับสีชมพูหรือสีส้มที่พบในเนื้อหินแกรนิต<br />

เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงชนิดของแร่เฟลด์สปาร์<br />

ภายในเนื้อหิน จากแร่ออร์โทเคลส (Orthoclase) ซึ่งมี<br />

สีขาวไปเป็นแร่ไมโครไคลน์ (Microcline) ซึ่งมีสีชมพู<br />

หินแกรนิตสีส้มนครสวรรค์เป็นส่วนหนึ่งของหินแกรนิต<br />

แนวกลางของประเทศไทย ยุคไทรแอสซิก (๒๒๕ - ๒๑๐<br />

ล้านปี) เกิดจากการเย็นตัวอย่างช้าๆ ของหินหนืดใต้ผิว<br />

โลกที่มีส่วนประกอบของแร่อัลคาไลเฟลด์สปาร์และ<br />

แร่ควอตซ์เป็นส่วนใหญ่ ภายหลังจากการยกตัว<br />

อันเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก หินแกรนิต<br />

ได้ขยายตัวและผุพังทําลายด้วยเหตุจากสภาพ<br />

ภูมิอากาศ ทำาให้พบหย่อมเขาแกรนิตสีชมพูโค้งมน<br />

ที่แสดงการแตกเป็นกาบ (exfoliation) คล้ายหัวหอม


จังหวัดนนทบุรี<br />

ดินดำาสวนทุเรียน<br />

เป็นดินเหนียวสีนํ้าตาลเข้มถึงดํา เนื้อแน่น เหนียว<br />

เกิดในบริเวณที่ราบนํ้าท่วมถึงริมแม่นํ้าเจ้าพระยา เป็นชั้นดินที่มี<br />

คุณสมบัติพิเศษที่ทําให้ทุเรียนเมืองนนท์มีรสชาติอร่อย แตกต่าง<br />

จากที่อื่น<br />

ธรณีวิทยา<br />

เมื่อประมาณ ๖,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา ระดับนํ้าทะเลมีการเปลี่ยนแปลง<br />

ขึ้นสูงสุดถึงระดับประมาณ ๔ เมตรจากระดับนํ้าทะเลปัจจุบัน<br />

หลังจากนั้นนํ้าทะเลมีการขยับขึ้นลงอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งลดลงมา<br />

อยู่ที่ระดับปัจจุบัน เมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลง<br />

ระดับของนํ้าทะเลทำาให้เกิดเป็นที่ราบภาคกลางตอนล่าง ต่อมา<br />

เมื่อแม่นํ้าเจ้าพระยาหลากล้นตลิ่งและเกิดนํ้าท่วมทุกปี พร้อมกับ<br />

พัดพาเอาตะกอนและอินทรียสารมาสะสมในที่ราบนํ้าท่วมถึง เกิดเป็น<br />

ดินเหนียวสีดํา เม็ดละเอียดมาก เนื้อแน่นเหนียว ที่อุดมสมบูรณ์<br />

เหมาะสําหรับการทํานาและสวนผลไม้<br />

NONTHABURI<br />

Black Earth Soil for Durian Plantation is the geological symbol of Nonthaburi Province. The secret<br />

behind the best taste of durian in Nonthaburi is its fertile dark soil that used for the plantation of durian. This<br />

fine-grained, dark gray to black, massive clay was formed from the sediments deposited caused by the<br />

annual overflow of the Chao Phraya River.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

41


จังหวัดนราธิวาส<br />

ดินขาวนราธิวาส<br />

เป็นแร่ดินชนิดหนึ่ง มีสีขาว เนื้อละเอียด ดินขาวนราธิวาส<br />

มีความพิเศษคือ มีความขาวกว่าดินขาวในที่อื่นๆ เนื่องจากมีปริมาณ<br />

เหล็กเจือปนน้อยมาก จึงใช้เป็นตัวเติมในอุตสาหกรรมกระดาษ สี<br />

ไฟเบอร์กลาส และใช้เป็นส่วนผสมของเนื้อดินปั้นในอุตสาหกรรม<br />

เครื่องเคลือบดินเผาที ่ต้องการความขาวเป็นพิเศษ พบมากบริเวณ<br />

ที ่ราบเชิงเขาบ้านบาดู ตําบลจวบ อําเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส<br />

ริมทางหลวงสายนราธิวาส-สุไหงโกลก และตามที่ราบเชิงเขาหินแกรนิต<br />

แถบอําเภอสุไหงปาดี<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

42<br />

NARATHIWAT<br />

The geological symbol of Narathiwat Province is Narathiwat Kaolinite. This white and fine-grained Narathiwat kaolinite<br />

was formed through the weathering of white granite found along the Tanyong Range located along the easternmost<br />

part of the province. This kaolinite inhibits lower amount of iron content than any other places in the country thus<br />

being used in paper and ceramic industries. This kaolinite can be found along the plain around the granite foothills.<br />

ดินขาวนราธิวาสเป็นแร่ดินขาวที่มีปริมาณอะลูมินาตํ่า<br />

แต่มีความขาวมากกว่าดินขาวในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ เกิดจาก<br />

การผุพังของหินแกรนิตสีขาวเนื้อหยาบปานกลางตามแนวเขา<br />

ตันหยง ทางทิศตะวันออกสุดของจังหวัด ซึ่งเป็นแนวหินแกรนิต<br />

แนวตอนกลางของไทย (Central Belt Granite) ที่เป็นผลมาจากการ<br />

ชนกันของแผ่นเปลือกโลกในช่วงยุคไทรแอสซิก ทําให้เปลือกโลก<br />

บางส่วนหลอมเหลวและตกผลึกใหม่เป็นมวลหินแกรนิตระดับตื้น<br />

ต่อมากระบวนการนํ้าร้อนและแก๊สร้อนบริเวณขอบนอกของแกรนิต<br />

ได้เปลี่ยนแร่เฟลด์สปาร์ในเนื้อหินให้กลายเป็นแร่ดินขาว<br />

(Kaolinization) และถูกพัดพามาทับถมใหม่ในพื้นที่แหล่งดินขาว<br />

ในปัจจุบัน


จังหวัดน่าน<br />

แร่โครไมต์น่าน<br />

เป็นแร่โลหะชนิดหนึ่งสีนํ้าตาลดําหรือสีดําด้าน ใช้ทําโลหะ<br />

ผสม ทําให้เนื้อแข็ง เหนียว และทนทาน กันสนิมและปฏิกิริยาเคมี<br />

ทนต่อการขัดสี ต้านการกัดกร่อน ทนไฟฟ้าและความร้อน ใช้ชุบ<br />

หรือเคลือบผิวโลหะทําให้เป็นเงามัน ในทางเคมีใช้ทําสารประกอบ<br />

สําหรับทําสีทาและสีย้อม นอกจากนี้ใช้ทําวัสดุทนไฟ เช่น ทําอิฐ<br />

บุเตาถลุงโลหะ เตาหลอมแก้ว และเตาเผาซีเมนต์ แร่โครไมต์จัดว่า<br />

เป็นแร่ที่หายากของประเทศ โดยพบเป็นแหล่งแร่ขนาดใหญ่เฉพาะ<br />

ในอําเภอนาน้อย จังหวัดน่าน<br />

ธรณีวิทยา<br />

แร่โครไมต์เป็นสินแร่ชนิดเดียวของธาตุโครเมียม มักพบ<br />

เป็นมวลเม็ดเนื้อแน่น สีดำาแบบเหล็กหรือดำานํ้าตาล สีผงสีนํ้าตาล<br />

เข้ม ความแข็งขนาดขีดเหล็กเข้า โปร่งแสงถึงทึบแสง วาวแบบ<br />

โลหะถึงกึ่งโลหะ หรือผิวด้านๆ คล้ายยางมะตอย พบเกิดสัมพันธ์<br />

กับหินอัคนีสีเข้ม (เมฟิกและอัลตราเมฟิก) ที่พบเป็นแนวยาวทาง<br />

ทิศใต้ของจังหวัดน่าน โดยตกผลึกแยกตัวออกมาจากหินหนืด<br />

จมตัวลงและสะสมตัวเป็นชั้นแร่ กระเปาะแร่ แร่บางส่วนถูก<br />

ดันออกไปแข็งตัวเป็นสายแร่หรือกระเปาะแร่ภายในหน่วยหิน<br />

เพริโดไทต์และเซอร์เพนทิไนต์<br />

NAN<br />

Nan Chromite is the geological symbol of Nan Province. Chromite is brownish black to dull black metallic<br />

mineral used in various industries including alloy and metal coating to prevent rust. The mineral is usually<br />

formed in association with mafic and ultramafic rocks through magmatic segregation. Chromite deposit<br />

is found in Na Noi District.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

43


จังหวัดบึงกาฬ<br />

หินทรายภูทอกน้อย<br />

เป็นหินทรายสีแดงริ้วลายขาว ที่เกิดจากการสะสมตะกอน<br />

ของดินลมหอบในสภาวะแห้งแล้งเมื่อ ๗๕ ล้านปีก่อน พบเป็น<br />

เขาลูกโดดยอดราบ หน้าผาสูงชัน ตามแนวเทือกเขาภูสิงห์-<br />

ภูทอกใหญ่ และภูวัว บางครั้งพบเป็นลานหินหรือเนินเขาตาม<br />

พุทธสถานที่สําคัญ เช่น ที่วัดเจติยาคีรีวิหาร<br />

เขาภูทอกน้อย อําเภอศรีวิไล หินทราย<br />

ที่เขาภูทอกน้อยจัดเป็นหนึ่ง<br />

ในชั้นหินแบบฉบับของ<br />

ประเทศไทย<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

44<br />

BUENG KAN<br />

Phuthok Noi Sandstone is the geological symbol of Bueng Kan<br />

Province. The sandstone unit formed isolated hill surrounded by<br />

steep cliffs, namely Phu Thok Noi, as a part of Phu Singh - Phu<br />

Thok Yai Range. A series of clastic sedimentary beds of Phu Thok<br />

Noi reveal alternate high and low resistance of rocks to weathering<br />

and erosion process. Sedimentary structure and texture such as<br />

ripples and cross-bedding found in the rock units are also important<br />

features and difficult to find.<br />

ธรณีวิทยา<br />

เขาภูทอกน้อยเป็นส่วนหนึ่งของหมวดหินภูทอก ประกอบด้วย<br />

หินทรายสองชนิดสลับกัน ชนิดแรกเป็นหินทรายเนื้อละเอียดมากถึงหินทราย<br />

แป้งเนื้อปนปูน การจับตัวค่อนข้างดี เนื้อหินแสดงริ้วลายลอนคลื่น พบ<br />

การแตกแบบหมอนบนผิวหน้าของชั้นหิน หินทรายชนิดที่สองเป็นหินทราย<br />

เนื้อละเอียดถึงหยาบ การจับตัวไม่ดีนัก พบแนวชั้นเฉียงระดับหลายทิศทาง<br />

อยู่ทั่วไป หินทรายภูทอกเกิดจากการสะสมตะกอนที่พัดพาโดยนํ้าและลม<br />

ในสภาพภูมิอากาศแห้งแล้ง ช่วงอายุยุคครีเทเชียสตอนปลายหรือ ๗๕<br />

ล้านปีมาแล้ว และได้ยกตัวขึ้นเป็นเทือกเขาภายหลังจากการเคลื่อนที่ของ<br />

เปลือกโลกในช่วง ๕๕ ล้านปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นสภาพภูมิอากาศบนผิวโลก<br />

ได้กัดกร่อนเทือกเขานี้ให้กลายเป็นเขาลูกโดดในปัจจุบัน โดยลักษณะการ<br />

เว้าของชั้นหินที่มีความคงทนต่อการผุพังตํ่าและสูงสลับกัน รวมไปถึง<br />

ลวดลายภายในชั้นหินซึ่งมีลักษณะคล้ายลอนคลื่นและลายเฉียงไปมาตาม<br />

ชั้นหิน ถือว่าเป็นลักษณะที่สําคัญและหาได้ยากยิ่งในประเทศ


จังหวัดบุรีรัมย์<br />

หินบะซอลต์เขาพนมรุ้ง<br />

เป็นหินภูเขาไฟสีดําที่เกิดจากการไหลหลากของลาวา<br />

ในอดีตที่ปัจจุบันยังคงลักษณะโดมรูปโล่ของภูเขาไฟ (shield<br />

volcano) ได้สมบูรณ์ และเป็นที่ตั้งของปราสาทเขาพนมรุ้ง<br />

อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นโบราณสถาน<br />

และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญของจังหวัด<br />

ธรณีวิทยา<br />

เขาพนมรุ้งมีลักษณะภูมิสัณฐานที่หลงเหลือ<br />

อยู่ของภูเขาไฟแบบลาวาโดมรูปโล่ ประกอบด้วย<br />

หินบะซอลต์ประเภทฮาวายไอต์ (Hawaiite)<br />

เนื้อละเอียด สีเทาถึงเทาดํา ปกคลุมพื้นที่รอบเขา<br />

บริเวณปล่องภูเขาไฟพบตะกรันภูเขาไฟ (scoria)<br />

ซึ่งมีรูพรุนมาก หินบะซอลต์เขาพนมรุ้งมีลักษณะ<br />

เนื้อหินและรูปแบบการเกิดเช่นเดียวกับหินบะซอลต์<br />

ที่เขากระโดง ภูพระอังคาร และเขาไปรบัด โดย<br />

ทั้งหมดจัดอยู่ในหน่วยหินบะซอลต์บุรีรัมย์ ซึ่งเกิด<br />

จากลาวาหลอมเหลวใต้เปลือกโลกที่ปะทุขึ้นมา<br />

ในยุคควอเทอร์นารีเมื่อประมาณ ๙ แสนปีก่อน<br />

BURI RAM<br />

The geological symbol of Buri Ram Province is Khao Phanom Rung Basalt. The black Phanom<br />

Rung Basalt formed as lava flow that still perfectly remains its shape of shield volcano. The basalt<br />

of the area is of hawaiite with some of the scoria. Volcanism took place during the Quaternary,<br />

i.e. around 900,000 years ago. This is the place where the historical site of Phanom Rung Stone<br />

Sanctuary is located on the top of the hill as one of the most important tourism sites in Buri Ram.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

45


จังหวัดปทุมธานี<br />

หอยนางรมยักษ์<br />

เป็นซากดึกดําบรรพ์หอยสองฝาที่เกิดจากการ<br />

พัดพาของนํ้าทะเลเข้ามาสะสมตัวเมื่อ ๕,๕๐๐ ปีก่อน<br />

พบมากที่สุดในประเทศไทยที่วัดเจดีย์หอย ตําบลบ่อเงิน<br />

และที่วัดสุวรรณประดิษฐ์ ตําบลระแหง อําเภอลาดหลุมแก้ว<br />

จังหวัดปทุมธานี<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

46<br />

PATHUM THANI<br />

Giant Oyster Fossils (Crassostrea gigas), the geological symbol of<br />

Pathum Thani Province, deposited about 5,500 years ago along the<br />

ancient tidal flat area or coastal zone, especially in Chedi Hoi Temple,<br />

Bo Ngoen Subdistrict and Suwanpradit Temple, Rahaeng Subdistrict,<br />

Lat Lum Kaeo District. This 1-m-thick layer of giant oyster fossils<br />

were deposited along with layers of silty and sandy clay of the upper<br />

Quaternary sediment representing a part of Bangkok Clay deposit.<br />

ธรณีวิทยา<br />

ซากหอยนางรมยักษ์เป็นหอยตะโกรมขนาดใหญ่ อยู่ในสกุล<br />

หอยนางรมที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Crassostrea gigas บางตัวอาจมี<br />

ขนาดยาวถึง ๔๐ เซนติเมตร พบทั่วไปบริเวณชายฝั่งนํ้าทะเลขึ้นลง บริเวณ<br />

นํ้ากร่อย สําหรับจังหวัดปทุมธานี พบชั้นหอยนางรมยักษ์โบราณชั้นหนา<br />

ประมาณ ๑ เมตร ฝังกระจายอยู่ในชั้นดินปนทรายแป้งและทรายละเอียด<br />

สีเทาเข้ม พบเปลือกหอยทะเลอีกหลายชนิดปะปนอยู่ในชั้นหอย ซึ่งเป็น<br />

หลักฐานแสดงขอบอ่าวไทยสมัยโบราณประมาณ ๕,๕๐๐ ปีก่อน เหนือชั้นหอย<br />

เป็นชั้นดินเหนียวสีดําเทาเข้ม หนาประมาณ ๒ เมตร ถัดขึ้นไปเป็นชั้นทราย<br />

ขี้เป็ด หนาประมาณ ๒ เมตร และปิดทับด้วยชั้นดินบนอีกประมาณ ๑ เมตร<br />

ชั้นตะกอนทั้งหมดนี้จัดอยู่ในหน่วยตะกอนที่เรียกว่า ชุดดินเหนียวกรุงเทพฯ<br />

ซึ่งปกคลุมพื้นที่ทางตอนใต้ของลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยา และจัดเป็นลําดับ<br />

ชั้นตะกอนส่วนบนสุดของหน่วยตะกอนยุคควอเทอร์นารีในพื้นที่นี้


จังหวัดประจวบคีรีขันธ์<br />

หินปูนเขาช่องกระจก<br />

เป็นหินปูนที่เกิดในทะเลนํ้าตื้นเมื่อ ๒๘๐ ล้านปี<br />

ก่อน พบที่เขาช่องกระจก ตําบลอ่าวน้อย อําเภอเมือง<br />

ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นเขาหินปูนที่ถูกนํ้าและลมกัดเซาะ<br />

จนทะลุเป็นช่องขนาดใหญ่ คล้ายมองทะลุกระจกใส<br />

ที่ติดอยู่บนภูเขาจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง จึงเป็นสถานที่<br />

ท่องเที่ยวที่มีภูมิทัศน์สวยงาม แปลกตา และเป็นสัญลักษณ์<br />

ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์<br />

ธรณีวิทยา<br />

หินปูนเขาช่องกระจกจัดอยู่ในกลุ่มหินราชบุรี<br />

ตามการลําดับชั้นหินทางธรณีวิทยาของประเทศไทย<br />

เป็นหินปูนสีเทาชั้นบางถึงไม่แสดงชั้น มักพบซาก<br />

ดึกดําบรรพ์ อาทิ คตข้าวสาร พลับพลึงทะเล และ<br />

ปะการังในเนื้อหิน หินปูนดังกล่าวเกิดจากการสะสมตัว<br />

ของตะกอนคาร์บอเนตในทะเลโบราณยุคเพอร์เมียน<br />

ซึ่งเป็นยุคที่สิ่งมีชีวิตในทะเลเจริญพันธุ์สูงสุด ต่อมา<br />

การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกทําให้แอ่งตะกอน<br />

คาร์บอเนตในทะเลถูกยกตัวขึ้นจนกลายเป็นภูเขา เกิด<br />

รอยแตกหลายทิศทางตัดกันในเนื้อหินอันเนื่องจาก<br />

ผลของแรงบีบอัดและคลายตัวที่กระทําต่อชั้นหิน<br />

จากนั้นกระบวนการกัดกร่อนจากนํ้าและลมทําให้เกิด<br />

การถล่มของชั้นหินที่มีรอยแตกมากและถี่ ส่งผลให้<br />

เขาหินปูนทะลุเป็นรูโหว่ขนาดใหญ่ดังที่เห็นในปัจจุบัน<br />

PRACHUAP KHIRI KHAN<br />

The geological symbol of Prachuap Khiri Khan Province is Khao Chong Krachok<br />

Limestone, which was formed under shallow sea environment of Permian time about<br />

280 million years ago. The rock unit belongs to Ratburi Group. The present natural<br />

bridge formed over the top of the hill was a result of weathering and erosion caused<br />

by wind and water, in association with various fractures within the rock unit itself.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

47


จังหวัดปราจีนบุรี<br />

ศิลาแลงศรีมโหสถ<br />

เป็นดินที่ถูกนํ้าเหล็กออกไซด์แทรกขึ้นมาเชื่อมประสาน<br />

ทําให้เกิดเป็นชั้นแข็ง พบที่เมืองโบราณศรีมโหสถ ตําบลโคกปีบ<br />

อําเภอศรีมโหสถ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดปราจีนบุรี<br />

และเป็นแหล่งศิลาแลงสําหรับใช้ก่อสร้างเมืองโบราณศรีมโหสถ<br />

เช่น กําแพง ผนังอาคาร พื้นอาคาร ทางเดิน เป็นต้น<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

48<br />

PRACHIN BURI<br />

Si Mahosot Laterite is the geological symbol of Prachin Buri Province. The laterite was<br />

formed from soil that was soaked and later cemented by iron oxide solution to form<br />

hard layers of laterite. The laterite was reported at Si Mahosot historical site located<br />

in Khok Pip Subdistrict, Si Mahosot District. Si Mahosot laterite was used as main<br />

construction materials for the building of ancient city of Si Mahosot.<br />

ศิลาแลง หรือแลง (Laterite) เป็นวัสดุ<br />

ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเฉพาะบริเวณมรสุมเขตร้อน<br />

คนเอเชียรู้จักนำามาใช้ก่อสร้างกำาแพง วัด หรือ<br />

โบราณสถานต่างๆ โดยทั่วไปจะพบศิลาแลงอยู่<br />

บนผิวดินหรือใต้ผิวดินเพียงเล็กน้อย จึงจัดเป็น<br />

ตะกอนพื้นผิวที่เกิดจากกระบวนการผุพังทาง<br />

ธรณีวิทยา ศิลาแลงมีลักษณะเป็นรูพรุน<br />

มีสีแดง สีนํ้าตาลแดง และสีอิฐ ซึ่งขึ้นอยู่กับ<br />

ปริมาณของเหล็กและแมงกานีส เพราะว่า<br />

แร่เหล็กออกไซด์ ได้แก่ แร่ฮีมาไทต์ เป็น<br />

ส่วนประกอบหลักของศิลาแลง อะลูมิเนียม<br />

เป็นอีกธาตุหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบหลักของ<br />

ศิลาแลง โดยจะอยู่ในรูปของแร่บอกไซต์ ส่วน<br />

แมงกานีสจะมีลักษณะเป็นเม็ดหรือเป็นก้อน<br />

เกิดจากสารละลายที่ถูกชะล้างลงมาตกทับถม<br />

เช่นเดียวกับเหล็กและอะลูมิเนียม<br />

ศิลาแลงกับลูกรังมีความสัมพันธ์กันโดยตรง<br />

กับหินและแร่ โดยทั่วไปในบ่อลูกรังมักพบชั้น<br />

ศิลาแลงอยู่ใต้ชั้นดินที่มีสารอินทรีย์ และใต้ชั้น<br />

ศิลาแลงลงไปจะเป็นดินเหนียวสีเทา-ขาว มีจุดประสีแดง<br />

สีส้ม เรียกว่า “ลูกรัง” ซึ่งวางตัวอยู่เหนือชั้นเศษหิน<br />

แนวหินผุ และชั้นหินดานซึ่งอยู่ล่างสุด


จังหวัดปัตตานี<br />

หินแกรนิตสีชมพู<br />

ปัตตานี<br />

เป็นหินอัคนีที่มีขนาดผลึกใหญ่ พื้นสีเทาเจือ<br />

สีชมพู มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น พบ<br />

ตามเนินเขาและเทือกเขาที่ต่อเนื่องมาจากเทือกเขาบูโด<br />

อําเภอมายอ และอําเภอสายบุรี นอกจากนี้ยังพบตาม<br />

เทือกเขาคาราคีรี รอยต่อกับจังหวัดยะลา โดยหินแกรนิต<br />

ที่นิยมทําเป็นหินประดับ นํามาจากแหล่งหินแกรนิต<br />

ทุ่งคล้า อําเภอสายบุรี และแหล่งหินแกรนิตลางา<br />

อําเภอมายอ<br />

ธรณีวิทยา<br />

หินแกรนิตสีชมพูปัตตานีเป็นส่วนหนึ่งของหินแกรนิตแนว<br />

ตอนกลาง (Central Belt Granite) บริเวณภาคใต้ของประเทศ เนื้อหิน<br />

ประกอบด้วยแร่อัลคาไลเฟลด์สปาร์และควอตซ์เป็นส่วนใหญ่ หินแกรนิต<br />

ดังกล่าวเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกในยุคไทรแอสซิก หรือ<br />

ประมาณ ๒๔๕ - ๒๐๐ ล้านปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เปลือกโลกบางส่วน<br />

หลอมเหลวและตกผลึกใหม่เป็นหินแกรนิต เมื่อหินเย็นตัวลงแร่อัลคาไล<br />

เฟลด์สปาร์บางชนิดในเนื้อหินได้เปลี่ยนสภาพหรือเปลี่ยนชนิดแร่ ส่งผล<br />

ให้สีของหินแกรนิตในบางบริเวณเปลี่ยนจากสีขาวอมเทาซึ่งเป็นสีเดิม<br />

กลายเป็นสีนํ้าตาล ชมพู แดง ทําให้หินมีความสวยงามโดดเด่น และมี<br />

คุณสมบัติเป็นหินประดับได้<br />

PATTANI<br />

Pattani Pink Granite is the geological symbol of Pattani Province. This granite exhibiting beautiful large phenocrysts with<br />

grayish pink background is unique for the province. The granite pluton crops out as small hills and mountain range of<br />

Khao Bu Do in Mayo and Sai Buri Districts and of Kharakhiri Mountain located along the Pattani - Yala boundary. Granite<br />

of Thung Khla site in Sai Buri District and Langa site in Mayo District are among the most favourite granite for interior<br />

decoration.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

49


จังหวัดพระนครศรีอยุธยา<br />

ดินเหนียวอยุธยา<br />

เป็นดินเหนียวสีนํ้าตาลเข้ม เนื้อแน่น เหนียว พบ<br />

บริเวณที่ราบนํ้าท่วมถึงริมแม่นํ้าเจ้าพระยา ใช้สําหรับการ<br />

เพาะปลูกหรือทํานาของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา<br />

ซึ่งเป็นที่ตั้งของราชธานีเก่า และเป็นอู่ข้าวอู่นํ้าของประเทศ<br />

รวมทั้งใช้ทําอิฐก่อสร้างตั้งแต่โบราณ<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

50<br />

PHRA NAKHON SI AYUTTHAYA<br />

The geological symbol of Phra Nakhon Si Ayutthaya Province is<br />

Ayutthaya Clay. This dark brown, stiff and massive clay have been<br />

found extensively on the Chao Phraya floodplain. The Ayutthaya clay<br />

have been utilized as fertile soils for vegetation and growing rice for<br />

people of Ayutthaya, the former capital of the country. The clay has<br />

also been raw materials for the production of construction bricks since<br />

the ancient time.<br />

ธรณีวิทยา<br />

สภาพธรณีสัณฐานของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นที่ราบลุ่มอยู่ใน<br />

ภาคกลางตอนล่าง ในบริเวณที่นํ้าทะเลเคยท่วมถึง มีตะกอนทะเลอยู่ข้างล่าง<br />

เกิดจากตะกอนลํานํ้าผสมกับตะกอนทะเลในสภาพนํ้ากร่อย ด้วยลักษณะ<br />

ของพื้นที่ราบที่มีการระบายนํ้าไม่ดี การไหลบ่าของนํ้าผิวดินช้าและการ<br />

ยอมให้นํ้าซึมผ่านได้ช้า ทําให้ดินที่เป็นตะกอนขนาดละเอียดมากมีสภาพ<br />

เป็นกรดมากขึ้นตามความลึก โดยดินชั้นบนเป็นดินเหนียว สีเทาเข้ม มีสภาพ<br />

เป็นกรดปานกลาง (pH 6) ดินชั้นล่างตอนบนเป็นดินเหนียวมีสีเทา สีนํ้าตาล<br />

ปนเทา หรือสีเทานํ้าตาล มีจุดประสีแดง มีสภาพเป็นกรดจัด (pH 5.5)<br />

และพบจุดสีเหลืองฟางข้าว ที่ความลึก ๑๐๐ - ๑๕๐ เซนติเมตร พบรอยไถล<br />

ระหว่างดินชั้นบนกับดินชั้นล่าง และพบผลึกยิปซัมที่เกิดจากการรวมตัวของ<br />

แคลเซียมกับกํามะถันในดิน สําหรับดินชั้นล่างสุดพบว่ามีกํามะถันสูงและมี<br />

สภาพเป็นกรดจัดถึงจัดมาก (pH 5 - 4.5)


จังหวัดพะเยา<br />

ถ่านหินลิกไนต์พะเยา<br />

เป็นเชื้อเพลิงธรรมชาติชนิดถ่านหินลิกไนต์ เกิด<br />

จากการสะสมตะกอนในทะเลสาบเมื่อ ๑๓ ล้านปีก่อน<br />

พบที่อําเภอเชียงม่วนและอําเภอปง ซึ่งเป็นแหล่งผลิต<br />

ถ่านหินที่สําคัญในอดีต ปัจจุบันจังหวัดพะเยาได้ร่วมมือ<br />

กับกรมทรัพยากรธรณีในการพัฒนาเหมืองถ่านหิน ซึ่ง<br />

หมดสัญญาสัมปทานแล้ว ให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้<br />

ทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพโบราณเชื่อมโยง<br />

กับวนอุทยานไดโนเสาร์แก่งหลวง อําเภอเชียงม่วน ซึ่งพบ<br />

ซากฟอสซิลไดโนเสาร์ตัวแรกในภาคเหนือของประเทศไทย<br />

ธรณีวิทยา<br />

ลิกไนต์ (Lignite) เป็นถ่านหินชนิดหนึ่ง<br />

ที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก มีไฮโดรเจน<br />

ไนโตรเจน ออกซิเจน และซัลเฟอร์ประกอบอยู่ด้วย<br />

เพียงเล็กน้อย จัดเป็นถ่านหินคุณภาพตํ่า แหล่ง<br />

ถ่านหินในจังหวัดพะเยามี ๒ แหล่งใหญ่ คือ<br />

แอ่งเชียงม่วน และแอ่งปง โดยแอ่งเชียงม่วนพบ<br />

ชั้นดินดานปนถ่านและชั้นถ่านหินคุณภาพระดับ<br />

ลิกไนต์ถึงบิทูมินัสบริเวณรอยต่อระหว่างอําเภอ<br />

เชียงม่วนกับตําบลบ้านสระ และบริเวณห้วยผาลาด<br />

ชั้นหินถูกปิดทับด้วยกรวดทรายทางนํ้า พบซาก<br />

ดึกดําบรรพ์เป็นจํานวนมาก เช่น กระดูกและฟันของช้างโบราณ<br />

๔ งา เตตระโลโฟดอน (Tetralophodon sp.) จระเข้ ปลา<br />

อีเก้ง หมู ลิงอุรังอุตัง และเมล็ดพืชโบราณ มีอายุอยู่ในช่วง<br />

สมัยไมโอซีนตอนกลาง ส่วนแอ่งปงพบถ่านหินบริเวณห้วยทราย<br />

และห้วยสิงห์ เกิดเป็นชั้นบางๆ เป็นถ่านหินชนิดค่าความร้อนตํ่า<br />

ยังไม่เหมาะแก่การนําไปใช้งาน<br />

PHAYAO<br />

Deposited during the middle Miocene time around 13 million years ago,<br />

Phayao Lignite is a type of fossil fuels found in Chiang Muan and Pong<br />

Basins. The former inhibits better coal quality (lignite to bituminous) than<br />

the latter. Other fossils of both animals and plants are also abundant. This<br />

represents geological study sites of the province where ancient biodiversity<br />

exists with paleontological connection with Kaeng Luang Dinosaur Forest Park<br />

located in Chiang Muan District where the first dinosaur fossil in Northern<br />

Thailand has been reported.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

51


จังหวัดพังงา<br />

แร่ดีบุก<br />

เป็นแร่โลหะชนิดหนึ่งที่แข็ง หนัก มีผิววาวคล้ายเพชร มีสี<br />

นํ้าตาลหรือดําแต่สีผงมีสีขาว ใช้เคลือบโลหะอื่น เช่น เหล็ก ทองแดง<br />

และทองเหลือง เพื่อต้านทานการกัดกร่อน ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย จึงใช้<br />

ทำาภาชนะบรรจุอาหาร ใช้ทำาแบริงสำาหรับงานเครื่องกลในเรื่องเพลา<br />

ทุกประเภท ใช้ผลิตแก้วเนื้อทึบ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องถ้วยชาม และ<br />

เครื่องเคลือบ แร่ดีบุกพบที่อําเภอตะกั่วป่า อําเภอคุระบุรี อําเภอเมือง<br />

พังงา และในทะเลอันดามัน ในอดีตแร่ดีบุกเคยเป็นแร่เศรษฐกิจ<br />

อันดับหนึ่ง โดยจังหวัดพังงาเป็นจังหวัดหนึ่งที่ผลิตและส่งออกแร่<br />

มากเป็นอันดับต้นของประเทศ<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

52<br />

PHANG-NGA<br />

The geological symbol of Phang-nga Province is Tin. Most of the tin ore in Thailand is cassiterite, which is<br />

a brown or black tetragonal mineral usually occurs in prismatic crystals of adamantine luster, high specific<br />

gravity and white streak. Due to its resistance to erosion and post no toxic to human body, tin is widely used for<br />

food containers, machine and ceramic industries. The mineral formed in association with Western Granite that<br />

intruded during the late Mesozoic Era.<br />

สินแร่ดีบุกในประเทศไทยทั้งหมดเป็นแร่<br />

แคสซิเทอไรต์ มีรูปผลึกเป็นแท่งสี่เหลี่ยมสั้นๆ<br />

ปลายเป็นรูปพีระมิด สีของแร่มีสีนํ้าตาลหรือดํา สีผง<br />

สีขาว โปร่งแสง วาวแบบโลหะ คล้ายเพชรถึงกึ่งโลหะ<br />

หรือดานคล้ายดินก็มี ความแข็งระดับทําให้ตะไบเหล็ก<br />

และกระจกเป็นรอยได้ หนักกว่าแร่โลหะชนิดอื่น แร่ดีบุก<br />

จังหวัดพังงามีการเกิดสัมพันธ์กับหินแกรนิตแนวตะวันตก<br />

ที่แทรกดันตัวขึ้นมาในช่วงปลายของมหายุคมีโซโซอิก<br />

จึงมักพบสายแร่ดีบุกตามพื้นที่หินแกรนิต หรือส่วนที่<br />

ผุพังหลุดออกมาและถูกพัดพาไปสะสมตามเชิงเขา<br />

ตามแอ่ง ที่ราบ และในท้องทะเล แร่ที่พบเกิดร่วมกับ<br />

แร่ดีบุกมีหลายชนิด เช่น วุลแฟรไมต์ ชีไลต์ แร่ตระกูล<br />

ไนโอเบียม-แทนทาลัม อิลเมไนต์ โมนาไซต์ ซีโนไทม์<br />

และเซอร์คอน


จังหวัดพัทลุง<br />

หินปูนชัยบุรี<br />

เป็นหินปูนสีเทาอ่อนที่เกิดในทะเลเมื่อ<br />

ประมาณ ๒๒๐ ล้านปีก่อน พบที่เมืองชัยบุรี ซึ่งเป็น<br />

เมืองโบราณสมัยอาณาจักรศรีอยุธยา ในเขตจังหวัด<br />

พัทลุง หินปูนหมวดหินชัยบุรีเป็นหนึ่งในชั้นหิน<br />

แบบฉบับยุคไทรแอสซิกของประเทศไทย และเป็น<br />

แหล่งหินอุตสาหกรรมก่อสร้างที่สําคัญของจังหวัด<br />

ธรณีวิทยา<br />

หินปูนชัยบุรีพบตามเขาหินปูนลูกโดด บริเวณอำาเภอ<br />

ชัยบุรีและอําเภอเมืองพัทลุง ประกอบด้วยหินปูน หินปูน<br />

เนื้อปนโดโลไมต์ และหินโดโลไมต์ สีเทาอ่อนถึงเทาเข้ม<br />

ชั้นบางถึงชั้นหนามาก แสดงชั้นดี ชั้นหินวางตัวในแนวเหนือ-<br />

ใต้ เอียงเทไปทางทิศตะวันออก มีความหนาของชั้นหินปูน<br />

ต่อเนื่องประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ เมตร หินปูนชัยบุรีเกิดจากการ<br />

สะสมตะกอนคาร์บอเนตในทะเลช่วงยุคไทรแอสซิก ในสภาพ<br />

ของแอ่งตะกอนทะเลที่มีความสงบนิ่ง ยาวนาน ภายหลังจาก<br />

การเคลื่อนตัวของชั้นเปลือกโลก แอ่งตะกอนทะเลดังกล่าว<br />

ได้เกิดการยกตัวพ้นระดับนํ้าทะเล กลายเป็นเทือกเขาหินปูน<br />

ชัยบุรี ซึ่งเป็นสถานที่สัญลักษณ์ของจังหวัดพัทลุงในปัจจุบัน<br />

PHATTHALUNG<br />

The geological symbol of Phatthalung Province is Chaiya Buri Limestone, a light gray limestone deposited in<br />

marine environment about 220 million years ago. Named after one of the ancient city during the Ayutthaya period,<br />

the Chaiya Buri limestone commonly crops out as isolated hills in Mueang Phatthalung and Chaiya Buri Districts.<br />

This rock unit represents one of the type sections of Triassic sedimentary rock in Thailand. It is also an important<br />

source of industrial rocks of the province.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

53


จังหวัดพิจิตร<br />

แร่ทองคำา<br />

เป็นแร่โลหะมีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง ใช้ทํา<br />

เครื่องประดับ ทำาเหรียญและทองแท่งเพื่อการลงทุน เป็น<br />

หลักประกันในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ<br />

ใช้ในวงการทันตแพทย์ เป็นตัวนําไฟฟ้าที่ดีสําหรับเครื่องมือ<br />

วิทยาศาสตร์ วงจรอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ในอากาศยาน<br />

ปัจจุบัน จังหวัดพิจิตรมีการผลิตและส่งออกแร่ทองคำาสูง<br />

เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ โดยมีแหล่งแร่ทองคําที่สําคัญ<br />

อยู่หลายแห่งที่แหล่งเขาพนมพา อําเภอวังทรายพูน<br />

และแหล่งแร่ทองคําชาตรี รอยต่อระหว่างจังหวัดพิจิตร<br />

กับจังหวัดเพชรบูรณ์<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

ทองคําโดยทั่วไปมักเกิดเป็นเม็ดกลม เป็นแผ่น เป็นเกล็ด<br />

หรือเป็นไรเล็กๆ หรืออาจพบเป็นมวลก้อน ลักษณะไม่แน่นอน<br />

มีสีเหลืองทองเข้ม แต่สีจะอ่อนจางลงหากมีโลหะเงินปน สีผง<br />

สีเหลืองทองเหมือนกับสีตัว เป็นโลหะที่อ่อนตัว ตีแผ่เป็นแผ่น<br />

บางๆ และดึงเป็นเส้นลวดได้ ทึบแสง วาวแบบโลหะ ทองคํา<br />

ละลายได้เฉพาะในกรดกัดทองเท่านั้น สําหรับแหล่งแร่ทองคํา<br />

เขาพนมพาเป็นแหล่งที่พบทองคําเกิดในสายแร่ควอตซ์ที่เกิดจาก<br />

การสะสมตัวของสารซิลิกาจากนํ้าร้อน (hydrothermal fluid)<br />

ตัดผ่านหินชนิดต่างๆ ทั้งหินอัคนี หินตะกอน และหินแปร และ<br />

สายแร่ที่มีลักษณะเป็นหินกรวดเหลี่ยม (breccia) มีแร่ควอตซ์<br />

เป็นเนื้อพื้นด้วย โดยพบแร่ทองคําที่มีขนาดใหญ่เท่าเม็ดถั่วเขียว<br />

จนถึงขนาดมองไม่เห็นเม็ดแร่<br />

54<br />

PHICHIT<br />

Gold is the geological symbol of Phichit Province. Important gold deposits include Khao Phanom Pha, Wang Sai<br />

Phun District and Chatree Gold Deposit located along the boundary of Phichit and Phetchabun Provinces. Gold is<br />

found in two types of veins: hydrothermal quartz vein that cross-cuts other geological rock units; and breccia with<br />

quartz matrix.


จังหวัดพิษณุโลก<br />

หินทรายภูหินร่องกล้า<br />

เป็นหินทรายสีขาวอมแดง ที่เกิดจากการสะสมตัว<br />

ของตะกอนแม่นํ้าในอดีตเมื่อ ๑๑๐ ล้านปีก่อน อยู่ในอุทยาน<br />

แห่งชาติภูหินร่องกล้า อําเภอนครไทย ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว<br />

ที่สำาคัญของประเทศ เนื่องจากมีภูมิประเทศที่สวยงาม แปลกตา<br />

เป็นเอกลักษณ์ มีลักษณะทางธรณีวิทยาโครงสร้างที่โดดเด่น<br />

และยังมีความสําคัญทางประวัติศาสตร์ของไทย<br />

ธรณีวิทยา<br />

หินทรายภูหินร่องกล้าจัดอยู่ในหมวดหินภูพาน กลุ่มหิน<br />

โคราช ประกอบด้วยหินทรายปนกรวด และหินทรายขนาด<br />

ปานกลางถึงหยาบ สีเทาขาว ขาวอมแดงถึงสีนํ้าตาล เม็ดกรวด<br />

ที่ปะปนอยู่เป็นพวกแร่ควอตซ์ เชิร์ต แจสเปอร์ เศษหินทราย และ<br />

เศษหินทรายแป้ง เกิดจากการสะสมตัวและตกตะกอนจากแม่นํ้า<br />

โค้งตวัดในช่วงยุคครีเทเชียสตอนต้น การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก<br />

ทําให้ชั้นหินยกตัวเป็นเทือกเขา และต่อมาได้เกิดกระบวนการ<br />

กัดกร่อนทางธรณีวิทยาตามผิวหน้าของชั้นหิน ทําให้แสดง<br />

ลักษณะทางธรณีวิทยาโครงสร้างที่น่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์<br />

อาทิ ลานหินแตก และลานหินปุ่ม<br />

ลานหินแตกเป็นลานหินกว้างที่มีร่องขนาดใหญ่ และลึก<br />

เป็นแนวขนานกันหรือตัดกัน ร่องลึกที่สุดประมาณ ๒๐ เมตร<br />

กว้างที่สุดประมาณ ๒ เมตร เกิดจากชั้นหินทรายถูกแรงบีบอัดจาก<br />

ธรรมชาติ ทําให้มีการโก่งงอและแตกอย่างเป็นระบบ ประกอบกับ<br />

อิทธิพลการกัดเซาะของนํ้าทําให้รอยแตกนั้นกว้างและลึกขึ้น<br />

ลานหินปุ่มมีลักษณะเป็นปุ่มหินยอดมนขนาดต่างๆ โผล่<br />

ให้เห็นเป็นจุดๆ บางบริเวณเกิดเป็นกลุ่ม เป็นผลจากนํ้าฝนและ<br />

นํ้าผิวดินกัดเซาะเนื้อหินตามแนวรอยแยกจนผุกร่อนเป็นร่องลึก<br />

คงเหลือไว้แต่เนื้อหินทรายตรงกลางเป็นก้อนปุ่มมน<br />

PHITSANULOK<br />

Deposited along the ancient river around 110 million years ago, Phu Hin<br />

Rong Kla Sandstone represents one of the rock units in Phu Phan Formation<br />

of the Khorat Group. This reddish white sandstone unit crops out in Phu<br />

Hin Rong Kla National Park located in Nakhon Thai District. Its unique and<br />

beautiful landscapes, including “Lan Hin Taek” and “Lan Hin Pum” formed<br />

by the weathering and erosion processes through time, have made it the<br />

geological symbol of Phitsanulok Province.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

55


จังหวัดเพชรบุรี<br />

หินปูนเขานางพันธุรัต<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

56<br />

เป็นหินปูนที่เกิดในทะเลนํ้าตื้นในอดีตเมื่อ ๒๘๐<br />

ล้านปีก่อน พบตามแนวเขายาวประมาณ ๓ กิโลเมตร<br />

ทางทิศตะวันออกของจังหวัดเพชรบุรี หินปูนเขานางพันธุรัต<br />

หรือเขาเจ้าลายใหญ่-เขาจอมปราสาท อยู่ในเขตวนอุทยาน<br />

เขานางพันธุรัต ตําบลเขาใหญ่ อําเภอชะอํา มีลักษณะ<br />

ทางภูมิทัศน์เป็นประติมากรรมทางธรรมชาติที่สวยงาม<br />

และเป็นเอกลักษณ์ มองดูคล้ายนางยักษ์พันธุรัตนอนอยู่<br />

โดยมีโกศอยู่ทางทิศใต้ และปลายเท้าหันไปทางทิศเหนือ<br />

ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญและเป็นสัญลักษณ์<br />

ของจังหวัดเพชรบุรี<br />

PHETCHABURI<br />

The N-S oriented and 3 km long Limestone of Nang Phanthurat Mountain is a part of Permian Ratburi<br />

Limestone located in Nang Phanthurat Forest Park, Khao Yai Subdistrict, Cha-am District. It exhibits a beautiful<br />

and unique natural sculpture of landscape that its shape as seen from the east side looks like a sleeping female<br />

giant, Nang Phanthurat (a character from “Sang Thong”, a famous Thai literature). The famous Limestone of Nang<br />

Phanthurat Mountain, the important tourism site of the province, is thus the geological symbol of Phetchaburi.<br />

ธรณีวิทยา<br />

หินปูนเขานางพันธุรัตจัดอยู่ในกลุ่มหินราชบุรี<br />

มีลักษณะเป็นชั้นหินที่มีการสลับกันของหินปูนสีเทา<br />

ถึงเทาเข้ม หินปูนที่มีหินเชิร์ตเป็นกระเปาะ และหินปูน<br />

เนื้อโดโลไมต์ชั้นหนาถึงไม่แสดงชั้น พบหินทรายและ<br />

หินดินดานแทรกชั้นบ้าง ภายในเนื้อหินปูนมักพบ<br />

ซากดึกดําบรรพ์จําพวกฟิวซูลินิด แบรคิโอพอด ปะการัง<br />

แอมโมนอยด์ และไครนอยด์ หินปูนดังกล่าวเกิดจากการ<br />

สะสมตัวของตะกอนคาร์บอเนตในทะเลช่วงยุคเพอร์เมียน<br />

ตอนกลาง ภายหลังการสะสมตะกอน เปลือกโลก<br />

ได้เคลื่อนตัวและเกิดการคดโค้งโก่งงอ ส่งผลให้แอ่ง<br />

ตะกอนดังกล่าวถูกยกตัวขึ้นมาโผล่พ้นระดับนํ้าทะเล<br />

กลายเป็นเทือกเขาหินปูนขนาดใหญ่ ต่อมานํ้าฝน<br />

ได้ทําหน้าที่ชะล้างละลายสารแคลเซียมคาร์บอเนต<br />

ในหินปูนออกทีละน้อยจนเกิดลักษณะภูมิประเทศสูงตํ่า<br />

หยักแหลม เป็นเขานางพันธุรัตในปัจจุบัน


จังหวัดเพชรบูรณ์<br />

ซากดึกดำาบรรพ์ปะการัง<br />

ซากดึกดําบรรพ์ปะการังมีรูปทรงโดดเด่นเป็นกอช่อ<br />

สวยงามและเป็นลักษณะที่หายาก ใช้เป็นหลักฐานบ่งบอกอายุ<br />

และสภาพการเกิดสะสมตัวในบรรพกาล พบบริเวณอำาเภอ<br />

ชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ต่อเนื่องไปทางอําเภอเนินมะปราง<br />

จังหวัดพิษณุโลก<br />

ธรณีวิทยา<br />

เมื่อประมาณ ๓๔๐ ล้านปีก่อน พื้นแผ่นดินของเพชรบูรณ์<br />

เป็นทะเลตื้น สภาพภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น มีการสะสมตัวของ<br />

ตะกอนโคลนและทรายเป็นส่วนใหญ่ บางบริเวณนํ้าทะเลใสและสงบ<br />

ต่อเนื่องอย่างยาวนาน มีปะการังและสัตว์นํ้าอื่นๆ อยู่ทั่วไป เกิดเป็น<br />

หินปูนชั้นหนาที่มีซากดึกดําบรรพ์หลายชนิดปะปนอยู่ด้วยโดยเฉพาะ<br />

ซากปะการัง หลังจากนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลก<br />

อีกหลายครั้ง แผ่นดินยกตัวขึ้นเป็นภูเขาและมีการสึกกร่อนของชั้นหิน<br />

กลายเป็นเทือกเขาหินปูนที่มีทิวทัศน์สวยงาม และเป็นหินปูนคุณภาพดี<br />

ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน หินปูนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของหมวดหินผานกเค้า<br />

PHETCHABUN<br />

Unique and rare Coral Reef Fossils with outstanding beautiful shape of cluster occur in Chon Daen District with<br />

its extending toward Noen Maprang District, Phitsanulok Province. This fossil formed during the sedimentation<br />

of Pha Nok Khao Limestone Formation deposited about 340 million years ago. After the area was uplifted<br />

and eroded, it exhibits a beautiful mountain landscape with limestone of good quality.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

57


จังหวัดแพร่<br />

แร่วุลแฟรม<br />

บริเวณดอยโง้ม บ้านปิน อําเภอลอง เคยเป็นแหล่งแร่<br />

วุลแฟรมและแร่พลวงแหล่งใหญ่ของประเทศ แร่วุลแฟรมนําไป<br />

ใช้ในอุตสาหกรรมผสมเหล็กให้มีความแข็งแกร่ง ทําอุปกรณ์<br />

ไฟฟ้า ส่วนแร่พลวงใช้ในอุตสาหกรรมโลหะผสม แร่วุลแฟรม<br />

ถูกคัดเลือกให้เป็นตัวแทนของทรัพยากรธรณีสัญลักษณ์ของ<br />

จังหวัดแพร่<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

58<br />

แหล่งแร่ที่ดอยโง้ม อําเภอลอง เป็นแร่วุลแฟรม<br />

และแร่พลวง แร่ส่วนใหญ่เป็นวุลแฟรมชนิด ferberite สีดํา<br />

อมนํ้าตาล ผิววาวกึ่งโลหะถึงแบบยางสน ติดแม่เหล็กแรง<br />

มีผลึกเป็นแผ่นซ้อนกันเป็นชั้น แร่พลวงพบน้อยกว่าและ<br />

เป็นชนิด stibnite สีขาวผิววาวแบบไข่มุก มีผลึกเป็นแท่ง<br />

สายแร่เกิดแทรกตามแนวแตกของรอยเลื่อนขึ้นมาใน<br />

หินโคลน หินทรายแป้งของหมวดหินวังชิ้น หินที่นํานํ้าแร่<br />

ขึ้นมาคือหินแกรนิตยุคไทรแอสซิกตอนปลาย บางส่วนของ<br />

นํ้าแร่ที่สะสมตัวในโพรงของหินกรวดเหลี่ยมจะพบเป็น<br />

ผลึกแร่ที่สวยงาม<br />

PHRAE<br />

A large wolframite (ferberite) and stibnite deposit of the country is located around Doi Ngom area in Ban Pin, Long District.<br />

The ore occur as hydrothermal vein along fault planes that cut through mudstone and sandstone beds of Wang Chin Formation.<br />

The source rock is granite of the late Triassic period. Wolframite is widely used in steel and electronic industries whereas stibnite<br />

is utilized in alloy industry. Due to its importance, wolframite is chosen to be the geological symbol of Phrae Province.


จังหวัดภูเก็ต<br />

ทรายชายหาดภูเก็ต<br />

ทรายชายหาดภูเก็ตเป็นทรายที่เกิดจาก<br />

การผุพังสลายของหินแกรนิตของตัวเกาะภูเก็ต ผ่าน<br />

กระบวนการชะล้างจากกระแสนํ้าและคลื่น ทําให้<br />

ได้หาดทรายที่ขาวและสวยงาม บริเวณนี้ยังเป็นแหล่ง<br />

สะสมตัวของแร่ดีบุกและแร่หายากด้วย แต่ในปัจจุบัน<br />

ทรายชายหาดภูเก็ตเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่สําคัญของ<br />

ประเทศ ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวมาชมความงาม<br />

ของทรายชายหาดภูเก็ตเป็นจํานวนมาก<br />

ธรณีวิทยา<br />

เกาะภูเก็ตประกอบด้วยหิน ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ หินแกรนิต<br />

บริเวณด้านตะวันตกของตัวเกาะ เป็นแหล่งกําเนิดของหาดทราย<br />

ที่สวยงามทั้งหลายของภูเก็ต และหินโคลนและหินทรายบริเวณ<br />

ด้านตะวันออกของตัวเกาะ เป็นหาดหินที่แสดงชั้นหินโผล่ให้เห็น<br />

สวยงาม หินแกรนิตบริเวณนี้ยังเป็นต้นกําเนิดของแร่ดีบุก โดยใน<br />

อดีต จังหวัดภูเก็ตรวมทั้งพื้นที่ในทะเลเคยเป็นแหล่งผลิตแร่ดีบุก<br />

แหล่งใหญ่ของประเทศ ทรายชายหาดภูเก็ตมีทรายแก้วที่เกิดจาก<br />

การผุพังสลายตัวของหินแกรนิต ผลจากอิทธิพลของกระแสนํ้า<br />

และคลื่นลมทําให้ทรายชายหาดส่วนใหญ่เหลือส่วนประกอบเป็น<br />

แร่ควอตซ์สีขาว ซึ่งเป็นแร่ที่คงทนต่อการสึกกร่อนได้ดีที่สุด เกิดแนว<br />

สันดอนทรายเป็นแหล่งสะสมทรายแก้วได้อย่างดี บางบริเวณ<br />

จะมีทรายสีดําที่มีสารอินทรีย์จําพวกรากพืชและซากไม้ทับถมอยู่<br />

ด้านบน หนาประมาณ ๑ เมตร<br />

PHUKET<br />

The Phuket White Sandy Beach is a product of the weathering, erosion and transportation caused by water current<br />

and waves resulting in beautiful white sandy beach. The area is also a deposit site for tin and rare earth minerals.<br />

The source rock of white sand and minerals mentioned is granite located along the western side of the island. As<br />

one of the most important tourism sites of the country where a great number of tourists come to admire its beauty,<br />

Phuket White Sandy Beach is thus the geological symbol of the province.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

59


จังหวัดมหาสารคาม<br />

เกลือหินมหาสารคาม<br />

จังหวัดมหาสารคามมีขุมทรัพย์เกลือหินมหึมาอยู่ใต้ดิน<br />

เป็นที่มาของชื่อหมวดหินมหาสารคาม มีอุตสาหกรรมผลิต<br />

เกลือสินเธาว์หลายแห่ง นําไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและ<br />

ในอุตสาหกรรมเคมี เช่น โซดาแอช โซเดียมไบคาร์บอเนต<br />

คอสติกโซดา ทํากรดเกลือและคลอรีน เกลือหินมหาสารคาม<br />

เป็นตัวแทนทรัพยากรธรณีสัญลักษณ์ของจังหวัดมหาสารคาม<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

60<br />

MAHA SARAKHAM<br />

Maha Sarakham Rock salt represents the geological symbol of Maha Sarakham<br />

Province. The tremendous amount of rock salt deposit is underneath the area of<br />

the province. Rock salt and associated minerals include gypsum and a group<br />

of Potassium-Magnesium and Calcium Chlorite salts deposited as a result of<br />

evaporation of sea water in the closed basin. The deposition occurred along<br />

with mudstone and siltstone interbedded to form an important rock unit that<br />

named after the province “Maha Sarakham Formation”.<br />

ตามมาตรฐานลําดับชั้นหินกําหนดให้ชั้นเกลือหินและ<br />

แร่โพแทชที่มีหินโคลนและหินทรายแป้งแทรกสลับจัดอยู่ใน<br />

หมวดหินมหาสารคาม ชั้นเกลือหินพบต่อเนื่องทั่วไปใต้ผิวดิน<br />

ของอีสาน เกิดจากการตกตะกอนสะสมตัวจากการระเหย<br />

ของนํ้าเค็มในแอ่งปิดอย่างต่อเนื่องและยาวนาน เมื่อความ<br />

เข้มข้นของนํ้าเกลือมากขึ้น เกลือแร่ที่อยู่ในนํ้าจะเริ่มตกตะกอน<br />

เป็นชั้นๆ เริ่มจากแร่ยิปซัม แร่เกลือหิน และกลุ่มแร่โพแทสเซียม<br />

แมกนีเซียม และแคลเซียมคลอไรต์ เกลือหินมีสีขาวใส<br />

โปร่งแสง ผลึกเป็นรูปลูกบาศก์หรือเป็นเม็ดสมานแน่นและมี<br />

รสเค็ม สําหรับแร่โพแทชเป็นชื่อกลุ่มแร่ มีแร่หลายชนิด เช่น<br />

แร่ซิลไวต์ มีสีขาวขุ่นแบบเทียนไข แร่คาร์นัลไลต์ มีสีชมพู<br />

สีขาวใส สีส้ม แร่แทชีไฮไดรด์ เยิ้มละลายในอากาศได้ง่าย<br />

มีสีเหลือง สีส้ม สีขาว พื้นที่ที่มีเกลือหินอยู่ใต้ดินจะมีคราบเกลือ<br />

ละลายนํ้าซึมขึ้นมาบนดินให้เห็นเป็นคราบสีขาว ทำาให้เกิดดินเค็ม<br />

ที่ไม่เหมาะกับการเพาะปลูก แต่บางแห่งใช้ทํานาเกลือได้


จังหวัดมุกดาหาร<br />

หินทรายภูผาเทิบ<br />

ภูผาเทิบอยู่ในอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ<br />

ตําบลนาสีนวน อําเภอเมืองมุกดาหาร เป็น<br />

ประติมากรรมทางธรรมชาติที่สวยงามของหินทราย<br />

ที่เรียงซ้อนทับกัน มีรูปทรงแปลกตาทั้งรูปหินจระเข้<br />

มงกุฎ เก๋งจีน จานบิน และหินบางก้อนมีรูปทรง<br />

คล้ายเพิงผาที่กันแดดกันฝนได้ ภาษาถิ่นเรียก<br />

ลักษณะเช่นนี้ว่า “เทิบ” หินทรายภูผาเทิบจึงเป็น<br />

ทรัพยากรธรณีสัญลักษณ์ของจังหวัดมุกดาหาร<br />

ธรณีวิทยา<br />

หินทรายภูผาเทิบตามมาตรฐานลําดับชั้นหินของ<br />

ประเทศ จัดอยู่ในหมวดหินภูพาน กลุ่มหินโคราช อายุ<br />

ประมาณ ๑๑๐ ล้านปี บริเวณภูผาเทิบเป็นกลุ่มชั้นหิน<br />

แสดงรูปร่างลักษณะต่างๆ เกิดจากกระบวนการผุพัง<br />

สึกกร่อนตามธรรมชาติของชั้นหินที่มีความทนทานต่อ<br />

การผุพังได้ไม่เท่ากัน โดยมีนํ้า ลม และสภาพภูมิอากาศ<br />

เป็นตัวเร่งทําให้หินผุพังเร็วขึ้น หินทรายภูผาเทิบมีสีขาวขุ่น<br />

สีนํ้าตาลแกมแดง เนื้อเม็ดทรายมีขนาดปานกลางถึง<br />

หยาบ และมักมีชั้นบางๆ ของก้อนกรวดขนาดเล็กปะปน<br />

อยู่ด้วย จะทนต่อการผุพังได้ดีกว่า จึงมีรูปทรงยื่นออกมา<br />

เป็นเพิงผาหรือเทิบ ในขณะที่ส่วนที่โค้งเว้าเป็นหินทรายแป้ง<br />

จะมีเนื้อละเอียดกว่าและความคงทนน้อยกว่า<br />

MUKDAHAN<br />

Phu Pha Thoeb Sandstone located in Phu Pha Thoeb National Park, Na Si Nuan Subdistrict, Mueang Mukdahan District<br />

is the geological symbol of Mukdahan Province. It is a beautiful natural sculpture made of sandstone beds of Phu Phan<br />

Formation, Khorat Group. Differential weathering and erosion process have shaped the Phu Pha Thoeb landscape to various<br />

figures that are similar to a number of features such as a crocodile, a crown, a Chinese pavilion, a space craft, etc. Some of<br />

these figures can be used as a shelter that provides a cover from sunlight and rain, referred to as “Thoeb” in the local word.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

61


จังหวัดแม่ฮ่องสอน<br />

แร่ฟลูออไรต์<br />

จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นพื ้นที ่ที ่มีการ<br />

ผลิตแร่ฟลูออไรต์มากในอดีต และปัจจุบัน<br />

มีแหล่งศักยภาพทางแร่อยู่ที่แหล่งแร่ห้วยยะ<br />

อําเภอปาย และแหล่งแร่แม่ลาหลวง อําเภอ<br />

แม่ลาน้อย แร่ฟลูออไรต์จึงถูกเลือกให้เป็น<br />

ทรัพยากรธรณีสัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

62<br />

แร่ฟลูออไรต์เกิดได้หลายแบบ เช่น แบบสายแร่นํ้าร้อนแทรกผ่าน<br />

ตามรอยแตกในหินแกรนิตหรือในช่องว่างของหินปูน หินโดโลไมต์ และแบบ<br />

แทนที่ในหินชนิดอื่น เช่น หินปูน หินดินดาน และหินทราย แร่ฟลูออไรต์ในทาง<br />

การค้าอาจเรียก “ฟลูออร์สปาร์” มีความแข็งน้อย ถูกขูดขีดเป็นรอยได้ง่าย<br />

บางครั้งจึงเรียกว่า “พลอยอ่อน” มีเนื้อโปร่งแสงถึงโปร่งใส มีสีต่างๆ เช่น ม่วง<br />

เขียว เหลือง และมักพบเป็นผลึกแบบลูกเต๋าหรือเป็นมวลมีแนวแตกเรียบ<br />

มีประโยชน์ใช้เป็นฟลักซ์ในการถลุงโลหะหลายชนิด ใช้ทํากรดเกลือ และใช้ใน<br />

อุตสาหกรรมอื่นๆ อีกหลายประเภท<br />

MAE HONG SON<br />

Fluorite, sometimes referred to as “fluorspar”, usually occurs in hydrothermal vein in granite, limestone and dolomite or<br />

a replacement in limestone, shale and sandstone. Fluorite is utilized as a flux in smelting and various industries. Mae<br />

Hong Son Province used to be an area where high amount of fluorite had been extracted. Presently, high mineralized<br />

potential area is located at Huai Ya deposit, Pai District, and Mae La Luang deposit, Mae La Noi District. Its importance<br />

has made fluorite a geological symbol of Mae Hong Son Province.


จังหวัดยโสธร<br />

หินทรายภูถํ้าพระ<br />

วัดภูถํ้าพระ บ้านหินโหง่น ตําบลกุดแห่ อําเภอเลิงนกทา เป็นสถาน<br />

ปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียง เป็นเนินเขาลูกโดดที่มีความสูงจากที่ราบประมาณ<br />

๓๐ เมตร มีลานหินที่มีหินรูปทรงแปลกตามากมาย เป็นแอ่งนํ้า เพิงถํ้าเป็นที่<br />

ประดิษฐานของพระพุทธรูปจํานวนมาก รวมทั้งเป็นจุดชมวิวของภูแผงม้า<br />

และภูผาผึ้งทางด้านตะวันออกได้ชัดเจน หินทรายภูถํ้าพระ บริเวณลานหิน<br />

ในวัดเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดยโสธร นอกจากนี้ยังพบเป็นลานหินตามเนินเขา<br />

ในเขตอําเภอไทยเจริญ อําเภอกุดชุม และอําเภอเลิงนกทา<br />

ธรณีวิทยา<br />

ภูถํ้าพระตามมาตรฐานลําดับชั้นหิน<br />

ของประเทศ จัดเป็นส่วนหนึ่งของหมวดหิน<br />

พระวิหาร กลุ่มหินโคราช ประกอบด้วยหินทราย<br />

และหินทรายปนกรวด สีขาว เทาขาว เนื้อหินละเอียด<br />

ถึงหยาบ และมีหินทรายแป้งแทรกสลับชั้นบ้าง<br />

เป็นชั้นหินที่ตกตะกอนบนแผ่นดินตามทางนํ้าประสาน<br />

สายโบราณ เมื่อประมาณ ๑๓๐ ล้านปีก่อน ต่อมาเมื่อ<br />

ประมาณ ๕๕ - ๔๐ ล้านปีที่ผ่านมา เกิดการเคลื่อนตัว<br />

ของแผ่นเปลือกโลก ส่งผลให้แผ่นดินบริเวณนี้ยกตัว<br />

สูงขึ้น หลังจากนั้นเกิดการกัดเซาะผุพังของชั้นหิน<br />

ตามธรรมชาติ ชั้นหินบริเวณรอยแตกจะผุพังได้เร็วกว่า<br />

ปกติ รวมทั้งหินแต่ละชนิดก็มีความทนทานต่อการ<br />

สึกกร่อนไม่เท่ากัน ทําให้เกิดลักษณะภูมิประเทศเป็น<br />

ภูเขาลูกโดดและมีชั้นหินรูปทรงโค้งเว้าแสดงลวดลาย<br />

สวยงามของชั้นหินและชั้นเฉียงระดับดังในปัจจุบัน<br />

YASOTHON<br />

Phu Tham Phra Temple, Ban Hin Ngone, Kut Hae Subdistrict, Loeng Nok Tha District<br />

is a famous place for Dhamma practicing. It is an isolated hill with an approximate<br />

height of 30 meters above its flat base. On the rocky platform, there are rocky figures<br />

of various strange shapes to one’s view including small puddles, as well as a number<br />

of rock shelters where a large number of Buddha images were enshrined. One may<br />

find locations of scenic viewpoint overlooking the eastern sides of Phu Phaeng Ma<br />

and Phu Pha Phueng. As a part of Phra Wihan Formation of the Khorat Group, the<br />

White Phu Tham Phra Sandstone is the geological symbol of Yasothon Province.<br />

Other similar features of rocky platform may also be found in Thai Charoen, Kut Chum<br />

and Loeng Nok Tha Districts.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

63


จังหวัดยะลา<br />

หินอ่อนยะลา<br />

หินอ่อนยะลามีเนื้อละเอียดสีชมพู เป็นหินอ่อน<br />

ที่มีชื่อเสียงมาก มีความสวยงามและลักษณะโดดเด่น เป็น<br />

หินอ่อนที่มีเนื้อแร่เหล็กออกไซด์หรือแร่ฮีมาไทต์ปนในเนื้อหิน<br />

ทําให้แสดงสีของแร่มลทินออกมา พบบริเวณภูเขากําปั่น<br />

เขตตําบลหน้าถํ้า อําเภอเมืองยะลา<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

64<br />

YALA<br />

Fine-grained pink marble of Yala has long been famous from its beauty and uniqueness. Yala Marble was formed<br />

as a result of contact metamorphism occurred along the contact zone between the Permian limestone of Ratburi<br />

Group and the Triassic Granite. The presence of Iron oxide or hematite in the rock texture as an impurity contributes<br />

to its pinkish color. Yala Marble is found along Kam Pan Hill in Na Tham Subdistrict, Mueang Yala District.<br />

หินอ่อนในประเทศไทยส่วนใหญ่<br />

มีการเกิดสัมพันธ์กับความร้อนที่ได้จาก<br />

การแทรกตัวขึ้นมาของหินแกรนิตในระดับ<br />

ลึกมากใต้ผิวดิน หินอ่อนยะลาเกิดจากการ<br />

แปรสภาพของหินปูนของกลุ่มหินราชบุรี<br />

ในยุคเพอร์เมียนตอนกลาง หรือประมาณ<br />

๒๖๕ ล้านปีก่อน ตามบริเวณแนวแปร<br />

สัมผัสกับหินแกรนิตยุคไทรแอสซิก ทําให้<br />

หินปูนเกิดการหลอมละลายและตกผลึก<br />

ใหม่ของแร่แคลเซียมคาร์บอเนตให้มีผลึก<br />

ที่ใหญ่ขึ้น กลายเป็นหินอ่อนในปัจจุบัน


จังหวัดร้อยเอ็ด<br />

หอยนํ้าจืดโพนขี้นก<br />

โพนขี้นกเป็นซากหอยอัดตัวแน่น พบบริเวณทุ่งกุลา<br />

ร้องไห้ โพนครกน้อย ตําบลสระคู อําเภอสุวรรณภูมิ จังหวัด<br />

ร้อยเอ็ด ซึ่งมีเรื่องเล่าว่า บริเวณทุ่งกุลาร้องไห้เคยเป็นทะเลสาบ<br />

มาก่อน ต่อมาเกิดการทะเลาะกันของเมืองที่อยู่ริมทะเลสาบ<br />

พญานาคจึงบันดาลให้ทะเลสาบแห้งเหือด บรรดาสัตว์นํ้าต่างๆ<br />

นั้นตายหมด เน่าเหม็นคลุ้งฟ้าไปถึงพระนาสิกของพระอินทร์<br />

พระอินทร์จึงให้นกอินทรีสองผัวเมียมากินซากสัตว์ที่ตาย<br />

ให้หมด นกอินทรีกินซากสัตว์อยู่เป็นเวลาครึ่งเดือนและได้<br />

ถ่ายมูลทิ้งไว้เป็นกองใหญ่มากปรากฏอยู่ที่กลางทุ่งกุลาร้องไห้<br />

เรียกว่า “โพนขี้นก” หรือ “โพนขี้นกอินทรี” ในทุกวันนี้<br />

ธรณีวิทยา<br />

ซากหอยโพนขี้นกประกอบด้วยซากหอย<br />

หลายชนิดมีทั้งหอยขมนํ้าจืดประเภทที่มีฝาเดียว<br />

สกุล Viviparus และหอยกาบประเภทที่มีสองฝาสกุล<br />

Cardiidae เกาะจับตัวกันแน่นเป็นชั้นหนาตั้งแต่<br />

๑๐ - ๓๐ เซนติเมตร ซึ่งสะสมตัวตามแอ่งนํ้าหรือ<br />

ทะเลสาบยุคโฮโลซีน เมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีก่อน<br />

ROI ET<br />

Phon Khi Nok is made of compacted pieces of freshwater shells located in Thung Kula Rong Hai, Phon Khrok Noi,<br />

Sa Khu Subdistrict, Suwannaphum District, Roi Et Province. These compacted shells comprise various types of shells<br />

including mainly of mollusks of Viviparus family and cockle (bivalve) of Cardiidae family. These shells aggregated and packed<br />

into a thick bed of 10 - 30 cm occurred along the pond or lake existed during the Holocene time approximately 10,000 years<br />

ago. Phon Khi Nok Fresh Water Shells represents the geological symbol of Roi Et Province.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

65


จังหวัดระนอง<br />

ดินขาวหาดส้มแป้น<br />

ดินขาวหาดส้มแป้นเป็นดินขาวคุณภาพสูงที่ใช้เป็นวัตถุดิบ<br />

ในการจัดทําเซรามิกและเครื่องสุขภัณฑ์ของบริษัทชั้นนําของไทย<br />

และต่างประเทศ เนื่องจากมีความขาวและมีความละเอียดมาก<br />

นอกจากนี้ยังนําไปใช้ในงาน OTOP ในพื้นที่อีกด้วย พบตามเชิงเขา<br />

หินแกรนิตทางทิศตะวันออกของตัวเมืองระนอง ครอบคลุมพื้นที่<br />

กว่า ๒๐ ตารางกิโลเมตร บริเวณบ้านหาดส้มแป้น-บ้านทุ่งคา<br />

ตําบลหาดส้มแป้น อําเภอเมืองระนอง ซึ่งเป็นพื้นที่ทําเหมืองดีบุก/<br />

ทังสเตนเดิม ดินขาวหาดส้มแป้นจึงเป็นทรัพยากรธรณีสัญลักษณ์<br />

ประจําจังหวัด<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

66<br />

RANONG<br />

Hat Sompaen Kaolinite, the geological symbol of Ranong Province, is a very fine<br />

white-grained high quality kaolinite. It is used as raw materials for the manufacturing<br />

of ceramics and sanitary ware of the leading companies in Thailand and abroad.<br />

It is also used for the production of OTOP’s goods. Kaolinite is a product of the<br />

weathering process on granite thus most deposits are located along the granite<br />

foothills around the area of Ban Hat Sompaen-Ban Thung Kha, Hat Sompaen<br />

Subdistrict, Mueang Ranong District, covering an area of approximately<br />

20 square kilometers.<br />

ธรณีวิทยา<br />

ดินขาวหาดส้มแป้นเป็นดินขาวที่เกิดแบบผุพัง<br />

อยู่กับที่ของหินแกรนิตโดยกระบวนการสารละลายนํ้าร้อน<br />

เริ่มจากการแทรกตัดของสายควอตซ์ แอพไลต์ และ<br />

เพกมาไทต์ เข้ามาในหินแกรนิตยุคครีเทเชียส ส่งผลให้<br />

เนื้อหินแกรนิตผุพัง เกิดกระบวนการเปลี่ยนเป็นแร่ดิน<br />

หรือ Kaolinization โดยแร่อัลคาไลเฟลด์สปาร์ที่เป็นแร่<br />

ประกอบหลักในเนื้อหินเปลี่ยนสภาพเป็นแร่เคโอลิไนต์<br />

ทําให้เกิดชั้นดินขาวชั้นหนาปกคลุมพื้นที่ดังปัจจุบัน


จังหวัดระยอง<br />

ทรายแก้ว<br />

จังหวัดระยองเป็นแหล่งทรายแก้วที่ใหญ่แห่งหนึ่งของ<br />

ประเทศ พบตามชายหาดเก่าริมทะเล ใช้ประโยชน์มากใน<br />

อุตสาหกรรมแก้วและกระจก เครื่องปั้นดินเผา และเป็นผงขัดสนิม<br />

เหล็ก ทรายแก้วเป็นทรัพยากรธรณีสัญลักษณ์ของจังหวัดระยอง<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรายแก้วคือทรายที่สะอาด มีส่วน<br />

ประกอบของแร่ควอตซ์ที่มีเปอร์เซ็นต์ของซิลิกา<br />

มากกว่าร้อยละ ๙๕ และมีเปอร์เซ็นต์ของเหล็กตํ่า<br />

ส่วนใหญ่เป็นเม็ดทรายละเอียด มีการคัดขนาด<br />

ดีมาก มีความมนดี สีขาวใส ทรายแก้วส่วนใหญ่<br />

ผุพังมาจากหินที่มีแร่ควอตซ์เป็นส่วนประกอบ<br />

หลัก เช่น หินแกรนิต และจากกระบวนการชะล้าง<br />

ตามธรรมชาติโดยกระแสนํ้า คลื่นและลม หินและ<br />

แร่จะค่อยๆ ผุพังสลายไป และสุดท้ายจะเหลือ<br />

แร่ควอตซ์ซึ่งมีความคงทนต่อการผุพังมากกว่าแร่<br />

และหินชนิดอื่น ลมจะเป็นตัวจักรสําคัญที่ช่วยคัด<br />

ขนาดของเม็ดทรายและพัดไปสะสมตัวเป็นแหล่ง<br />

ทรายแก้วในปัจจุบัน<br />

RAYONG<br />

One of the largest silica sand deposits is located along the old sandy beach of Rayong Province. Silica sand,<br />

consisting mostly of quartz with silica oxide content higher than 95 percent and very low iron content, is widely<br />

used in various industries: glass, mirror, ceramics and rust removal abrasive material. It is usually well sorted<br />

with good roundness, white to transparent. Silica sand is a product of weathering and erosion process with<br />

the work of water current, waves and wind. As an important geological resource of the province, Silica Sand<br />

is therefore the geological symbol of the province.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

67


จังหวัดราชบุรี<br />

แร่เฟลด์สปาร์<br />

จังหวัดราชบุรีมีการผลิตแร่เฟลด์สปาร์ซึ่งเป็น<br />

วัตถุดิบที่จําเป็นในอุตสาหกรรมเซรามิก โดยเฉพาะ<br />

โพแทสเซียมเฟลด์สปาร์บดที่ใช้ในการผลิตเซรามิก<br />

คุณภาพสูง พบบริเวณอําเภอสวนผึ้ง อําเภอจอมบึง<br />

กิ่งอําเภอบ้านคา แร่เฟลด์สปาร์ได้รับการคัดเลือกให้เป็น<br />

ทรัพยากรธรณีสัญลักษณ์ของจังหวัดราชบุรี<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

68<br />

RATCHABURI<br />

Feldspar is being produced in Ratchaburi Province as raw material necessary for ceramic industry, especially<br />

potassium feldspar powder used in high quality ceramic production. Feldspar is present in porphyry<br />

biotite granite as well as pegmatite veins found in Suan Phueng and Chom Bueng Districts and Ban Kha<br />

Sub-district. Feldspar is thus selected as the geological symbol of Ratchaburi Province.<br />

พื้นที่ชายแดนด้านตะวันตกของอําเภอสวนผึ้ง<br />

ประกอบด้วยหินไบโอไทต์แกรนิต เนื้อสองขนาด<br />

อายุ ๘๐ - ๕๕ ล้านปี เป็นหินที่เกิดร่วมกับแร่ดีบุก<br />

และทังสเตน แร่เฟลด์สปาร์เป็นชื่อรวมประกอบด้วย<br />

แร่หลายชนิด โดยทั่วไปมีผลึกเป็นรูปแบน<br />

มักเกิดเป็นผลึกแฝด มีสีขาวถึงสีเข้ม วาวแบบ<br />

แก้วและแบบมุก เป็นแร่ประกอบหินที่สําคัญ<br />

ของหินอัคนี แบ่งตามส่วนประกอบออกเป็น<br />

โพแทสเซียมเฟลด์สปาร์และโซเดียม<br />

เฟลด์สปาร์ ซึ่งจะพบทั้งสองชนิดในพื้นที่<br />

สวนผึ้ง ในสายเพกมาไทต์ส่วนใหญ่เป็น<br />

แร่โพแทสเซียมเฟลด์สปาร์ พบตัดเข้าไป<br />

ในหินที่แก่กว่าหรือหินแกรนิต


จังหวัดลพบุรี<br />

หินภูเขาไฟเพอร์ไลต์<br />

จังหวัดลพบุรีเป็นแหล่งหินภูเขาไฟที่เกิดปะทุขึ้นมา<br />

ในสมัยบรรพกาล หินเพอร์ไลต์เป็นหินภูเขาไฟชนิดหนึ่ง<br />

ที่มีประโยชน์หลากหลาย เช่น ใช้เป็นสารปรับปรุงดินเพื่อ<br />

การเกษตร ใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างและอุตสาหกรรม<br />

เครื่องกรอง พบในหลายบริเวณ เช่น เขาฝาละมี เขาถํ้าพระ<br />

อําเภอสระโบสถ์ และอําเภอโคกเจริญ หินภูเขาไฟเพอร์ไลต์<br />

เป็นทรัพยากรธรณีสัญลักษณ์ของจังหวัดลพบุรี<br />

ธรณีวิทยา<br />

หินภูเขาไฟเพอร์ไลต์มีส่วนประกอบทางเคมีเหมือนหิน<br />

ไรโอไลต์ เนื้อหินเป็นแก้วเกือบทั้งหมด อาจมีผลึกแร่เฟลด์สปาร์และ<br />

ไมกาปนบ้าง หินเพอร์ไลต์เกิดจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็วของลาวา<br />

มีหลายสีตั้งแต่สีดําถึงสีเขียวอ่อน หลังจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็ว<br />

ของลาวา นํ้าที่ถูกรวมเข้าไปในเนื้อหินเพอร์ไลต์จะทําให้เนื้อในหิน<br />

เพอร์ไลต์เกิดการขยายตัว แล้วแตกตัวเป็นวงซ้อนกันคล้ายกลีบหอม<br />

พร้อมกับมีคุณสมบัติสะท้อนแสงคล้ายมุก หินเพอร์ไลต์จะขยายตัว<br />

เมื่อได้รับความร้อน หลังจากถูกเผาที่ระดับความร้อนที่เหมาะสม<br />

เนื้อภายในของหินเพอร์ไลต์จะเป็นรูพรุน นํ้าหนักเบา สามารถ<br />

ลอยนํ้าได้ และเป็นฉนวนกันความร้อน ความเย็น และเสียงดัง<br />

ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งรูพรุนของหินเพอร์ไลต์ยังเป็นตัวกรองได้อีกด้วย<br />

ดังนั้นหินเพอร์ไลต์จึงถูกนํามาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย<br />

LOP BURI<br />

Perlite is a volcanic glass having the same chemical composition with rhyolite. It is being used in construction<br />

and filtration industries, and also used to improve agricultural soil quality due to its high porosity. Perlite is<br />

found in a number of sites including Khao Falami, Khao Tham Phra, Sa Bot and Khok Charoen Districts.<br />

Perlite is the geological symbol of Lop Buri province.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

69


จังหวัดลำาปาง<br />

ถ่านหินลิกไนต์แม่เมาะ<br />

เหมืองลิกไนต์แม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต<br />

แห่งประเทศไทย อําเภอแม่เมาะ เป็นเหมืองเปิดขนาด<br />

ใหญ่ของทวีปเอเชีย มีกําลังการผลิตถ่านหินมากกว่า<br />

ปีละ ๑๖ ล้านตัน และมีปริมาณสํารองของถ่านหิน<br />

มากที่สุดในประเทศ ปัจจุบันมีกําลังผลิตกระแส<br />

ไฟฟ้า ๒,๔๐๐ เมกะวัตต์ ถ่านหินลิกไนต์แม่เมาะ<br />

คือทรัพยากรธรณีสัญลักษณ์ของจังหวัดลําปาง<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

70<br />

LAMPANG<br />

With over 16 million tons annual production and the highest coal reserve of the country, the Electricity Generating<br />

Authority of Thailand’s (EGAT) Mae Moh lignite mine is the largest open-pit mine in Asia with its present electricity<br />

generating capacity of 2,400 megawatts. Lignite usually has carbon content between 55 - 65 percent by weight,<br />

with low heating value of 8,300 BTU per pound. Lignite was found interbedded with mudstone of Na Khaem<br />

Formation deposited in large fresh-water swamp during the Neogene time or around 13 million years ago.<br />

Lignite beds were later cut by a series of faults. Mae Moh Lignite is the geological symbol of Lampang Province.<br />

ลิกไนต์คือถ่านหินประเภทหนึ่ง มีสีนํ้าตาลเข้มจนถึงดํา<br />

มีความชื้นสูง มีคาร์บอนประกอบอยู่ประมาณร้อยละ ๕๕ - ๖๕<br />

โดยนํ้าหนัก และเมื่อนําไปเผาจะให้ความร้อนตํ่าประมาณ ๘,๓๐๐<br />

บีทียูต่อปอนด์ ชั้นถ่านหินลิกไนต์ในแอ่งแม่เมาะมีทั้งหมด ๕ โซน<br />

ใหญ่ๆ เกิดจากการสะสมตัวของพืชหญ้าในบึงหรือทะเลสาบนํ้าจืด<br />

ขนาดใหญ่ในยุคนีโอจีนหรือเมื่อประมาณ ๑๓ ล้านปีก่อน และ<br />

เกิดแทรกสลับในชั้นหินโคลนสีเทาของหมวดหินนาแขมที่มีความหนา<br />

มากกว่า ๔๐๐ เมตร มีปริมาณสํารองของถ่านหินลิกไนต์เหลืออยู่<br />

อีกประมาณ ๑,๐๔๗ ล้านตัน ชั้นหินในแอ่งแม่เมาะถูกรอยเลื่อน<br />

ตัดผ่านหลายแนว เป็นผลทําให้ชั้นถ่านหินบริเวณขอบแอ่งถูกดึง<br />

ขึ้นมาใกล้ผิวดิน ในทางกลับกันชั้นถ่านหินบริเวณกลางแอ่งจะอยู่<br />

ลึกใต้ผิวดิน


จังหวัดลำาพูน<br />

ถ่านหินซับบิทูมินัสลี้<br />

ที่ตําบลลี้และตําบลดงดํา อําเภอลี้ จังหวัดลําพูน<br />

เคยเป็นแหล่งสะสมตัวของถ่านหินซับบิทูมินัสแหล่ง<br />

ใหญ่และมีคุณภาพดีของประเทศ นำาไปเป็นเชื้อเพลิงใน<br />

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และอุตสาหกรรมอื่นๆ มากมาย<br />

ธรณีวิทยา<br />

ซับบิทูมินัสเป็นถ่านหินประเภทหนึ่ง สีดําวาว มี<br />

คาร์บอนประกอบร้อยละ ๖๕ - ๘๐ มีความชื้นสูงแต่<br />

น้อยกว่าถ่านหินลิกไนต์ เมื่อเผาจะให้ค่าความร้อนระหว่าง<br />

๘,๓๐๐ - ๑๓,๐๐๐ บีทียูต่อปอนด์ ถ่านหินซับบิทูมินัส<br />

เกิดจากการสะสมตัวของพืชยืนต้นยุคพาลีโอจีนหรือ<br />

เมื่อประมาณ ๔๐ ล้านปีก่อน ในบึงและทะเลสาบนํ้าจืด<br />

ขนาดใหญ่ ผลจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกทําให้ขอบ<br />

แอ่งด้านตะวันออกของแอ่งลี้ที่มีชั้นถ่านหินอยู่ด้วย<br />

ยกตัวขึ้นมาใกล้ผิวดิน และบางบริเวณชั้นถ่านหิน<br />

โผล่ให้เห็นบนผิวดิน ชั้นถ่านหินเกิดแทรกสลับ<br />

ในชั้นของหินโคลนสีเทา ซึ่งบางส่วนเป็นหิน<br />

นํ้ามัน บางแห่งมีถ่านหินชั้นเดียวหนา แต่อีก<br />

บริเวณมีถ่านหิน ๒ ชั้น บริเวณนี้เคยมีเหมือง<br />

ถ่านหินหลายเหมือง<br />

LAMPHUN<br />

The large and good quality sub-bituminous deposits were found and mined in Li and Dong Dam Subdistricts,<br />

Li District, Lamphun Province. Sub-bituminous coal usually contains approximately 65 - 80 percent of carbon<br />

content with heating value of 8,300 - 13,000 BTU per pound. This sub-bituminous formed as the deposition of<br />

perennials in fresh-water ponds or large lakes during the early Paleogene or around 40 million years ago.<br />

Sub-bituminous has been used as fuel source in cement and other industries. Li Sub-bituminous is the geological<br />

symbol of Lamphun Province.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

71


จังหวัดเลย<br />

แร่เหล็ก<br />

แร่เหล็กเป็นวัตถุดิบสําคัญในอุตสาหกรรมผลิตเหล็ก<br />

และเหล็กกล้า และยังเป็นวัสดุสำาหรับผงขัดมัน แร่เหล็กใน<br />

จังหวัดเลยพบมากบริเวณภูยางและภูเฮียะ อำาเภอเชียงคาน<br />

บริเวณบ้านไร่ทาม บ้านติ้วน้อย อําเภอเมืองเลย และบริเวณ<br />

บ้านปากปวน อําเภอวังสะพุง<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

72<br />

LOEI<br />

Iron minerals are important raw materials in iron and steel production industry,<br />

as well as material for polishing powder. Iron minerals found in Loei include<br />

magnetite, specularite, hematite, goethite, and limonite. Most of these deposits<br />

are either occurred as vein or sedimentary replacement types, with some<br />

contact metamorphism and placer deposits. Iron deposits are located in Phu<br />

Yang and Phu Hia, Chiang Khan District; Ban Rai Tham, Ban Tew Noi, Mueang<br />

Loei District; and Ban Pak Puan, Wang Saphung District. Due to its widely<br />

abundant, Iron Mineral is the geological symbol of Loei Province.<br />

ธรณีวิทยา<br />

แร่เหล็กคือแร่ที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ<br />

หลัก ที่พบมากในจังหวัดเลยคือ แร่แมกนีไทต์<br />

แร่สเปกคูลาไรต์ แร่ฮีมาไทต์ แร่เกอไทต์ และแร่<br />

ลิโมไนต์ ลักษณะโดยรวมของแร่ที่มีธาตุเหล็กเป็นหลัก<br />

จะหนัก มีสีสนิม คือ นํ้าตาลเหลือง นํ้าตาลแดง นํ้าตาลดํา<br />

วาวแบบโลหะ แม่เหล็กมักดูดติดตั้งแต่แรงมากจนถึงอ่อนขึ้นกับ<br />

แร่แต่ละชนิด แร่แมกนีไทต์มีสีผงที่ขีดดูกับกระเบื้องไม่เคลือบ<br />

เป็นสีดํา ขณะที่แร่ฮีมาไทต์ให้สีแดงเลือดหมู แร่สเปกคูลาไรต์<br />

มีเงาแบบโลหะวาววับกว่าแร่เหล็กชนิดอื่น ส่วนแร่เกอไทต์มักมี<br />

รูปร่างแบบพวงองุ่น สีแร่นํ้าตาลออกเหลือง แหล่งแร่เหล็ก<br />

ในจังหวัดเลยส่วนใหญ่มีกําเนิดแบบเป็นสายแร่ และเกิดแบบ<br />

แทนที่ในชั้นหิน แต่ก็มีบางบริเวณที่เกิดแบบแปรสัมผัส บาง<br />

บริเวณหักผุพังตกสะสมเป็นลานตามไหล่เขาหรือเชิงเขา


จังหวัดศรีสะเกษ<br />

หินทรายมออีแดง<br />

ผามออีแดงเป็นลานหินทรายกว้างริมหน้าผา อยู่<br />

ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อําเภอกันทรลักษ์ ติด<br />

เขตแดนไทย-กัมพูชา เป็นจุดชมทัศนียภาพทิวเขาพนมดงรัก<br />

แผ่นดินเขมรตํ่า และสามารถมองเห็นปราสาทพระวิหาร<br />

ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางด้านทิศใต้ประมาณ ๑ กิโลเมตร<br />

และบริเวณหน้าผาที่อยู่ตํ่าลงไปจะมีภาพสลักหินนูนตํ่า<br />

ศิลปะเขมร พุทธศตวรรษที่ ๑๕ หินทรายมออีแดง<br />

เป็นทรัพยากรธรณีสัญลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ<br />

ธรณีวิทยา<br />

บริเวณผามออีแดงและสระตราวประกอบด้วย<br />

ชั้นหินทราย หินทรายปนกรวด หินกรวดมน สีขาว<br />

สีเทาขาว เนื้อเม็ดตะกอนขนาดปานกลางถึงหยาบ<br />

ชั้นหินวางตัวในแนวเกือบราบ เม็ดกรวดประกอบด้วย<br />

ควอตซ์ เชิร์ตสีเทาและดํา และหินควอร์ตไซต์ จัดอยู่<br />

ในหมวดหินพระวิหาร กลุ่มหินโคราช ในยุคครีเทเชียส<br />

ตอนต้น (Early Cretaceous ประมาณ ๑๓๐ ล้านปีก่อน)<br />

ซึ่งเกิดจากการสะสมตะกอนในทางนํ้าประสานสาย<br />

หลักฐานจากชั้นเฉียงระดับแสดงว่าทางนํ้าโบราณ<br />

ที่ก่อให้เกิดหินทรายไหลไปทางทิศตะวันตก<br />

SI SA KET<br />

Mo I-Daeng is a wide rock platform with high cliff located within Khao Phra Wihan<br />

National Park, Kantharalak District, along the Thai-Cambodia border. This is the<br />

scenic view point of Phanom Dong Rak Mountain overlooking the lower Khmer<br />

region. From the same location, one may still see Phra Wihan Stone Sanctuary, which<br />

located approximately 1 km to the south. Further down at the base of the cliff, there<br />

are a number of bas-reliefs belonging to Khmer art around 15 th Buddhist Century.<br />

Sedimentary rocks of the area are those belong to Phra Wihan Formation, Khorat<br />

Group deposited during the early Cretaceous time or around 130 million years ago.<br />

The Mo I-Daeng Sandstone is the geological symbol of Si Sa Ket Province.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

73


จังหวัดสกลนคร<br />

หินทรายเทือกเขาภูพาน<br />

หินทรายเทือกเขาภูพานเป็นทรัพยากรธรณีสัญลักษณ์ของ<br />

จังหวัดสกลนคร ได้มาจากบริเวณเทือกเขาภูพาน ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของ<br />

พระตําหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร เป็นหินทรายของกลุ่มหิน<br />

โคราชที่มีความแข็งแกร่ง เป็นตัวพยุงโครงสร้างของเทือกเขาภูพานให้มี<br />

ความสูงเด่นจนถึงปัจจุบัน<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

74<br />

SAKON NAKHON<br />

The Phu Phan Mountain Range Sandstone is the geological symbol of Sakon Nakhon Province. The mountain is<br />

where the Phu Phan Ratchaniwet Palace is situated. Phu Phan Mountain is underlain by sandstone of the Khorat<br />

Group comprising siltstone, sandstone and conglomerate that deposited under the continental environment<br />

during the Jurassic - Cretaceous times or around 160 - 100 million years ago.<br />

เทือกเขาภูพานประกอบด้วยชั้นหินของ<br />

กลุ่มหินโคราช เช่น หินทรายแป้ง หินทราย และ<br />

หินกรวดมน ที่เกิดสะสมตัวบนบกในยุคจูแรสซิก-<br />

ครีเทเชียส หรือประมาณ ๑๖๐ - ๑๐๐ ล้านปีที่ผ่านมา<br />

ต่อมาเมื่อประมาณ ๔๐ ล้านปีก่อน แผ่นเปลือกโลก<br />

อินเดียเคลื่อนที่เข้าชนกับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย<br />

ส่งผลทำาให้ชั้นหินเริ่มโก่งตัวยกขึ้นเป็นแนวเทือกเขา<br />

มีโครงสร้างหลักแบบรูปประทุน และต่อมาชั้นหิน<br />

เกิดการสึกกร่อนผุพังจากการกัดเซาะของนํ้าและ<br />

ลม จึงมักพบชั้นหินทรายซึ่งมีความแข็งและทนทาน<br />

ต่อการผุพังได้ดีวางตัวเป็นส่วนบนของยอดเขา เกิด<br />

ลักษณะภูมิประเทศเป็นหน้าผาและนํ้าตกที่สวยงาม


จังหวัดสงขลา<br />

หินทรายเกาะยอ<br />

หินทรายเกาะยอเป็นหน่วยหินฐานรากที่รองรับ<br />

จังหวัดสงขลา พบโผล่เป็นเทือกเขาหรือเนินเขาต่อเนื่อง<br />

ในแนวเหนือ-ใต้ บริเวณพื้นที่รอบๆ แอ่งสงขลา เช่น ตาม<br />

แนวเทือกเขานํ้ากระจาย เทือกเขาคอหงส์ และเขานํ้าค้าง<br />

สําหรับชั้นหินที่โผล่ให้เห็นชัดเจนและเป็นสัญลักษณ์ของ<br />

จังหวัดอยู่ที่เกาะยอ ทะเลสาบสงขลาตอนนอก อําเภอเมือง<br />

สงขลา<br />

ธรณีวิทยา<br />

หินทรายเกาะยอมีความหนาประมาณ ๑๕๐ เมตร<br />

เกิดจากการสะสมตัวในทะเลตื้นที่มีสภาพการสะสม<br />

ตะกอนที่ค่อนข้างรุนแรง ในยุคคาร์บอนิเฟอรัส<br />

ตอนต้นหรือประมาณ ๓๕๐ ล้านปีก่อน ตาม<br />

มาตรฐานการแบ่งลําดับชั้นหินของประเทศ<br />

จัดเป็นส่วนหนึ่งของหมวดหินยะหา ที่มีส่วนล่าง<br />

เป็นหินดินดานสีดำา ส่วนกลางเป็นหินดินดาน<br />

ชั้นบางสลับกับหินเชิร์ตที่พบซากเรดิโอลาเรีย<br />

และส่วนบนซึ่งเป็นส่วนที่พบมากที่สุดคือหินทราย<br />

เกาะยอ ประกอบด้วยหินทรายเนื้อซิลิกา เม็ดละเอียด<br />

สีขาวถึงเทาเหลือง เป็นชั้นดี ต่อมามีการปะทะกัน<br />

ของแผ่นเปลือกโลก เกิดการแทรกดันของหินแกรนิต<br />

ยุคไทรแอสซิก ส่งผลให้แอ่งตะกอนดังกล่าวยกตัว<br />

และคดโค้งโก่งงอกลายเป็นเทือกเขาในแนวเหนือ-ใต้<br />

และเมื่อเวลาผ่านไป มีการกัดเซาะตามธรรมชาติ<br />

จากสภาวะภูมิอากาศและกระแสคลื่น ชั้นหินทราย<br />

เกาะยอซึ่งส่วนใหญ่เป็นชั้นหินทรายที่มีองค์ประกอบ<br />

ของซิลิกาสูง และมีความทนทานต่อการกัดกร่อนสูง<br />

จึงคงเหลืออยู่ ทําให้เกิดภูมิประเทศของเกาะยอ<br />

ในปัจจุบัน<br />

SONGKHLA<br />

As a basement rock unit underlying the provincial area, the Ko Yo Sandstone is the<br />

geological symbol of Songkhla Province. The rock continually crops out along the<br />

N-S trending around Songkhla basin, e.g. Nam Krachai, Kho Hong and Nam Khang<br />

Mountains. Ko Yo Sandstone is approximately 150 meters thick deposited under high<br />

energy environment during the early Carboniferous period or around 350 million<br />

years ago. The typical outcrop is located at Ko Yo in the outer part of Songkhla Lake,<br />

Mueang Songkhla District.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

75


จังหวัดสตูล<br />

หินทรายตะรุเตา<br />

เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล เป็น<br />

สถานที่พบหินตะกอนที่มีอายุแก่ที่สุดของประเทศ เป็นสถานที่<br />

ประวัติศาสตร์ใช้กักขังนักโทษการเมืองในอดีต และปัจจุบัน<br />

เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียง มีภูมิทัศน์แสดง<br />

การวางตัวของชั้นหินและหาดทรายที่สวยงาม หินทรายตะรุเตา<br />

เป็นตัวแทนทรัพยากรธรณีสัญลักษณ์ของจังหวัดสตูล<br />

พบชั้นหินในหลายบริเวณ เช่น อ่าวพันเตมะละกา อ่าวสน<br />

และอ่าวเมาะและ<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

76<br />

SATUN<br />

The oldest sedimentary rocks in Thailand have been found in Tarutao Island<br />

National Park, Satun Province. The island is also famous as historical site<br />

used as a jail for detenu in the past. Presently, the place is famous as<br />

a natural tourism site. The site inhibits geological landscape that shows<br />

beautiful beach and stratigraphic feature of sedimentary rocks of the<br />

Tarutao Group. The rock group is believed to be deposited under shallow<br />

marine environment around 500 million years ago. The Tarutao Sandstone<br />

represents the geological symbol of Satun Province. The rock also crops<br />

out in various sites, e.g. Ao Phan Te Malaka, Ao Son, Ao Mo Lae.<br />

ธรณีวิทยา<br />

หินทรายตะรุเตาเป็นส่วนหนึ ่งของกลุ ่มหินตะรุเตา พบโผล่<br />

เป็นโขดหาดหินบริเวณด้านตะวันตกของตัวเกาะ เป็นหินทราย<br />

สีนํ้าตาลแดง สีม่วงแดง เนื้อละเอียดถึงหยาบ แสดงชั้นหิน<br />

ขนาดบางๆ และชั้นเฉียงระดับ แทรกสลับกับหินดินดานชั้นบาง<br />

พบซากดึกดำาบรรพ์พวกไทรโลไบต์ชนิด Eosaukia buravasi ทั้งที่<br />

เป็นส่วน glabella และส่วน genal spine, Thailandium solum,<br />

Saukiella tarutaoensis และ Coreanocephalus planulatus<br />

และแบรคิโอพอด แสดงว่าเกิดสะสมตัวในทะเลตื้น ในยุค<br />

แคมเบรียนตอนปลาย หรือประมาณ ๕๐๐ ล้านปีก่อน และจาก<br />

การเทียบเคียงชนิดของซากดึกดําบรรพ์ทําให้ทราบว่า ผืนเปลือก<br />

โลกบริเวณนี้แต่เดิมอยู่ทางซีกโลกใต้ ผลจากการเคลื่อนที่ของแผ่น<br />

เปลือกโลกและการเปลี่ยนแปลงของระดับนํ้าทะเลทําให้กลายเป็น<br />

เกาะตะรุเตาในปัจจุบัน


จังหวัดสมุทรปราการ<br />

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่นํ้า<br />

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่นํ้า (delta) เป็นดินดอนสามเหลี่ยม<br />

ปากแม่นํ้าแห่งเดียวของประเทศไทย ที่มีแนวนํ้าชนกันของนํ้าจืดและนํ้าเค็ม<br />

เห็นได้ชัดเจน เป็นที่มาของชื่อแม่นํ้าเจ้าพระยา ซึ่งแต่เดิมเรียกปากนํ้า<br />

บางเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอีกด้วย<br />

พบบริเวณปากแม่นํ้าเจ้าพระยา ระหว่างตําบลท้ายบ้านกับตําบลบางปูใหม่<br />

อําเภอเมืองสมุทรปราการ<br />

ธรณีวิทยา<br />

บริเวณจังหวัดสมุทรปราการเป็นปาก<br />

แม่นํ้าเจ้าพระยาที่ไหลออกทะเล ตะกอนที่แม่นํ้า<br />

เจ้าพระยาพามาจากทางต้นนํ้า เมื่อไหลลงทะเล<br />

ปะทะกับอิทธิพลของคลื่นลมทะเล ก็จะตกสะสมตัว<br />

บริเวณปากแม่นํ้า ก่อเกิดลักษณะภูมิประเทศ<br />

แบบเนินรูปพัดยื่นไปทางทะเล หรือที่เรียกว่า<br />

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่นํ้า ประกอบด้วยตะกอน<br />

โคลนและทรายแป้งเนื้อนิ่มสีเทา ขนาดละเอียดมาก<br />

มีขนาดเล็กกว่า ๖๔ ไมครอน หรือ ๑/๖๔ มิลลิเมตร<br />

แร่เคลย์ส่วนใหญ่เป็นแร่เคโอลิไนต์และอิลไลต์<br />

SAMUT PRAKAN<br />

This is the only delta of the country where river water and salt water interface is clearly seen in the area. It used to be called Bang Chao<br />

Phraya estuary, and then named the river as the Chao Phraya River. The delta is the result of the sedimentation of particles carried over<br />

from the river to deposit at the mouth of the river. The sediments include mud, and silts with some clay minerals, e.g. kaolinite and illite.<br />

The Chao Phraya Delta extends between Thai Ban and Bang Pu Mai Subdistricts, Mueang Samut Prakan District.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

77


จังหวัดสมุทรสงคราม<br />

ดินดำาอัมพวา<br />

ดินดําอัมพวาเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร<br />

ปลูกพืชสวน อําเภออัมพวาเป็นชุมชนประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์<br />

เดิมเรียกกันว่า แขวงบางช้าง ซึ่งเป็นต้นราชนิกุล “ณ บางช้าง”<br />

และปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญของประเทศไทย<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

78<br />

SAMUT SONGKHRAM<br />

The Amphawa Black Soil is a good fertilizer suitable for agriculture, and thus the geological symbol of<br />

Samut Songkhram Province. The sedimentation occurred during the Holocene or from 10,000 years ago to<br />

the present in the Mae Klong River’s floodplain. Amphawa District is a community with a long history. During<br />

the early Ratanakosin time, the community was called “Khwaeng Bang Chang”, the origin of a member of<br />

a royal family “Na Bang Chang”. Presently, Amphawa is one of the important tourism sites of Thailand.<br />

ดินดําอัมพวาเป็นตะกอนสมัยโฮโลซีน<br />

มีอายุตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ ปีจนถึงปัจจุบัน<br />

ประกอบด้วยดินสีนํ้าตาลเข้ม เทาเข้มถึงดำา<br />

เนื้อแน่นเหนียว เป็นดินเคลย์ปนทรายแป้ง<br />

มีฮิวมัสมาก เกิดจากการสะสมตัวภายใต้<br />

สภาพแวดล้อมแบบที่ราบนํ้าท่วมถึงของแม่นํ้า<br />

แม่กลองที่ล้นตลิ่งเป็นประจํา จึงเป็นดินที่<br />

อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกทุกชนิด


จังหวัดสมุทรสาคร<br />

ดินเคลย์ทะเล<br />

ดินเคลย์ทะเลเป็นตะกอนทะเลในอดีตที่พบสะสมตัว<br />

อย่างกว้างขวางในที่ลุ่มภาคกลาง รวมทั้งพื้นที่ของจังหวัด<br />

สมุทรสาคร เป็นหลักฐานแสดงว่าพื้นที่นี้ในอดีตเคยเป็น<br />

ทะเลตื้นมาก่อน และนํ้าทะเลได้ลดระดับลง ถอยร่นมาอยู่<br />

ดังที่เห็นในปัจจุบัน<br />

ธรณีวิทยา<br />

ดินเคลย์ทะเลเป็นตะกอนที่เกิดสะสมตัวใน<br />

ทะเลสมัยโฮโลซีนเมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา<br />

ในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง จากกระบวนการนํ้าขึ้น<br />

นํ้าลงพัดพาตะกอนละเอียดเข้ามาสะสมตัวตาม<br />

ชายฝั่งทะเลบริเวณที่ราบนํ้าขึ้นถึง (tidal flat) ทําให้<br />

เกิดภูมิประเทศแบนราบกว้างขวาง และพัฒนา<br />

เป็นป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ มีความหนาเปลี่ยนไป<br />

ตามสถานที่ประมาณ ๑ - ๑๕ เมตร ชั้นดินเคลย์ทะเล<br />

มีลักษณะเป็นตะกอนเนื้อนิ่ม สีเทาอมเขียว ขนาด<br />

ละเอียดมาก แร่เคลย์ส่วนใหญ่เป็นชนิดมอนต์โมริลโลไนต์<br />

และอิลไลต์ มีเกล็ดเกลือปนมาก มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อน<br />

และมักพบแทรกสลับด้วยชั้นตะกอนทรายและทราย<br />

แป้ง รวมทั้งมีซากพืชผุและเปลือกหอยปนอยู่ด้วย<br />

SAMUT SAKHON<br />

Marine Clay is referred to marine sediments that widely deposited in tidal flat area during the Holocene time or around<br />

10,000 years ago over the central plain including the area of Samut Sakhon Province. Soft greenish gray Marine Clay<br />

of various thickness ranging from 1 - 15 meters thick is the geological symbol of Samut Sakhon. It indicates that<br />

the area used to be the shallow sea before the sea level moved down to the present level.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

79


จังหวัดสระแก้ว<br />

หินอ่อนแดงสระแก้ว<br />

หินอ่อนส่วนใหญ่จะมีสีออกโทนอ่อน หินอ่อนสีแดง<br />

จะมีน้อยในธรรมชาติและเป็นสีที่ตลาดนิยม ทําให้มีราคาแพง<br />

กว่าหินอ่อนสีอื่น ในประเทศไทยพบแหล่งหินอ่อนสีแดงเพียง<br />

๒ - ๓ แห่ง พบบริเวณเหมืองหินอ่อน เขาผาผึ้ง อําเภอคลองหาด<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

80<br />

SA KAEO<br />

Due to its rare occurrence, the Sa Kaeo Red Marble has become a popular construction material with higher price than<br />

marble of other colors. There are only a few red marble mines in Thailand, e.g. the marble mine at Khao Pha Phueng,<br />

Khlong Hat District. Marble of Khao Pha Phueng is fine- to medium-grained, red to reddish brown, and belongs to Khao<br />

Ta Ngok Formation deposited during the middle Permian time or around 270 million years ago. Crinoids and shell fragments<br />

are also present. The reddish color in the marble is a result of iron impurity within the rock mass.<br />

หินอ่อนที่เขาผาผึ้งมีสีแดง นํ้าตาลแดง<br />

เนื้อละเอียดถึงปานกลาง พบซากดึกดําบรรพ์<br />

พวกไครนอยด์และเศษซากหอยเห็นเป็นชิ้นสีขาว<br />

กระจายอยู่ทั่วไปในเนื้อหิน เป็นชั้นหนาถึงหนามาก<br />

จัดอยู่ในหมวดหินเขาตาง็อก ยุคเพอร์เมียนตอนกลาง<br />

หรือประมาณ ๒๗๐ ล้านปี สีแดงของหินอ่อน<br />

ไม่ใช่สีแต่กําเนิด แต่เกิดจากการปนของธาตุเหล็ก<br />

ที่อยู่ในเนื้อหินและตามแนวรอยแตก เกิดสีแดง<br />

ซึมไปทั่วเนื้อหิน


จังหวัดสระบุรี<br />

หินอ่อนสระบุรี<br />

จังหวัดสระบุรีเป็นเมืองแห่งหินอ่อน มีหินอ่อนมาก<br />

หลายชนิด จึงมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับหินอ่อนมากมาย ทั้งนํา<br />

ไปตัดเป็นแผ่นทําเป็นหินประดับอาคาร และทําเป็นแท่ง<br />

แกะสลักเป็นรูปทรงต่างๆ เป็นแหล่งสร้างงานนํารายได้จํานวนมาก<br />

มาสู่จังหวัด หินอ่อนสระบุรีเป็นทรัพยากรธรณีสัญลักษณ์ของ<br />

จังหวัด เพราะมีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์ มีคุณภาพเทียบ<br />

ได้กับหินอ่อนชั้นดีของต่างประเทศ เป็นหินอ่อนสีขาวเทา สีขาว<br />

เป็นสีที่นิยมของตลาด จึงได้รับการคัดเลือกนําไปประดับอาคาร<br />

สํานักงานและบ้านเรือนทั่วประเทศ หินอ่อนสระบุรีพบบริเวณ<br />

เนินเขาในเขตอําเภอพระพุทธบาทและตําบลหน้าพระลาน<br />

อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี<br />

ธรณีวิทยา<br />

หินอ่อนสระบุรีมีสีขาวเทา สีขาว เนื้อละเอียด<br />

ปานกลาง มีมลทินเจือปนน้อยและเป็นมวลหนา มีส่วน<br />

ประกอบเกือบทั้งหมดเป็นแร่แคลไซต์ จึงมีคุณสมบัติ<br />

เหมาะสําหรับทําเป็นหินประดับและบดเป็นผงแคลเซียม<br />

คาร์บอเนต บางบริเวณปนด้วยหินอ่อนสีเทา มีเนื้อไม่สมํ่าเสมอ<br />

ภายในเนื้อหินมักพบซากดึกดําบรรพ์เกิดร่วมด้วย เมื่อนํา<br />

ไปตัดเป็นแผ่นจึงมีลวดลายของซากดึกดําบรรพ์ที่แปลกตา<br />

บางครั ้งพบริ ้วลายของแร่เหล็กออกไซด์ตัดผ่านชั ้นหิน<br />

ทําให้หินอ่อนมีสีออกแดง เนื่องจากการปนของมลทิน<br />

เหล็กออกไซด์ภายในเนื้อหิน หินอ่อนบริเวณนี้เกิดตาม<br />

บริเวณแนวแปรสัมผัสระหว่างชั้นหินปูนของกลุ่มหินสระบุรี<br />

ยุคเพอร์เมียนตอนกลาง หรือประมาณ ๒๗๐ - ๒๖๐ ล้านปี<br />

ที่ผ่านมา กับหินแกรนิตยุคไทรแอสซิกที่แทรกดันขึ้นมา<br />

ความร้อนจากหินแกรนิตนอกจากทําให้หินปูนแปรเป็น<br />

หินอ่อนแล้ว กระบวนการดังกล่าวยังช่วยกำาจัดสารมลทิน<br />

ที่อยู่ในชั้นหินปูนเดิมออกไปตามธรรมชาติ จึงทําให้กลายเป็น<br />

หินอ่อนเนื้อสะอาดในปัจจุบัน<br />

SARABURI<br />

Saraburi is the land of marble with numbers of industries associated. Marble has<br />

been used as material for interior and exterior decoration, marble carving, etc. Due<br />

to its unique and beautiful patterns with a world class quality, this white to grayish<br />

white Saraburi Marble is the geological symbol of the province. The marble as part<br />

of the Saraburi Group was formed as a result of contact metamorphism between<br />

limestone and granite. The marble is found along the hills in Phra Phutthabat District.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

81


จังหวัดสิงห์บุรี<br />

ทรายแม่นํ้าเจ้าพระยา<br />

ทรายเป็นทรัพยากรธรณีที่จําเป็นในอุตสาหกรรมก่อสร้าง<br />

แหล่งทรายขนาดใหญ่ถูกพัดพามาตามแม่นํ้าโดยเฉพาะแม่นํ้า<br />

เจ้าพระยาที่เป็นสายเลือดใหญ่ของประเทศ จังหวัดสิงห์บุรี<br />

เป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้นํา “ทรายแม่นํ้าเจ้าพระยา” ตามลํานํ้าและ<br />

บ่อทรายบนบกในแหล่งที่เป็นทรายของแม่นํ้าเจ้าพระยาในอดีต<br />

เช่น ที่อําเภอบางระจัน อําเภอค่ายบางระจัน มาใช้สนับสนุน<br />

อุตสาหกรรมต่างๆ ของจังหวัดอย่างแพร่หลาย<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

82<br />

เมื่อหินแตกหักผุพังและถูกพาเคลื่อนย้ายไปตาม<br />

กระแสนํ้าและลม เกิดการกระแทกกันเองของกรวดระหว่าง<br />

การพัดพา ทําให้ก้อนกรวดแตกและมีขนาดเม็ดเล็กลงตาม<br />

ระยะทางที่ถูกพัดพาไป กลายเป็นเม็ดทราย ทรายแป้ง และโคลน<br />

ในที่สุด ทรายแม่นํ้าเจ้าพระยาที่สิงห์บุรีมีสี นํ้าตาลอ่อน ขนาดเม็ด<br />

หยาบถึงละเอียด เป็นทรายที่ถูกพัดพามาโดยแม่นํ้าเจ้าพระยา<br />

เกิดสะสมตัวตามคุ้งนํ้าและก่อตัวเป็นเกาะกลางนํ้า<br />

SING BURI<br />

Sand is an important materials for construction industry. Large sand deposits accumulated along the rivers including the Chao Phraya<br />

River, the main blood vessel of the country. Sing Buri is one of the provinces that makes use the Chao Phraya River Sand deposits<br />

within the river and along the river deposits over the river floodplain, e.g. Bang Rachan and Khai Bang Rachan Districts. The Chao<br />

Phraya River Sand is the geological symbol of Sing Buri Province, comprising fine- to coarse-grained brown sands.


จังหวัดสุโขทัย<br />

หินอ่อนสุโขทัย<br />

หินอ่อนสุโขทัยเป็นหินประดับที่มีความโดดเด่นทางสีและริ้วลาย<br />

มีลักษณะเฉพาะสวยงามเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสุโขทัย โดยเฉพาะ<br />

หินอ่อนสีชมพู หรือหินอ่อนชมพูสุโขทัย สีเทาขาว และเทาเหลือง พบทั่วไป<br />

ตามเขาลูกโดดและเทือกเขาแนวเหนือ-ใต้ ทางตะวันตกของจังหวัด ตั้งแต่<br />

อําเภอทุ่งเสลี่ยม อําเภอศรีสําโรง และอําเภอบ้านด่านลานหอย มีการทําเหมือง<br />

หินอ่อนบริเวณอําเภอทุ่งเสลี่ยมและอําเภอบ้านด่านลานหอย<br />

ธรณีวิทยา<br />

หินอ่อนสุโขทัยเป็นหินแปรชนิดหนึ่งที่ประกอบ<br />

ด้วยแร่แคลไซต์เป็นองค์ประกอบหลัก เกิดตามบริเวณ<br />

แนวแปรสัมผัสระหว่างชั้นหินปูนเดิมที่เกิดจากตะกอน<br />

ทะเลช่วงยุคเพอร์เมียนตอนกลาง หรือประมาณ ๒๗๐<br />

ล้านปีที่ผ่านมา กับหินแกรนิตซึ่งแทรกดันขึ้นมาใต้หินปูน<br />

ในช่วงยุคไทรแอสซิกเมื่อประมาณ ๒๐๐ ล้านปีที่ผ่านมา<br />

ความร้อนที่หินปูนได้รับจากหินแกรนิตตามแนวสัมผัส<br />

ส่งผลให้เนื้อหินปูนเกิดการหลอมละลายและตกผลึก<br />

แร่ใหม่ ทําให้มีผลึกที่ใหญ่ขึ้น หินอ่อนบริเวณอําเภอ<br />

ทุ่งเสลี่ยมมักมีผลึกโตกว่าหินอ่อนที่พบบริเวณ<br />

อําเภอบ้านด่านลานหอย สําหรับสีของหินอ่อนที่มี<br />

ความหลากหลาย เนื่องจากมลทินประเภทต่างๆ<br />

โดยเฉพาะเหล็กออกไซด์ เช่น แร่ฮีมาไทต์ ได้เข้าไป<br />

ปะปนตามเนื้อหินในขณะที่กําลังเป็นหินอ่อนหรือ<br />

แทรกตามรอยแตกเรียบภายในชั้นหิน<br />

SUKHOTHAI<br />

With outstanding color and stripes, Sukhothai Marble is an important material for interior decoration, especially<br />

the pink marble with some light gray and yellowish gray. The marble formed as a result of contact metamorphism<br />

along the contact zone between the Permian limestone and Triassic granite that intruded beneath the limestone<br />

around 200 million years ago. The marble is cropped out along isolated hills with the N-S-oriented mountain<br />

located to the west of the province extending from Thung Saliam to Ban Dan Lan Hoi Districts.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

83


จังหวัดสุพรรณบุรี<br />

หินปูนอู่ทอง<br />

หินปูนพบทั่วไปทางด้านตะวันตกของอําเภออู่ทอง<br />

ทั้งเป็นเขาลูกโดดและเทือกเขา หลายบริเวณเป็นแหล่งท่องเที่ยว<br />

และเป็นแหล่งหินอุตสาหกรรมก่อสร้างที่สําคัญนํารายได้มาสู่<br />

จังหวัด เป็นทรัพยากรธรณีสัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

84<br />

หินปูนอู่ทองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหินทุ่งสง เกิดสะสม<br />

ตัวในทะเลนํ้าตื้นในช่วงยุคออร์โดวิเชียนตอนกลาง หรือ<br />

ประมาณ ๔๗๐ - ๔๖๐ ล้านปีผ่านมา ประกอบด้วยหินปูน<br />

เนื ้อโคลน สีเทาดำา สลับกับหินดินดานเป็นชั ้นชัดเจน<br />

ในเนื ้อหินมักแสดงริ ้วขนานและลายแถบชั ้นบางสลับ<br />

สีอ่อนและสีเข้ม ต่อมาเมื ่อประมาณ ๒๐๐ ล้านปี<br />

ที่ผ่านมา เกิดการแทรกดันของหินแกรนิต ความร้อน<br />

จากหินแกรนิตทําให้หินปูนและหินดินดานตามแนวสัมผัส<br />

แปรสภาพตกผลึกแร่ใหม่ให้ผลึกแร่ที ่โตกว่าเดิม กลายเป็น<br />

หินอ่อนและหินแคลก์ซิลิเกต<br />

SUPHAN BURI<br />

U Thong Limestone is the geological symbol of Suphan Buri Province. The limestone belongs to the Ordovician Thung Song<br />

Group that was locally metamorphosed by intrusion of Triassic granite some 200 million years ago. Limestone is commonly<br />

found over the western part of U Thong District as both isolated hills and mountain ranges. These limestone sites have<br />

become tourism sites and sources for construction industry that draw significant income into the province.


จังหวัดสุราษฎร์ธานี<br />

แร่ยิปซัม<br />

แร่ยิปซัมเป็นวัตถุดิบสําคัญในการผลิต<br />

ปูนซีเมนต์ การทําปูนปลาสเตอร์ การทําแผ่นยิปซัม<br />

ฝ้าเพดานกันความร้อน การปรับสภาพความเค็มของดิน<br />

และในงานตกแต่งอาคารและเครื่องประดับ<br />

อีกหลายอย่าง แหล่งแร่ยิปซัมในจังหวัด<br />

สุราษฎร์ธานีเป็นแหล่งใหญ่ของประเทศ<br />

จึงเหมาะสมเป็นทรัพยากรธรณีสัญลักษณ์<br />

ของจังหวัด พบหลายบริเวณ เช่น บ้านส้อง<br />

อําเภอบ้านนาสาร อําเภอเวียงสระ อําเภอ<br />

กาญจนดิษฐ์ และอําเภอดอนสัก<br />

ธรณีวิทยา<br />

แร่ยิปซัมมีเนื้ออ่อน เล็บขูดเข้า และโปร่งแสง เป็น<br />

ชื่อทั่วไปที่ใช้เรียกแทนแร่หลายชนิด แหล่งแร่ยิปซัม<br />

ของไทยส่วนใหญ่เป็นแร่อะลาบาสเตอร์ (alabaster)<br />

มีลักษณะเนื้อละเอียด เป็นมวลเม็ดคล้ายนํ้าตาลทราย<br />

บางส่วนเป็นแร่ซาทินสปาร์ (satin spar) ลักษณะ<br />

เป็นมวลรวม เนื้อเป็นเส้นใยสีขาววาวแบบใยไหม และ<br />

แร่เซเลไนต์ (selenite) เป็นผลึกใหญ่ ใสไม่มีสี เนื้อแน่น<br />

วาวแบบมุก แหล่งแร่ยิปซัมของไทยเกิดจากการตกตะกอน<br />

ในแอ่งที่มีการระเหยของนํ้าสูงอย่างต่อเนื่อง ได้ชั้นแร่<br />

ยิปซัมหนา จากนั้นจึงถูกทับถมลึกลงทีละน้อยและค่อยๆ<br />

เปลี่ยนไปเป็นแอนไฮไดรต์<br />

SURAT THANI<br />

Gypsum is the geological symbol of Surat Thani Province. It is an important raw material for cement industry, plaster<br />

and thermal insulated gypsum board, saline soil improvement, as well as building decoration and ornamentation. The<br />

gypsum of Surat Thani is considered as one of the largest deposit of the country, consisting mainly of alabaster with some<br />

satin spar and selenite. It occurred in Ban Song, Ban Na San, Wiang Sa, Kanchanadit and Don Sak Districts.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

85


จังหวัดสุรินทร์<br />

หินตะกรัน<br />

ภูเขาไฟลอยนํ้า<br />

การพบหินตะกรันภูเขาไฟใช้เป็นหลักฐานว่าในอดีต<br />

เคยมีปากปล่องภูเขาไฟโบราณอยู่ในบริเวณนั้น หินตะกรัน<br />

ภูเขาไฟบางก้อนสามารถลอยนํ้าได้ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งแปลก<br />

ประหลาดมหัศจรรย์และเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะ ซึ่ง<br />

พบมากบริเวณวนอุทยานพนมสวาย ตำาบลนาบัวและตำาบลสวาย<br />

อําเภอเมืองสุรินทร์ และที่วัดพนมศิลาราม จังหวัดสุรินทร์<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

86<br />

SURIN<br />

The presence of scoria indicates that there was a volcanic vent located within the area. Scoria is a bomb-size, dark<br />

color, pyroclast that is generally very vesicular due to the escape of volcanic gases before solidification. Some pieces<br />

of scoria may float in water due to its vesicular nature, which may be viewed as miraculous and unique. Floating Scoria,<br />

thus, is the geological symbol of Surin Province that distributed around the ancient volcanic vents in Khao Phanom<br />

Sawai and Phanom Sila Ram Temple around 900,000 years ago.<br />

หินตะกรันภูเขาไฟ หรือเรียกเป็นภาษา<br />

อังกฤษว่า scoria มักมีสีคลํ้าและมีรูพรุนมาก<br />

ประกอบด้วยชิ้นส่วนหินภูเขาไฟซึ่งถูกระเบิด<br />

กระจายขึ้นไปในอากาศ แล้วแข็งตัวตกลงมายัง<br />

พื้นโลกโดยมีการเย็นตัวอย่างรวดเร็ว ทําให้หินตะกรัน<br />

ภูเขาไฟมีรูพรุนของฟองอากาศคล้ายกับฟองนํ้า<br />

แต่เนื่องจากหินตะกรันภูเขาไฟสีเข้มมีส่วนประกอบ<br />

ของแร่สีเข้มเป็นส่วนใหญ่ซึ่งทําให้หินมีนํ้าหนัก<br />

มากขึ้น ทําให้หินตะกรันภูเขาไฟบางก้อนเท่านั้น<br />

ที่สามารถลอยนํ้าได้ คาดว่าหินตะกรันภูเขาไฟ<br />

ดังกล่าวอยู่ตามปากปล่องภูเขาไฟโบราณซึ่งอยู่<br />

บริเวณเขาพนมสวายและวัดพนมศิลาราม และเกิด<br />

ปะทุขึ้นมาเมื่อประมาณ ๙ แสนปีที่ผ่านมา


จังหวัดหนองคาย<br />

กรวดแม่นํ้าโขง<br />

ธรณีวิทยา<br />

แม่นํ้าโขงเป็นแม่นํ้าสายสําคัญของโลก ไหลผ่านหลาย<br />

ประเทศ มีต้นนํ้าอยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และไหล<br />

ออกทะเลที่ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม แม่นํ้าโขง<br />

บริเวณจังหวัดหนองคายจะเป็นพรมแดนกั้นกับประเทศสาธารณรัฐ<br />

ประชาธิปไตยประชาชนลาว กรวดแม่นํ้าโขงจึงเป็นที่รวมของหิน<br />

ที่มีถิ่นกําเนิดในหลายประเทศ พบตามท้องนํ้า ที่ราบตะพักริมนํ้า<br />

ทั้งสองฝั่งของแม่นํ้าโขง ที่อําเภอศรีเชียงใหม่<br />

อําเภอเมืองหนองคาย และอําเภอ<br />

โพนพิสัย<br />

กรวดแม่นํ้าโขงเกิดจากการแตกหักของ<br />

หินในลุ่มนํ้าโขง และถูกพัดพามาโดยกระแสนํ้า<br />

ตามลํานํ้าโขง กรวดแม่นํ้าโขงประกอบด้วย<br />

หินหลากหลายชนิดและหลากสี มีความมน<br />

ดี ซึ่งเกิดจากการขยับกลิ้งและเคลื่อนตัว<br />

ของก้อนกรวดและถูกขัดสีโดยกระแสนํ้า<br />

และตะกอนที่อยู่ในนํ้า ก้อนกรวดที่มีความ<br />

มนดี โดยปกติมักถูกแปลความหมายว่า<br />

ถูกพัดพามาไกล แต่ในหลายกรณีก้อนกรวด<br />

อาจขยับตัวเกือบอยู่กับที่หรือเคลื่อนตัวไป<br />

ไม่มากก็ทําให้ก้อนกรวดมนได้เช่นกัน เช่น<br />

กรวดที่พบตามร่องห้วย ตามหาดกรวด และ<br />

กรวดในกุมภลักษณ์<br />

NONG KHAI<br />

The Mekong River is one of the important river of the world that flows through a number of countries and<br />

reaches the South China Sea in Vietnam. The river in Nong Khai forms as border between Thailand and Lao<br />

People’s Democratic Republic. Mekong Gravels thus contain various kinds and colors of gravels from many<br />

countries.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

87


จังหวัดหนองบัวลำาภู<br />

หอยหินห้วยเดื่อ<br />

บริเวณบ้านห้วยเดื่อ ตําบลโนนทัน อําเภอเมือง<br />

หนองบัวลำาภู พบซากฟอสซิลหอยสองฝาที่สมบูรณ์มาก มีทั้ง<br />

ตัวเล็กตัวใหญ่ บางตัวมีนํ้าหนักถึงประมาณครึ่งกิโลกรัม ปัจจุบัน<br />

ได้เก็บรวบรวมหอยหินโบราณไว้ที่พิพิธภัณฑ์หอยหินโบราณ<br />

๑๕๐ ล้านปี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทาง<br />

ธรณีวิทยา หอยหินห้วยเดื่อเป็นทรัพยากรธรณีสัญลักษณ์ของ<br />

จังหวัดหนองบัวลําภู<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

88<br />

NONG BUA LAM PHU<br />

Found at Ban Huai Duea, Non Than Subdistrict, Mueang Nong Bua Lam Phu, fresh-water Huai Duea Bivalve<br />

Fossils of large and small sizes with near perfect condition were reported. Some of the bivalves weigh as<br />

much as 0.5 kilograms. The fossils were found within conglomerate beds interbedded in the yellowish gray<br />

sandstone and grayish red siltstone of Sao Khua Formation deposited in the early Cretaceous or around 120<br />

million years ago. Most of these fossils have been kept and displayed at the museum as a geological learning<br />

site and geotourism site. The Huai Duea Bivalve Fossil is the geological symbol of Nong Bua Lam Phu Province.<br />

หอยหินที่บ้านห้วยเดื่อเป็นซากหอยนํ้าจืด<br />

ประเภทหอยสองฝา หรือหอยกาบคู่ (Bivalve) ชนิด<br />

Trigonioides (s.s) trigonus และชนิด Trigonioides<br />

cf. gaungsiensis พบอยู่เป็นหย่อมๆ ในชั้นหินกรวดมน<br />

ที่แทรกอยู่กับชั้นหินทรายสีเทาปนเหลือง สลับกับ<br />

ชั้นหินทรายแป้ง สีแดงปนเทา ในหมวดหินเสาขัว<br />

ส่วนบนสุด สะสมตัวในช่วงปลายของยุคครีเทเชียส<br />

ตอนต้น หรือ ๑๒๐ ล้านปีก่อน บริเวณแหล่งหอยหิน<br />

บ้านห้วยเดื่อยังพบซากหอยฝาเดียวนํ้าจืดและ<br />

ฟันจระเข้นํ้าจืดรวมอยู่ด้วย ซากดึกดําบรรพ์บ้านห้วยเดื่อ<br />

พบมากในทะเลสาบนํ้าจืดหรือบึงเล็กๆ ซึ่งหอยกาบคู่<br />

อาศัยอยู่เป็นหย่อมๆ ตามขอบทะเลสาบนํ้าจืดหรือ<br />

บึงเล็กๆ


จังหวัดอ่างทอง<br />

ทรายบกอ่างทอง<br />

ทรายบกอ่างทองเป็นทรัพยากรธรณีที่สำาคัญใน<br />

อุตสาหกรรมก่อสร้าง พบกระจายอยู่ในหลายอําเภอ ได้แก่<br />

อําเภอป่าโมก อําเภอเมืองอ่างทอง อําเภอวิเศษชัยชาญ และ<br />

อําเภอโพธิ์ทอง ซึ่งเป็นแหล่งทรายขนาดใหญ่คุณภาพดี ส่งไป<br />

ขายในจังหวัดต่างๆ ของภาคกลาง สร้างรายได้และอาชีพให้แก่<br />

คนจังหวัดอ่างทองเป็นจํานวนมาก<br />

ธรณีวิทยา<br />

จังหวัดอ่างทองตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มเจ้าพระยา<br />

มีแม่นํ้าสําคัญ ๒ สายไหลผ่าน คือ แม่นํ้าเจ้าพระยาและ<br />

แม่นํ้าน้อย ตะกอนดินทรายถูกพัดพามาตามความแรง<br />

ของกระแสนํ้าและเกิดการสะสมตัวเมื่อกระแสนํ้าอ่อน<br />

กําลังลง โดยตะกอนทรายจะสะสมตัวบริเวณฝั่งตรงข้าม<br />

กับคุ้งนํ้า เป็นชั้นหนา เป็นทรายหยาบปนกรวดเล็กน้อย<br />

ถึงทรายละเอียด มีความมนดี สีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตา<br />

ลอมเหลือง ประกอบด้วยแร่ควอตซ์และเศษหิน<br />

ชนิดต่างๆ สําหรับทรายบกอ่างทองก็คือทรายของแม่นํ้า<br />

เจ้าพระยาและแม่นํ้าน้อยในอดีต ที่สะสมตะกอนทราย<br />

ไว้ และเมื่อเวลาผ่านไป แม่นํ้าได้เปลี่ยนเส้นทางการไหล<br />

ทําให้กลายเป็นทรายบกดังที่ปรากฏในปัจจุบัน<br />

ANG THONG<br />

Ang Thong Province is situated on the Chao Phraya central floodplain with two important rivers: the Chao Phraya<br />

and Noi Rivers. Sands occurred as the point bar deposits of the meandering stream to form thick sand beds all<br />

over the floodplain. Ang Thong Sands is an important geological resource for construction industry. It is found<br />

distributing in many districts including Pa Mok, Mueang Ang Thong, Wiset Chai Chan and Pho Thong Districts.<br />

This is a large sand deposit with high quality. The sand is sold in a number of provinces in the central plain and<br />

brings a lot of income to the province, as well as creates many jobs for the people of Ang Thong.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

89


จังหวัดอำานาจเจริญ<br />

หินทรายแก่งโขง<br />

หินทรายแก่งโขงโผล่เป็นชั้นหินให้เห็นชัดเจน<br />

และเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดที่ลานหินเจดีย์ หรือ<br />

ลานธาตุ วนอุทยานภูสิงห์ - ภูผาผึ้ง ตําบลเหล่าพรวน<br />

อําเภอเมืองอํานาจเจริญ โดยพบเป็นพลาญหินยาว<br />

ต่อเนื่องตามเนินเขาในแนวตะวันออก - ตะวันตก<br />

มีลักษณะเป็นหน้าผาทางทิศเหนือ ลาดเทลงมา<br />

ทางทิศใต้ ลานหินเจดีย์แห่งนี้แสดงแท่งหินขนาดใหญ่<br />

หลายแท่งมีรูปร่างที่สวยงามแปลกตา แท่งหิน<br />

บางอันมีลักษณะคล้ายเจดีย์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ<br />

สถานที่แห่งนี้ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญ<br />

ของจังหวัด<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

90<br />

หินทรายจากแก่งโขงมีหลายสี ได้แก่ สีขาว สีเหลือง สีแดง แต่สีขาวเป็นสีหิน<br />

แต่กําเนิด เมื่อกาลเวลาผ่านไปสีหินอาจเปลี่ยนเป็นสีแดงได้ หินทรายแก่งโขงมีเนื้อหยาบ<br />

ถึงละเอียด และมักมีก้อนกรวดปน เป็นส่วนหนึ่งของหมวดหินภูพาน กลุ่มหินโคราชเกิดจาก<br />

การสะสมตะกอนของกรวดและทรายที่ถูกพัดพามาโดยแม่นํ้าขนาดใหญ่เมื่อประมาณ<br />

๑๑๐ ล้านปีก่อน หรือช่วงยุคครีเทเชียสตอนต้น ในเนื้อหินมีร่องรอยให้เห็นเป็นแนวหรือชั้น<br />

ที่สําคัญอยู่ ๒ แบบ คือ ชั้นหินเห็นเป็นแนวเกือบราบ แสดงถึงการสะสมของเม็ดตะกอน<br />

ในแต่ละช่วงเวลา และแนวชั้นเฉียงระดับ วางตัวทํามุมชันเอียงเทไปทางทิศตะวันตก<br />

ใช้เป็นหลักฐานถึงทิศทางนํ้า นํ้าโบราณไหลไปทางทิศตะวันตก ต่อมาเปลือกโลกเกิดการ<br />

เคลื่อนตัวและคดโค้งโก่งงอ เกิดเป็นแนวเทือกเขาภูพานหลังจากนั้น การกัดเซาะผุพัง<br />

ตามธรรมชาติ ชั้นหินทรายจะมีความทนทานต่อการกัดกร่อนสูงกว่า จะคงเหลืออยู่เป็น<br />

ชะง่อนหน้าผาและปรากฏเป็นรูปร่างหรือลักษณะธรณีสัณฐานที่สวยงามแปลกตา<br />

ในขณะที่ชั้นหินที่ทนทานต่อการผุพังน้อยกว่าจะกลายเป็นชั้นโค้งเว้าในปัจจุบัน<br />

AMNAT CHAROEN<br />

Kaeng Khong Sandstone, a provincial geological symbol, is located at Lan Hin Chedi or Lan That, Phu Singh - Phu Pha Phueng Forest<br />

Park, Lao Phruan Subdistrict, Mueang Amnat Charoen District. The rock continually cropped out over the long rocky platform oriented<br />

in an E-W direction with a cliff side (escarpment) to the north and the dip slope toward the south. This sandstone belongs to Phu Phan<br />

Formation of the Khorat Group deposited during the early Cretaceous or around 110 million years ago. A number of rock statues in the<br />

Lan Hin Chedi area show beautiful figures, some look similar to chedi (pagoda). That is how the place has got its name.


จังหวัดอุดรธานี<br />

แร่โพแทช-ซิลไวต์<br />

ใต้พื้นดินอีสานรองรับด้วยเกลือหินและโพแทชจํานวน<br />

มหาศาล เป็นทรัพยากรธรณีขุมทรัพย์ของชาติที่รอการบริหารจัดการ<br />

ให้เกิดประโยชน์สูงสุดรวมทั้งลดผลกระทบต่อชุมชน แร่โพแทช<br />

ชนิดแร่ซิลไวต์ (KCl) จะมีส่วนประกอบเป็นธาตุโพแทสเซียม (K) สูง<br />

ซึ่งเป็นธาตุหลักที่จําเป็นสําหรับทําปุ๋ยในเกษตรกรรม แร่โพแทช-<br />

ซิลไวต์เป็นทรัพยากรธรณีสัญลักษณ์ของจังหวัดอุดรธานี เนื่องจาก<br />

พบแร่ซิลไวต์มากบริเวณอําเภอเมืองอุดรธานีและอําเภอประจักษ์-<br />

ศิลปาคม<br />

ธรณีวิทยา<br />

โพแทชเป็นชื่อกลุ่มแร่ที่ประกอบด้วยแร่<br />

หลายชนิด เช่น แร่ซิลไวต์ แร่คาร์นัลไลต์ และแร่<br />

แทชีไฮไดรต์ แต่แร่ซิลไวต์เป็นแร่ที่สําคัญที่สุดของ<br />

แร่โพแทช แร่ซิลไวต์มีผลึกรูปลูกบาศก์และรูปผลึก<br />

ทรงแปดด้านผสมกัน ปกติพบเกิดเป็นมวลเม็ด<br />

เกาะกันแน่น มักจะไม่มีสีหรือมีสีขาว หากมีมลทิน<br />

อื่นๆ ปะปนอยู่ อาจมีสีนํ้าเงิน เหลือง และแดงบ้าง<br />

เล็กน้อย สีผงสีขาว จะมีลักษณะโปร่งใส วาวแบบแก้ว<br />

รอยแตกขรุขระ ละลายนํ้า มีรสเค็มแต่เฝื่อนกว่า<br />

เกลือหินหรือเฮไลต์ โดยทั่วไปซิลไวต์มักเกิดแบบ<br />

ทุติยภูมิ โดยเกิดแทนที่ในคาร์นัลไลต์ หลังจากที่<br />

เกลือหินตกผลึกแล้ว ซิลไวต์จะเป็นแร่หนึ่งที่ตกผลึก<br />

หลังสุดในลำาดับการตกผลึกของแหล่งหินเกลือ<br />

ในประเทศไทยพบแหล่งแร่โพแทชและเกลือหินเป็น<br />

ชั้นหนาอยู่ใต้แผ่นดินอีสาน จัดเรียงลําดับชั้นหิน<br />

อยู่ในหมวดหินมหาสารคาม เกิดสะสมตัวเนื่องจาก<br />

การระเหยแห้งของนํ้าในแอ่งแบบปิดที่อยู่ใกล้ทะเล<br />

ในช่วงยุคครีเทเชียสตอนปลาย หรือเมื่อประมาณ<br />

๙๐ ล้านปีที่ผ่านมา<br />

UDON THANI<br />

The Northeastern Part of Thailand is underlain by tremendous amount of thick rock salt<br />

and potash beds which belong to Maha Sarakham Formation. These minerals deposited<br />

as a closed sea evaporated during the late Cretaceous or around 90 million years ago.<br />

Sylvite is a mineral resource treasure of the country to be sustainably managed for the<br />

benefit of the people. Sylvite (KCl) is the principal ore mineral of potassium compound<br />

to be used as a part of fertilizer for agriculture. Sylvite is widely distributed in Mueang<br />

Udon Thani and Prachaksinlapakhom Districts. The Sylvite-Potash is thus the geological<br />

symbol of Udon Thani Province.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

91


จังหวัดอุตรดิตถ์<br />

แร่ทัลก์<br />

แร่ทัลก์เป็นแร่อุตสาหกรรมที่สําคัญ ทนความร้อน<br />

ได้สูง และไม่นำากระแสไฟฟ้า ใช้เป็นฉนวนป้องกันไฟฟ้า<br />

เป็นส่วนประกอบของเครื่องสําอาง เครื่องปั้นดินเผา สี<br />

กระดาษ และอุตสาหกรรมอีกหลายชนิด เป็นแร่ที่มี<br />

ความอ่อนมากที่สุด ขูดเป็นรอยได้ด้วยเล็บและใช้มีดตัด<br />

เป็นชิ้นได้ มีผิวลื่นมือ มีความวาวแบบมุกและแบบ<br />

นํ้ามันฉาบ ในประเทศไทยพบเพียงไม่กี่แห่ง และพบมาก<br />

ที่อําเภอท่าปลา อําเภอเมืองอุตรดิตถ์<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

92<br />

แร่ทัลก์มักพบเป็นแร่ทุติยภูมิ ที่เกิดจากการแปรสภาพ<br />

มาจากแร่และหินแมกนีเซียมซิลิเกต เช่น โอลิวีน ไพรอกซีน<br />

แอมฟิโบล และหินเซอร์เพนทิไนต์ ในประเทศไทยมีการ<br />

กําเนิดสัมพันธ์กับหินอัลตราเมฟิกที่พบบริเวณรอยตะเข็บ<br />

ธรณี (suture zone) ที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลก<br />

แร่ทัลก์มีลักษณะของผลึกเป็นแผ่นบางๆ รูปสี่เหลี่ยม<br />

ขนมเปียกปูนและรูปหกเหลี่ยม แผ่นแร่มักเกาะกันเป็นกลุ่ม<br />

แสดงริ้วลายขนาน หรือแผ่เป็นรูปรัศมี หากเป็นมวล<br />

เนื้อแน่นเรียกว่า “สตีไทต์” (steatite) หรือหินสบู่ (soapstone)<br />

สีเขียวแอ๊ปเปิ้ล เทา ขาว หรือขาวเงิน สําหรับหินสบู่<br />

จะมีสีเทาแก่หรือเขียว ลื่นมือ<br />

UTTARADIT<br />

Talc is an important industrial mineral. It has a characteristic soapy or greasy feel, easily cut or scratch with a knife or<br />

fingernails. It is used as a filler, coating and dusting agent in ceramics, paper, color, electrical insulation, cosmetics and<br />

other industries. Talc is a common secondary mineral derived by alteration (hydration) of nonaluminous magnesium silicates<br />

such as olivine, pyroxene and serpentinite in basic igneous rocks. The mineral is found in a few sites in Thailand and most<br />

abundant in Tha Pla and Mueang Uttaradit Districts where tectonic suture zone is present.


จังหวัดอุทัยธานี<br />

หินชีสต์<br />

หินชีสต์มีสีเทาอ่อน สลับสีเทาดํา ผิวหิน<br />

มันวาวเป็นประกายสวยงาม แสดงริ้วขนานโค้งงอ<br />

บิดย้วยน้อยๆ แบบลูกคลื่นของผลึกแร่ที่เรียงตัว<br />

เกือบขนานกัน พบได้ทั่วไปบริเวณชั้นหินริมถนน<br />

ในพื้นที่อําเภอบ้านไร่และอําเภอลานสัก จังหวัด<br />

อุทัยธานี<br />

ธรณีวิทยา<br />

หินชีสต์เป็นหินแปรชนิดหนึ่งที่ถูกเปลี่ยนสภาพ<br />

มาจากหินดินดาน อันเนื่องมาจากความกดดันและ<br />

ความร้อน เนื้อหินแสดงการเรียงตัวโค้งงอบิดย้วยเป็น<br />

แถบขนานกันของผลึกแร่ที่มีลักษณะเป็นแผ่นบาง<br />

หรือเป็นแท่ง เช่น แร่ไมกา แร่คลอไรต์ และแร่ฮีมาไทต์<br />

เนื้อหินเปราะและแตกง่าย ในบางบริเวณมีแร่การ์เนต<br />

เกิดร่วมด้วย หินชีสต์ของพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีมีอายุ<br />

ประมาณยุคไซลูเรียน - ดีโวเนียน หรือประมาณ ๔๐๐<br />

ล้านปีก่อน<br />

UTHAI THANI<br />

Light to dark gray Schist with beautiful luster is a strong foliated crystalline rock formed by dynamic metamorphism<br />

with well developed parallelism of the minerals present, particularly those of lamellar or elongate prismatic habit,<br />

e.g. mica and chlorite. Schist found in Ban Rai and Lan Sak Districts was formed approximately 400 million years<br />

ago or during the Silurian - Devonian.<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

93


จังหวัดอุบลราชธานี<br />

หินทรายผาแต้ม<br />

หินทรายผาแต้มมีลักษณะเนื้อหยาบสีขาว วางตัวเป็นลานหิน<br />

กว้างที่ผาแต้ม เขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม อําเภอโขงเจียม จังหวัด<br />

อุบลราชธานี ซึ่งเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่อยู่ด้านตะวันออกสุด<br />

ของประเทศ บริเวณหน้าผาจะมีภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์<br />

อายุประมาณ ๓,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปี มากกว่า ๓๐๐ ภาพ<br />

ธรณีวิทยา<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

94<br />

บริเวณผาแต้มประกอบด้วยหมวดหินภายในกลุ่มหินโคราช จํานวน ๒ หมวดหิน<br />

ที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนทางนํ้าเมื่อประมาณ ๑๒๐ - ๑๑๐ ล้านปีก่อน ได้แก่<br />

หมวดหินเสาขัว พบในส่วนล่างของผาแต้มรวมทั้งส่วนหน้าผาที่พบภาพเขียนโบราณ<br />

ประกอบด้วยหินทรายแป้ง หินทราย และหินโคลน ด้านบนหน้าผาปิดทับด้วยหินทรายชั้นหนา<br />

หรือที่เรียกว่า “หินทรายผาแต้ม” ของหมวดหินภูพาน เป็นหินทรายเนื้อหยาบสีขาว ในเนื้อหิน<br />

มักมีกรวดปน และมีความแข็งแกร่งทนต่อการสึกกร่อนได้ดีกว่าชั้นหินของหมวดหินเสาขัว<br />

จึงทําให้เกิดลักษณะภูมิประเทศเป็นหน้าผาที่มีลานหินกว้างปิดทับ<br />

UBON RATCHATHANI<br />

Pha Taem is a famous landmark with rock platform and a high cliff located to the easternmost part of the country<br />

within Pha Taem National Park in Khong Chiam District. Pha Taem Sandstone belongs to Phu Phan Formation<br />

covering the upper part that constitutes white coarse-grained sandstone. Pha Taem sandstone is underlain<br />

by sandstone, siltstone and mudstone of Sao Khua Formation where over 300 pre-historical paintings with an<br />

approximate age of 3,000 - 4,000 years ago are also present. Pha Taem sandstone is more resistant than the<br />

rocks of Sao Khua Formation thus resulted in high cliff and rock platform landscape on top.


บรรณานุกรม<br />

กรมทรัพยากรธรณี. ความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตดึกดำาบรรพ์ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๑.<br />

กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๕๐.<br />

. ท่องโลกธรณี อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ความมหัศจรรย์แห่งมรดกโลก. พิมพ์ครั้งที่ ๑.<br />

กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๕๓.<br />

. ธรณีวิทยาประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรธรณี, ๒๕๕๐.<br />

. ๑๑๐ ปี กรมทรัพยากรธรณี : ตำานานสืบสานห้าแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรธรณี,<br />

๒๕๔๔.<br />

. ๑๑๙ ปี กรมทรัพยากรธรณี (จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๑๙ ปี แห่งการ<br />

สถาปนากรมทรัพยากรธรณี). กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรธรณี, ๒๕๕๔.<br />

วิกิพีเดีย. ตราประจำาจังหวัดของไทย. (สืบค้น ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ จาก http://th.wikipedia.org)


ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

จัดทำโดย<br />

กรมทรัพยากรธรณี<br />

ถนนพระรามที่ ๖ เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐<br />

โทรศัพท์ ๐-๒๖๒๑-๙๕๐๐<br />

เว็บไซต์ www.dmr.go.th<br />

เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN)<br />

๙๗๘-๙๗๔-๒๒๖-๔๗๑-๐<br />

พิมพ์ครั้งที่ ๑<br />

กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ จำนวน ๑,๕๐๐ เล่ม<br />

คณะที่ปรึกษา<br />

นายนิทัศน์ ภู่วัฒนกุล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี<br />

นายทศพร นุชอนงค์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี<br />

นายนพพล ศรีสุข<br />

รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี<br />

คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือ<br />

ทรัพยากรธรณี สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

นายทศพร นุชอนงค์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี<br />

นายมนตรี เหลืองอิงคะสุต ผู้อำานวยการสำานักธรณีวิทยา<br />

นายพล เชาว์ดำารงค์ ข้าราชการบำานาญ<br />

นายประสาท พาศิริ ผู้อำานวยการสำานักงานงานเลขาธิการ กปร.<br />

นางสุดา ละเอียดจิต กระทรวงมหาดไทย<br />

ผศ.วิชัย จูทะโกสิทธิ์กานนท์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

นายวัฒนา ตันเสถียร กรมทรัพยากรธรณี<br />

นางงามพิศ แย้มนิยม ข้าราชการบำานาญ<br />

นายสมหมาย เตชวาล กรมทรัพยากรธรณี<br />

นายสุวัฒน์ ติยะไพรัช กรมทรัพยากรธรณี<br />

นายสุวภาคย์ อิ่มสมุทร กรมทรัพยากรธรณี<br />

นายกิตติ ขาววิเศษ กรมทรัพยากรธรณี<br />

นางสาวปานใจ สารพันโชติวิทยา กรมทรัพยากรธรณี<br />

นางสาวมยุรี ธรรมานุสาร กรมทรัพยากรธรณี<br />

คณะกรรมการคัดเลือกและจัดทำข้อมูลเอกสาร<br />

หินหรือแร่สัญลักษณ์ของจังหวัด<br />

อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี<br />

รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี<br />

ผู้แทนคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริ<br />

นายกสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย<br />

หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น<br />

หัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

หัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี<br />

หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี<br />

ผู้อำานวยการสำานักทรัพยากรแร่<br />

ผู้อำานวยการสำานักธรณีวิทยา<br />

นายพล เชาว์ดำารงค์<br />

นายสุวัฒน์ ติยะไพรัช<br />

นายสุวภาคย์ อิ่มสมุทร<br />

นักเขียนและนักวิชาการที่ปรึกษา<br />

นายพล เชาว์ดำารงค์<br />

นายประชา คุตติกุล<br />

เรียบเรียงต้นฉบับ<br />

เรียบเรียงต้นฉบับ<br />

ออกแบบและจัดทำรูปเล่ม<br />

ฝ่าย Amarin Publishing Services<br />

บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำากัด (มหาชน)<br />

๖๕/๑๖ ถนนชัยพฤกษ์ (บรมราชชนนี) เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐<br />

โทรศัพท์ ๐-๒๔๒๒-๙๐๐๐ ต่อ ๑๒๐๐, ๑๒๑๓<br />

โทรสาร ๐-๒๔๒๒-๙๐๙๑<br />

แยกสีและพิมพ์ที่<br />

สายธุรกิจโรงพิมพ์ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำากัด (มหาชน)<br />

๖๕/๑๖ ถนนชัยพฤกษ์ (บรมราชชนนี) เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐<br />

โทรศัพท์ ๐-๒๔๒๒-๙๐๐๐, ๐-๒๘๘๒-๑๐๑๐<br />

โทรสาร ๐-๒๔๓๓-๒๗๔๒, ๐-๒๔๓๔-๑๓๘๕<br />

ข้อความและภาพในหนังสือนี้สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ถ้าจะนำาไปเผยแพร่ซํ้าไม่ว่าจะเป็นบางส่วน<br />

หรือทั้งหมดต้องได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมทรัพยากรธรณี


“วิทยาการทุกอย่างมิใช่มีขึ้นในคราวหนึ่งคราวเดียวได้<br />

หากแต่ค่อยๆ สะสมกันขึ้นมาทีละเล็กละน้อยจนมากมายกว้างขวาง<br />

การเรียนวิทยาการก็เช่นกัน บุคคลจำาจะต้องค่อยๆ เรียนรู้ให้เพิ่มพูนขึ้นมาตามลำาดับ<br />

ให้ความรู้ที่เพิ่มพูนขึ้นนั้นเกิดเป็นรากฐานรองรับความรู้ที่สูงขึ้น ลึกซึ้งกว้างขวางขึ้นต่อๆ ไป”<br />

(พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำาเร็จการศึกษา<br />

จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๙)


“หินทรายผาแต้ม”

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!