Image

Cluster Specialist

Cluster Rubble


ความรู้เกี่ยวกับยางพารา

1.ประเภทของสินค้ายาง

น้ำยาง

• น้ำยางนำมาแปรรูปใส่แอมโมเนียผสมน้ำ เป็นน้ำยางข้น 60% และน้ำยางสด 35%

• ผลิตภัณฑ์หมอนยางพารา, ที่นอนยางพารา, ถุงมือยาง , ยางรัดของ, ถุงยางอนามัย

ยางแผ่นรมควัน

• นำมาผลิตเป็น RSS, STR

ยางก้นถ้วย 

• นำมาแปรรูปเป็น STR 

STR, RSS

• ผลิตเป็นยางล้อรถ

ลำต้น, ราก

• ทำเฟอร์นิเจอร์, แปรรูปเป็นไม้แผนขนาดต่างๆ, Particleboard, MDF, ไม้พื้น

ปีกไม้, ขี้เลื่อย

• เชื้อเพลิง, เชื้อเพลิงอัดแท่ง, ผลิตกระแสไฟฟ้า

 



Image Image
ประเทศที่ส่งออกยางมากที่สุดในโลก

Image

การบรรจุสินค้ายาง ยางแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

  1. ยาง RSS (Rib Smoked Sheet)  เป็นยางแผ่นดิบรมควัน อัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมลูกเต๋า ยางแผ่นรมควันถูกใช้อย่างแพร่หลายในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยแตกต่างกันออกไปตามเงื่อนไขความบริสุทธิ์และความยืดหยุ่นของยาง    โดยแบ่งออกเป็น 5 เกรด ตั้งแต่ RSS 1 ถึง RSS 5 ความแตกต่างของยางแผ่นแต่ละเกรดได้มาจากคุณสมบัติของน้ำยางที่นำมาผลิตเป็นยางแผ่นดิบ ยางแผ่นได้ผ่านการคัดสรรและรมควันแปรรูปภายใต้เงื่อนไขเวลาและอุณหภูมิที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นการรับรองว่ายางแผ่นรมควันที่ได้ออกมาจะมีมาตรฐานที่ดีและไม่มีข้อบกพร่อง
  2. การแบ่งเกรดยางแผ่น หลักๆ จะใช้การจำแนกด้วยสายตาจึงอาจมีความเป็นไปได้ที่ผลิตภัณฑ์อาจมีมาตรฐานที่แตกต่างจากหลักเกณฑ์ที่วางเอาไว้บ้าง  ดังนั้น จึงให้ความสำคัญอย่างมากต่อการจัดฝึกอบรมพนักงานที่ทำหน้าที่คัดเกรดของผลิตภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการการันตีว่ามาตรฐานยางแผ่นที่ผลิตโดยโรงงานของเรามีมาตรฐานอันเดียวกัน

• น้ำหนัก 30 ก.ก., 33.33 ก.ก., 35 ก.ก. บรรจุในถุงโพลีเอตเทอร์ลีน บนพาลเล็ตไม้ /ลูสเบลล์ 

• น้ำหนัก 60 ก.ก., 90 ก.ก., 111.11 ก.ก. ห่อและทาเคลือบด้วยแป้งทำเป็นยางลูกขุน 

• น้ำหนัก 111.111 กก./ก้อน บรรจุในตู้ 20 ฟุต 180 ก้อน, ตู้ 40 ฟุต 220 ก้อน

ขั้นตอนในการแพ็คยาง RSS

เราทำการเก็บ “วัตถุดิบ” จากเกษตรกร โดยยางแผ่นที่ได้มาเราต้องนำเข้าสู่วิธีการรมควัน และทำให้แห้ง เพื่อกำจัดความชื้น และสิ่งเจือปน

 

กระบวนการผลิต

Image Image ยางแท่ง STR (Standard Thai Rubber)

    ความสามารถในการตรวจวัดและควบคุมสภาพและคุณสมบัติตามมาตรฐานของยางแท่งทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงต่ออุตสาหกรรมยางพาราปริมาณความต้องการของยางประเภทนี้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นยางที่ง่ายต่อการควบคุมคุณภาพและเป็นวัตถุดิบที่ง่ายต่อการนำไปผลิตและแปรรูปต่อยางแท่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ STR10 STR20 STRxL และ STR CV โดยแตกต่างกับไปตามตัวแปรด้านการควบคุมการผลิตกรรมวิธีในการควบคุมประสิทธิภาพการผลิตของเราเริ่มจากการคัดเลือกวัตถุดิบโดยใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบในห้องทดลองซึ่งจะทำให้มาตรฐานการผลิตของเราตรงตามความต้องการของการส่งออก

 

กระบวนการผลิต

โดยใช้ยางก้อนถ้วย (CUP LUMP – STR)

Image Image Image

 

การ PACKING ยาง STR

เป็นยางที่ผลิตมาจากยางก้อนถ้วย ยางเครฟและยางแผ่นนำมาผ่านกรรมวิธีรีด ย่อยเป็นเม็ด อบและอัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมผืนผ้า น้ำหนัก 35 กก./ก้อน จัดวางในลังเหล็กและพาเลท 36 ก้อน และ 38 ก้อน บรรจุในตู้ 20 ฟุต มีบรรจุเป็นลัง 16 ลัง/ตู้  และบรรจุเป็นก้อน 648 ก้อน/ตู้

• ขนาด 33.33 ก.ก. และ 35 ก.ก. สำหรับลูสเบลล์ / ชริงแล็บ ฐานรองไม้ / กล่องเหล็ก 

Image

วิธีการ PACK  ยาง (STR) ลงลังเหล็ก

การแพ็คยาง

• นำยางที่ผ่านการคัดคุณภาพแล้วมาใส่บล็อก ชั่งน้ำหนักแล้ว เข้าเครื่องอัด

• นำยางทีอัดเรียบร้อยแล้วใส่ถุงพลาสติก

• จัดเรียงยางลงลัง ลังละ 6 ชั้น ชั้นละ 6 ก้อน

• นำยางลูกทับมาวางทับยางที่ลงลังครบแล้ว 12 ชั่วโมง(ลูกทับ มีน้ำหนักตั้งแต่ 1ตัน-3.5ตัน)

• นำยางที่ผ่านการทับเรียบร้อย มาคลุมพลาสติกแล้วใช้ความร้อนทำให้พลาสติกหดตัว

• จัดเรียงเข้าโกดังรอการส่งออก

กระบวนการผลิต

Image

น้ำยางข้น (LATEX)

     เริ่มการควบคุมคุณภาพตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตน้ำยางของเกษตรกร โดยออกมาในรูปของน้ำยางบริสุทธิ์ซึ่งเป็นวัตถุดิบประเภทยางพาราที่สะอาดที่สุด หลังจากนั้นจะถูกนำไปจัดเก็บโดยเติมสารเคมีและผ่านเครื่องแยกอีกครั้งเพื่อให้ได้น้ำยางข้นที่มีค่า DRC 60% โดยสารเคมีที่เติมลงไปคือ สารแอมโมเนีย มีคุณสมบัติในการรักษาสภาพน้ำยาง แต่สัดส่วนการผสมขึ้นอยู่กับความต้องการลูกค้า

  ● 60% HAL - น้ำยางที่มีส่วนผสมแอมโมเนียอยู่ในระดับสูง DRC 60 %

  ● 60% MAL – น้ำยางที่มีส่วนผสมแอมโมเนียอยู่ในระดับกลาง DRC 60 %

  ● 60% LAL – น้ำยางที่มีส่วนผสมแอมโมเนียอยู่ในระดับต่ำ DRC 60 %

กระบวนการผลิต

Image เทคนิคการบรรจุตู้สินค้ายางพารา

ขั้นตอนการบรรจุ

1) ตรวจสอบทะเบียนรถ/หมายเลขตู้จากใบงาน

2) ตรวจเช็คสภาพตู้คอนเทรนเนอร์ด้านนอก 

• หมายเลขตู้ชัดเจน 

• ตู้ไม่เป็นสนิม/ไม่มีรอยรั่ว/ไม่ชำรุด 

• ซีลยางขอบประตูสภาพดี 

3) ตรวจเช็คภายในตู้

• ปิดประตูตู้ตรวจสอบ ถ้ามีแสงลอดเข้ามาในตู้ REJECT 

• ตรวจเช็คสนิมภายใน ถ้าพบมากกว่า 50 %ของพื้นที่ REJECT

• ตรวจสอบรูระบายความชื้น หากไม่มีให้ทาการ REJECT 

• ตรวจเช็คสภาพพื้นตู้ฯต้องสะอาดไม่เปียกชื้น/ไม่มีรอยแตก/ไม่มีเสี้ยนไม้ 

4) ตรวจเช็ค MARKKING ให้ตรงตามเอกสาร BOOKING, INVOICE

5) ถ่ายรูปการบรรจุ

• ถ่ายรูปมาร์คยาง

• ถ่ายรูปตู้เปล่า

• ถ่ายรูปขณะบรรจุ

• ถ่ายรูปบรรจุเสร็จ

• ถ่ายรูปปิดตู้

• ถ่ายรูปใบ CERT 

• ถ่ายรูปใบบิลส่งของ

• ถ่ายรูป SEAL สายเรือและ SEAL โรงงาน

การถ่ายรูปในการบรรจุ

ตัวอย่างการถ่ายรูปมาร์ค

Image Image Image เทคนิคการบรรจุตู้สินค้ายางพารา

1. ยางก้อน RSS 

        การบรรจุยางก้อน RSS จะใช้แรงงานในการบรรจุ 5-6 คน/ตู้ แบ่งเป็น 2กลุ่ม เพื่อเรียงยางในตู้ 2-3คน  และเขี่ยยางจากกองยางอีก 2-3คน ใช้พาเลท ลูกกลิ้งในการขนยางจากกองยางมาเทเข้าตู้ เที่ยวละ9ก้อน 20 เที่ยว จัดเรียงเป็น 4 ชั้น  ชั้นที่ 1และ 2 เรียงชั้นละ 50 ก้อน ชั้นที่ 3 และ 4 รวมกัน 80 ก้อน ใช้เวลาในการบรรจุประมาณ 1 ชั่วโมง/ตู้

Image

2. ยางก้อน STR

        การบรรจุยางก้อน STR ใช้แรงงานในการบรรจุ 3-4 คน/ตู้ บรรจุ 18 พาเลท/ตู้ 1พาเลท มี36 ก้อน รวม 648 ก้อน/ตู้ น้ำหนัก 22.68 ตัน/ตู้ การเรียงยางเข้าตู้ จะวางด้านข้างเรียงแถวหน้ากระดาน ประมาณ 12-13-14 ก้อน/แถว ขึ้นอยู่กับขนาดของยางและวางแถวตอนออกมา 8ก้อน/ แถว จำนวน7ชั้น  ใช้เวลาในการบรรจุ 2 ชั่วโมง/ตู้

Image

3. ยางลัง RSS และ STR วางบนพาเลท

• นำยางมาเรียงหน้าตู้ให้ครบ16 PALLETเช็คมาร์คกิ้ง ให้ถูกต้อง

• ใช้โฟคลิฟยกยางเข้าบรรจุครั้งละ 2 PALLET ถ่ายรูปทุกๆ 4 PALLET

• บรรจุตู้ละ 16 PALLET

• ใช้เวลาบรรจุยางเข้าตู้ 5-10 นาที 

Image

4. น้ำยาง LATEX

• ตรวจเช็คสภาพตู้ก่อนจะปู BAG

• ปู BAG ให้เรียบร้อยก่อนขึ้นชั่ง

• ปิดประตูตู้ด้านซ้ายให้เรียบร้อยก่อนบรรจุ

• ต่อสายยางจากแทงค์เข้ากับวาล์ว BAG

• ปล่อยน้ำยางจากแทงค์ใส่ BAG ใช้เวลาประมาณ 45-60 นาที เวลาในการบรรจุขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำยางในแทงค์

Image Specialist : ความเชี่ยวชาญในงาน

        บริษัทวี-เซิร์ฟ โลจิสติกส์ จำกัด เป็นบริษัทโลจิสติกส์ครบวงจรที่ให้บริการงานลูกค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติ      ยางสังเคราะห์ และ ผลิตภัณฑ์จากไม้ยาง กว่า 30,000 ตู้/ปี ครอบคลุมการให้บริการทั่วประเทศ ตลอดจนความชำนาญการขนส่งข้ามแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ข้ามแดนไปยังท่าเรือปีนัง ประเทศมาเลเซีย เพื่อส่งออกไปยังประเทศจีน และมีความชำนาญในเรื่องของผลิตภัณฑ์ยางทุกประเภท อีกทั้งเรายังมีความชำนาญในเรื่องของการควบคุมการบรรจุตู้สินค้ายาง และเรามีการให้บริการลูกค้าโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านของคลัสเตอร์ยาง ตลอดจนสามารถให้คำปรึกษาในการขอใบอนุญาตและเอกสารต่างๆในการส่งออกยาง และเรายังมีความเชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์สินค้าที่ทำจากยาง เช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย หนังยาง เฟอร์นิเจอร์จากไม้ยาง เป็นต้น

บริษัทฯ ให้บริการด้านพิธีการศุลกากร ดังนี้

• พิธีการศุลกากรนำเข้า – ส่งออก (ทางทะเล)

• พิธีการศุลกากรนำเข้า – ส่งออก (ทางอากาศ)

• พิธีการศุลกากรนำเข้า – ส่งออก (ทางบก)

• พิธีการศุลกากรนำเข้า – ส่งออก (ทางรถไฟ)

• รับชำระเงินค่ากองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (CESS) สำหรับงานส่งออก

• ตรวจสอบพิกัดศุลกากรล่วงหน้า ก่อนการนำเข้า – ส่งออก

• ให้บริการควบคุมการบรรจุตู้สินค้า

• ให้บริการจองระวางเรือ/อากาศ สำหรับงานนำเข้า-ส่งออก

• ให้คำปรึกษาด้านพิธีการศุลกากร (Phyto) สำหรับงานนำเข้า– ส่งออก

• จัดหลักสูตรการสัมมนาให้ความรู้ด้านพิธีการศุลกากร และหน่วยงานอื่นๆ ภายใต้สถาบันวิชาการ วี-เซิร์ฟฯ

Image Image Image Image

Chat Live




Contact Us