external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

8 คำถามยอดฮิต
เมื่อคิดจะซื้อประกันสุขภาพ
เพื่อคุ้มครองเงินเก็บของคุณ

8 คำถามยอดฮิต เมื่อคิดจะซื้อประกันสุขภาพ เพื่อคุ้มครองเงินเก็บของคุณ

#fintips #เคล็ดลับการเงิน #ประกันสุขภาพ

19 ธ.ค. 2565


  • กำลังมองหาประกันสุขภาพสักฉบับ แต่ก็มีคำถามมากมาย เลยไม่รู้จะเลือกแบบไหนดี
  • รวมทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับประกันสุขภาพ เพื่อให้คุณเลือกประกันสุขภาพได้ตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของคุณ
  • ทีทีบีขอแนะนำประกันชีวิตและสุขภาพที่หลากหลาย ตอบทุกโจทย์ความต้องการและไลฟ์สไตล์ของคุณ รับประกันชีวิตโดย พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต

 

จะเลือกซื้อประกันสุขภาพแต่ละครั้ง มักมีคำถามตามมามากมาย ttb รวบรวมคำถามยอดฮิตพร้อมคำตอบที่จะช่วยให้คุณหายสงสัยเรื่องประกันสุขภาพ รวมถึงเคล็ดลับในการเลือกซื้อประกันสุขภาพให้ตรงกับความต้องการและเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณ มาฝากทุกคน

ตัวอย่างคำถามยอดฮิต เมื่อคิดจะซื้อประกันสุขภาพ

1. เมื่อไหร่ที่ควรเลือกซื้อประกันสุขภาพ?

ซื้อได้เลยตอนนี้ เพราะความป่วยไข้ไม่เคยรอใคร บ่อยครั้งมักมาแบบไม่ทันตั้งตัว ถึงแม้ว่าคุณจะดูแลสุขภาพตัวเองเป็นอย่างดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หรือยังเป็นวัยหนุ่มสาวที่ร่างกายแข็งแรง ก็มีโอกาสเจ็บป่วยได้ ซึ่งการเจ็บป่วยก็มีทั้งแบบเล็ก ๆ น้อย ๆ หาหมอ กินยาไม่กี่วันก็หาย ไปจนถึงโรคร้ายแรงที่ต้องใช้เวลารักษากันยาวนาน ทั้งหมดนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยที่เราอาจไม่รู้ตัว และถ้าไม่เตรียมพร้อมรับมือทำประกันสุขภาพไว้ก่อน หากเจ็บป่วยขึ้นมาแล้วค่อยคิดจะทำประกันก็จะสายเกินไป ไม่สามารถเคลมประกันย้อนหลังได้ ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองเต็ม ๆ ยิ่งถ้าเป็นโรคร้ายแรง ก็อาจจะไม่ได้รับความคุ้มครองสำหรับโรคนั้น ๆ อีกเลย ดังนั้น หากมีโอกาสและความพร้อมที่จะทำประกัน ทำก่อน อุ่นใจมากกว่า


2. จะซื้อประกันสุขภาพ ควรเลือกอย่างไร?

ควรเริ่มต้นจากการดูว่าเรากำลังมองหาความคุ้มครองแบบไหน โดยทั่วไปจะมีประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล 2 แบบ คือ แบบที่ 1 การคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) ที่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเมื่อมาพบแพทย์โดยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล และแบบที่ 2 การคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD) ดูแลผู้ที่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตามคำวินิจฉัยของแพทย์ (หรือบางครั้งรวมถึงการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลติดต่อกันเป็นเวลา 6 ชั่วโมงขึ้นไปด้วย)

โดยในแต่ละแบบจะมีรายละเอียดให้เลือกแตกต่างกันไปอีก สำหรับผู้ป่วยนอก สามารถเลือกได้ทั้งในกรณีการเคลมแบบมีวงเงินต่อครั้ง และจำกัดจำนวนครั้ง เช่น รักษาแบบ OPD ได้ครั้งละ 2,000 บาท ไม่เกิน 30 ครั้งต่อปี แบบนี้จะพบได้จากสวัสดิการของบริษัท องค์กรทั่วไป เป็นต้น หรือการเคลมแบบเหมาจ่าย โดยให้วงเงินต่อปีมาเลย คุณจะไปรักษากี่ครั้งก็ได้ ครั้งละกี่บาทก็ได้ ตราบใดที่ยังอยู่ในวงเงินที่ให้มา ก็สามารถเคลมค่าใช้จ่ายได้หมด สำหรับผู้ป่วยใน ก็มีให้เลือกทั้งแบบที่กำหนดวงเงินในการเคลมแบบกำหนดเป็นรายการ เช่น ค่าประกอบวิชาชีพเวชกรรม (แพทย์) ไม่เกิน 1,000 บาทต่อครั้ง ค่าห้องไม่เกิน 2,000 บาทต่อคืน และไม่เกิน 30 คืนต่อปี หรือค่ายาไม่เกิน 10,000 บาทต่อการรักษาแต่ละครั้ง เป็นต้น และการเคลมแบบเหมาจ่ายค่ารักษาทั้งหมดตามวงเงินที่ให้ต่อปี เช่น คุ้มครองสูงสุด 5 ล้านบาทต่อปี เวลาคุณนอนรักษาที่โรงพยาบาล ถ้าค่าใช้จ่ายยังอยู่ในวงเงินนั้น ๆ ก็เคลมได้เลย ไม่ต้องดูรายละเอียดเป็นรายการ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีประกันที่ให้ความคุ้มครองสุขภาพเฉพาะเจาะจงขึ้นไปอีก เช่น ประกันโรคร้ายแรง ประกันชดเชยรายได้ ประกันอุบัติเหตุ เป็นต้น ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีค่าเบี้ยประกันแตกต่างกันตามแบบความคุ้มครองและวงเงินความคุ้มครอง คุณจึงควรเลือกซื้อประกันสุขภาพโดยเทียบผลประโยชน์ความคุ้มครองกับค่าเบี้ยประกัน และอย่าลืมพิจารณาความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันของคุณด้วย


3.จำเป็นต้องซื้อประกันที่คุ้มครองโรคร้ายแรงด้วยไหม?

ขึ้นชื่อว่าโรคร้ายแรง มักมาคู่กับค่าใช้จ่ายก้อนโต ไหนจะค่ารักษา ไหนจะค่าดูแลฟื้นฟูให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติ การซื้อประกันโรคร้ายแรงจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการปิดความเสี่ยงเรื่องการสูญเสียเงินก้อนใหญ่ ซึ่งก็มีความคุ้มครองให้เลือกหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายค่ารักษาตามจริง รักษาเท่าไหร่ เอาใบเสร็จรับเงินมาเคลมได้เท่านั้น หรือแบบที่ตรวจพบโรคร้ายแรงก็ให้เงินก้อนมาเลย คุณสามารถนำไปบริหารจัดการเองได้ ทำให้คุณสามารถนำเงินก้อนนี้ ไปใช้จ่ายทั้งค่ารักษาและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากค่ารักษาได้อีกด้วย เช่น ค่าเดินทางมาพบคุณหมอ ค่าอาหารที่ต้องดูแลให้ดีขึ้น หรือค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อทำให้ร่างกายกลับมาแข็งแรง สามารถต่อสู้กับโรคร้ายได้ เป็นต้น


4. ถ้าป่วยขึ้นมา เคลมค่ารักษาอย่างไร?

การเคลมค่ารักษาพยาบาลขึ้นอยู่กับความคุ้มครองของแผนประกันที่คุณมี บริษัทรับประกัน และโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา มีทั้งแบบที่โรงพยาบาลสามารถเคลมค่ารักษากับบริษัทรับประกันโดยตรงได้เลย หากโรงพยาบาลนั้นอยู่ในคู่สัญญาของบริษัทรับประกัน โดยคนไข้ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาไปก่อน หรือแบบที่คนไข้ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน แล้วนำหลักฐานการรักษา (โดยปกติมักจะใช้ใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์) มาเคลมกับบริษัทรับประกัน หรือกรณีประกันแบบเจอ จ่าย จบ ก็ให้นำหลักฐานการตรวจพบโรคที่ประกันคุ้มครอง มาทำเรื่องเบิกเงินประกันกับบริษัทรับประกันโดยตรง (เอกสารหลักฐานสามารถสอบถามได้จากบริษัทรับประกัน)

คำถามเพิ่มเติม เมื่อคิดจะซื้อประกันสุขภาพ

5. ถ้ามีสวัสดิการ ประกันสังคม หรือบัตรทองอยู่แล้ว จำเป็นต้องซื้อประกันสุขภาพเพิ่มอีกไหม?

ประกันที่ทางบริษัททำให้ โดยส่วนมากมักมีวงเงินจำกัด ไม่คุ้มครองทุกความเจ็บป่วย และแน่นอนว่า เมื่อคุณไม่ได้เป็นพนักงานของบริษัทนั้น ๆ แล้ว ความคุ้มครองย่อมหมดไปทันที ส่วนประกันสังคมและบัตรทองครอบคลุมสิทธิ์การรักษาขั้นพื้นฐานก็จริง แต่มีข้อจำกัดในการเลือกโรงพยาบาล โดยจะสามารถรับการรักษาได้ในโรงพยาบาลรัฐบาลที่คุณมีสิทธิ์เท่านั้น ซึ่งก็มีคนใช้บริการค่อนข้างเยอะ ทำให้คุณต้องเสียเวลานาน ๆ ไปกับการรักษาในแต่ละครั้ง นอกจากนี้ ยังมีข้อจำกัดอื่น ๆ เช่น ยาที่รักษาก็จะเป็นไปตามที่กำหนดเท่านั้น หากต้องนอนพักรักษาก็จะไม่สามารถเลือกห้องพักได้อย่างที่ต้องการ หรืออาจมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก เป็นต้น การซื้อประกันสุขภาพเพิ่มอีกฉบับ จะช่วยเติมเต็มสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลหรือสวัสดิการเดิมที่มีอยู่ (ที่ผลประโยชน์อาจไม่เพียงพอ) เป็นทางเลือกในการวางแผนความคุ้มครองค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของตนเองให้คุณสามารถเลือกรับการรักษาที่ดีได้ตามที่คุณต้องการ


6. สามารถทำประกันสุขภาพได้ทุกคนไหม?

ทุกคนสามารถทำประกันสุขภาพเพื่อดูแลคุณและคนที่คุณรักได้ตามเงื่อนไขที่บริษัทรับประกันกำหนด โดยบางแบบประกันมีข้อกำหนดให้ตรวจสุขภาพ หรือแถลงรายละเอียดสุขภาพก่อนพิจารณารับประกัน บางแบบประกันไม่ต้องตรวจสุขภาพ เพียงแค่ตอบคำถามสุขภาพไม่กี่ข้อเท่านั้น


7. ค่าเบี้ยประกันเท่ากันทุกคนไหม?

ไม่เท่ากัน โดยปกติค่าเบี้ยประกันภัยจะขึ้นอยู่กับเพศ อายุ ชั้นอาชีพ แบบความคุ้มครอง และวงเงินคุ้มครอง โดยค่าเบี้ยประกันสุขภาพสำหรับเด็กหรือผู้สูงอายุมักจะสูงกว่าวัยทำงาน หรือค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับผู้หญิงก็มักจะสูงกว่าผู้ชาย เนื่องจากมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยมากกว่านั่นเอง


8.ไม่สามารถจ่ายค่าเบี้ยประกันเป็นก้อนได้ ทำอย่างไรได้บ้าง?

ประกันสุขภาพหลาย ๆ แบบสามารถแบ่งชำระได้ โดยมีทั้งรายปี ราย 6 เดือน ราย 3 เดือน หรือรายเดือน หรือบางบริษัทประกันก็มีโปรโมชันผ่อนจ่ายค่าเบี้ยประกันกับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการด้วย

แนะนำประกันสุขภาพที่ทีทีบี

ไขข้อข้องใจเรื่องประกันสุขภาพกันไปแล้ว หวังว่าทุกคนจะสามารถเลือกประกันสุขภาพที่พอดีกับชีวิตได้ สำหรับคนที่กำลังมองหาประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ได้ครบ ทีทีบี ขอแนะนำประกันชีวิตและสุขภาพที่คุณสามารถเลือกให้ตอบโจทย์กับความต้องการและไลฟ์สไตล์ของคุณ

  • ทีทีบี อีซี่ แคร์ พลัส (ttb easy care plus) ประกันเหมาจบ ๆ เหมา คุ้ม ดูแลครบทุกการรักษา เหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน เลือกโรงพยาบาลเอกชนไหนก็ได้ ผู้ป่วยนอก ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และคุ้มครองโรคมะเร็งแบบเจอ จ่าย จบ
    คลิก
  • ทีทีบี เฟล็กซี่ แคร์ (ttb flexi care) ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองสุขภาพที่ออกแบบมาให้ยืดหยุ่น ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ดูแลค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่ายสูงสุด 20 ล้านบาท พร้อมบริการเสริมทางการแพทย์ระดับโลก
    คลิก
  • ทีทีบี อัลติเมท แคร์ (ttb ultimate care) อุ่นใจกับทุกการดูแลทั่วโลก ดูแลสุขภาพคุณด้วยบริการทางการแพทย์ที่ดีที่สุด พร้อมความคุ้มครองสูงสุด 100 ล้านบาท ทุกที่ ทั่วโลก
    คลิก
  • ทีทีบี เพอร์เฟ็คต์ แคร์ (ttb perfect care) ประกันชีวิตและสุขภาพแบบมีเงินคืน หมดห่วงค่ารักษาพยาบาล พร้อมรับเงินคืนตลอดอายุสัญญา
    คลิก
  • ทีทีบี ซีไอ พร้อม แคร์ (ttb CI prompt care) ประกันคุ้มครอง 63 โรคร้ายแรง ไม่ว่าจะตรวจเจอโรคร้ายแรงระดับไหน เจอ จ่ายตั้งแต่ตรวจพบ เรื่องค่าใช้จ่ายสบายใจหายห่วง ไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นภาระของครอบครัว
    คลิก


หมายเหตุ

  • เงื่อนไขเป็นไปตามความคุ้มครองที่ระบุในกรมธรรม์ / ผลประโยชน์ขึ้นอยู่กับแผนความคุ้มครองที่เลือก / ทีทีบี อีซี่ แคร์ พลัส ค่าห้องครอบคลุมห้องเตียงเดี่ยวมาตรฐานทุกโรงพยาบาล รวมอยู่ในวงเงินค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่ายสำหรับผู้ป่วยใน / ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
  • รับประกันชีวิตโดยบริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) เป็นเพียงนายหน้าประกันชีวิต และรับผิดชอบในฐานะนายหน้าเท่านั้น


ที่มา :
https://www.oic.or.th/sites/default/files/aephnphathnaathurkicchprakanphay_chbab_4.pdf (หน้า10)

ให้คะแนนความพึงพอใจ
ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์วันนี้ คุณพอใจมากน้อยแค่ไหน ?

รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ

1
2
3
4
5
ไม่พอใจพอใจมากที่สุด