ไขข้อสงสัย? เหล็กดำกับเหล็กกัลวาไนซ์แตกต่างกันอย่างไร พร้อมการดูแลรักษา ไขข้อสงสัย? เหล็กดำกับเหล็กกัลวาไนซ์แตกต่างกันอย่างไร พร้อมการดูแลรักษา

ไขข้อสงสัย? เหล็กดำกับเหล็กกัลวาไนซ์แตกต่างกันอย่างไร พร้อมการดูแลรักษา

ใครที่ไม่ได้ทำงานคลุกคลีเกี่ยวกับการก่อสร้าง ไม่ได้เป็นผู้รับเหมา ช่างรับเหมา คงจะมีหลายครั้งที่เกิดความสงสัยเกี่ยวกับเหล็กดำ และเหล็กกัลวาไนซ์ที่เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างว่าแตกต่างกันอย่างไร ในบทความชิ้นนี้จะพาทุกคนไปรู้จักแบบเจาะลึกกันว่าเหล็กทั้ง 2 ประเภทนี้คืออะไร มีความแตกต่าง และเหมือนกันอย่างไร รวมถึงวิธีการดูแลรักษาเพื่อให้สามารถใช้งานได้ยาวนานมากที่สุด ถ้าพร้อมกันแล้วก็ไปติดตามเนื้อหาที่นำมาฝากกันได้เลย

กดเลือกอ่านเฉพาะส่วนที่สนใจ
 

เหล็กดำคืออะไร?

เหล็กดำคืออะไร?

เหล็กดำ คือเหล็กที่มีผิวสีดำ หรือที่เราเรียกกันว่า เหล็กรูปพรรณ หรือ เหล็กรูปพรรณดำ บ้างก็เรียกว่าเหล็กกล่อง  ผลิตจากการหล่อหรือนำเหล็กมารีดขึ้นรูป ส่วนในเรื่องของราคา เหล็กดำ จะมีราคาถูกกว่าเหล็กกัลวาไนซ์ เนื่องจากเหล็กดำไม่ต้องมีขั้นตอนของการจุ่มร้อนและเคลือบสารกันสนิม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ มีค่าใช้จ่ายสูงแถมยังหาซื้อง่าย ทำให้เหล็กดำกลายเป็นวัสดุโครงสร้างที่สำคัญ ดังนั้น จึงมี มอก. ออกมารองรับเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมากมาย เรียกได้ว่า ถ้าเหล็กดำเจ้าไหนไม่มีมอก. รับรอง อย่าซื้อเป็นอันขาดเลยทีเดียวเชียว

คุณสมบัติ

คุณสมบัติของเหล็กดำคือ ความทนทาน สามารถรับแรงดันจากลม และแรงเสียดทานได้เป็นอย่างดี

ข้อดีและข้อจำกัด 

การเข้าใจถึงข้อดีและข้อจำกัดของเหล็กดำ จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจที่จะเลือกใช้ หรือไม่ใช้เหล็กดำในงานต่างๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเรามาลงรายละเอียดถึงข้อดีและข้อเสียของเหล็กชนิดนี้กัน

ข้อดี: น้ำหนักเบา ตะเข็บเรียบ มีความทนทาน คงทน รับแรงดันสูงได้ดี รับน้ำหนักได้มาก ราคาถูกกว่าเหล็กกัลวาไนซ์ หาซื้อง่าย นิยมใช้ในการก่อสร้าง

ข้อเสีย: เกิดสนิมง่าย  หากไม่ได้ทาสีรองพื้นกันสนิม

เหล็กกัลวาไนซ์ คืออะไร?

เหล็กกัลวาไนซ์ คืออะไร?

เหล็กกัลวาไนซ์คือ คือเหล็กที่ผ่านกระบวนการเคลือบหรือชุบสังกะสี เพื่อป้องกันการเกิดสนิม การเพิ่มบริมาณและขั้นตอนการผลิตนี้ ทำให้เหล็กกัลวาไนซ์มักจะมีราคาที่สูงกว่าเหล็กดำ อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติ รวมถึงข้อดีและข้อจำกัดของเหล็กกัลวาไนซ์ก็จะแตกต่างไปจากเหล็กดำด้วยเช่นกัน

คุณสมบัติ

สังเกตได้ว่ากระบวนการผลิตของเหล็กกัลวาไนซ์แตกต่างออกไปจากขั้นตอนการผลิตของเหล็กดำ ทำให้เหล็กกัลวาไนซ์มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่น่าสนใจ เช่น น้ำหนักที่เบา สามารถกันสนิมได้ และนิยมใช้ในการก่อสร้างภายนอกอย่างโครงสร้างหลังคา และโครงสร้างขนาดเล็ก

ข้อดีและข้อจำกัด

เช่นเดียวกับเหล็กดำ การเข้าใจถึงข้อดีและข้อจำกัดของเหล็กกัลวาไนซ์  จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้ดีมากยิ่งขึ้นว่า จะเลือกใช้เหล็กกัลวาไนซ์ในงานแบบไหน

ข้อดี: ประหยัดเวลา พร้อมใช้งานได้ทันที เพราะลดขั้นตอนของการทาสีกันสนิม

ไม่จำเป็นต้องทาสีรองพื้น

ข้อเสีย: รับน้ำหนักได้น้อย ทำให้เหมาะกับการใช้ทำโครงสร้างรอง ราคาแพง

เปรียบเทียบเหล็กดำกับเหล็กกัลวาไนซ์ ต่างกันยังไง เหมาะกับงานอะไร

เปรียบเทียบเหล็กดำกับเหล็กกัลวาไนซ์ ต่างกันยังไง เหมาะกับงานอะไร

ทุกคนได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมของทั้งเหล็กดำ และเหล็กกัลวาไนซ์ผ่านเนื้อหาก่อนหน้าแล้ว ในส่วนนี้จะเป็นการนำข้อมูลทั้งหมดมาเปรียบเทียบ เพื่อให้เห็นถึงความต่าง และลักษณะงานที่เหมาะสมของเหล็กแต่ละประเภท เพื่อให้นำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง โดยจะแบ่งตามหัวข้อเพื่อให้เข้าใจง่าย ดังนี้

คุณสมบัติหลักของเหล็ก

คุณสมบัติหลักของเหล็กดำที่โดดเด่นคือ ความแข็งแรง และสามารถรองรับน้ำหนักได้มากกว่าเหล็กกัลวาไนซ์ แต่สำหรับเหล็กกัลวาไนซ์ที่มีสารป้องกันสนิมมาตั้งแต่การผลิต จะช่วยทำให้คุณสามารถประหยัดเวลาในการทาสีรองพื้นกันสนิม

อายุการใช้งาน

สำหรับอายุการใช้งานของเหล็กดำนั้นจะสั้นกว่าเหล็กกัลวาไนซ์ หากไม่มีการใช้สีรองพื้นกันสนิม อย่างไรก็ตามสามารถแก้ไขปัญหาสนิมได้ด้วยการทาสีตามระบบของการทาสีน้ำมัน หรือระบบขั้นตอนการทาสีงานเหล็ก โดยให้ทาสีรองพื้นกันสนิมก่อนแล้วตามด้วยการทาสีทับหน้า เพียงเท่านี้ก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานของเหล็กชนิดนี้ได้

สำหรับเหล็กกัลวาไนซ์เองที่มีกระบวนการเคลือบสนิมมาแล้ว ก็อาจสามารถเกิดสนิมได้ โดยเฉพาะบริเวณที่มีการเชื่อม หรือตัด ดังนั้นควรใช้ สีสเปรย์ประสิทธิภาพสูงสำหรับพ่นปกปิดพื้นผิวรอยเชื่อมงานเหล็ก เพื่อเป็นการยืดอายุให้สามารถใช้งานได้นานยิ่งขึ้นไปอีก

ราคา

ข้อมูลราคาของเหล็กนั้นมีความผันผวนตามราคาตลาดโลก ทำให้ไม่สามารถจับราคาที่นิ่ง และแน่นอนได้ แต่อย่างไรก็ตามเบื้องต้นแล้วต้นทุนในการผลิตเหล็กกัลวาไนซ์มีต้นทุนที่สูงกว่า เฉลี่ย 15-25% ต่อกิโลกรัม จึงทำให้เหล็กกัลวาไนซ์มีราคาที่สูงกว่า

ความทนทาน

เหล็กดำสามารถทำหน้ารับน้ำหนักได้ดีกว่าเหล็กกัลวาไนซ์ ด้วยค่าความแข็งแรง Tensile Strenght ที่ 4500 Ksc หรือ 450 MPa ขึ้นไป แต่ในขณะที่เหล็กกัลวาไนซ์ มีค่า Tensile Strenght ที่ 4000 Ksc หรือ 400 MPa ถึงแม้จะมีค่าความแข็งแรงที่ต่ำกว่า แต่อายุการใช้งานของเหล็กกัลวาไนซ์สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องมากถึง 15-20 ปีกันเลยทีเดียว ในขณะที่เหล็กดำต้องวิเคราะห์อายุการใช้งานจากน้ำหนักที่รองรับ รวมถึงประเมินเพิ่มเติมจากโครงสร้างของบ้านหรืออาคาร

งานที่เหมาะสม

ด้วยความสามารถ และจุดเด่นของเหล็กแต่ละประเภท ทำให้ลักษณะงานของเหล็กดำ และเหล็กกัลวาไนซ์ไม่เหมือนกัน สำหรับเหล็กดำมักมีการใช้งานกับโครงสร้างหลัก เพราะรับน้ำหนักได้มากกว่า แต่เหล็กกัลวาไนซ์ที่มีความสามารถรองรับน้ำหนักได้น้อยกว่าจะเหมาะกับงานโครงสร้างรอง

เหล็กดำและเหล็กกัลวาไนซ์จะมีปัญหาสนิมหรือไม่ ป้องกันได้อย่างไร

เหล็กดำและเหล็กกัลวาไนซ์จะมีปัญหาสนิมหรือไม่ ป้องกันได้อย่างไร

ถึงแม้ว่าเหล็กกัลวาไนซ์จะมีความสามารถในการป้องกันสนิม จากการเคลือบสารกันสนิมมาก่อนตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต แต่ไม่ได้หมายความว่าตลอดการใช้งานจะไม่มีสนิมเกิดขึ้นกับเหล็กชนิดนี้ โดยเฉพาะเหล็กดำที่ไม่ได้มีการเคลือบสีรองพื้นกันสนิม ยิ่งทำให้เกิดสนิมได้ง่ายเป็นพิเศษ ในเนื้อหาส่วนนี้จึงอยากแนะนำปัจจัยที่ทำให้เหล็กเกิดสนิม เพื่อให้เจ้าของบ้านหรือผู้รับเหมาหาทางป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดสนิม

  • ความชื้นต่ำ: สังเกตได้จากสนิมสีดำที่จะเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ ตลอดแท่งเหล็ก
  • การปนเปื้อนของสารเคมี: วิธีสังเกตใกล้เคียงกับกรณีความชื้นต่ำ จะมีสนิมสีคล้ำเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ด้วยสาเหตุจากการปนเปื้อนสารเคมีตั้งแต่โรงงานหรือระหว่างก่อสร้าง
  • การเก็บวัสดุที่ไม่ได้คุณภาพ: การก่อสร้างที่ต้องใช้ระยะเวลา หากเหล็กที่ยังไม่ได้ใช้งาน ผู้รับเหมาหรือช่างก่อสร้างควรที่จะเก็บรักษาเหล็กไว้ให้ดี เพื่อหลีกเลี่ยงจากทั้งความชื้นและการปนเปื้อนสารเคมี

เสริมความสามารถในการป้องกันสนิม

ป้องกันไว้ก่อน ย่อมดีกว่าแก้ คุณสามารถเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันสนิมให้กับทั้งเหล็กดำและเหล็กกัลวาไนซ์ได้ง่ายๆ ด้วยวิธีที่รวบรวมมาไว้ให้แล้ว ดังนี้

  • เหล็กดำ: ใช้วิธีการทาสีด้วยระบบสีน้ำมัน เพียงแค่คุณใช้สีรองพื้นเหล็ก แล้วตามด้วยสีเคลือบทับหน้า เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้เหล็กดำได้รับการปกป้อง ช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้นได้
  • เหล็กกัลวาไนซ์: การป้องกันสนิมให้เหล็กประเภทนี้ อันดับแรกเลย ให้โฟสกับตรงบริเวณรอยตัด รอยเชื่อมต่อ เพื่อเก็บงานให้เนี้ยบ และช่วยป้องกันสนิมไปด้วยในตัวให้เลือกใช้ โกเบ สเปรย์กัลวาไนซ์ สามารถทาสีเคลือบทับหน้าและรองพื้นกันสนิม และหากต้องการเปลี่ยนสีชิ้นงานเหล็กให้เป็นสีอื่นๆ แทนสีเหล็กกัลวาไนซ์เดิมที่มีอยู่ แนะนำให้ใช้ เอ็มดี 2IN1 รัสท์เทค สีที่สามารถทาเหล็กกัลวาไนซ์ได้ แถมไม่ต้องรองพื้น เป็นสีทาเหล็กที่มีคุณสมบัติเด่นในเรื่องความทนทาน แห้งไว ไม่ว่าจะเป็นงานแบบไหนก็เอาอยู่

เปิดวิธีดูแลรักษาเหล็กดำและเหล็กกัลวาไนซ์ ด้วยโซลูชั่นจาก TOA METAL EXPERT

เหล็กดำ หากไม่มีการทาสีรองพื้นกันสนิม ก็อาจทำให้เหล็กเป็นสนิมได้อย่างรวดเร็ว เหล็กกัลวาไนซ์ ถ้ามีการตัด หรือเชื่อม บริเวณรอยต่อเหล่านี้ก็อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดสนิมได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเหล็กดำหรือเหล็กกัลวาไนซ์ เราก็ควรจะต้องมีการทาหรือพ่นสีที่เหมาะสม เพื่อปกป้องโครงสร้างเหล่านี้ ไม่ให้สนิมเกิดขึ้นก่อนเวลาที่ควรจะเป็น TOA จึงได้จัดระบบของสีงานเหล็กแบบเต็มรูปแบบในชื่อว่า TOA METAL EXPERT ADVANCE METAL COATING SOLUTIONS เพื่อตอบโจทย์กับงานเหล็กทุกประเภท ทุกความต้องการ

กลุ่มนี้จะเน้นเรื่องของความทนทานในการป้องกันสนิม เหมาะกับเหล็กดำที่เป็นเหล็กใหม่ โดยจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ใช้งานร่วมกัน ได้แก่ กลุ่มที่เป็นสีรองพื้นกันสนิม และกลุ่มของสีเคลือบทับหน้า

กลุ่มสีรองพื้นป้องกันสนิม

กลุ่มสีรองพื้นกันสนิมจากทีโอเอ มีให้เลือกใช้งานถึง 3 แบบ ได้แก่

  • ทีโอเอ รัสต์ พรีเวนทีฟ ไพรเมอร์ สีรองพื้นกันสนิมคุณภาพสูงผสมสารการสนิมซิงค์ฟอสเฟต จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันสนิมเกาะ และยึดเกาะกับพื้นผิวเหล็กได้อย่างดีเยี่ยม
  • ทีโอเอ สีรองพื้นแดงกันสนิม สีรองพื้นกันสนิมเนื้อฟิล์มสีแดง คุณภาพดี ช่วยเสริมการยึดเกาะพื้นผิวโลหะ ก่อนที่จะทาด้วยสีเคลือบเงา ทีโอเอ กลิปตั้น
  • ทีโอเอ สีรองพื้นเทากันสนิม G-2010 สีรองพื้นกันสนิมเนื้อฟิล์มสีเทา คุณภาพดี ช่วยเสริมการยึดเกาะพื้นผิวโลหะ ก่อนที่จะทาด้วยสีเคลือบเงา ทีโอเอ กลิปตั้น

กลุ่มสีน้ำมันทับหน้าคุณภาพสูง

สีน้ำมันทับหน้ากลุ่มนี้ คือ ผลิตภัณฑ์สีทาเหล็ก ทีโอเอ กลิปตั้น ที่เรียกได้ว่าเป็น King of Enamel ของดีมีคุณภาพและขายดีติดตลาดจาก TOA ซึ่งจะมีให้เลือกใช้ทั้งแบบฟิล์มสีสนิดเงา กึ่งเงา และแบบชนิดด้าน

กลุ่มผลิตภัณฑ์ระบบสีงานเหล็กใช้งานทั่วไป

กลุ่มผลิตภัณฑ์ระบบสีงานเหล็กใช้งานทั่วไป จาก TOA

กลุ่มนี้จะเน้นเรื่องของความทนทานในการป้องกันสนิม เหมาะกับเหล็กดำที่เป็นเหล็กใหม่ โดยจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ใช้งานร่วมกัน ได้แก่ กลุ่มที่เป็นสีรองพื้นกันสนิม และกลุ่มของสีเคลือบทับหน้า

กลุ่มสีรองพื้นป้องกันสนิม

กลุ่มสีรองพื้นกันสนิมจากทีโอเอ มีให้เลือกใช้งานถึง 3 แบบ ได้แก่

  • ทีโอเอ รัสต์ พรีเวนทีฟ ไพรเมอร์ สีรองพื้นกันสนิมคุณภาพสูงผสมสารการสนิมซิงค์ฟอสเฟต จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันสนิมเกาะ และยึดเกาะกับพื้นผิวเหล็กได้อย่างดีเยี่ยม
  • ทีโอเอ สีรองพื้นแดงกันสนิม สีรองพื้นกันสนิมเนื้อฟิล์มสีแดง คุณภาพดี ช่วยเสริมการยึดเกาะพื้นผิวโลหะ ก่อนที่จะทาด้วยสีเคลือบเงา ทีโอเอ กลิปตั้น
  • ทีโอเอ สีรองพื้นเทากันสนิม G-2010 สีรองพื้นกันสนิมเนื้อฟิล์มสีเทา คุณภาพดี ช่วยเสริมการยึดเกาะพื้นผิวโลหะ ก่อนที่จะทาด้วยสีเคลือบเงา ทีโอเอ กลิปตั้น

กลุ่มสีน้ำมันทับหน้าคุณภาพสูง

สีน้ำมันทับหน้ากลุ่มนี้ คือ ผลิตภัณฑ์สีทาเหล็ก ทีโอเอ กลิปตั้น ที่เรียกได้ว่าเป็น King of Enamel ของดีมีคุณภาพและขายดีติดตลาดจาก TOA ซึ่งจะมีให้เลือกใช้ทั้งแบบฟิล์มสีสนิดเงา กึ่งเงา และแบบชนิดด้าน

กลุ่มผลิตภัณฑ์สีงานเหล็กที่เหมาะกับเหล็กกัลวาไนซ์ จาก TOA

กลุ่มผลิตภัณฑ์สีงานเหล็กที่เหมาะกับเหล็กกัลวาไนซ์ จาก TOA

กลุ่มผลิตภัณฑ์สีงานเหล็กที่เหมาะกับเหล็กกัลวาไนซ์ รวมถึงโลหะมันวาวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เหล็กชุบซิงค์ อะลูมิเนียม สเตนเลส ของ TOA ถูกพัฒนาขึ้นในรูปแบบของการเป็นสีทับหน้าที่มีการรวมสีรองพื้นกันสนิมเข้าไว้ด้วยกันในกระป๋องเดียว สะดวกสบาย แห้งเร็ว ประหยัดเวลา แต่ยังคงคุณสมบัติให้การยึดเกาะพื้นผิวได้อย่างดีเยี่ยม โดยขอแนะนำ 3 ผลิตภัณฑ์ให้คุณได้เลือกใช้กัน ดังนี้

1.สีเคลือบทับหน้ารวมรองพื้นกันสนิมคุณภาพสูง TOA GLIPTON 2IN1

ผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดจากทีโอเอ TOA GLIPTON 2IN1 เป็นสีน้ำมันอะคริลิค สูตรทนทานพิเศษ ป้องกันสนิมได้ดีเยี่ยมแบบไม่ต้องทารองพื้นเพิ่ม เพราะมี Active Zinc Technology นอกจากนี้ยังแห้งเร็ว จึงช่วยประหยัดเวลาในการทำงาน ส่วนการยึดเกาะนั้นดีเยี่ยม ทนทานไม่ลอกล่อน ทาได้ทุกงานเหล็ก โดยเฉพาะเหล็กดำ เหล็กกัลวาไนซ์ เหล็กชุบซิงค์ รวมถึงโลหะอื่นๆ

2. สีเคลือบสูตรน้ำ รวมรองพื้น สำหรับหลากหลายพื้นผิว ทีโอเอ อะควาชิลด์

ทีโอเอ อะควาชิลด์ เป็นสีเคลือบสูตรน้ำที่รวมรองพื้นไว้ในตัว ผลิตมาจากนาโนอะคริลิกแอดวานซ์โมดิฟายด์คุณภาพสูง ที่สำคัญตัวนี้จะมีกลิ่นอ่อน ไม่ทำให้ปวดหัว เพราะแห้งไวภายใน 1 ชั่วโมง สำหรับเนื้อฟิลม์ก็สามารถยึดเกาะได้ดี ป้องกันสนิม ยางไม้ ด่างในปูน พร้อมปกป้องทุกสภาวะ สำหรับการผสมไม่ยุ่งยาง เพราะสามารถทาได้เลยโดยที่ไม่ต้องนำไปผสมกับทินเนอร์ เรียกได้ว่า ใช้งานง่ายสุดๆ

3. สีเคลือบทับหน้ารวมรองพื้นกันสนิม เอ็มดี 2IN1 รัสท์เทค

เอ็มดี 2IN1 รัสท์เทค สีน้ำอะคริลิก คุณภาพดี ที่มีคุณสมบัติพิเศษเพราะยึดเกาะพื้นผิวได้อย่างดีเยี่ยม ทนต่อรอบขีดข่วนต่างๆ รวมทั้งยังแห้งเร็ว ช่วยให้ลดขั้นตอนการทำงาน ประหยัดเวลา นอกจากนี้ยังช่วยปกป้องพื้นผิวเหล็กจากสนิมได้ดี โดยที่ไม่ต้องทารองพื้น เหมาะกับการทาได้ทุกงานเหล็ก โดยเฉพาะเหล็กกัลวาไนซ์ เหล็กชุบซิงค์ รวมทั้งโลหะอื่นๆ

สำหรับงานทาสีเคลือบกลุ่มผลิตภัณฑ์ระบบสีงานเหล็กทั่วไป (ทับหน้า + รองพื้นกันสนิม)

สีเคลือบทับหน้ารวมรองพื้นกันสนิมคุณภาพสูง TOA GLIPTON 2IN1

สรุป

ทั้งหมดนี้คือข้อมูลที่จะทำให้คุณได้เข้าใจทั้งภาพรวม และเห็นความแตกต่างระหว่างเหล็กดำ และเหล็กกัลวาไนซ์ โดยสามารถเปรียบเทียบและเลือกใช้งานโดยดูได้จาก จุดเด่น ความแข็งแรง และความทนทานอย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเหล็กแบบไหนก็มีโอกาสเกิดสนิม ดังนั้นเราจึงควรปกป้องพื้นผิวโครงสร้างเหล็กของเราด้วยการเลือกสีทาเหล็กเพื่อป้องกันสนิมเอาไว้จะได้ช่วยยืดอายุการใช้งานของเหล็ก ให้ใช้งานได้ทนนานมากยิ่งขึ้น


22515 Views