5 เหตุผลทำไมเราถึงควรมี พ.ร.บ. สุราก้าวหน้า

5 เหตุผลทำไมเราถึงควรมี พ.ร.บ. สุราก้าวหน้า

พ.ร.บ. สุราก้าวหน้า ผู้บริโภคถูกใจ ผู้ประกอบการถูกยกระดับ ธุรกิจกลางคืนเดินหน้าเต็มประสิทธิภาพ 

“ร่าง พ.ร.บ. สุราก้าวหน้า” คือ เงื่อนไขในการขออนุญาตผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2560 ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต ปี 2560 โดย พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า ร่างกฎหมายฉบับนี้จะเป็นตัวกำหนดกฎเกณฑ์ที่จะช่วยกระจายรายได้ให้ครอบคลุมไปถึงผู้ประกอบการขนาดย่อยทุกราย และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาดรายได้แก่กลุ่มนายทุนใหญ่เพียงกลุ่มเดียว



(ขอบคุณภาพจาก The MATTER) 

พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต ปี 2560 (กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปัจจุบัน)

พ.ร.บ.ภาษีสรรสามิต ปี 2560 คือ กฎหมายฉบับหนึ่งที่มีเงื่อนไขในการผลิดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่สร้างอุปสรรคแก่ผู้ประกอบการรายย่อย โดยในเงื่อยไขของ พ.ร.บ.ฉบับนี้มีกฎหมายในมาตรา 153 ที่ระบุไว้ชัดเจนว่า “ผู้ใดมีความประสงค์ที่จะผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือมีเครื่องกลั่นแอลกอฮอล์ไว้ในครอบครองต้องยื่นคำขออนุญาตแก่อธิบดี และต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขข้อตกลงตามที่กระทรวงกำหนดขึ้น”

เงื่อนไขส่วนที่เกิดปัญหาของ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต มีดังนี้

- ผู้ใดที่ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยไม่ได้รับใบอนุญาติจากอธิบดี ถึงแม้ว่าจะผลิตเพื่อบริโภคเองถือว่ามีความผิดทางกฎหมายตามมาตรา 5 “ห้ามผลิต หรือ บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่จัดทำขึ้นมาเองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี”

- โรงงานผลิตเหล้าขาวต้องใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือ ใช้คนงานน้อยกว่า 7 คน

- โรงงานผลิตเหล้ากลั่นเช่น วิสกี้ / บรั่นดี และกลั่นชนิดเอทานอลต้องมีปริมาณกำลังผลิต 90,000 ลิตร/ต่อวัน สำหรับ 28 ดีกรีเท่านั้น

- โรงงานผลิตเบียร์ต้องมีกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 10,000,000 ลิตรต่อปี

- ในกรณีของการตั้งบริษัทเบียร์ต้องจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10,000,000 บาท และมีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยเงินลงทุนที่ชำระแล้วไม่น้อยกว่า 10,000,000 บาท

- หากต้องการผลิตเบียร์เพื่อจำหน่ายในร้านค้าต้องมีขนาดกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 100,000 ลิตรต่อปีและไม่เกิน 1,000,000 ลิตรต่อปี

พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า  (กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยพรรคก้าวไกลที่อยู่ในระหว่างพิจารณา)

- เปลี่ยนแปลงกฎหมายในมาตรา 153 จาก “ผู้ใดมีความประสงค์ที่จะผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือมีเครื่องกลั่นแอลกอฮอล์ไว้ในครอบครองให้ยื่นคำขออนุญาตต่ออธิบดี” แก้ไขเป็น “ผู้ใดจะประสงค์ผลิตสุราเพื่อการค้า ให้ยื่นคำขออนุญาตต่ออธิบดี”

- ไม่กำหนดเกณฑ์ในการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งเหล้าและเบียร์

- ในกรณีของการตั้งบริษัทเบียร์ ไม่กำหนดทุนจดทะเบียน ยกเว้นแต่การกำหนดสัดส่วนของผู้ถือหุ้นสัญชาติไทย 



5 เหตุผลทำไมเราต้องมี พ.ร.บ. สุราก้าวหน้า (หากผ่านประชามติ)



1. Everywhere i go i see Alcohol drinks เที่ยวที่ไหนก็มีเครื่องดื่มให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อ



2. Make Alcohol Make Happiness อยากดื่มรสชาติไหนก็ต้มเองเลย! แถมไม่ผิดกฎหมายอีกด้วยนะ



3. Alcohol Drinks Festival In Thailand สร้างเทศกาลการท่องเที่ยวประจำปีของเหล่านักดื่ม แหล่งรวบรวมสุราเพื่อโชว์เอกลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในแต่ละท้องถิ่นทั่วประเทศไทย 



4. Growth อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปด้วยกันกับหน่วยงานเศรษฐกิจภาคอื่นๆ ตั้งแต่เริ่มคัดสรรวัตถุดิบจากเกษตรกร ฝ่ายจัดการบรรจุภัณฑ์ การขนส่งและการคมนาคมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สนับสนุนองค์การท่องเที่ยวของประเทศตลอดไปจนถึงร้านค้าทั่วไป เกิดการสร้างรายได้แก่ผู้คนในสังคมเพื่อลดอัตราการว่างงาน



5. New Alcohol Stores ผู้ประกอบการรายใหม่ทั่วประเทศ เพิ่มอัตราการจ้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ


หากคุณเห็นด้วยกับ พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า ฝากทุกคนช่วยกระจายข่าวสารนี้ให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกคนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์นี้ เพื่อช่วยกันผลักดันนโยบายนี้ให้สามารถใช้งานได้จริงในประเทศไทยของพวกเรา 

ติดตามข่าวสารของ “พ.ร.บ. สุราก้าวหน้า” ได้ที่