ซีแพค จับมือ บ้านจ๊างนัก ปั้นช้างผ้าใบคอนกรีตรักษ์โลก สร้างแลนด์มาร์คเชียงใหม่

ซีแพค จับมือ บ้านจ๊างนัก ปั้นช้างผ้าใบคอนกรีตรักษ์โลก สร้างแลนด์มาร์คเชียงใหม่
ซีแพค จับมือ พิพิธภัณฑ์บ้านจ๊างนัก ลงนามความร่วมมือ “การสืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น” ปั้นช้างจากผ้าใบคอนกรีตรักษ์โลก สร้างแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัดเชียงใหม่

นายชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารความยั่งยืน เอสซีจี (ที่ 2 จากขวา) พร้อมด้วย นายภิญโญ พัวศรีพันธ์ นายอำเภอสันกำแพง (ที่ 5 จากขวา) ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือ “การสืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น” ปั้นช้างจากผ้าใบคอนกรีตรักษ์โลก สร้างเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างบริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด ( CPAC)  โดยนายดุสิต ศุทธกิจ Head of Urbanized Solution Business (ที่ 4 จากขวา) กับ สล่าเพชร วิริยะ (ที่ 3 ขวา) ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์บ้านจ๊างนัก โดยนำนวัตกรรมผ้าใบคอนกรีตที่ผลิตจากซีเมนต์และใยสังเคราะห์ มีความแข็งแรงคงทนทึบน้ำ สามารถจัดรูปทรงได้ตามที่ต้องการ และเหมาะกับงานสร้างสรรค์รูปทรงเฉพาะ เช่น เฟอร์นิเจอร์ หรือของตกแต่ง นอกจากนี้ ยังได้นำปูนเสือ ซีเมนต์ ซุปเปอร์ ก่อ ฉาบ เท ที่มีคุณสมบัติในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิต ได้อย่างน้อย 20  กิโลกรัมต่อตันปูนซีเมนต์ หรืออย่างน้อย 1 กิโลกรัมต่อปูนซีเมนต์ 1 ถุง และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลาก SCG Green Choice มาใช้ในการปั้นช้าง โดยผสมผสานระหว่างงานศิลปะท้องถิ่นของบ้านจ๊างนักกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ของ CPAC Green Solutionเพื่อเป็นชิ้นงานตัวอย่างและนำไปแสดงในจุดแลนด์มาร์คใหม่ที่ประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ 

นายชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารความยั่งยืน เอสซีจี กล่าวว่า “ในอดีตได้มีการนำผลงานช้างปูนปั้น จากฝีมือของสล่าเพชร พิพิธภัณฑ์บ้านจ๊างนัก ไปตั้งที่โรงงานปูนซีเมนต์ลำปาง สระบุรี และนครศรีธรรมราช จนได้รับการชื่นชมจากแขกผู้มาเยี่ยมชมโรงงานปูนซีเมนต์เป็นอย่างมาก ครั้งนี้ก็เป็นโอกาสอันดีที่จะนำผลงานศิลป์ที่ทรงคุณค่ามาผสานกับนวัตกรรมด้านการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ CPAC Green Solution ที่สามารถสร้างสรรค์เป็นงานดีไซน์ในรูปแบบใหม่ๆ ไม่รู้จบ อย่างโปรเจคปั้นช้างนี้ นอกจากจะต่อยอดในการนำเทคโนโลยีการก่อสร้างมาประยุกต์ใช้กับงานศิลปะภูมิปัญญาท้องถิ่นของบ้านจ๊างนักแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้แก่ช่างฝีมือพื้นบ้าน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและถือเป็นการสืบทอดงานศิลปะสมัยใหม่ให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ ได้เห็นคุณค่าและอนุรักษ์ไว้ให้เป็นมรดกอยู่คู่ชุมชนต่อไป ซี่งสอดคล้องกับแนวทาง ESG 4 Plus ของเอสซีจีอีกด้วย”

 
 

TAGS: #แลนด์มาร์ค #ซีแพค #พิพิธภัณฑ์บ้านจ๊างนัก #เชียงใหม่ #SCG