TOP



ข่าวสารและกิจกรรมทั้งหมด

รู้ก่อนซื้อ มอเตอร์กระแสไฟฟ้าสลับ (AC Motor)

วันที่
2565-07-09

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current Motor)

                ไฟฟ้า คือ พลังงานที่มีความสำคัญต่อชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวกให้กับเราทุกวันนี้ต่างก็ต้องพึ่งพากระแสไฟฟ้าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพัดลม, แอร์, โทรทัศน์ หรือแม้แต่ระบบรักษาความปลอดภัยในยุคนี้ก็เลือกที่จะใช้เป็นระบบไฟฟ้าเช่นกัน เมื่อชีวิตของเราต้องอยู่ใกล้กับไฟฟ้าถึงขนาดนี้ จึงควรศึกษาเรื่องราวที่น่าสนใจของไฟฟ้าไว้บ้าง ถ้าเกิดปัญหาเรื่องระบบไฟภายในบ้านจะได้รู้ว่าเกิดจากสาเหตุใด วันนี้กรุงเทพเกียร์ฯจึงขอนำความรู้เรื่องระบบไฟฟ้า 1เฟส กับ 3 เฟส ที่ถูกใช้งานมากที่สุด

ประเภทของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบ่งตามระบบการป้อนไฟฟ้ากระแสสลับให้กับมอเตอร์ ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภทคือ

                - มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบบ 1 เฟส (Single Phase Motor)

                - มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบบ 3 เฟส (Three Phase Motor)


มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส

                ไฟฟ้า 1 เฟส คือ ระบบไฟที่ใช้ภายในบ้านเรือน มีการจ่ายไฟที่เหมาะสมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน จะให้แรงดันไฟฟ้าที่ 220-230 โวลท์ มีความถี่ที่ 50 Hz โดยจะมีสายไฟที่ประกอบอยู่ 2 สาย คือ สายไลน์ที่มีชื่อเรียกอีก 2 แบบ อย่างสายเฟส และสายไฟ จะมีตัวอักษรที่เขียนกำกับอยู่เป็นตัว L (Line) สามารถทดสอบว่ามีไฟหรือไม่ด้วยไขควงวัดไฟได้ ถ้าแตะแล้วที่หัวไขควงเกิดการเรืองแสง นั่นหมายถึงว่าสายไฟนั้นมีกำลังไฟไหลผ่านแล้ว ส่วนอีกหนึ่งสาย คือ สายนิวทรอลหรือที่เรียกว่าสายศูนย์จะมีการเขียนกำกับไว้เป็นตัว N (Neutral) สายชนิดนี้จะไม่สามารถใช้ไขควงมาวัดไฟฟ้าได้ ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าเต้าเสียบปลั๊กไฟ 1 เต้า ภายในบ้านจะมีเพียง 2 ช่อง ถ้าใช้ไขควงตรวจไฟไปเสียบที่รูใดรูหนึ่ง จะปรากฏว่าไม่มีปฏิกิริยาใดๆ เหมือนกับว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน แต่ถ้ามีการเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านแล้วเปิดใช้งาน พอกลับไปตรวจอีกครั้ง ก็ปรากฏว่ามีกระแสไฟไหลผ่านตามปกติ

                ทั้งนี้เป็นเพราะการใช้งานจะต้องมีการเสียบให้ครบทั้ง 2 ช่อง และภายในสายไฟจะมีสายที่ใช้งานร่วมกันอีก 2 สาย ทำให้กระแสไฟครบวงจร ทั้งนี้ยังรวมไปถึงปลั๊กที่มี 3 ช่อง ด้วยเช่นกัน ส่วนช่องที่มีเพิ่มขึ้นมาจะเป็นตัวเสียบของสายดินที่ช่วยป้องกันปัญหาไฟฟ้ารั่วแล้วเกิดอันตรายต่อทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าและผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้าน ระบบไฟฟ้า 1 เฟส จะมีการติดตั้งที่สะดวก ขอมาติดตั้งได้ง่าย ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งน้อย แต่ถ้ามองในระยะยาวแล้ว ไม่ค่อยคุ่มค่าเพราะค่อนข้างเปลืองพอสมควร


มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส

                ไฟฟ้า 3 เฟส จะให้แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไลน์กับไลน์ในขนาด 380-400 โวลท์ พร้อมการทำงานของแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไลน์กับสายนิวทรอลในขนาด 220-230 โวลท์ และมีความถี่ที่ 50Hz โดยมีสายไฟในระบบถึง 4 สาย ที่ประกอบไปด้วยสายไลน์แบบมีไฟ 3 เส้น กับสายนิวทรอลแบบไม่มีไฟ 1 เส้น การทำงานของระบบไฟฟ้า 3 เฟส จะเน้นเรื่องของแสงสว่าง, อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ในโรงงาน

                ระบบไฟฟ้าลักษณะนี้ จะนิยมนำไปใช้กับเครื่องจักรอุตสาหกรรมในโรงงานมากกว่าใช้ภายในบ้าน เนื่องด้วยเครื่องจักรอุตสาหกรรมมีแรงดันไฟฟ้าสูง แม้แต่แสงสว่างภายในโรงงานก็ต้องใช้เป็นจำนวนมาก และเวลาเปิดก็มักจะเปิดพร้อมกัน แต่ก็ใช่ว่าระบบไฟฟ้า 3 เฟส จะใช้งานภายในบ้านไม่ได้ เพียงแต่จะต้องไม่ใช้ไฟฟ้า 3 เฟส กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ โดยตรง แต่จะต้องมีการแบ่งใช้ไฟฟ้า 3 เฟส ออกมาเป็น 3 ชุด ชุดละ 1 เฟส แล้วกระจายออกไปตามจุดต่างๆ ภายในบ้าน เน้นเฉลี่ยการใช้ไฟในแต่ละส่วนที่เท่าๆ กัน ทำให้กระแสไฟมีความสมดุล สามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า และแสงสว่างภายในบ้านได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังทำให้ค่าไฟลดลงอีกด้วย


วิธีการอ่าน NamePlate Motor

                สำหรับตัวมอเตอร์เองซึ่งเป็นเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้ไฟฟ้าในการทำงาน ก็จะมีป้ายหรือที่เรียกกันว่า nameplate (เนมเพลท) อยู่บนตัวมอเตอร์ด้วยเหมือนกัน ลองมาดูกันว่า nameplate ของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส จะมีรายละเอียดอะไรให้อ่านกันบ้าง

                - ชื่อรุ่นกับชื่อแบรนด์ของมอเตอร์นั้นๆ เป็นการบอกว่ามอเตอร์ตัวนี้เป็นรุ่นอะไร แบรนด์ไหนตรงกับที่ซื้อมาหรือไม่

               - ระดับแรงดันไฟฟ้าด้วยค่า Volt (V) โดยจะแบ่งตามวิธีการต่อไฟเข้ามอเตอร์ไฟฟ้า

               - กำลังกระแสไฟฟ้าด้วยค่า Amp (A)

               - กำลังงานที่ใช้เป็น KW หรือ แรงม้า (HP)

               - ความเร็วรอบ r/min หรือ RPM

               - ข้อมูลอื่นๆของมอเตอร์ เช่น น้ำหนักหน่วยเป็น kg , ประสิทธิภาพของตัวมอเตอร์ เช่น IE2, มาตรฐานเรื่องของการป้องกันฝุ่นและน้ำ (IP), Insulation Class และอื่นๆ

                เหตุผลที่ต้องการให้ได้รู้จักกับป้าย nameplate ของมอเตอร์ไฟฟ้า นั่นเพราะก่อนนำไปใช้งานทุกครั้งเราต้องตรวจดูว่า กระแสไฟฟ้า, กำลังไฟ, แรงดันไฟฟ้าและอื่นๆ ว่าเหมาะสมกับการใช้งานของมอเตอร์หรือไม่ เนื่องจากเรื่องไฟฟ้าไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ หากพลาดขึ้นมาอาจเกิดอุบัติเหตุได้ การอ่านข้อมูลเหล่านี้จึงช่วยให้คุณปลอดภัยมากขึ้นได้ด้วยนั่นเอง


ข้อควรระวัง:

                ในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์เป็นส่วนประกอบ ห้ามใช้เครื่องใช้ประเภทนี้ในช่วงที่ไฟตก หรือแรงดันไฟฟ้าไม่ถึง 220 โวลต์ เนื่องจากมอเตอร์จะไม่หมุนและทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าดันกลับ จะทำให้ขดลวดร้อนจัดจนเกิดไหม้เสียหายได้ เนื่องจากมอเตอร์กำลังหมุนจะเกิดการเหนี่ยวนำไฟฟ้าขึ้นทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าซ้อนขึ้นภายในขดลวด แต่มีทิศทางการไหลสวนทางกับกระแสไฟฟ้าที่มาจากแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าเดิม ทำให้ขดลวดของมอเตอร์ไม่ร้อนจนเกิดไฟไหม้ได้


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ มอเตอร์ THAISIN ได้ที่

Line official : @snptrading

Tel. 02-443-6300

“คุ้มกว่าใครต้อง...ไทยสิน”

มอเตอร์ไฟฟ้า, มอเตอร์, มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ,ไทยสิน, THAISIN, แบรนด์ไทย,โรงงานผลิตมอเตอร์