1 / 130

การจดทะเบียนพาณิชย์

การจดทะเบียนพาณิชย์. สำหรับ เจ้าหน้าที่เทศบาลและ อบต. สำนักทะเบียนธุรกิจ regis_c@dbd.go.th โทร. 0 2547 4446. ไม่เป็นนิติบุคคล. หัวข้อการบรรยายประกอบด้วย. 1 . กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนพาณิชย์. 2 . ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์.

Download Presentation

การจดทะเบียนพาณิชย์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจดทะเบียนพาณิชย์ สำหรับ เจ้าหน้าที่เทศบาลและ อบต. สำนักทะเบียนธุรกิจ regis_c@dbd.go.th โทร. 0 2547 4446 สำนักทะเบียนธุรกิจ

  2. ไม่เป็นนิติบุคคล สำนักทะเบียนธุรกิจ

  3. หัวข้อการบรรยายประกอบด้วยหัวข้อการบรรยายประกอบด้วย 1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนพาณิชย์ 2. ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์ 3. พาณิชยกิจ ผู้ประกอบพาณิชยกิจ และพาณิชยกิจ ที่ต้องจดทะเบียน 4. กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียน 5. สำนักงานทะเบียนพาณิชย์ พนักงานเจ้าหน้าที่ นายทะเบียนพาณิชย์ และบัตรประจำตัว สำนักทะเบียนธุรกิจ

  4. 6. แบบพิมพ์ และอัตราค่าธรรมเนียม 7. การจัดทำคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ 8. หลักเกณฑ์การรับจดทะเบียนพาณิชย์ 9. การรายงานผลการจดทะเบียนพาณิชย์ 10. หน้าที่ของผู้ประกอบพาณิชยกิจ 11. บทกำหนดโทษ 12. ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการจดทะเบียนพาณิชย์ สำนักทะเบียนธุรกิจ

  5. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนพาณิชย์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนพาณิชย์ 1.พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 2. พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 3. พระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการเป็นพาณิชยกิจ พ.ศ. 2546 4. กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2540) ออกตามความ ในพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 สำนักทะเบียนธุรกิจ

  6. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ) 5.ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบ พาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2553 6.ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ และ นายทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2552 7. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การตั้งสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2553 สำนักทะเบียนธุรกิจ

  7. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ) 8. ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนด แบบพิมพ์ พ.ศ. 2549 9. คำสั่งสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ ที่ 1/2553 เรื่องหลักเกณฑ์ และวิธีการกำหนดเลขทะเบียนพาณิชย์ และเลขคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ 10 . คำสั่งสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ ที่ 2/2553 เรื่อง ให้จัดส่งสถิติและข้อมูลการจดทะเบียนพาณิชย์ สำนักทะเบียนธุรกิจ

  8. ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์ 1. เพื่อประโยชน์ทางสถิติและทราบหลักฐานของ ผู้ประกอบพาณิชยกิจ 2. เพื่อประโยชน์ในการควบคุมหรือส่งเสริมด้านการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม รวมทั้งเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น 3.ผู้ประกอบพาณิชยกิจสามารถใช้เป็นหลักฐานใน ทางการค้าได้ สำนักทะเบียนธุรกิจ

  9. กิจการที่เป็นพาณิชยกิจกิจการที่เป็นพาณิชยกิจ พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 มาตรา 6ให้ถือกิจการดังต่อไปนี้เป็นพาณิชยกิจ ได้แก่ 1. การซื้อ การขาย การขายทอดตลาด การแลกเปลี่ยน 2. การให้เช่า การให้เช่าซื้อ 3. การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนค้าต่าง 4. การขนส่ง 5. การหัตถกรรม การอุตสาหกรรม 6. การรับจ้างทำของ สำนักทะเบียนธุรกิจ

  10. กิจการที่เป็นพาณิชยกิจ (ต่อ) 7. การให้กู้ยืมเงิน การรับจำนำ การรับจำนอง 8. การคลังสินค้า 9. การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การเครดิตฟองซิเอร์ การโพยก๊วน 10. การรับประกันภัย 11. กิจการอื่นซึ่งกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา สำนักทะเบียนธุรกิจ

  11. พระราชกฤษฎีกา กำหนดกิจการเป็นพาณิชยกิจ พ.ศ. 2546ได้แก่ 1. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต 2. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ 3. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์ 4. การให้บริการตู้เพลง สำนักทะเบียนธุรกิจ

  12. พาณิชยกิจที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่ 1. การค้าเร่ การค้าแผงลอย 2. พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล 3. พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น สำนักทะเบียนธุรกิจ

  13. 4. พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม 5. พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ 6. พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา สำนักทะเบียนธุรกิจ

  14. พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่ 1.ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 83 (พ.ศ. 2515) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2515 กำหนดให้ผู้ประกอบ พาณิชยกิจซึ่งเป็นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด และ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ สำนักทะเบียนธุรกิจ

  15. 2.ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 93 (พ.ศ. 2520) ลงวันที่ 28 มีนาคม 2520 กำหนดให้พาณิชยกิจของ กลุ่มเกษตรกร ซึ่งได้จดทะเบียนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515 ไม่ อยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ 2499 สำนักทะเบียนธุรกิจ

  16. ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ผู้ประกอบพาณิชยกิจ หมายความว่า บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลซึ่งประกอบพาณิชยกิจเป็นอาชีพปกติ และให้หมายความรวมถึงผู้เป็นหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิด กรรมการ และผู้จัดการด้วย 1. กรณีเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียว หมายถึง เจ้าของ หรือผู้จัดการในกรณีที่ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ดำเนินกิจการ แทน สำนักทะเบียนธุรกิจ

  17. ผู้ประกอบพาณิชยกิจ (ต่อ) 2. กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือคณะบุคคลหมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดทุกคน หรือผู้จัดการในกรณีที่ตั้งบุคคลอื่นเป็น ผู้ดำเนินกิจการแทน 3. กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วน จำกัด หมายถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด และให้รวมถึงผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด และรวมถึงหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างนั้นด้วย สำนักทะเบียนธุรกิจ

  18. ผู้ประกอบพาณิชยกิจ (ต่อ) 4. กรณีเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด หมายถึงบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด และให้รวมถึงกรรมการด้วย 5. กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศที่มาเปิดสำนักงาน สาขาในประเทศไทย และแต่งตั้งผู้จัดการดำเนินงานในสำนักงานสาขา หมายถึง นิติบุคคลต่างประเทศ กรรมการ หรือผู้จัดการสาขาในประเทศไทย สำนักทะเบียนธุรกิจ

  19. ผู้ประกอบพาณิชยกิจ (ต่อ) 6. กรณีวิสาหกิจชุมชนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจ ชุมชน พ.ศ. 2548 หมายถึงวิสาหกิจชุมชนหรือผู้มี อำนาจทำการแทนวิสาหกิจชุมชน 7. กรณีนิติบุคคลประเภทอื่น หมายถึง นิติบุคคลประเภทอื่นตามที่มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้ สำนักทะเบียนธุรกิจ

  20. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียน ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 10 พ.ย.2553 ข้อ 4. กำหนดให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ดังต่อไปนี้ ยกเว้นผู้ประกอบพาณิชยกิจที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ สำนักทะเบียนธุรกิจ

  21. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียน (ต่อ) 1. การทำโรงสีข้าวและการทำโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร 2. การขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตามคิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขาย มีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป สำนักทะเบียนธุรกิจ

  22. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียน (ต่อ) 3. การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนค้าต่าง ซึ่งทำการ เกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียว หรือ หลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้น ในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป สำนักทะเบียนธุรกิจ

  23. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียน (ต่อ) 4. การประกอบหัตถกรรมหรือการอุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใดๆอย่างเดียว หรือหลายอย่างก็ตามและขายสินค้า ที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีค่า รวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป สำนักทะเบียนธุรกิจ

  24. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียน (ต่อ) 5. การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟ หรือ เรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่ง โดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ การทำโรงแรม สำนักทะเบียนธุรกิจ

  25. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียน (ต่อ) ข้อ 5. กำหนดให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจดังต่อไปนี้ ไม่ว่า จะเป็นบุคคลธรรมดา หรือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ บริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่า ด้วย บริษัทมหาชนจำกัด ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ สำนักทะเบียนธุรกิจ

  26. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียน (ต่อ) 1. การขายหรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง 2. การขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี 3. การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 4. การบริการอินเทอร์เน็ต สำนักทะเบียนธุรกิจ

  27. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียน (ต่อ) 5. การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย 6. การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 7. การผลิต รับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง พาณิชยกิจตาม 3-6 เป็นการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สำนักทะเบียนธุรกิจ

  28. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียน (ต่อ) 8. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต 9. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ 10. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์ 11. การให้บริการตู้เพลง 12. โรงงานแปรสภาพแกะสลักและการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีกการค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง สำนักทะเบียนธุรกิจ

  29. หมายเหตุ 1. ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสถานประกอบการ อยู่ในศูนย์การค้า หรือภายในอาคารที่เป็นแหล่งการค้า 2. ผู้ประกอบการที่จัดสินค้าไปขายหรือให้เช่านอกสถาน ที่ตั้งเป็นประจำ ณ สถานที่ใดๆ เช่น ตลาดนัด ไม่ถือว่า เป็นการค้าเร่หรือการค้าแผงลอย โดยให้ถือว่าสถานที่ดังกล่าวข้างต้นเป็นสถานที่ประกอบพาณิชยกิจ และมี หน้าที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย (เฉพาะกรณี ขาย ให้เช่า ซีดีฯ ที่เกี่ยวกับการบันเทิง) สำนักทะเบียนธุรกิจ

  30. กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนกำหนดระยะเวลาการจดทะเบียน 1. การจดทะเบียนพาณิชย์ (ตั้งใหม่) ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันเริ่มประกอบพาณิชยกิจ สำนักทะเบียนธุรกิจ

  31. กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียน (ต่อ) 2. การจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการ ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องยื่นจดทะเบียน แก้ไข เปลี่ยนแปลง รายการ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่จดทะเบียนไว้เดิม สำนักทะเบียนธุรกิจ

  32. รายการที่ต้องยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลง คือ 1. เปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ 2. เลิกประกอบพาณิชยกิจบางส่วน หรือเพิ่มใหม่ 3. เพิ่มหรือลดเงินทุน 4. ย้ายสำนักงานใหญ่ 5. เปลี่ยนผู้จัดการ 6. เจ้าของหรือผู้จัดการเปลี่ยนที่อยู่ สำนักทะเบียนธุรกิจ

  33. 7. ย้าย เลิก หรือเพิ่มสาขา โรงเก็บสินค้า หรือตัวแทน ค้าต่าง 8. แก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วน (หุ้นส่วนเข้า/ออก) เงินลงหุ้นจำนวนเงินลงทุนของห้าง 9. จำนวนเงินทุน จำนวนหุ้น และมูลค่าหุ้นของบริษัทจำกัด จำนวนและมูลค่าหุ้นที่บุคคลแต่ละสัญชาติถืออยู่ 10. รายการอื่นๆ เช่น แก้ไขชื่อเว็บไซต์ ชื่ออักษรโรมันฯลฯ สำนักทะเบียนธุรกิจ

  34. กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียน (ต่อ) 3. การจดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องยื่นจดทะเบียน เลิก ประกอบพาณิชยกิจภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเลิก ประกอบพาณิชยกิจ สำนักทะเบียนธุรกิจ

  35. สำนักงานทะเบียนพาณิชย์สำนักงานทะเบียนพาณิชย์ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์ ประกอบด้วย 1. สำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ 2. สำนักงานทะเบียนพาณิชย์กรุงเทพมหานคร 3. สำนักงานทะเบียนพาณิชย์เมืองพัทยา 4. สำนักงานทะเบียนพาณิชย์เทศบาล/สำนักงานทะเบียน พาณิชย์องค์การบริหารส่วนตำบล สำนักทะเบียนธุรกิจ

  36. พนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์พนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า บุคคลซึ่งรัฐมนตรีได้แต่งตั้งให้เป็นผู้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ มีอำนาจ ดังนี้ 1. เข้าไปทำการตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ในระหว่างเวลาทำงาน 2. ตรวจดู คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนพาณิชย์ สำนักทะเบียนธุรกิจ

  37. พนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์พนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ นายทะเบียนพาณิชย์ หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งรัฐมนตรีได้แต่งตั้งให้เป็นผู้มีหน้าที่รับจดทะเบียน พาณิชย์ มีอำนาจหน้าที่ • รับจดทะเบียนพาณิชย์และออกใบทะเบียนพาณิชย์ • ออกคำสั่งเรียกผู้ประกอบพาณิชยกิจมาสอบสวน • เข้าไปทำการตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบ พาณิชยกิจ ในระหว่างเวลาทำงาน สำนักทะเบียนธุรกิจ

  38. บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ นายทะเบียนพาณิชย์ • บัตรประจำตัวของพนักงานเทศบาล/พนักงานส่วนตำบล • คำสั่งที่เทศบาล/อบต.แต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่/นายทะเบียนพาณิชย์ • ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การตั้งสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2553 สำนักทะเบียนธุรกิจ

  39. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 กำหนดให้ ให้พนักงานเทศบาล/พนักงานส่วนตำบลตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปซึ่งนายกเทศมนตรี/นายก อบต. มอบหมายให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 ภายในเขตอำนาจหน้าที่ของเทศบาล/อบต. แล้วแต่กรณี สำนักทะเบียนธุรกิจ

  40. แบบพิมพ์ 1. คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) ใช้สำหรับการยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ (ตั้งใหม่) แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการ และเลิกประกอบพาณิชยกิจ สำนักทะเบียนธุรกิจ

  41. สำนักทะเบียนธุรกิจ

  42. สำนักทะเบียนธุรกิจ

  43. 2. ใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค. 0403) - ใช้สำหรับเป็นใบสำคัญเพื่อมอบให้กับผู้ขอ จดทะเบียนพาณิชย์ใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงรายการที่แตกต่างไปจากรายการในใบทะเบียนพาณิชย์เดิม หรือกรณีขอใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ สั่งซื้อใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค. 0403) และแฟ้มทะเบียนพาณิชย์ ได้ที่ สำนักข่าวพาณิชย์ ฝ่ายบริการงานพิมพ์ เบอร์โทรศัพท์ 0 25115067-77 ต่อ 378, 382, 384, 600 เบอร์มือถือ 08 11336836 สำนักทะเบียนธุรกิจ

  44. สำนักทะเบียนธุรกิจ

  45. 3. แบบบริการข้อมูลธุรกิจ ใช้สำหรับตรวจดูเอกสาร คัดสำเนา และรับรองสำเนาเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนพาณิชย์ที่นายทะเบียน เก็บรักษาไว้ และออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ สำนักทะเบียนธุรกิจ

  46. สำนักทะเบียนธุรกิจ

  47. 4. คำร้อง ใช้สำหรับร้องขอให้นายทะเบียนดำเนินการแก้ไข ในเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่ต้องจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการ เช่น การขอเปลี่ยนคำนำหน้านาม ชื่อตัว ชื่อสกุลของ ผู้ประกอบพาณิชยกิจ เปลี่ยนชื่อถนน หรือแขวงหรือเขต หรือเปลี่ยนสัญชาติ เป็นต้น สำนักทะเบียนธุรกิจ

  48. สำนักทะเบียนธุรกิจ

  49. 5. หนังสือมอบอำนาจ ใช้ในกรณีที่ผู้ประกอบพาณิชยกิจยื่นจดทะเบียนด้วยตนเองไม่ได้ สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนได้ สำนักทะเบียนธุรกิจ

  50. สำนักทะเบียนธุรกิจ

More Related