1 / 39

ฝากทรัพย์ ( deposit )

ฝากทรัพย์ ( deposit ). ฝากทรัพย์ : คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ฝาก ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับฝาก และผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินไว้ในอารักขาของตน แล้วจะคืนให้. ความหมาย (657). ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์. 1. เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ด้วยด้วยการส่งมอบ.

Download Presentation

ฝากทรัพย์ ( deposit )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ฝากทรัพย์ (deposit) • ฝากทรัพย์ : คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ฝาก ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับฝาก และผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินไว้ในอารักขาของตน แล้วจะคืนให้ • ความหมาย (657)

  2. ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ • 1. เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ด้วยด้วยการส่งมอบ

  3. ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ • ก่อให้เกิดหนี้ฝ่ายเดียวแก่ผู้รับฝากโดยมีหน้าที่ในการดูแลสงวนดูแลทรัพย์สินที่ฝาก และจะต้องส่งคืนทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ฝาก • ส่วนผู้ฝากไม่มีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติ • 2. เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทนแต่อาจมี ค่าตอบแทนได้

  4. คำถาม • สัญญาฝากทรัพย์ที่มีบำเหน็จค่าฝาก จะกลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนหรือไม่? • ฝ่ายหนึ่ง : เป็นสัญญาต่างตอบแทน (bilateral contract) • อีกฝ่ายหนึ่ง : ไม่เป็นมูลแห่งสัญญาฝากทรัพย์ ไม่ก่อให้เกิดหนี้แก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย

  5. คำถาม • สัญญาฝากทรัพย์ที่มีบำเหน็จ เป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือเปล่า? • ฝ่ายแรก : ฝากทรัพย์ เป็นสัญญาซึ่งทำให้เปล่า เมื่อมีการตกลงให้ค่าตอบแทนในการตกลงรักษาทรัพย์ ย่อมมิใช่สัญญาฝากทรัพย์ ถือว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน • ฝ่ายที่สอง : อาจมีการตกลงให้ค่าตอบแทนในการรับฝากได้ แต่ค่าตอบแทนจะต้องเป็นจำนวนเล็กน้อย

  6. ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ • สัญญาฝากทรัพย์ จะต้องมีข้อตกลงโดยชัดแจ้งว่าจะเก็บรักษาทรัพย์ไว้ในอารักขาเป็นสำคัญ • 3. เป็นสัญญาที่ว่าด้วยการเก็บทรัพย์ไว้ในอารักขา

  7. ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ • การที่ฝากทรัพย์ไว้เป็นแต่เพียงการมอบการครอบครอง • ผู้ฝากมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ ก็สามารถทำสัญญาฝากทรัพย์ได้ • 4. เป็นสัญญาที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์

  8. คำถาม • หากเกิดภัยพิบัติแก่ตัวทรัพย์สินที่ฝากไว้ ใครเป็นผู้รับผิดชอบ? • การที่กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนมายังผู้รับฝาก เป็นผลให้ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้น ยังคงต้องรับผลในภัยฯ ที่เกิดแก่ตัวทรัพย์นั้น ถ้าผู้รับฝากไม่ได้ทำผิดหน้าที่ และเป็นกรณีที่ผู้ฝากไม่อาจเรียกร้องให้ผู้รับฝากรับผิดชอบ

  9. ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ • ทรัพย์สิน ทรัพย์ที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง • 5. วัตถุ

  10. คำถาม • การฝากทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่าง สามารถทำได้หรือไม่? • ความเห็นแรก : ไม่ได้ เพราะโดยสภาพของทรัพย์สิน ย่อมไม่จำเป็นต้องมีการเก็บรักษา (อ.จี๊ด เศรษฐบุตร) • ความเห็นที่สอง : การฝากนั้นรวมทั้งการดูแลระมัดระวังมิให้ทรัพย์สินนั้นเกิดความเสียหายอันจะทำให้เจ้าของหรือผู้ฝากนั้นได้รับความเสียหาย (ลิขสิทธิ์)

  11. ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ลักษณะสำคัญของฝากทรัพย์ • 6. เป็นสัญญาที่ผู้ฝากสามารถเรียกเอาทรัพย์ที่ฝาก คืนได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการฝากทรัพย์ ที่มีกำหนดเวลาหรือไม่

  12. สัญญาฝากทรัพย์ชนิดต่างๆสัญญาฝากทรัพย์ชนิดต่างๆ • การฝากเงิน (มาตรา 672-673) • วิธีการเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรม (มาตรา 674-679) • เก็บของในคลังสินค้า (มาตรา 770-796) • การวางทรัพย์ไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์ (มาตรา 313-318)

  13. หน้าที่ของผู้รับฝาก • 1. การสงวนรักษาทรัพย์ที่รับฝาก (ม. 659) • การใช้ความระมัดระวังในการสงวนรักษาทรัพย์ • การฝากทรัพย์โดยไม่มีบำเหน็จค่าฝาก ใช้ความระมัดระวังรักษาทรัพย์ที่รับฝากเหมือนเคยประพฤติในกิจการของตน

  14. หน้าที่ของผู้รับฝาก:การสงวนรักษาทรัพย์ที่รับฝากหน้าที่ของผู้รับฝาก:การสงวนรักษาทรัพย์ที่รับฝาก • ผู้รับฝากเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างใดอย่างหนึ่ง จำต้องใช้ความระมัดระวังและฝีมือเท่าที่ธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น กล่าวคือ ถือเอาตามระดับความระมัดระวังที่ผู้ประกอบอาชีพนั้นๆ

  15. คำถาม

  16. หน้าที่ของผู้รับฝาก • 2. การคืนทรัพย์ซึ่งฝาก (ม. 662-664)

  17. คำถาม • ถ้าในระหว่างเวลาที่รับฝากทรัพย์นั้นไว้ เกิดดอกผลอันเกิดแต่ทรัพย์นั้น ผู้รับฝากก็ต้องคืนด้วยหรือไม่? • ม. 666 เมื่อคืนทรัพย์ ถ้ามีดอกผลเกิดแต่ทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเท่าใด ผู้รับฝากจำต้องส่งมอบพร้อมไปกับทรัพย์สินนั้นด้วย • ฎีกา 689/2472 กระบือที่ฝากไว้ตกลูกๆ นั้น ต้องเป็นของผู้ฝาก เจ้าหนี้ของผู้รับฝากจะยึดใช้หนี้ไม่ได้

  18. ผู้ฝาก หลัก: สัญญาฝากทรัพย์ ไม่ก่อให้เกิดหนี้แก่ผู้ฝาก การส่งมอบทรัพย์ เป็นส่วนที่จะทำให้สัญญาฝากทรัพย์สมบูรณ์ หรือ บริบูรณ์

  19. มาตรา 667 • เสียค่าใช้จ่ายในการคืนทรัพย์สินซึ่งฝาก ข้อสังเกต : ค่าใช้จ่ายนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้ฝากที่จะได้ทรัพย์คืน ดังนั้นการที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ฝากเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ย่อมเป็นการชอบแล้ว

  20. มาตรา 668 การเสียค่าใช้จ่ายอันควรแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งฝาก ข้อสังเกต : สัญญาฝากทรัพย์ ผู้ฝากเป็นผู้ได้รับประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว ดังนั้นจึงเป็นการเหมาะสมแล้วที่กำหนดให้ผู้ฝากเป็นผู้รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายข้างต้น

  21. มาตรา 669 การเสียค่าบำเหน็จ (ม.669) กรณีไม่ตกลงไว้ : ให้ถือเอาเวลาแห่งการคืนทรัพย์ กรณีตกลงไว้ : ต้องชำระเมื่อสิ้นระยะเวลานั้นเป็นคราวๆ ไป เช่น ชั่วโมง รายวัน รายเดือน หรือรายปี กรณีสัญญาฝากทรัพย์สิ้นสุดลงก่อนเวลาที่ได้กำหนด : ผู้ฝากต้องจ่ายค่าบำเหน็จเมื่อไหร่

  22. ประเด็นที่ฝากไว้จาก รศ.สุธีร์ ศุภนิตย์ • การชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้รับฝาก กรณี : ผู้รับฝากได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากทรัพย์ที่รับฝาก เช่น ทรัพย์อันตราย ; สัตว์ดุร้าย, วัตถุระเบิด ข้อสังเกต : ประมวลแพ่งของไทยไม่ได้กำหนดไว้ แต่ประมวลแพ่งของเยอรมัน และญี่ปุ่นได้กำหนด

  23. สิทธิของผู้รับฝาก 1. มีสิทธิได้รับบำเหน็จค่าฝาก กรณีฝากทรัพย์มีบำเหน็จ (ม.659 วรรคสอง และสาม) 2. มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่าย 3. มีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินที่ฝาก (มาตรา 670)

  24. ความสิ้นสุดแห่งสัญญาฝากทรัพย์ความสิ้นสุดแห่งสัญญาฝากทรัพย์ • 1. ครบกำหนดตามเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ • 2. ได้มีการส่งคืนทรัพย์ซึ่งฝาก • 3. มีการบอกเลิกสัญญา • 4. ทรัพย์ซึ่งรับฝากเกิดสูญหายหรือวินาศทั้งหมด

  25. อายุความฝากทรัพย์ 1. กรณีผู้ฝากซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้รับฝาก ไม่มีอายุความ เป็นเรื่องเจ้าของใช้สิทธิ์ติดตามเอาคืนทรัพย์ 2. กรณีฟ้องเรียกทรัพย์ที่ฝากคืน หรือให้ใช้ราคาทรัพย์แทนตามสัญญาฝากทรัพย์ใช้อายุความ 10 ปี ตามปพพ. ม.193/30 3. ฟ้องเรียกค่าบำเหน็จฝากทรัพย์ ชดใช้ค่าใช้จ่าย ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เกี่ยวกับการฝากทรัพย์ มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสัญญา (ม. 671)

  26. คำถาม • การนำรถยนต์ไปจอดไว้ที่สยามสแควร์เป็นการฝากทรัพย์หรือไม่? • ไม่ใช่เป็นการฝากทรัพย์ เพราะมิได้มีการตกลงว่าผู้รับฝากจะเก็บรักษารถยนต์ไว้แล้วจะคืนให้ (ฎีกา 1819/2527)

  27. คำถาม • การนำรถยนต์ไปจอดไว้ที่สวนสัตว์เขาดินถือว่าเป็นการฝากทรัพย์หรือไม่? • ไม่ใช่เป็นการฝากทรัพย์ เพราะมิได้มีการตกลง ที่จะเก็บรักษาทรัพย์สินที่ฝาก (ฎีกา 1538/2526)

  28. คำถาม • การมอบรถยนต์แก่พนักงานของภัตตาคารเพื่อให้ดูแลระหว่างที่ลูกค้าไปรับประทานอาหารในภัตตาคาร? • การที่พนักงานของภัตตาคารรับรถยนต์และกุญแจรถมาจากเจ้าของ แล้วขับไปจอดในที่จอดรถซึ่งเป็นถนนสาธารณะหน้าร้าน แล้วเก็บกุญแจรถ มีใบรับฝากให้โจทก์... ถือเป็นการฝากทรัพย์ (ฎีกา 1861/2522 และ ฎีกา 925/2536)

  29. คำถาม • การนำรถยนต์เข้าไปจอดในห้างฯ ซึ่งบริการให้แก่ลูกค้า โดยไม่คิดค่าจอด มีการออกบัตรให้เพื่อควบคุมความปลอดภัยเป็นการฝากทรัพย์หรือไม่? • อ.ไผทชิต เอกจริยากร เห็นว่า ไม่น่าจะถือว่าเป็นการฝากทรัพย์

  30. วิธีเฉพาะการฝากเงิน (ม.672) ลักษณะพิเศษของการฝากเงิน 1. สัญญาฝากเงิน มีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์นอกแบบ 2. ผู้รับฝากมีสิทธินำเงินที่ฝากออกใช้สอยได้ 3. หากเงินที่ฝากสูญหายไปแม้โดยเหตุสุดวิสัย ผู้รับฝากต้องรับผิดชอบคืนเงิน 4. ผู้ฝากเรียกถอนเงินคืนก่อนถึงเวลาที่ตกลงกันไว้ไม่ได้ และผู้รับฝากจะส่งเงินคืนก่อนครบกำหนดเวลาก็ไม่ได้ดุจกัน 5. กรณีฝากเงินและทำสัญญาจำนำโดยมอบสมุดคู่ฝากไว้ประกันหนี้ ไม่ถือเป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสาร

  31. สิทธิและหน้าที่ของผู้รับฝากเงินสิทธิและหน้าที่ของผู้รับฝากเงิน • 1. สิทธิที่จะไม่ต้องคืนเงินตราอันเดียวกับที่รับฝาก ม. 672 วรรคแรก • 2. สิทธิที่จะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกไปใช้ได้ ม. 672 วรรคท้าย • 3.หน้าที่ต้องคืนเงินที่รับฝากให้ครบจำนวน ม. 672 วรรคท้าย • 4. หน้าที่ไม่ต้องส่งเงินคืนก่อนถึงเวลาที่ตกลงกันไว้ เฉพาะในกรณีที่จำต้องคืนเงินเพียงเท่าจำนวนที่ฝาก

  32. สิทธิและหน้าที่ของผู้ฝากเงินสิทธิและหน้าที่ของผู้ฝากเงิน • 1. หน้าที่รับคืนเงินตราอันอื่นที่ไม่ใช่อันเดียวกับที่ฝาก • 2. หน้าที่ไม่ขัดขวางในการที่ผู้รับฝากเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้สอย • 3. หน้าที่ไม่ถอนเงินคืนก่อนเวลาที่ตกลงกันไว้ เฉพาะในกรณีที่ผู้รับฝากจำต้องคืนเงินเพียงเท่าจำนวนที่ฝาก • 4. สิทธิเรียกคืนเงินที่ฝากจนครบจำนวน

  33. วิธีการเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรมวิธีการเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรม โรงแรม: บรรดาสถานที่ทุกชนิดที่จัดตั้งเพื่อรับสินจ้างสำหรับคนเดินทาง หรือบุคคลที่ประสงค์จะหาที่อยู่ หรือที่พักชั่วคราว เจ้าสำนัก: บุคคลผู้ควบคุมหรือจัดการโรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่อื่นทำนองเช่นว่านั้น : บรรดาสถานที่ทุกชนิดที่จัดตั้งเพื่อรับสินจ้าง สำหรับคนเดินทางหรือบุคคลที่ประสงค์หาที่อยู่ หรือที่พักชั่วคราว

  34. ขอบเขตการรับผิดชอบของเจ้าสำนักขอบเขตการรับผิดชอบของเจ้าสำนัก 1. รับผิดไม่จำกัดจำนวน 2. รับผิดจำกัดจำนวน “ของมีค่าอื่น”(Other Valuables) : ทรัพย์สินที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับ เงินทองตรา ธนบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ฯลฯ

  35. ข้อยกเว้นความรับผิดของเจ้าสำนักข้อยกเว้นความรับผิดของเจ้าสำนัก • ความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่เหตุสุดวิสัย (ม.675 วรรคสาม) • ความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่สภาพแห่งทรัพย์นั้น (ม.675 วรรคสาม) • ความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดจากความผิดของคนเดินทาง แขกอาศัย บริวารของเขา หรือบุคคลซึ่งเขาได้ต้อนรับ (ม.675 วรรคสาม) • ความสูญหายหรือบุบสลายที่คนเดินทางหรือแขกอาศัยไม่แจ้งให้เจ้าสำนักทราบโดยทันที (ม.676) • มีข้อตกลงยกเว้น หรือจำกัดความรับผิดของเจ้าสำนัก

  36. อายุความฟ้องเจ้าสำนักให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนอายุความฟ้องเจ้าสำนักให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน ม. 678: ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้น 6 เดือน นับแต่วันที่คน เดินทางหรือแขกอาศัยออกไปจากสถานที่

  37. สิทธิของเจ้าสำนัก (ม.679) • ยึดหน่วงเครื่องเดินทาง หรือทรัพย์สินอย่างอื่นของคนเดินทาง หรือแขกอาศัยจนกว่าจะได้รับใช้เงินบรรดาที่ค้างชำระ • นำทรัพย์สินที่ยึดไว้ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ได้ • การขายทอดตลาดต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 509-517

  38. ฝากทรัพย์สินอื่น VS ฝากเงิน

  39. นายทองแท้ตกลงให้นายขัดสนยืมรถยนต์ของตนไปใช้เป็นเวลา 3 เดือน แต่เนื่องจากบ้านของนายขัดสนอยู่สุดซอยซึ่งรถยนต์ผ่านไม่ได้ ดังนั้น ตอนกลางคืนนายขัดสนจำเป็นต้องนำรถยนต์ไปฝากไว้กับนายรับโชค ซึ่งดำเนินกิจการรับฝากรถยนต์ โดยนายขัดสนต้องเสียค่าบำเหน็จคืนละ 50 บาท ต่อมาคืนหนึ่ง หลังจากที่นายขัดสนส่งมอบรถยนต์คันที่ยืมมาจากนายทองแท้ให้แก่นายรับโชคผู้รับฝากแล้ว ปรากฏว่านายหมูแฮมลูกจ้างของนายรับโชค แอบเอารถยนต์คันดังกล่าวไปขับเล่น และชนรถรถโดยสารประจำทางเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บอีกหลายคน รถพัง ดังนี้ให้วินิจฉัยว่าใครบ้างจะต้องรับผิด

More Related