Menu Close

การเลือกซื้อเครื่องมือวัดและทดสอบทางไฟฟ้า

kew-1110
KEW 1110
kew-1062
KEW 1062

การเลือกซื้อเครื่องมือวัดและทดสอบทางไฟฟ้า สิ่งที่เราควรคำนึงถึงจะต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลักษณะของงานที่ต้องการวัดค่า (ค่าที่ต้องการวัด), ความสะดวกการใช้งาน, ลักษณะการติดตั้ง, ช่วงการวัด, ความละเอียดและความแม่นยำของเครื่องวัด, สภาพแวดล้อมบริเวณที่ใช้งาน, มาตรฐานรับรองคุณภาพ และที่สำคัญมาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องมือวัดต่อผู้ใช้งาน เป็นต้น เดี๋ยวเรามาดูรายละเอียดต่างๆกันครับ ว่ามีอะไรกันบ้าง เริ่มจากข้อแรก

1. ลักษณะของงานที่ต้องการวัดค่า

ค่าที่ต้องการวัดหรืออาจจะดูจากหน่วยของการวัดค่าก็ได้ครับ เช่น วัดค่าแรงดันไฟฟ้า acdc-v, วัดค่ากระแสไฟฟ้า acdc-a, วัดค่าความต้านทานไฟฟ้า ohm, วัดค่าความถี่ hz, วัดค่าอุณหภูมิ temp, วัดค่าความจุไฟฟ้า capacitance, วัดตรวจสอบไดโอด diode, วัดอัตราการขยายของเสียง decibel, วัดตรวจสอบความต่อเนื่อง buzzer, ฯลฯ

ในการวัดค่าถ้าวัดค่าอย่างใดอย่างหนึ่งเราก็จะเรียกชื่อเฉพาะเช่นวัดแรงดันไฟฟ้าอย่างเดียวเราก็เรียกว่าโวลต์มิเตอร์ (Voltmeter), วัดความต้านทานไฟฟ้าอย่างเดียวเราก็เรียกว่าโอมห์มิเตอร์ (Ohmmeter),วัดกระแสไฟฟ้าอย่างเดียวเราก็เรียกว่าแอมมิเตอร์ (Ammeter) แต่ถ้ามิเตอร์ที่วัดได้หลายๆอย่างในตัวเดียวกันเราจะเรียกว่า มัลติมิเตอร์ (Multimeter) เป็นต้น ต้องเลือกให้ดีว่าจุดประสงค์เราต้องการไปวัดค่าของอะไรเป็นสำคัญ

2. ระบบการแสดงผล

ผู้ใช้งานต้องเลือกว่าอยากให้แสดงผลค่าของการวัดเป็นแบบเข็มหรือแบบดิจิตอล ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อดีหรือข้อด้อยแตกต่างกันออกไป

3. ขนาด

ปัจจุบันมิเตอร์หลายๆยี่ห้อก็จะออกแบบมาให้มีขนาดกะทัดรัดมากขึ้นและมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย ให้ผู้ใช้งานพกพาไปในที่ต่างๆได้อย่างสะดวก เช่นสามารถใส่กระเป๋าเสื้อได้เลย แต่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับงานที่ใช้ด้วยโดยเฉพาะแคลมป์มิเตอร์ ถ้ามีขนาดเล็กไปจะไม่สามารถคล้องสายเบอร์ใหญ่ได้

4. ความละเอียด (Resolution), ความเที่ยงตรง (Accuracy) และความแม่นยำ (Precision)

หัวข้อนี้ถือเป็นการดูสเปคของเครื่องมือวัดที่เราจะทำการสั่งซื้อมาใช้งานอย่างละเอียดมากขึ้น ซึ่งมีวิธีดูอย่างง่ายๆไม่ซับซ้อนครับ แต่ทำให้เรารู้ได้ว่าเครื่องมือวัดตัวนี้วัดได้อย่างละเอียดหรือไม่ โดยเราไม่ต้องพิจารณาจากราคาอย่างเดียวเพราะบางครั้งเครื่องมือวัดบางตัวราคาถูกกว่าอีกยี่ห้อหนึ่งก็จริงแต่ค่าความละเอียดในการวัดหรือค่าความเที่ยงตรงอาจจะสู้กันไม่ได้ก็ได้

5. ความทนทานต่อสภาพแวดล้อมของการใช้งาน

สภาพแวดล้อมที่อาจระบุในรูปของอุณหภูมิและความชื้นระหว่างการใช้งานหรือสภาพแวดล้อมที่ระบุเป็นอุณหภูมิและความชื้นที่ใช้ในการเก็บรักษาของเครื่องวัดนั้นๆ ซึ่งค่าเหล่านี้ทางผู้ผลิตจะเป็นผู้ระบุมาในคู่มือการใช้งานอยู่แล้ว สำหรับงานทางด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในสถานที่ที่มักมีเครื่องมือวัดที่ใช้ในอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่สถานที่ปฏิบัติงานหรือสถานที่ที่มีฝุ่นผง ฝุ่นละออง หยดน้ำ มีความร้อนสูงหรือมีความชื้นสูง จึงมีความจำเป็นที่ต้องนำเครื่องมือวัดไปใช้งานเพื่อควบคุมมาตรฐานการป้องกันทั้งของแข็งและของเหลวซึ่งมาตรฐานดังกล่าวเรียกว่า มาตรฐาน IP

6. มีมาตรฐานรับรองคุณภาพ

เนื่องจากการใช้งานเครื่องวัดเหล่านี้จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการวัดปริมาณทางไฟฟ้าไม่มากก็น้อย ดังนั้นมาตรฐานที่รับรองคุณภาพจากประเทศต่างๆ ก็มีความหมายถึงการผ่านการทดสอบในเครื่องวัดที่เป็นที่ยอรับของประเทศนั้นๆ ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจในคุณภาพของเครื่องมือวัดมากยิ่งขึ้น โดยตัวอย่างสัญลักษณ์รับรองมาตรฐานความปลอดภัย และรวมถึงถ้าเราต้องการเอาเครื่องมือวัดตัวที่เราซื้อมาไปสอบเทียบเครื่องมือวัดที่ผ่านมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับส่วนใหญ่จะสอบเทียบหาง่ายเพราะคุณภาพที่ผลิตมานั้นเอง แต่ถ้าเราซื้อมาไม่มีมาตรฐานอะไรรองรับเลยเวลาสอบเทียบส่วนใหญ่จะมีปัญหา หรือที่เราเรียกว่าตกสเปกนั่นเอง ตัวอย่างมาตรฐานของต่างประเทศที่ผมยกตัวอย่างมาให้ดู ส่วนใหญ่ประเทศไทยเราก็จะใช้ตามมาตรฐานยุโรป CE หรือมาตรฐานญี่ปุ่น JIS หรือ มาตรฐานของอเมริกา UL ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล บางคนบอกว่าใช้มาตรฐานสมอ.หรือมอก.ของไทยได้ไหมครับ สำหรับมาตรฐานของไทยที่ทางวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์รับรอง ส่วนใหญ่ก็จะอ้างอิงมาจากต่างประเทศครับ

7. มีมาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องมือวัดต่อผู้ใช้งาน

หลายท่านอาจจะมีข้อสงสัยนะครับสำหรับเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องมือวัดที่เราจะนำไปใช้งาน บางคนอาจจะไม่เคยคำนึงถึงข้อนี้ว่าเครื่องมือวัดที่เราซื้อมาใช้งานเนี่ยมันมีความปลอดภัยต่อการใช้งานสำหรับตัวเราเองยังไง จริงๆแล้วเครื่องมือวัดที่จะใช้งานด้านไฟฟ้านะครับทุกรุ่นทุกแบบจะมีข้อบ่งบอกว่าใช้ไฟฟ้าระดับกี่โวลท์ได้ เช่นใช้ไฟฟ้า 600 โวลท์ได้ไหม, ใช้ไฟฟ้า 1000 โวลท์ได้ไหม ถ้านำมาใช้ไฟสูงกว่าเครื่องจะพังไหม ซึ่งมาตรฐานตัวนี้ที่จะทำการชี้วัดเราก็จะอิงจากมาตรฐาน IEC เหมือนกันครับ

8. เงื่อนไขของบริษัทผู้ขายหรือผู้ผลิต

ตัวเครื่องควรถูกผลิตโดยบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ และได้มาตรฐานสากล มีการรับประกันทั้งตัวเครื่อง อะไหล่ และค่าบริการซ่อม มีบริการก่อนและหลังการขายเช่น มีเครื่องสาธิตให้ดูเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อและเมื่อซื้อเครื่องไปแล้วมีการสอนวิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง

9. รูปลักษณ์และลูกเล่น

สำหรับข้อนี้ผมให้เพิ่มเป็นพิเศษนะครับ เพราะบางท่านจะซื้อเครื่องมือวัดไปใช้งานเองก็จะคำนึงถึงรูปแบบ Design หรือ Functions ลูกเล่น ที่ทันสมัย, อีก 5 ปี 10 ปีไปแล้วรูปทรงมันจะโบราณไหม สำหรับตัวอย่างการออกแบบ ดีไซน์ ทันสมัย ปัจจุบันก็มีหลายหน่วยงานครับที่มารับรองเครื่องมือวัดที่ผลิตว่ารูปแบบดีไซน์เป็นอย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น ในงาน JECA FAIR 2017 56th Product Contest Winner of Kanto Electrical Safety Inspection Association Chairman’s Award ได้มีการมอบรางวัล Analog mega in the IoT era! ให้กับผู้ผลิตเครื่องมือวัด ยี่ห้อ Kyoritsu รางวัลนี้ก็คือ เครื่องมือวัด แบบเข็มรุ่น KEW 3441BT แต่สามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ เพื่อดูข้อมูลการวัดค่าโดยผ่านระบบบลูทูธได้ ร่วมกับระบบ Android และ iOS ซึ่งถือว่ามีความทันสมัยมาก ที่จะเอามิเตอร์แบบอนาล็อก (เข็ม) มาเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ และอื่นๆ

เป็นไงบ้างครับ สำหรับข้อควรในการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องมือวัดจะเห็นได้ว่าเหมือนยากแต่ก็ไม่ยากนะครับเพราะว่าปัจจุบันนี้ใครๆก็อยากได้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพดีใช้งานได้ทนทานรูปแบบทันสมัยเพราะว่าเราเสียเงินไปแล้วเราก็อยากได้ของดีๆมาใช้งานใช่ไหมครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ที่ใช้ในการติดต่อ

    ข้อมูลส่วนตัวที่ใช้ในการติดต่อเช่นชื่อเบอร์โทรและอีเมล

Save