“นักภูเขาไฟวิทยา” อาชีพที่น่าสนใจ จากกรณี Cumbre Vieja ปะทุยาวนาน

วิกฤตการณ์ “ภูเขาไฟ” Cumbre Vieja ที่ La Palma หนึ่งในหมู่เกาะ Canary ประเทศ Spain

ที่ปะทุขึ้นตั้งแต่วันที่ 19 กันยายนที่ผ่าน และยังคงมีทีท่าที่จะไม่หยุดการระเบิดตราบจนปัจจุบัน
ได้ทำให้คนรุ่นใหม่หลายคนได้ยินคำว่า “นักภูเขาไฟวิทยา” หรือ Volcanologist จากรายงานข่าวของสำนักต่างๆ
Cumbre Vieja
Cumbre Vieja
Volcanologist หรือ “นักภูเขาไฟวิทยา” คือ “นักธรณีวิทยา” สาขาหนึ่ง ซึ่งมุ่งศึกษากระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการก่อตัว และกิจกรรมการปะทุของ “ภูเขาไฟ”
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหตุการณ์ปะทุครั้งใหญ่ๆ มักปรากฏ “นักภูเขาไฟวิทยา” เพื่อสังเกตุการณ์ และเก็บตัวอย่าง “ก้อนหิน” หรือ Lava ในพื้นที่วิกฤตเสมอ
แม้ว่าอาชีพ “นักภูเขาไฟวิทยา” มีแง่มุมที่น่าตื่นเต้นมากมายเมื่อได้ลงพื้นที่ปะทุ
แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว งานที่ได้รับมอบหมายส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาซากของ “ภูเขาไฟ” ที่หยุดนิ่งแล้วมากกว่า
อย่างไรก็ดี งานลงพื้นที่จุดระเบิด บางครั้งอาจดูเสี่ยง หรือไม่อินังขังขอบเรื่องความปลอดภัยของตนเอง และคนรอบข้าง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาจดูเป็นคนโหดๆ ที่ไม่เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย เปรียบเสมือนนักข่าวสงคราม หรือช่างภาพสัตว์ป่า ที่มุ่งงานจนลืมช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และสรรพสัตว์
เพราะภารกิจของ “นักภูเขาไฟวิทยา” คือการ “ถอดรหัส” สิ่งที่ Lava และ “ก้อนหิน” ได้ทิ้งเอาไว้เบื้องหลังการถ่ายทำ
หากน้องๆ ต้องการเป็น “นักภูเขาไฟวิทยา” ควรเข้าศึกษาในสาขาธรณีวิทยาหรือธรณีฟิสิกส์ ในระดับปริญญาตรีเสียก่อน แม้ว่า สาขาดังกล่าวจะให้ความรู้เฉพาะด้านเกี่ยวกับ “ภูเขาไฟ” เพียงเล็กน้อย
โดยหากต้องการจะเป็น “นักภูเขาไฟวิทยา” ระดับสากล ก็ต้องลงเรียนต่อปริญญาโท หรือปริญญาเอกทางด้านนี้โดยตรง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำงานในมหาวิทยาลัย หรือองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับ “ภูเขาไฟ” จะสามารถเพิ่มพูนประสบการณ์จากสถานที่จริง และมีโอกาสจะได้รับทุนทางวิชาการ หรือการสนับสนุนอื่นๆ ที่จะตามมา

นักภูเขาไฟวิทยา

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบางประเทศ การยอมรับ “นักภูเขาไฟวิทยา” จะต้องเป็น “นักภูเขาไฟวิทยา” ประสบการณ์สูง ที่สามารถคาดการณ์การระเบิดของ “ภูเขาไฟ” ได้เป็นอย่างดี
ซึ่งอาจต้องมี “ใบอนุญาตพิเศษ” เพิ่มเติม
สำหรับสภาพแวดล้อมในการทำงานของ “นักภูเขาไฟวิทยา” จะมีการแบ่งวันทำงาน ระหว่างการทำงานภาคสนาม และการทำงานในห้องปฏิบัติการ
แม้การปฏิบัติงานภาคสนาม “นักภูเขาไฟวิทยา” จะต้องเสี่ยงภัยไปยังสถานที่แปลกใหม่ หรือโดดเดี่ยว ซึ่งมี “ภูเขาไฟ” ที่ยังคุกรุ่น หน้าที่สำคัญของ “นักภูเขาไฟวิทยา” ก็คือ การรวบรวมตัวอย่าง และข้อมูลต่างๆ โดยทั่วไปในพื้นที่
“นักภูเขาไฟวิทยา” จึงต้องตระเตรียมร่างกายให้พร้อมอยู่เสมอ ออกกำลังกายเป็นประจำ ซักซ้อมระบบหายใจบนพื้นที่สูง และฝึกฝนการนั่งสมาธิ
เพราะงานหลักของ “นักภูเขาไฟวิทยา” นั้น ต้องใช้แรงกายแรงใจเป็นอย่างมาก จากสภาพอากาศที่เลวร้ายสุดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความกล้าหาญ
เมื่อรวบรวมตัวอย่างจากพื้นที่เสร็จสรรพแล้ว “นักภูเขาไฟวิทยา” จะต้องกลับเข้าห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา จากนั้น จะต้องสรุปรายงาน และสื่อสารสิ่งที่พบกับนักวิทยาศาสตร์กลุ่มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

อาชีพนักภูเขาไฟวิทยา

“นักภูเขาไฟวิทยา” ส่วนใหญ่ นอกจากจะต้องทำงานเต็มเวลาแล้ว ยังต้องทำ OT อยู่เสมอ เมื่อชั่วโมงการปฏิบัติงานภาคสนามมีค่อนข้างมากนั่นเอง
แต่ทั้งหมดนี้ มีค่าตอบแทนเป็นเม็ดเงินก้อนงาม คือรายได้เฉลี่ยราว 100,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี รายได้สูงสุดที่เคยปรากฏก็คือประมาณ 200,000 ดอลลาร์อเมริกัน
โดยมีแนวโน้มความต้องการ “นักภูเขาไฟวิทยา” เพิ่มขึ้น 20% ใน 10 ปีข้างหน้า ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว มากกว่าวิชาชีพทั่วๆ ไป
อันเป็นผลมาจาก ความสนใจที่เพิ่มขึ้นของสาธารณชน เกี่ยวกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และการจัดการภาวะวิกฤตของโลก ที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเองครับ
เพราะวิกฤตการณ์ “ภูเขาไฟ” Cumbre Vieja ที่ La Palma หนึ่งในหมู่เกาะ Canary ประเทศ Spain
ที่ปะทุขึ้นตั้งแต่วันที่ 19 กันยายนที่ผ่าน และยังคงมีทีท่าที่จะไม่หยุดการระเบิดตราบจนปัจจุบันแท้ๆ
ที่ทำให้คนรุ่นใหม่หลายคนได้ยินคำว่า “นักภูเขาไฟวิทยา” หรือ Volcanologist จากรายงานข่าวของสำนักต่างๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข่าวคราวของบรรดา “นักภูเขาไฟวิทยา” ที่มีความสนใจ “เทคโนโลยี”
ที่หลายราย ตัดสินใจย้ายห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของตนไปยัง Cumbre Vieja เพื่อทำการศึกษาทุกแง่มุมของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ยาวนานในครั้งนี้!
การย้ายฐานการศึกษาของ “นักภูเขาไฟวิทยา” รุ่นใหม่ ที่ปรากฏขึ้น มาพร้อมกับการใช้ Drone ขึ้นบิน ร่วมกับการใช้อุปกรณ์ตรวจจับซึ่งทำงานร่วมกับดาวเทียมที่มีความแม่นยำสูง

การระเบิดของภูเขาไฟ

เพื่อวิเคราะห์การปล่อยก๊าซ และการไหลของ Lava ควบคู่ไปกับปฏิบัติการภาคพื้นดิน ที่เร่งเดินหน้าเก็บรวบรวมตัวอย่าง “ก้อนหิน” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อนุภาคต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังการระเบิดของ Cumbre Vieja เพื่อนำเข้าสู่ห้องปฏิบัติการต่อไป
อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ทั่วไปของ “นักภูเขาไฟวิทยา” คือการศึกษา “การระเบิดของภูเขาไฟ” ซึ่งเกิดขึ้นตามจุดต่างๆ ทั่วโลก ไล่ตั้งแต่ Hawaii ไปจนถึง Indonesia อยู่แล้ว
“นักภูเขาไฟวิทยา” รู้ดีว่า การฉกฉวย “ฉากหายนะ” คือ “โอกาสที่เกิดขึ้นไม่บ่อย” คือ “งานสำคัญ” ของพวกเขา ในการทำความเข้าใจกระบวนการระเบิดของ “ภูเขาไฟ”
ทั้งในแง่ของ การก่อตัว พัฒนาการ และที่มาที่ไป รวมทั้งจุดสิ้นสุด ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อมนุษยชาติ
กระนั้นก็ดี แม้ว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันจะล้ำสมัยขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทว่า “นักภูเขาไฟวิทยา” ส่วนใหญ่ก็ทำได้เพียงศึกษาผ่านการประเมินสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้ชั้นหินที่ Magma หรือ “หินหลอมละลาย” ใต้ผิวโลก ที่ “ร้อนมาก”
ร้อนจนสามารถละลายอุปกรณ์ทุกชนิดที่ “นักภูเขาไฟวิทยา” นำติดตัวไป
และเผลอๆ หากระวังตัวไม่ดี ก็อาจหลอม “นักภูเขาไฟวิทยา” ได้อย่างง่ายดาย!