Let’s review! เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมอาหาร คุณค่าที่ทุกโรงงานคู่ควร ในยุค Post-covid

การเกิดขึ้นของวิกฤตโควิด-19 ยิ่งเป็นตัวเร่งปฏิกริยาให้ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับเปลี่ยน เพื่อตามเทรนด์ผู้บริโภคให้ทัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ที่จากเดิมต้องให้ความสำคัญกับมาตรฐานความปลอดภัยในกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำอยู่แล้ว ยิ่งต้องเร่งเครื่องเพื่อยกระดับคุณภาพการผลิตให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ด้วยการลดการสัมผัส ลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนของเชื้อโรค ด้วยการหันมาปรับใช้ เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมอาหาร ไม่ว่าจะเป็น AI ปัญญาประดิษฐ์ ระบบอัตโนมัติ หรือออโตเมชัน และ หุ่นยนต์ นั่นเอง

โดยในปัจจุบัน เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมอาหาร ได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก และเพื่อให้หลายคนเห็นภาพว่าทุกวันนี้อุตสาหกรรมอาหารมีการปรับเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ได้ในขั้นตอนใดบ้าง กัลยาณี คงสมจิตร ประธานกรรมการ บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาและจัดจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในโรงงานที่ได้รับการยอมรับ ให้เหตุผลสนับสนุนความการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารไว้อย่างน่าสนใจ

ทีเคเค


TKK Corporation ชี้ธุรกิจอาหารไทย อยู่ในช่วงขาขึ้น เพราะโอกาสที่เกิดขึ้นในวิกฤต

ในบริบทของอุตสาหกรรมอาหารไทย ที่ในวันนี้ หลายโรงงานอุตสาหกรรมได้หันมาให้ความสำคัญกับการปรับเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ เข้ามาปรับใช้ในกระบวนการผลิตแล้ว ด้วยวัตถุประสงค์หลัก คือ ต้องการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพให้ทุกขั้นตอนในการผลิตอาหาร ลดการผิดพลาดของการกระทำโดยมนุษย์ และยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตอาหารให้ทันสมัยและได้รับการยอมรับ
อย่างไรก็ดี ในมุมของ กัลยาณี ซึ่งเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาและจัดจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในโรงงานที่ได้รับการยอมรับ ให้เหตุผลสนับสนุนความการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารว่า
“ในปัจจุบัน สินค้าในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มมีการเปลี่ยนแปลงไปจากสถานการณ์ปกติ อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง รวมถึงซอสปรุงรสกลายเป็นกลุ่มที่เติบโตได้ดีในช่วงกักตัวอยู่กับบ้าน เนื่องจากนโยบายการล็อกดาวน์ (Lock Down) ของรัฐบาล
“นอกจากนั้น ประเทศไทยเองก็ถือว่ามีความได้เปรียบในด้านการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มอย่างมาก เพราะเราสามารถผลิตวัตถุดิบได้เอง ทั้งพืช ผัก ผลไม้ ปศุสัตว์ และอาหารทะเล แม้จะมีการนำเข้าบ้างในบางวัตถุดิบ แต่ถือว่ายังน้อยกว่าที่เราผลิตเอง”
“ยิ่งในตอนนี้ การขายผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้งระบบอีคอมเมิร์ซและแอปพลิเคชัน ก็กำลังเติบโตอย่างมาก โดยมีสถานการณ์โควิด-19 เป็นแรงผลักดันให้เกิดความต้องการมากขึ้นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ดังนั้น ถึงแม้หลังจากนี้สถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่พฤติกรรมการบริโภคและการซื้อสินค้าของคนก็จะเปลี่ยนไป”

“ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการต้องตามให้ทันเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภครวมถึงสิ่งที่จะมองข้ามไม่ได้เลย เช่น การตลาดรูปแบบใหม่ บรรจุภัณฑ์ของสินค้า ช่องทางการตลาดแบบไร้ขีดจำกัด การลดต้นทุนในทุกด้าน การลดภาระค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด การรักษาคุณภาพสินค้าให้คงอยู่ได้นาน ความสะดวกต่อการขนส่งสินค้า ความปลอดภัยและสร้างความมั่นใจเรื่องของการปลอดเชื้อให้แก่ผู้บริโภคได้”

อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทย ไปได้สวย ด้วยการปรับใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีผลิตอาหารให้ถูกทาง

ประธานกรรมการ ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น ยังได้วิเคราะห์เพื่อชี้ถึงทางรอดของธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทยไว้ด้วยว่า
“เราต้องรักษาความได้เปรียบในด้านการผลิต และรักษาทรัพยากรไว้ให้ได้ เราได้เปรียบกว่าหลายประเทศที่ต้องนำเข้าอาหารถึง 90% บางประเทศ 95% เพราะไม่สามารถเพาะปลูกหรือทำปศุสัตว์ได้”
“ยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ความสำคัญของอาหารในวันนี้จึงไม่ใช่แค่อาหารที่มี ราคาแพง ใช้นวัตกรรมในการผลิตเยอะ แต่เป็นอาหารพื้นฐาน หรือแม้กระทั่งกึ่งสำเร็จรูป (Ready to Cook) ที่มาตอบโจทย์ผู้คนในยามที่ต้องอยู่อย่างประหยัดเพราะไม่มั่นใจเรื่องของอนาคต”

“ดังนั้น การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ย่อมตอบสนองความต้องการพื้นฐานและปริมาณการบริโภคของประชากรโลกได้อย่างเพียงพอ ถ้าผู้ประกอบการมีการปรับตัวได้อย่างรวดเร็วก็จะเป็นโอกาสในวิกฤตและเป็นทางออกของธุรกิจอย่างแท้จริง”
โดยหนึ่งในนวัตกรรมที่เหมาะสม และควรนำมาปรับใช้ นั่นคือ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI นั่นเอง

“เพราะปัญญาประดิษฐ์หรือ AI คือเทคโนโลยีที่นำมาซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (The Fourth Industrial Revolution) หรือมีบางคนกล่าวไว้ว่า ยุค AI จะเป็นยุคที่เทคโนโลยีจะทำให้มนุษย์อย่างเราๆนั้นตกอยู่ภายใต้อำนาจของหุ่นยนต์”

“ในส่วนขององค์กรธุรกิจ คงจะต้องมีการผสมผสาน AI ลงในทุกสิ่งที่ธุรกิจทำ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบธุรกิจใดๆก็ตาม เราต่างก็ต้องยอมรับว่า สิ่งเดียวเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในชีวิตของเรา นั่นก็คือ “การเปลี่ยนแปลง” และการเปลี่ยนแปลงนี้กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่เคยเป็นมาเมื่อเทียบกับ 10-20 ปีที่แล้ว”

ปัญญาประดิษฐ์ อุตสาหกรรมอาหาร

“ด้วยเหตุนี้ เมื่อปัญญาประดิษฐ์เป็นก้าวต่อไปสำหรับการทำธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมทุกประเภท TKK ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรมและหุ่นยนต์ จึงมีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆที่มาช่วยทุกธุรกิจให้ได้” โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งที่ผ่านมา TKK ได้เข้าไปช่วยให้คำแนะนำลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารมากมาย
  • ช่วยลูกค้าออกแบบไลน์การผลิตอาหารสัตว์เพื่อการส่งออก ซึ่ง ณ ตอนนั้น ลูกค้าใช้คนงานต่างด้าว ในเขตสมุทรสาคร แพคถุงอาหารสัตว์ ต่อ 1 กะ คือ 4 คน ทำได้ประมาณ 80 ถุงต่อนาที เมื่อเรานำระบอัตโนมัติและหุ่นยนต์จัดเรียงและแพ็คของ มาใช้ สามารถลดคนงาน 4 คน ไม่ได้ใช้ และเพิ่มความเร็วได้เป็น 360 ถุง ต่อนาที
  • นำระบบ RPA (Robot Processing Automation) เข้ามาใช้งานกับลูกค้าในด้านบัญชี จัดซื้อ และ บุคคล เพื่อช่วยลดการผิดพลาดจากการทำงานซ้ำซากและงานที่มีจำนวนมากๆ ลูกค้าเป็นโรงงานผลิตอาหารปลากระป๋อง ต้องใช้พนักงานบัญชีมากกว่า 20 คน ปัจจุบันเมื่อนำระบบ RPA ไปติดตั้ง เหลือพนักงานบัญชีเพียง 5 คนเท่านั้น
  • ติดตั้งระบบ Monitoring Control System ให้กับโรงงานลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าทราบถึงจำนวนการผลิตต่อวันแบบเรียลไทม์ และเรามีระบบสืบค้นย้อนกลับ โดยใช้โปรแกรมจากโปรแกรมเมอร์ของบริษัท ทำให้ลูกค้าสามารถทราบถึงล็อตการผลิต, วันที่รับวัตถุดิบมา, ล็อตใด ชิ้นส่วนใดเกิดปัญหา ก็จะสามารถรู้ได้โดยทันที ซึ่งเรียกว่า Traceability System
  • ติดตั้ง ระบบอัตโนมัติและ หุ่นยนต์ยกของ ช่วยโรงงานอาหารทะเลที่สมุทรสาคร ในช่วงปีที่แล้ว ที่เริ่มเกิดการระบาดของโควิด-19 เราได้เข้าไปติดตั้ง RPA (Robot Processing Automation) และ ERP ซึ่งเป็นผลมาจากลูกค้ามองภาพว่า การระบาดจะไม่จบลงง่ายๆ และเมื่อติดตั้งเสร็จ ลูกค้าสามารถใช้งานได้ทันที ลดคนงานลง 70% เมื่อเกิดการระบาดรอบที่ 2 ตอนต้นปี นี้ ลูกค้ารายนี้ จึงไม่กระทบกระเทือนใดๆทั้งๆที่อยู่ที่สมุทรสาคร เพราะใช้ระบบอัตโนมัติทั้งหมดแล้ว ไร้การสัมผัสและการติดเชื้อ

Let’s review! 3 เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมอาหาร เปลี่ยนโลกการผลิตอาหารยุค Post-covid

อย่างไรก็ดี ในมุมของการเติบโตในระดับโลก เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ได้นำไปปรับใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ก็มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเชื่อว่าต่อไปเราจะได้เห็นในโรงงานผลิตอาหารในประเทศไทยหลากหลายรูปแบบในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอน
ใน Facebook : FIBO AI/Robotics for All หรือ โครงการปัญญาประดิษฐ์/วิทยาการหุ่นยนต์สำหรับทุกคน Artificial Intelligence and Robotics for All ได้เผยแพร่ข้อมูล ให้ความรู้ผ่าน 3 ตัวอย่าง ของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ AI ที่คาดว่าจะได้รับการนำมาติดตั้งในโรงงานผลิตอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างที่ 1 เทคโนโลยีที่นำมาปรับใช้ในการคัดขนาดและจัดเรียงวัตถุดิบ
เพราะขั้นตอนการผลิตอาหารที่ใช้เวลามากที่สุดในอุตสาหกรรมอาหาร คือ การคัดขนาดและจัดเรียงวัตถุดิบเพื่อบรรจุใน
Package หรือเข้ากระบวนการแปรรูป ยกตัวอย่าง มันฝรั่งที่รับซื้อมาจากเกษตรกรมีรูปทรงไม่สม่ำเสมอ มันฝรั่งหัวใหญ่ เหมาะสำหรับการทำมันฝรั่งแท่งทอด (French fries) ในขณะที่มันฝรั่งรูปร่างยาวเป็นทรงกระบอกจะเหมาะกับการทำมันฝรั่งทอดกรอบ (Potato chips) เป็นต้น
ในปัจจุบัน ปัญหาในการคัดขนาดนี้จะหมดไป ถ้าผู้ประกอบการปรับเอา AI มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนารูปแบบการคัดเลือกและเรียงลำดับวัตถุดิบ โดยใช้ Optical Sensor (เซ็นเซอร์ชนิดใช้แสง) เป็นตัวช่วยในการตรวจสอบรูปร่าง ประสานกับความสามารถในการเรียนรู้ของเครื่องจักร
หรืออาจจะใช้กล้องถ่ายภาพ หรือ NIR (Near-Infrared Sensor) ซึ่งสามารถให้ภาพที่เหมือนกับที่ผู้บริโภคมองเห็นและมีส่วนสร้างการยอมรับให้เกิดขึ้น ผลที่ได้รับคือ ระยะเวลาในการคัดเลือกและการจัดเรียงสั้นลง ผลผลิตมากขึ้นและลดของเสียได้ และยังทำให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพดีขึ้นด้วย

บุคลากรในอุตสาหกรรมอาหาร

ตัวอย่างที่ 2 เทคโนโลยีช่วยตรวจสอบให้บุคลากรปฏิบัติตามขั้นตอนสุขอนามัยส่วนบุคคล
โรงงานอุตสาหกรรมอาหารเปรียบได้กับสถานที่ประกอบอาหารหรือห้องครัวขนาดใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับสุขอนามัยส่วนบุคคล เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ด้วยตระหนักในความจำเป็นด้านนี้ ในปีที่ผ่านมาบริษัท KANKAN AI ได้ลงนามในข้อตกลงสำคัญเพื่อพัฒนา AI มาใช้ในการปรับปรุงสุขอนามัยส่วนบุคคลของคนงานในโรงงานอาหารในประเทศจีนแล้ว
โดยหลักการทำงาน คือ การใช้ซอฟต์แวร์ตรวจจับวัตถุและใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า (AI Facial Recognition) เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของคนงาน ตรวจสอบดูว่าคนงานมีการแต่งกายถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าพบว่ามีการดำเนินงานไม่ถูกต้องตามกระบวนการผลิต ก็จะได้รับแจ้งเตือนให้ทำการแก้ไขให้ถูกต้อง ซึ่งจากการทดสอบล่าสุดพบว่าเทคโนโลยีดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงมาก มีความถูกต้องสูงถึงร้อยละ 96

สะอาดเครื่องจักรและอุปกรณ์

ตัวอย่างที่ 3 เทคโนโลยีที่ใช้ในการทำความสะอาดเครื่องจักรและอุปกรณ์
ปัญหาที่ผู้อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมอาหารต้องเผชิญมาเป็นระยะเวลายาวนาน คือ การทำความสะอาดเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องสูญเสียเวลาและสิ้นเปลืองทรัพยากรอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นแรงงาน น้ำ ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ที่ใช้ทำความสะอาดต่างๆ
นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยน็อตติ้งแฮม แห่งสหราชอาณาจักร จึงได้พัฒนาระบบที่ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อลดระยะเวลาในการทำความสะอาด และลดความสิ้นเปลืองของทรัพยากรได้ไม่น้อยกว่า 20-40% จากระดับปกติ
โดยกระบวนการนี้เรียกว่า “Self-Optimizing-Clean-in-Place” หรือ SOCIP ซึ่งมีหลักการทำงานโดยใช้ Ultrasonic Sensor ในการตรวจจับและวัดเศษอาหาร รวมถึงจุลินทรีย์ในชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือเครื่องจักร
ส่วนของเทคนิคการทำความสะอาดนั้น จะคำนึงถึงการป้องกันการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์เป็นหลัก เพราะจะเน้นการทำความสะอาดในสถานที่ (Clean-In-Place) ซึ่งในทางปฏิบัติจะใช้วิธีการทำความสะอาดอุปกรณ์และเครื่องจักรในการผลิตอาหารโดยไม่มีการถอดประกอบ ซึ่งวิธีการดังกล่าวคาดว่าจะประหยัดต้นทุนในอุตสาหกรรมอาหารในสหราชอาณาจักรได้ไม่น้อยกว่า 100 ล้านปอนด์ต่อปี

เทคโนโลยีและนวัตกรรม มีบทบาทหลักในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมได้อย่างไร พาไปชมตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง

3 ข้อต้องทำ เกี่ยวกับซัพพลายเชน สำหรับผู้เล่นในไลน์ธุรกิจ Food and Beverage

เกิดแล้วในเมืองไทย! “ลิเธียมไอออน” แบตเตอรี่สะอาด พิทักษ์สิ่งแวดล้อม

เทคโนโลยี 4 แบบที่กำลังมาแรงในวงการ Industry 4.0