วัสดุกันซึม

วัสดุกันซึม สำคัญกับบ้านมากกว่าที่คุณคิด!

วัสดุกันซึม เป็นหนึ่งในวัสดุที่สำคัญมากในงานก่อสร้างที่มักจะขาดไม่ได้ โดยเฉพาะดาดฟ้าคอนกรีตที่ไม่มีหลังคาปกคลุม เป็นพื้นที่โล่งชั้นบนสุดที่มักจะใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เป็นจุดชมวิว พื้นที่โล่งสำหรับปลูกผักสวนครัวเล็ก ๆ หรือแม้กระทั่งใช้เป็นพื้นที่สำหรับสระว่ายน้ำ ดาดฟ้าจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาคารหรือบ้านที่เผชิญหน้ากับฝนตก น้ำขัง แสงแดดที่รุนแรงต่อเนื่องกันหลายปี ไม่ใช่แค่ดาดฟ้าคอนกรีต หลังคาบ้านแบบกระเบื้อง หลังคาเมทัลชีท และหลังคาแบบต่าง ๆ ก็สามารถเสื่อมสภาพเกิดรอยแตกร้าวและกลายเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดน้ำรั่วซึมเข้าสู่ภายในบ้านได้ในที่สุด 

ดังนั้น การใช้วัสดุกันซึมเพื่อปกป้องดาดฟ้าและหลังคา จึงมีความสำคัญมากกว่าที่คุณคิด เพื่อให้คุณรู้จักประเภทต่าง ๆ ของวัสดุกันซึม และขั้นตอนการใช้วัสดุกันซึมให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด บทความนี้เราจะมาพูดถึงความสำคัญเหล่านั้นกัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปทำความรู้จักกันเลย !


ความสำคัญของวัสดุกันซึมต่อโครงสร้างอาคารและบ้าน

คอนกรีตกันซึม
คอนกรีตกันซึม

วัสดุกันซึม ไม่ว่าจะเป็นวัสดุกันซึมดาดฟ้าที่ช่วยป้องกันความร้อนและน้ำที่เกิดขึ้นภายนอก หรือแม้แต่การทากันซึมพื้น กันซึมผนัง กันซึมวัสดุมุงหลังคา วัสดุกันซึมทั้งหมดนี้ล้วนมีความสำคัญต่อโครงสร้างของอาคารและบ้านเป็นอย่างมาก นอกจากนี้วัสดุกันซึมยังมีความสำคัญในด้านอื่น ๆ เช่น 

  • ป้องกันการรั่วซึมของน้ำที่เกิดขึ้นจากภายนอก
  • ป้องกันความร้อนจากแสงแดดเข้าสู่ภายในตัวบ้าน
  • สามารถสะท้อนความร้อนได้มากกว่า 95%
  • ต้านทานรังสีอัลตราไวโอเลต (UV)
  • ทนทานต่อการแช่ขังของน้ำได้ดี 
  • สามารถปกป้องผนัง พื้น หรือวัสดุมุงหลังคาจากตะไคร่และเชื้อรา 
  • วัสดุกันซึมบางประเภทมีความยืดหยุ่นดี สามารถช่วยปกปิดรอยร้าวคอนกรีตได้

ประเภทของวัสดุกันซึม มีคุณสมบัติการใช้งานอย่างไร

คอนกรีตผสมกันซึม
คอนกรีตผสมกันซึม

วัสดุกันซึมมีอยู่หลากหลายประเภท เพื่อให้คุณสามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพในการใช้งานมากที่สุด วันนี้เรามาดูกันว่าวัสดุกันซึมแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง และมีคุณสมบัติการใช้งานอย่างไร 

1.วัสดุกันซึม ประเภททาเคลือบ

วัสดุกันซึม ประเภททาเคลือบ เป็นกันซึมรูปแบบของยางกันน้ำคล้ายยางยืด สามารถใช้งานได้กับพื้นผิวหลากหลายชนิด รวมทั้งยางมะตอยและคอนกรีต เหมาะสำหรับงานป้องกันการรั่วซึมทั่วไปและกันซึมวัสดุมุงหลังคา สามารถใช้งานง่าย รวดเร็ว มีความปลอดภัย ไม่ติดไฟ และช่วยยืดอายุการใช้งานของหลังคาได้เป็นอย่างดี

สำหรับข้อจำกัดของวัสดุกันซึมประเภททาเคลือบ คือ ไม่สามารถป้องกันรังสียูวี (UV)

2.วัสดุกันซึม ประเภทฉาบ 

วัสดุกันซึม ประเภทฉาบ เป็นกันซึมที่จะช่วยป้องกันไม่ให้คอนกรีตมีความชื้น ป้องกันความร้อน ป้องกันการรั่วซึม เหมาะสำหรับงานทากันซึมสำหรับดาดฟ้า ใช้งานง่าย แห้งเร็ว จึงนิยมใช้กันมาก แต่มีข้อจำกัด คือ มีราคาที่ค่อนข้างสูงและต้องทาเมื่อพื้นผิวแห้งสนิทเท่านั้น

3.วัสดุกันซึม ประเภทสารผสมเพิ่ม

วัสดุกันซึม ประเภทสารผสมเพิ่ม (Admixture) เป็นสารเคมีอื่น ๆ ที่ใช้ผสมลงไประหว่างการผสมคอนกรีต เพื่อเพิ่มคุณสมบัติบางประการในคอนกรีต เช่น สารเร่งการก่อตัว สารลดน้ำ สารกันชื้น และสารกักกระจายฟองอากาศ เป็นต้น เพิ่มความแข็งแกร่งให้คอนกรีตตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มก่อสร้างซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก แต่วัสดุกันซึมประเภทนี้ต้องใช้ในอัตราส่วนที่แม่นยำที่สุด เพื่อไม่ให้มากเกินไปที่จะส่งผลเสียต่อวัสดุอื่น ๆ ระหว่างการก่อสร้าง

สำหรับข้อจำกัดของวัสดุกันซึมประเภทสารผสมเพิ่ม คือ สารเคมีบางชนิดที่ผสมเพิ่ม อาจทำให้คอนกรีตมีกำลังต่ำลง และทำให้จำนวนฟองอากาศที่ทำหน้าที่เป็นตัวหล่อลื่นแทนน้ำลดน้อยลงไปเกือบ 50%

4.วัสดุกันซึม ประเภทผสมร่วมกับคอนกรีต

วัสดุกันซึม ประเภทผสมร่วมกับคอนกรีต (Crystallization) เป็นประเภทกันซึมที่ใช้ตั้งแต่เริ่มการก่อสร้าง มีทั้งแบบผงและแบบน้ำยา วิธีใช้วัสดุกันซึมประเภทนี้จะผสมร่วมกับคอนกรีตให้สารเคมีเข้าถึงเนื้อคอนกรีตได้เป็นอย่างดี และจะค่อย ๆ สร้างผลึกภายในเนื้อคอนกรีต ช่วยอุดช่องว่างรูพรุนกันความชื้นรั่วซึมออกมา ช่วยทำให้คอนกรีตมีลักษณะทึบสามารถป้องกันการรั่วซึม และสร้างความแข็งแรงให้กับเนื้อคอนกรีต นอกจากนี้ยังใช้งานง่ายและมีราคาถูก

สำหรับข้อจำกัดของวัสดุกันซึมประเภทผสมร่วมกับคอนกรีต คือ ควบคุมคุณภาพยาก เพราะสารเคมีมีความใสมากทำให้ยากต่อการตรวจสอบปริมาณที่ผสมร่วมกับคอนกรีตว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ และสามารถใช้งานกับคอนกรีตเท่านั้น ไม่สามารถใช้กับวัสดุอื่นได้

5.วัสดุกันซึม ประเภทเมมเบรน

วัสดุกันซึม ประเภทเมมเบรน (Membrane) หรือเมมเบรนกันซึม เป็นวัสดุกันซึมแบบแผ่นพลาสติกสำเร็จรูปที่ใช้ปกปิดกันซึมจากรอยแตกบนพื้น ผนัง ดาดฟ้า ใช้งานง่ายเพียงแค่ใช้ความร้อนเชื่อมต่อแผ่นก็สามารถใช้งานได้เลย ซึ่งวัสดุกันซึมประเภทเมมเบรนจะมีด้วยกัน 3 รูปแบบ ได้แก่ พีวีซีเมมเบรน (PVC Membrane), บิทูเทนเมมเบรน (Bitumen Membrane), โพลีเทนเมมเบรน (Polythene Waterproof Membrane) 

สำหรับข้อจำกัดของวัสดุกันซึมประเภทเมมเบรน คือ ต้องปูแผ่นกันซึมให้ชิดสนิทกันโดยห้ามเว้นว่างรอยต่อเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดการรั่วซึมได้ง่าย ไม่สามารถทนต่อความร้อนได้ แถมติดไฟได้ง่ายจึงเสี่ยงต่อไฟไหม้ จึงเหมาะกับการใช้งานซ่อมแซมรอยแตกร้าวเพียงชั่วคราวเท่านั้น


ก่อนทาวัสดุกันซึม ควรตรวจสอบน้ำรั่วให้ดีก่อน

วัสดุกันรั่วซึม
วัสดุกันรั่วซึม

เพื่อซ่อมหลังคารั่วได้อย่างตรงจุด บทความนี้เราจะพูดถึงวิธีเช็กและตรวจสอบน้ำรั่วซึมว่ามีสาเหตุมาจากบริเวณไหนบ้าง เพื่อให้การทาวัสดุกันซึมเกิดประสิทธิภาพในการใช้งานมากที่สุด ซึ่งสามารถตรวจสอบน้ำรั่วซึมได้จาก

  1. ตรวจสอบการรั่วซึมจากวัสดุมุงหลังคา หากวัสดุมุงหลังคามีรอยร้าว หรือรูรั่วซึม โดยเฉพาะเวลาฝนตกมักจะมีน้ำหยดลงมาทำให้สามารถระบุตำแหน่งการเกิดรอยรั่วได้อย่างแน่นอน หรือสามารถมองหาแสงแดดที่ส่องลงมาก็ได้เช่นเดียวกัน
  2. ตรวจสอบการรั่วซึมจากภายนอก สำหรับโครงสร้างต่าง ๆ ของอาคารและบ้านเมื่อใช้งานมานานมักจะเสื่อมสภาพตามเวลา สามารถสังเกตได้ตามรอยร้าว ตามตะปูยึดกระเบื้อง หรือตามปูน
  3. ตรวจสอบการรั่วซึมจากภายใน ในบางกรณีอาจเกิดการรั่วซึมได้จากภายใน เช่น อาจรั่วออกจากท่อน้ำภายใน หรือซึมตามรอยกระเบื้องของห้องน้ำ เป็นต้น
  4. ตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ไม่มีคุณภาพและไม่ได้มาตรฐาน อุปกรณ์ที่ไม่มีคุณภาพ เช่น วัสดุกันซึมที่ประสิทธิภาพไม่ดี วัสดุเหล็กไม่เคลือบกันสนิม ส่วนการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น ไม่ได้ปูวัสดุกันซึมก่อนปูกระเบื้องห้องน้ำ หรือติดตั้งโถสุขภัณฑ์ไม่ตรงรอยเจาะท่อ เป็นต้น

ขั้นตอนการใช้วัสดุกันซึมอย่างถูกต้อง

วัสดุกันซึมดาดฟ้า
วัสดุกันซึมดาดฟ้า

การทาวัสดุกันซึม ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายที่สามารถทำได้เอง แต่การใช้วัสดุกันซึมมีขั้นตอนมากกว่าที่คุณคิด วันนี้เราจึงนำขั้นตอนการทาวัสดุกันซึมที่ถูกต้องมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จัก ดังนี้

1. สำรวจพื้นที่ เพื่อหาจุดที่น้ำรั่วซึม

ขั้นตอนแรกเราต้องทำการสำรวจพื้นที่ ตรวจสอบหาบริเวณที่เกิดการรั่วซึมก่อน เพื่อทำการทาวัสดุกันซึมให้ตรงจุด ซ่อมแซมรอยแตก และเกิดการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

2. จัดการทำความสะอาดพื้นผิว

การทำความสะอาดพื้นผิวก่อนทาวัสดุกันซึม จะช่วยให้การทาวัสดุกันซึมใหม่ยึดเกาะพื้นผิวได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น จึงควรใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง หรือ Water Jet ฉีดล้างทำความสะอาดก่อนทำการทากันซึม

3. ปรับพื้นผิวให้ลาดเอียง

ขั้นตอนการปรับพื้นผิวให้ลาดเอียงอย่างเหมาะสม ควรใช้ผู้เชี่ยวชาญประเมินและหาแนวทางแก้ไขอย่างถูกต้อง เพราะหากพื้นผิวกลายเป็นแอ่ง มักจะก่อให้เกิดน้ำขัง มีโอกาสทำให้น้ำซึมเข้าสู่ภายในบ้านได้

4. อุดรอยรั่วด้วยเคมีภัณฑ์

หากพบเจอรอยรั่ว รอยแตกร้าวที่เป็นสาเหตุของการรั่วซึม ควรทำการอุดและซ่อมแซมด้วยเคมีภัณฑ์ที่มีความยืดหยุ่นสูง และมีคุณสมบัติป้องกันน้ำซึมได้เป็นอย่างดี

5. ทาสีใหม่ทับรอยเดิม

หลังจากทำการอุดรอยรั่วเรียบร้อยแล้ว การทาสีใหม่ทับส่วนที่ซ่อมแซมถือว่าเป็นการเก็บงานให้สวยงามและป้องกันการเกิดรอยด่าง

6. ทาวัสดุกันซึม

ขั้นตอนสุดท้าย คือ ทาวัสดุกันซึมหลังจากซ่อมแซมจุดที่รั่วซึมให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำที่เกิดจากน้ำขังภายนอกและสามารถป้องกันแสงแดดได้ดี โดยคุณสามารถเลือกใช้วัสดุกันซึมให้ถูกประเภทการใช้งาน


บริการช่างซ่อมหลังคารั่ว โดยช่างมืออาชีพ “Q-CHANG” 

วัสดุกันซึมหลังคา
วัสดุกันซึมหลังคา

ปัญหาหลังคารั่วเกิดได้จากหลายสาเหตุ และหนึ่งในวิธีการป้องกันการเกิดหลังคารั่วและน้ำรั่วซึมภายในบ้านได้เป็นอย่างดี คือ การทาวัสดุกันซึม ด้วยทีมช่างซ่อมหลังคามืออาชีพจาก Q-CHANG ที่จะช่วยคุณตรวจสอบน้ำรั่วได้อย่างตรงจุดพร้อมให้บริการแก้ปัญหา รับซ่อมหลังคารั่ว ทุกประเภท ทุกแบรนด์ รวมถึงส่วนต่อเติมของบ้าน เช่น ติดตั้งรางน้ำฝน ทากันซึม และพ่นสีหลังคา ที่คิวช่างจองคิวง่ายสามารถจองคิวออนไลน์ได้ 24 ชั่วโมง สามารถเลือกวันเวลาที่สะดวกได้ด้วยตัวเอง การันตีซ่อมหลังคางานคุณภาพ งบไม่บานปลาย แจ้งราคาชัดเจนก่อนตัดสินใจเริ่มงาน และรับประกันทุกงาน หมดปัญหาเรื่องช่างทิ้งงาน หากคุณสนใจและกำลังมองหาช่างที่ไว้ใจได้ สามารถติดต่อที่