Loading...
ความสำคัญของแร่ธาตุต่อการผลิตสัตว์

meniral

   แร่ธาตุเป็นสารอาหารอีกประเภทหนึ่งที่ร่างกายต้องการและขาดไม่ได้เพราะแร่ธาตุบางชนิดเป็นส่วนประกอบของอวัยวะและกล้ามเนื้อบางชนิดเช่น กระดูก ฟัน เลือด แร่ธาตุบางชนิดเป็นส่วนของสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน เฮโมโกลบิน เอนไซม์ เป็นต้น นอกจากนี้แร่ธาตุยังช่วยในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำหน้าที่ปกติ เช่น ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท การแข็งตัวของเลือด และช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย

   แร่ธาตุเป็นสารกลุ่มอนินทรีย์ ในร่างกายสัตว์ประกอบไปด้วยแร่ธาตุประมาณ 4 – 6 % ซึ่งความต้องการแร่ธาตุของสัตว์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น

1.ชนิดของสัตว์ สายพันธุ์ และเพศ 
2.คุณภาพของอาหารและปริมาณสารอาหารที่สัตว์ได้รับ
3.ประสิทธิภาพการผลิตของสัตว์ เช่นปริมาณการผลิตน้ำนม มากหรือน้อย
4.ระยะของสัตว์ เช่น ไก่ไข่ระยะให้ไข่ หรือแม่โคระยะให้น้ำนม ย่อมมีความต้องการแคลเซียมในการสร้างผลผลิต มากกว่าปกติ
5.อายุของสัตว์ สัตว์อายุน้อยจะดูดซึมได้ดีกว่าสัตว์อายุมาก
6.สุขภาพของสัตว์ การเป็นโรคหรือมีพยาธิ ขนาดน้ำหนักตัว
7. ปัจจัยอื่นๆ เช่น การเสริมแร่ธาตุบางชนิดในปริมาณที่มากเกินไปมีผลยับยั้งการดูดซึมแร่ธาตุชนิดอื่น

ตารางที่ 1 อาการที่เกิดขึ้นจากการขาดแร่ธาตุ และลักษณะของโรค

ชนิดของแร่ธาตุ สภาวะที่ทำให้เกิดการขาดแร่ธาตุ ลักษณะอาการของโรค
เกลือ(โซเดียม และ คลอไรด์) 1.โปรตีนในสูตรอาหารทั้งหมดมาจากพืช
2.การเกิดท้องร่วง
สัตว์ไม่อยากกินอาหาร เซื่องซึม นัยน์ตาตก แทะหรือเลียคอก กัดหางตัวเอง ปัสสาวะน้อยลง ยูเรียในเลือดเพิ่มขึ้น
แคลเซียม 1.โปรตีนในสูตรอาหารทั้งหมดมาจากพืช
2.สัตว์ไม่ได้รับแสงแดดหรือขาด วิตามินดี
3.การมีฟอสเฟตมากจะทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง
4.การมีแมกนีเซียมในอาหารมากไป แมกนีเซียมจะเข้าไปแทนที่แคลเซียมในกระดูกและเพิ่มการขับแคลเซียมออกจากกระดูก
1.สัตว์เล็กเป็นโรคกระดูกอ่อน ( ricket) สัตว์ที่โตแล้วเป็นโรคกระดูกเปราะ
2.ไข่เปลือกบาง ไข่ลด แคลเซียมในน้ำนมต่ำ เกิดอาการชัก
3.เบื่ออาหาร เซื่องซึม เติบโตช้า ขาแข็ง ตัวแข็ง โครงร่างไม่แข็งแรง
4.ระบบสืบพันธุ์เสื่อม ลูกที่คลอดตายในท้อง
ฟอสฟอรัส 1.ในอาหารที่มีเมล็ดพืชเป็นส่วนประกอบสัตว์ดึงไปใช้ได้เพียง 1/2 หรือ 1/3 ส่วน
2.ระยะปลายของการอุ้มท้องและขณะให้นม
3.การมีแมกนีเซียมและแคลเซียมมากจะลดการดูดซึมฟอสฟอรัส
1. กระดูดอ่อนและเปราะ
2.การผลิตไข่ลดลง อาการอื่นๆคล้ายกับการขาดแมกนีเซียม
3.ความผิดปกติของหัวใจ เกิดร่องรอยการผิดปกติที่ไต
4.การเจริญเติบโตลดลง เดินโซเซ กล้ามเนื้ออ่อนแอ
กำมะถัน การได้รับอาหารที่มีแร่ธาตุกำมะถันไม่เพียงพอ 1.ร่างกายซูบผมอย่างรวดเร็ว
2.เนื้อเยื่อในการสร้างเขา ขน และกีบไม่เจริญเติบโต
3.การได้รับมากไปเป็นพิษต่อร่างกายสัตว์และทำให้การ ดูดซึมสังกะสีและแมกนีเซียมลดลง
ไอโอดีน การได้รับสารอาหารที่มีแร่ธาตุไอโอดีนไม่เพียงพอ 1.เป็นโรคคอพอก ลูกอ่อนแอ ตายหลังคลอด
2.ลูกสุกรเกิดมาไม่มีขน
เหล็ก 1.ในลูกสัตว์ดูดนม
2. การขาดวิตามิน บี6 ทำให้การดูดซึมลดลง
3.อัตราส่วนของแคลเซียมและฟอสฟอรัสมีผลต่อการดูดซึมธาตุเหล็ก
1.โรคเลือดจางชนิดมีฮีโมโกลบินน้อยกว่าปกติและมีเม็ดเลือดแดงน้อย
2.ลูกสุกรมีอาการบวมที่หัวและไหล่ ขอบตาด้านในซีด ซึม เติบโตช้า
ทองแดง 1.ในลูกสัตว์ดูดนม
2.มีธาตุโมลิบดีนัมและสังกะสีมากจะลดการสะสมและการนำใช้ของทองแดง
1.ขนเป็นสีอ่อนหรือไม่มีขน
2.มีอาการทางประสาท เซื่องซึม ข้อบวม กระดูกเปราะและโลหิตจาง
สังกะสี 1.อาหารที่มีแคลเซียมและไฟเตสมากจะขัดขวางการดูดซึมสังกะสี
2.ได้รับกำมะถันมากเกินไปละลดการดูดซึมสังกะสี
1.ขนร่วงหรือขนขึ้นช้า ผิวหนังหยาบหรือหนังหนา มีลักษณะเป็นขี้เรื้อน
2.ซึม เบื่ออาหาร ไม่เจริญเติบโต อุจจาระร่วง อาเจียน
แมกนีเซียม 1.การได้รับสารอาหารที่มีแร่ธาตุแมกนีเซียมไม่เพียงพอ
2.อาหารที่มีกำมะถันมากจะลดการดูดซึมแมกนีเซียม
ทำให้เกิดอาการชัก สั่น ตื่นตกใจง่าย กล้ามเนื้อกระตุก ข้อเท้าอ่อน สูญเสียสมดุลถ้ามีมากส่งผลให้การทำงานของ แคลเซียมและฟอสฟอรัสผิดปกติ
แมงกานีส 1.การได้รับสารอาหารที่มีแร่ธาตุแมงกานีสไม่เพียงพอ 1.ลูกสัตว์อ่อนแอ การทรงตัวไม่ดี สัตว์ที่โตเต็มที่จะเพิ่มการสะสมของไขมัน ขาโค้งงอ บวมบริเวณข้อต่อ
2.สัตว์เป็นสัดไม่สม่ำเสมอ
3.สัตว์ปีกมีอาการทางประสาท หงายคอไปข้างหลัง ข้อเข่าบวม
ซิลิเนียม 1.การได้รับสารอาหารที่มีแร่ธาตุซิลิเนียมไม่เพียงพอ 1.บวมน้ำไต้ผิวหนัง เนื้อตายที่ตับ ไขมันในร่างกายเป็นสีเหลือง
2.ถ้าอาการเรื้อรังจะเดินสะเปะสะปะ ถ้ารุนแรงอาจถึงตาย

เนื่องจากแร่ธาตุป็นองค์ประกอบของอวัยวะในร่างกายสัตว์ซึ่งสัตว์ไม่สามารถขาดได้ หากการใช้สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้เลี้ยงสัตว์คือ

1. ส่งผลต่อสุขภาพของสัตว์โดยตรงและส่งผลไปยังผลผลิตของสัตว์ สุขภาพของสัตว์แย่ลง ประสิทธิภาพการผลิตลดลงหากได้รับปริมาณแร่ธาตุที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

2. ผู้เลี้ยงสัตว์เสียต้นทุนการผลิตมากขึ้น เนื่องจากการใช้สินค้าที่ไม่ได้ผล ทำให้ต้องเปลี่ยนสินค้าให้ เสียเวลาในการจัดการเพิ่มขึ้นอาจมีการคัดสัตว์ทิ้งเพิ่มขึ้นเมื่อสัตว์ไม่ได้คุณภาพ

3. หากคุณภาพของสินค้าไม่มีความสม่ำเสมอเช่น ในบางชุดการผลิตมีความเข้มข้นของแร่ธาตุบางมากกว่าปกติ อาจส่งผลให้แร่ธาตุตัวที่มีมากเกินความต้องการไปยับยั้งการดูดซึมหรือนับยั้งการใช้ประโยชน์ของแร่ธาตุชนิดอื่น

เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์หาปริมาณแร่ธาตุ

MP-AES คืออะไร

MP-AES เป็นเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงที่มีความทันสมัยในการวิเคราะห์หาปริมาณแร่ธาตุในอาหาร อาหารเสริม พืชผัก งานปิโตรเลียม และโลหะหนักที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริษัท บิ๊ค เคมิคอลเป็นโรงงานยาสัตว์รายแรกในประเทศไทยที่นำเทคโนโลยีใหม่นี้มาใช้เพื่อให้การตรวจสอบคุณภาพมีความแม่นยำมากขึ้น

การทำงานของ MP-AES

เครื่องมือจะทำการตรวจจับพลังงานแสงที่แร่ธาตุปล่อยออกมาหลังจากถูกกระตุ้นด้วยพลังงานความร้อนสูงเพื่อมาประมวลผลหาชนิดของแร่ธาตุและปริมาณของแร่ธาตุที่มีในตัวอย่างที่เราต้องการทราบโดยจะสามารถแยกชนิดของแร่ธาตุได้จากความยาวคลื่นแสงของแร่ธาตุที่แตกต่างกัน และหาปริมาณได้จากความเข้มแสงที่แร่ธาตุปล่อยออกมา

meniral

แร่ธาตุที่สามารถวิเคราะห์ได้
สามารถวิเคราะห์ได้ทั้งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

แร่ธาตุ ปริมาณขั้นต่ำที่สามารถวิเคราะห์ได้ (ppb) แร่ธาตุ ปริมาณขั้นต่ำที่สามารถวิเคราะห์ได้ (ppb)
ซีลีเนียม (Se) 77.00 เงิน (Ag) 1.20
สารหนู (As) 57.00 แมงกานีส (Mn) 1.05
พลวง (Sb) 12.00 โพแทสเซียม (K) 0.65
แพลตินัม (Pt) 6.10 โรเดียม (Rh) 0.50
สังกะสี (Zn) 3.10 โครเมียม (Cr) 0.30
ตะกั่ว (Pb) 2.50 โซเดียม (Na) 0.12
ทองคำ (Au) 2.10 แมกนีเซียม (Mg) 0.09
แพลเลเดียม (Pd) 1.60 แคลเซียม (Ca) 0.04
แคดเมียม (Cd) 1.40
*หน่วย ppb หมายถึง ระดับความเข้มข้น 1 ส่วนในพันล้านส่วน (µg/kg)

ข้อดีของเครื่อง MP-AES

meniral

แม่นยำสูง สามารถหาปริมาณแร่ธาตุในระดับต่ำได้ (ความเข้มข้น 1 ส่วนในพันล้านส่วน, ppb)
ใช้งานง่าย มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุม
ปลอดภัย ใช้อากาศจากสิ่งแวดล้อมเป็นตัวให้พลังงานแทนวัตถุไวไฟ (Flammable gases)
ใช้ตัวอย่างและเวลาในการวิเคราะห์น้อย เตรียมตัวอย่างเพียงครั้งเดียว ก็สามารถวิเคราะห์แร่ธาตุทุกชนิดที่ต้องการได้

ตารางเปรียบเทียบประสิทธิภาพการวิเคราะห์ปริมาณแร่ธาตุที่ต่ำที่สุดระหว่างเครื่อง Flame AA และ 4200 MP-AES ที่

meniral

เอกสารอ้างอิง

บุญล้อม ชีวอิสระกุล. (2532). โภชนศาสตร์สัตว์. เชียงใหม่ : ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.http://elearning.nsru.ac.th

Georgievskii, V.I. (1982). Mineral Nutrition of Animals. England : Mansells Bookbinder Ltd. เข้าถึงจาก http://elearning.nsru.ac.th

คู่มือเครื่องวิเคราะห์แร่ธาตุ 4200 MP-AES ของบริษัท agilent technologies เข้าถึงจาก http://chem.agilent.com