ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

          อินเตอร์เน็ต ( Internet ) เป็นเครือข่ายที่ได้รับการพัฒนา และเติบโตมาจากเครือข่ายทางการทหารของประเทสสหรัฐอเมริกา
ที่มีชื่อว่า เครือข่าย " อาร์ปาเน็ต " ( ARPANET: Advanced Research Project Network)   เครือข่ายอาร์ปาเน็ตเป็น
โครงการร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มใช้งานเมื่อปี พ . ศ . 2512 ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือกับมหาวิทยาลัย
ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีเครือข่ายอาร์ปาเน็ตเป็นเครือข่ายหลักสำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในเวลาต่อมามหาวิทยาลัยต่างๆ
ในสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสนใจและขอเข้าร่วมโครงการโดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายอาร์ปาเน็ตเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการ
ศึกษาและวิจัยต่อมาเครือข่ายอาร์ปาเน็ตมีขนาดใหญ่มากขึ้นทำให้เกิดปัญหาในการบริหารเครือข่ายดังนั้นทางการทหารของ
สหรัฐอเมริกาจึงขอแยกตัวออกมาเป็นเครือข่ายย่อยชื่อว่า " มิลเน็ต " ( MILNET: Military Network) โดยเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย
อาร์ปาเน็ตเดิมด้วยเทคนิคการโต้ตอบ หรือ " โปรโตคอล " (Potocol) แบบพิเศษที่เรียกว่า
" ทีซีพี / ไอพี"( TCP/IP: Transmission Control Protocol / Internet Protocol) โดยที่ " ไอพี "( IP: Internet Protocol) หรืออินเตอร์เน็ตโปรโตคอลเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมโยเครือข่ายอาร์ปาเน็ตนับตั้งแต่ต้นได้มีเครือข่ายย่อยของสถาบัน และองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาเองและประเทศต่างที่มีความสัมพันธ์ทางการฑูตกับสหรัฐอเมริกาได้ขอเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอาร์ปาเน็ตทำให
้เครือข่ายอาร์ปาเน็ตมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น และเนื่องจากเชื่อมโยงเครือข่ายย่อยต่าง ๆ เหล่านี้เป็น
การเชื่อต่อด้วยเทคนิคแบบ " อินเตอร์เน็ตโปรโตคอล " ดังนั้นต่อมาจึงเรียกเครือข่ายขนาดยักษ์นี้ว่า " อินเตอร์เน็ต "

ความหมายของอินเตอร์เน็ต

“ อินเตอร์เน็ต ” มาจากคำว่า International Network เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่อันประกอบด้วยเครือข่าย
คอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกันคำว่า “ เครือข่าย ” หมายถึง
1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล ( ทางตรง )และหรือสายโทรศัพท์ ( ทางอ้อม )
2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

ประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในพ . ศ . 2535 โดยเริ่มที่สำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาใน พ . ศ . 2536 เนคเทคได้เช่าวงจร
สื่อสารความเร็ว64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ
2 วงจร หน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรกๆได้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงาน
ราชการอื่นๆสำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไปที่นิยมเรียกกันว่า ISP
(Internet Service Providers) หลายราย เช่น ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย (Internet Thailand)
บริษัทเคเอสซีคอมเมอร์เชียลอินเตอร์เน็ตจำกัด (Internet KSC)บริษัทล็อกซเลย์อินฟอร์เมชันจำกัด (Loxinfo) เป็นต้น
โดยในการพิจารณาเลือกใช้บริการจากISP เอกชนเหล่านี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
1. อัตราค่าใช้จ่ายโดยรวม ทั้งค่าสมัครเป็นสมาชิกและค่าใช้จ่ายเป็นรายครั้ง รายเดือน หรือรายปี
2. คำนวนคู่สายโทรศัพท์ ว่ามีให้ใช้ติดต่อมากเพียงพอหรือไม่
เพราะถ้ามีไม่มากก็จะเสียเวลารอคอยนานกว่าจะเชื่อมต่อได้
3. ความเร็วของสายที่ใช้
4. พื้นที่ในการให้บริการ ควรเลือกใช้ ISP ที่อยู่ในจังหวัด หรือพื้นที่ใกล้เคียงจะเหมาะสมกว่าเพราะ ISP ส่วนใหญ่มักให้บริการ
ในเขตกรุงเทพมหานคร

องค์ประกอบของการใช้อินเทอร์เน็ตรายบุคคล
1. โทรศัพท์
2. เครื่องคอมพิวเตอร์
3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
4. โมเด็ม (Modem

อินทราเน็ตคืออะไร

อินทราเน็ต (intranet) หมายถึง เครือข่ายเฉพาะส่วนขององค์กรหน่วยงานที่นำซอฟท์แวร
์หรือฮาร์ดแวร์แบบอินทราเน็ตมาประยุกใช้ อินทราเน็ตจึงเป็นเครือข่ายเพื่อระบบงานภาย ใน
โดยมุ่งเน้นข้อมูลและสารสนเทศ เพื่อบริการแก่บุคลากร เครือข่ายอินทราเน็ตจะต่อเชื่อมเข้าสู่
อินเทอร์เน็ตด้วยหรือไม่นั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ เซิร์ฟเวอร์หลักภายในอินทราเน็ต คือ เว็บเซิร์ฟเวอร์
ซึ่งใช้เป็นศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร ระบบ WWW ให้บริการข้อมูลได้ทั้งข้อความ เสียง
ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ผ่านโปรแกรม browser ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน

ลักษณะการเชื่อมโยงและอุปกรณ์ที่ใช้กับอินทราเน็ต

ระบบอินทราเน็ตมักจะเป็นระบบแลนภายในองค์กรที่มีความเร็วสูงมากเปรียบเทียบกับระบบอินเทอร์เน็ตที่ต้องเชื่อมต่อออกไป
ภายนอกหน่วยงาน ดังนั้นลักษณะงานบางอย่างที่ต้องสื่อสารด้วยความเร็วสูงจะทำได้ไม่ดีนักในระบบอินเทอร์เน็ต เช่น
ระบบภาพและเสียง
ระบบการประชุมทางไกล เป็นต้น แต่งานลักษณะนี้ไม่เป็นปัญหาสำหรับระบบอินทราเน็ตแต่อย่างไร

เราสามารถที่จะทำการฝึกอบรมทางไกลหรือการประชุมผ่านระบบเครือข่ายบนระบบอินทราเน็ตได้โดยการส่งสัญญาณจำนวน
มากลงในสาย เช่น กรณีที่เราต้องการส่งภาพเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ถ้าจะต้องการคุณภาพสูงๆ ก็ต้องใช้แบนด์วิธ
อย่างน้อย 128 กิโลบิตต่อวินาทีขึ้นไป แบนด์วิธขนาดนี้ไม่สามารถทำได้กับการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตแบบธรรมดาแน่เพราะ
ซึ่งถ้าใช้ระบบโทรศัพท์ดิจิตอล
ก็จะได้ความเร็วที่56กิโลบิตต่อวินาทีเท่านั้นแต่ในขณะที่ระบบอินทราเน็ตจะเชื่อมต่อกันด้วยวงแลนซึ่งความเร็วขั้นต่ำ
10 เมกกะบิตแล้ว ยังสามารถรองรับการใช้งานแบนด์วิธสูงๆ ได้อย่างสบาย

ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อ
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะต้องใช้งบประมาณสูง เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อกับระบบภายนอกหน่วยงานซึ่งเรา
ไม่สามารถทำเองได้ ต้องให้หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนที่ได้รับสัมปทานดำเนินการให้ แต่สำหรับ
ระบบอินทราเน็ตแล้วเป็น เมื่อต้องการเชื่อมเครือข่ายย่อยหลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ประกอบ
ที่ทำให้การรับส่งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เชื่อมโยงถึงกัน โดยทั่วไปเรามักใช้ระบบการรับส่งข้อมูลเป็นชุดเล็ก ๆ
ที่เรียกว่า แพ็กเก็ต ข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตสามารถเคลื่อนที่จากต้นทางไปยังปลายทางได้ โดยผ่านอุปกรณ์เลือกเส้นทาง
การเลือกเส้นทางสามารถเลือกผ่านทั้งทางด้านเครือข่ายแลนและแวน โดยปกติมีการกำหนดแอดเดรสของตัวรับและตัวส่ง
ดังนั้นจึงต้องมีแอดเดรสปรากฏอยู่ในแพ็กเก็ต อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายทุกหน่วยจึงมีแอดเดรสกำกับ แอดเดรสหรือ
ตำแหน่งที่อยู่มีรูปแบบที่ชัดเจน ได้รับการกำหนดเป็นมาตรฐาน เช่น แอดเดรสที่ใช้ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ใช้รหัสตัวเลข 32 บิต ที่เรียกว่าไอพีแอดเดรส แพ็กเก็ตข้อมูลทุกแพ็กเก็ตจึงมีข้อมูลที่บ่งบอกว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาจากที่ใด
และปลายทางอยู่ที่ใด

การเลือกเส้นทางจึงขึ้นอยู่กับแอดเดรสที่กำหนดในแพ็กเก็ต เมื่อแพ็กเก็ตข้อมูลผ่านมายังอุปกรณ์ต่าง ๆ
อุปกรณ์เหล่านั้นจะตรวจสอบดูว่า แอดเดรสต้นทางและปลายทางอยู่ที่ใด จะส่งผ่านแพ็กเก็ตนั้นไปยังเส้นทางใด
เพื่อให้ถึงจุดหมายตามต้องการ

การติดตั้งระบบอินทราเน็ต
1.เตรียมพร้อม TCP/IP องค์กรที่มีการวางระบบเครือข่ายภายใต้โปรโตคอล TCP/IP พร้อมอยู่แล้ว สามารถจะเข้าสู่อินทราเน็ตได้โดยง่าย แต่ถ้าใช้งานเน็ตแวร์ภายใต้โปรโตคอล IPX/SPX ก็จำเป็นต้องติดตั้ง GateWay
หรือ Router เพื่อเชื่อม Web Browser เข้ากับ Netware ที่มีอยู่
2.เลือก Hardware ที่ทำหน้าที่เป็น Web Server มีให้เลือกอย่างหลากหลาย Web Server สำหรับ Intranet จะมีสมรรถนะระดับใดขึ้นกับบริการที่มีให้และจำนวนผู้ใช้ในเครือข่าย เครื่องที่ให้เลือกจึงมีได้ตั้งแต่ PC ซึ่งเป็น
CPU Pentium , Work Station (สถานีงาน) หรือ Server สมรรถนะสูง
3.เลือก Software สำหรับหน่วยงานระดับเล็กที่มีงบประมาณจำกัด
4.เลือกซอร์ฟแวร์ประยุกต์ อินทราเน็ตภายใต้ Linux หรือUnio จะมีซอร์ฟแวร์ประยุกต์ในรูปของฟรีแวร์เป็นจำนวนมากทั้งเพื่อการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และการสร้างกลุ่มข่าว
5. จัดเตรียมข้อมูล ขั้นตอนนี้เป็นการติตั้งเว็บ และนำเข้าพร้อมทั้งจัดเตรียมเครื่องมือในการพัฒนาระบบเว็บ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งซอร์ฟแวร์และฟรีแวร์ให้เลือกมากมาย

อินทราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต ภายในองค์กร จะเป็นเครื่องมือบริหารงานสำคัญชิ้นใหม่ที่จะช่วยให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จุดเด่นหลักของอินทราเน็ตมีหลายประการ นับแต่ Server ไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องสมรรถนะสูงเมื่อเปรียบกับการใช้
Groupware และ Web Browser มีให้เลือกใช้อย่างหลากหลายตาม Hardware และระบบปฏิบัติการทมี่มีอยู่ และมีรูปแบบการใช้เหมือนกัน อีกทั้งสามารถขยายการเชื่อมต่อไปยังภายนอกได้ง่ายกว่า

ทำไมต้องอินทราเน็ต

อินทราเน็ตจะช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเอกสารที่แต่เดิมใช้วิธิทำสำเนาแจกจ่ายไม่ว่าจะเป็นข่าว
ประกาศ รายงาน สมุดโทรศัพท์ภายใน หรือข้อมูลบุคลากรให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์แทน
การกระจายข้อมูลแบบ ดั้งเดิมซึ่งใช้การพิมพ์สำเนาแจกจ่ายเป็นวิธีที่ง่ายและยังพบเห็นอยู่ในหลายองค์กร
แต่ไม่เหมาะกับข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องสำเนาใหม่ จึงสิ้นเปลืองทั้งเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย
การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยจัดการปัญหาในรูปของระบบสำนักงานอัตโนมัติด้วยระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ลักษณะพื้นฐานของระบบที่ใช้อยู่โดยทั่วไปนั้น ผู้ที่ใช้เครื่องจะร้องขอข้อมูล ก่อนก้าวสู่อินทราเน็ต
การปรับเปลี่ยนระบบไปสู่อินทราเน็ตไม่ใช่เรื่องที่ซับซ้อนตามที่หลายคนคิด กาดภายในองค์กรมีเครือข่าย
อยู่ก่อนเท่ากับมีโครงสร้างพื้นฐานทางฮาร์ดแวร์เตรียมพร้อมแล้ว ซอร์ฟแวร์อินทราเน็ตมีให้เลือกหลากหลาย
สำหรับทุกระบบปฏิบัติการไม่ว่าจะเป็นวินโดวส์แมคอินทอช หรือยูนิกซ์ อินทราเน็ตช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่าย
ในการฝึกอบรมบุคลากร ตลอดจนด้านการพัฒนาโปรแกรมที่ต้องใช้โปรแกรมเมอร์พัฒนาโปรแกรมหลายรูปแบบ
ก็จะเปลี่ยนแนวทางไป โปรแกรมเมอร์จะหันไปศึกษาหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับภาษา HTML , CGI หรือ JAVA

ความแตกต่างระหว่างอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต

อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก
เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน

ส่วน อินทราเน็ตคือระบบอินเทอร์เน็ตนั่นเองแต่เป็นอินเทอร์เน็ตที่ใช้งานเฉพาะภายในองค์กรเท่านั้นไม่ได้อนุญาต
ิให้บุคคลภายนอกเรียกดูข้อมูลเหล่านี้ได้ เป็นการนำเอาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่สามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร
์ได้ทั่วโลกมาประยุกต์ใช้กับงานภายในองค์กรเพื่อให้คอมพิวเตอร์ในองค์กรสามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนและส่งผ่านข้อมูลถึงกันได้

ที่มา :http://202.129.53.76/watcharee/n6.html
        www2.cs.science.cmu.ac.th/ person/panipa/comp100/psch5-net.ppt       
        http://dusithost.dusit.ac.th/librarian/it107/C6.htm