การเตรียมตัวก่อนการแข่งขันในเชิงยุทธวิธีการเล่น

(Preparation Before the Match)

1. ยุทธวิธีการเล่น (Strategy) นักเทนนิสส่วนใหญ่จะคิดว่ายุทธวิธีการเล่นนั้นเป็นความลับที่ยิ่งใหญ่ซึ่งจะมีแต่เฉพาะนักเทนนิสที่เก่งๆ เท่านั้น ที่จะนำมาใช้ได้ยุทธวิธี การเล่นเทนนิสนั้นซับซ้อนมาก แต่ส่วนใหญ่แล้วเราสามารถเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าได้ เช่น การแข่งขันบนพื้นสนาม ที่แตกต่างกันไป สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศที่แตกต่างกันไป จุดอ่อนของคู่ต่อสู้และปัจจัยอื่นๆดังนั้นการใช้ยุทธวิธีในขณะแข่งขันจริงๆจึงใช้น้อยมาก  เพราะคุณสามารถเตรียมการ ล่วงหน้า ไว้ก่อนได้ นักเทนนิสที่คิดมากเกินไปก็อาจจะทำให้ตัวเองสับสนในขณะที่จะตีลูกบอลก็เป็นได้ ความเข้าใจใน เกมเทนนิสเป็นหัวใจสำคัญ ที่มีผลต่อยุทธวิธีการเล่น เพราะยุทธวิธีนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคุณเข้าใจในเกมเทนนิส ฉะนั้นถ้าคุณคิดว่าคุณยังมี ยุทธวิธีการเล่นที่อ่อนอยู่ ก็ให้  ทำความเข้าใจเกี่ยวกับกีฬาเทนนิส(Understanding Tennis)ยุทธวิธีการเล่นของคุณก็จะพัฒนาดีขึ้นไปโดยอัตโนมัติ นักเทนนิสหลายคนเข้าใจว่า ยุทธวิธีการเล่นคือ การโยกทิศทางการตีลูกบอล แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น คุณจะต้องแยกแยะให้ออก ระหว่างยุทธวิธีการเล่นกับ สัญชาตญานจากสัญชาตญาณและประสบการณ์ที่ผ่านมาอย่างโชกโชนมากกว่า

2.  การวางแผน (Planning) คุณควรที่จะเตรียมการไว้ล่วงหน้าก่อนการแข่งขัน เพราะในระหว่างการแข่งขันนั้นคุณจะมีเวลาน้อยมาก ระหว่าง แต้ม และยิ่งถ้าคุณตกอยู่ในสภาพที่มีความกดดันด้วยแล้ว คุณอาจจะเกิดอาการ"มึน"คิดไม่ค่อยออก กล่าวคือ ยุทธวิธีการเล่นนั้นมีน้อยมาก ซึ่ง ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นปฏิกิริยาตอบสนองมากกว่า สำหรับนักเทนนิสนั้นไม่ว่าจะมีฝีมืออยู่ระดับใดก็ตาม ยุทธวิธีการเล่นที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมตัว ให้พร้อม เช่นคุณควรจะรู้ว่าต้องแข่งขันบนพื้นสนามแบบใด สนามแข่งขันสูงจากระดับน้ำทะเลเท่าไหร่ จะแข่งขันในเวลาใด กลางวันหรือว่าต้องใช้ไฟ สภาพอากาศในเวลาที่จะทำการแข่งขันหรือว่าแข่งขันบนคอร์ตในร่ม คุณควรจะรู้ว่าใครคือคู่ต่อสู้ของคุณ เขาตีด้วยมือซ้ายหรือขวา ตีด้วยมือเดียวหรือ สองมือ เขาเป็นคู่ต่อสู้ที่เสิร์ฟแล้วตามขึ้นหน้าตาข่ายหรือว่ายืนกราวน์สโตรคที่ท้ายคอร์ต เขาเป็นคนชอบตีแรงหรือว่าเล่นแบบนิ่มนวล นักเทนนิสที่มี การวางแผนที่ดีนั้นจะต้องมีความเข้าใจเกมทั่วๆไป จึงจะสามารถสร้างยุทธวิธีการเล่นได้อย่างมีประสิทธิผล และถึงแม้ว่าจะใช้ไม่ได้ผล ก็จะสามารถ เลือกเอาวิธีอื่นๆมาใช้ได้อีก

3.  การเรียนรู้ถึงคู่ต่อสู้ (Watch Your Opponent) จะเป็นการดีอย่างยิ่งที่คุณจะรู้ล่วงหน้าว่าใครคือคู่ต่อสู้ คุณจะได้มีโอกาสติดตามดูขณะที่ เขาแข่งขันในรอบก่อนที่จะเจอกับคุณ หรือแม้กระทั่งสืบดูขณะที่เขาฝึกซ้อมเลย ตัวอย่างเช่น(ก)คู่ต่อสู้ของคุณตีด้วนแบคแฮนด์สองมือ ถ้าเขายืนตีแบบ เปิด (Open-stance) เขามักจะตีลูกทะแยงและถ้าเขายืนตีแบบปิด(Close-stance)เขามักจะตีลูกขนานเส้นข้าง(ข)เมื่อใดที่ ร็อด เลเวอร์(Rod Laver) หยุดหมุนสะโพกขวาในขณะเสิร์ฟ ก็แสดงว่าเขาเหนื่อยแล้ว ลูกบอลจะตกสั้นหรือไม่ก็จะเสิร์ฟเสียสองลูกติดต่อกัน(Double-faults) ซึ่งถ้าคุณสังเกต เห็นสิ่งต่างๆเหล่านี้แล้วคุณก็จะสามารถนำไปเป็นข้อมูลในการสร้างยุทธวิธีการเล่นกับคู่ต่อสู้ได้(ค)บนสนามหญ้าลูกบอลจะกระดอนต่ำกว่าสนามพื้นแข็ง  ถ้าคุณพบคู่ต่อสู้ที่เพิ่งจะสิ้นสุดการแข่งขันมาจากสนามหญ้า และมาทำการแข่งขันบนสนามพื้นแข็ง ก็ให้คุณพยายามตีลูกด้วยลูกท็อปสปิน (Topspin) ที่ดีดสูง ไม่ว่าจะเป็นลูกเสิร์ฟหรือลูกกราวน์สโตรค(Ground Stroke) ซึ่งจะทำให้คู่ต่อสู้ตีลูกที่ไม่ถนัดและอาจจะตีลูกลอยโด่งกลับมาให้คุณ ตีวอลเล่ย์ เพื่อทำแต้มเลยก็ได้(ง)ถ้าคู่ต่อสู้เสิร์ฟแล้วตามขึ้นหน้าตาข่าย ขณะที่เขาตีอยู่บนคอร์ตหญ้าเขาจะวิ่งด้วยความระมัดระวังเพราะกลัวลื่นบนสนามหญ้า และตีวอลเล่ย์ลูกแรกหลังเส้นเสิร์ฟ ฉะนั้นเมื่อคุณแข่งขันกับเขาในขณะที่คุณเป็นฝ่ายรับลูกเสิร์ฟ ให้เดินชิดเข้าไปในคอร์ตสัก 2-3 ก้าว เพื่อว่าคุณ จะสามารถรับลูกเสิร์ฟนั้นกลับไปยังแดนของเขาได้เร็วกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้เขาต้องตีลูกวอลเล่ย์ที่ต่ำและตีหลังเส้นเสิร์ฟอยู่เสมอ ลูกบอลที่ลอยมายังฝั่ง คุณก็จะไม่มีพิษสงอะไร ทำให้คุณสามารถตีลูกตีลูกผ่านเขาไปได้อย่างไม่ยากนัก

4.  การจดบันทึก (Write Down Observation) การจดบันทึกนี้จะมีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ถึงคู่ต่อสู้ เพราะเทนนิสเป็นกีฬาที่ซับซ้อนมาก คู่ต่อสู้แต่ละคนก็แตกต่างกันไป การเคลื่อนที่ของคุณเองหรือการกระดอนของลูกบอลบนพื้นสนามแต่ละชนิดก็แตกต่างกันไป ในแต่ละวันก็จะมี องค์ประกอบของปัญหาที่แตกต่างกันออกไป เทนนิสนั้นมีปัญหาที่แตกต่างกันไปมากมาย ฉะนั้นจึงเป็นการยากต่อการจดจำด้วยสมองของคุณ คุณจึง จำเป็นที่จะต้องจดบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำ ในการที่คุณมีสมุดพกเล็กๆเพื่อติดตัวคุณไว้ตลอดเวลานี้ จะช่วยให้คุณสามารถเรียนรู้ถึงข้อดีข้อเสีย ของคู่ต่อสู้ได้เป็นอย่างดี และคุณยังสามารถบันทึกจุดเด่นและจุดอ่อนของตัวคุณเองไว้ได้อีกด้วย ซึ่งจะทำให้คุณเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในเกม เทนนิสมากขึ้น

วิธีการจดบันทึกอย่างง่ายๆ

  1. ความรู้ทั่วๆไปเช่น ทำไมการตีวอลเล่ย์ถึงต้องใส่อันเดอร์สปิน(Underspin)คุณใช้วิธีการอะไรในการแยกแยะความแตกต่างของ ความลึกของ คอร์ต (ความยาวของสนาม) การหมุนของลูกบอลมีผลมาจากการตีอย่างไร ทำไมหรือเมื่อไหร่ที่คุณควรจะตีลูกหยอด

  2. การสำรวจตัวเอง เช่น คุณมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างไรบ้างต่อสถานการณ์ต่างๆในขณะแข่งขัน คู่ต่อสู้มีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างไร

5. การวอร์มโต้ลูกก่อนการแข่งขัน (Hit as a Warm up) นักเทนนิสระดับสโมสรมักจะใช้เวลาในการวอร์มโต้ลูกก่อนการแข่งขันเพื่อที่จะฝึกฝน การตีของของตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่มันเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะสามารถพัฒนาการตีให้ได้ในขณะนั้น ฉะนั้นในช่วงของการวอร์มโต้ลูกก่อนการแข่งขันนี้ คุณจึงควรที่จะใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ที่จะ"สังเกต"คู่ต่อสู้มากกว่าที่จะมองแต่ตัวคุณเอง คุณควรที่จะเริ่มต้นยืนตีลูกที่หน้าตาข่ายให้เร็วหลังจากโต้ ท้ายคอร์ตแล้ว เพราะคู่ต่อสู้ของคุณมักจะแสดงให้คุณเห็นการตีด้วยวิธีการหลายๆแบบขณะที่คุณวอลเล่ย์อยู่คุณควรจะลองตีด้วยลูกเร็วบ้าง ช้าบ้าง และดูว่าเขาจะรับลูกนั้นๆด้วยวิธีการอย่างไร

วิธีสังเกตคู่ต่อสู้

5.1 ถ้าคู่ต่อสู้วางเท้านำ(เท้าที่อยู่ด้านหน้า)เข้ามาตีลูกบอล โดยวางเต็มฝ่าเท้าบนพื้นแสดงว่าเขามีความมั่นใจสูงในการตีลูกบอล

5.2  ถ้าคู่ต่อสู้ก้าวเท้านำเข้ามาในสนามในการยืนตีแบบปิด โดยระยะก้าวเท้ากว้าง แสดงว่าเขามีโอกาสที่จะตีลูกขนานเส้นข้าง มากกว่า ตีลูกทแยง

5.3 ถ้าคู่ต่อสู้ยืนตีแบบเปิด แสดงว่าเขามีโอกาสที่จะตีลูกทแยงมากกว่าตีลูกขนานเส้นข้าง

5.4 ถ้าคู่ต่อสู้เปิดหน้าไม้ในการสวิงไม้เพื่อเตรียมตัวทุกครั้ง แสดงว่าคู่ต่อสู้ต้องการตีด้วยอันเดอร์สปิน

(ก) ในกรณีที่เขาพยายาม ที่จะตีลูกผ่านคุณถ้าเขาตกอยู่ในสภาวะความกดดันโอกาสที่เขาจะตีลูกบอลพลาดลอยโด่ง เหนือตาข่ายนั้น มีสูงมาก

(ข) ถ้าเขาตี ลูกแอพโพรชช็อท (Approach Shot) เพื่อตามลูกบอลขึ้นสู่ตาข่าย ลูกบอลนั้นก็จะเคลื่อนที่มายังฝั่งคุณ ไม่เร็วนัก

              5.5 ถ้าคู่ต่อสู้จับกริปคอนติเนนตัล เขาก็จะไม่สามารถที่จะตีลูกบอลที่สูงในด้านโฟร์แฮนด์ได้ดีนัก

             ในระหว่างที่คุณวอร์มโต้ลูกก่อนการแข่งขันกับคู่ต่อสู้ คุณสามารถที่จะใช้ยุทธวิธีหลาย ๆ แบบให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น คุณอาจจะตีลูกบอล ส่วนใหญ่ ไปข้างที่คู่ต่อสู้ถนัด หรือไม่ก็ตีไปข้างที่เขาไม่ถนัด ถ้าคุณตีไปในข้างที่เขาถนัดเขาก็จะเกิดความมั่นใจ สูงในขณะที่วอร์มโต้ลูกกัน แต่ในขณะ แข่งขันก็ให้คุณจี้ไปในข้างที่เขาไม่ถนัด ก็อาจจะทำให้คู่ต่อสู้ตีไม่ได้เลยก็เป็นได้เพราะเขา ยังวอร์มโต้ลูกไม่พอและถ้าคุณตีไปในข้างที่เขา ไม่ถนัด ในขณะที่วอร์มโต้ลูกกัน แต่ในขณะแข่งขันคุณก็จี้ไปในข้างที่เขาถนัด บางครั้งก็อาจจะทำให้คู่ต่อสู้ตีไม่ได้และขาดความมั่นใจไปในที่สุดก็เป็นไปได้ ฉะนั้น ตัวคุณเองก็ควรจะวอร์มโต้ลูกให้พร้อมในทุก ๆ ลูกก่อนลงสนาม ถ้าในกรณีที่คู่ต่อสู้ของคุณต้องการจังหวะมาก ๆ ในการตีในขณะวอร์มโต้ลูก คุณควรจะพยายามเปลี่ยนจังหวะบอล หรือตีลูกบอลให้แรง (ความแรงที่คุณสามารถบังคับได้ดี) จะทำให้เขาไม่สามารถจับจังหวะบอลได้และเมื่อ การแข่งขันเริ่มขึ้น คุณก็ตี แต่ลูกโรย ๆ ห้อย ๆ เบา ๆ จะทำให้เขาเสียจังหวะได้เช่นกัน วิธีการทั้งหมดนี้ควรกระทำอย่างแนบเนียนและสังเกตดูให้ดีว่า จะเหมาะสมที่จะนำมาใช้กับสถาณการณ์เช่นใด จึงจะทำให้คุณได้แต้มและที่สำคัญที่สุดก็คือให้คุณ "คิด" โดยมีสติอยู่ตลอดเวลา ในการแข่งขัน ซึ่งจะ ทำให้คุณรู้ว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่หรือจะพูดกันรวม ๆ ว่าทำ "สมาธิ" ให้ดีในขณะแข่งขันแล้วคุณก็จะประสบผลสำเร็จ

             คุณควรจะพยายามตีให้ดีที่สุดในขณะวอร์มโต้ลูก ซึ่งจะทำให้คุณได้เปรียบในแง่ของจิตวิทยา ฉะนั้น ถ้าจะให้ดีคุณควรจะ มีเวลาวอร์มโต้ลูก ให้พร้อมก่อนที่จะวอร์มโต้ลูกกับคู่ต่อสู้ เพื่อให้เกิดความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ขณะวอร์มโต้ลูกพยายาม ตีลูกให้เสียน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็น ไปได้ เพื่อจะทำให้คู่ต่อสู้เกิดความกดดันมากขึ้น