พิมพ์ดีดไทย 1


การพิมพ์สัมผัสและการใช้เครื่องพิมพ์ดีด
เทคนิคขั้นพื้นฐานในการเรียนพิมพ์ดีด
ก่อนที่จะเริ่มเรียนพิมพ์ดีด ผู้เรียนควรจะได้รู้เทคนิคเบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักการพิมพ์ที่ถูกต้อง และถ้าผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามได้ ก็จะทำให้การเรียนเป็นไปได้ เร็วขึ้น
1. การนั่งให้ถูกวิธี
ทำให้สามารถพิมพ์ดีดได้เป็นเวลานานและต่อเนื่องกันโดยมีความเหนื่อยและเมื่อยล้าน้อยที่สุด
ข้อควรระวัง 1. อย่านั่งหลังงอและนั่งไขว่ห้างเพราะเสียบุคลิกและจะทำให้ปวดหลัง
2. ตามองที่แบบพิมพ์เท่านั้น
1.1 นั่งตัวตรงและเอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย โดยลำตัวอยู่ห่างจากขอบโต๊ะประมาณ 1 คืบ เท้าทั้งสองข้างวางราบกับพื้นโดยให้เท้าใดวางเหลื่อมกันเล็กน้อย ข้อศอกอยู่ข้างลำตัว แขนท่อนล่างทำมุมประมาณ 30 องศา กับผิวโต๊ะ คอตั้งตรง ศีรษะหันไปทางขวาเล็กน้อยเพื่ออ่านต้นฉบับส่วนโต๊ะพิมพ์ดีดที่ใช้ควรจะมีความสูงประมาณ 28 นิ้ว ซึ่งเหมาะสำหรับรูปร่างของคนไทยทั่วไป
1.2 มือทั้งสองลาดต่ำลงขนานกับแป้นอักษรให้เป็นเส้นตรงกับช่วงแขน นิ้วมืองอ ดังภาพ
ข้อควรระวัง ห้ามมิให้ข้อมือทั้งสองโดนขอบเครื่องพิมพ์ดีดหรือขอบโต๊ะโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ยากแก่การก้าวนิ้ว ในการเรียนพิมพ์ดีดผู้เรียนต้องตัดเล็บให้สั้นเพื่อสะดวกในการเคาะแป้นอักษร
2. การวางนิ้วที่แป้นเหย้าและการเคาะแป้นอักษร
การวางนิ้วที่แป้นเหย้า มือซ้าย นิ้วก้อยซ้ายสัมผัสกับแป้นอักษร “ฟ” ส่วนนิ้วนาง – กลาง – ชี้ ก็สัมผัสกับ แป้นอักษร ห, ก, ด ตามลำดับ
กางวางนิ้วที่แป้นเหย้า มือขวา นิ้วชี้ขวาสัมผัสแป้นอักษร “ '” ส่วนนิ้วกลาง – นาง – ก้อย ก็สัมผัสแป้นอักษร า , ส , ว ตามลำดับ
( มือซ้าย ) ก้อย นาง กลาง ชี้ ชี้ กลาง นาง ก้อย (มือขวา)
แป้นเหย้าภาษาไทย ฟ ห ก ด ' า ส ว



โดย : นาง สว่างจิตร ธานิสพงศ์, นารีนุกูล, วันที่ 15 มิถุนายน 2545