ทำความรู้จัก ‘ยางมะตอย’ ผลิตจากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม

ทำความรู้จัก ‘ยางมะตอย’ ผลิตจากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม

รายงานข่าวจากเพจเฟซบุ๊ก สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เผยแพร่ความ ยางมะตอย (Asphalt , Bitumen)ผลผลิตจากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ว่า

หลายท่านคงรู้จักยางมะตอย (Asphalt , Bitumen) สำหรับผู้ขับขี่ ใช้รถใช้ถนน จะเห็บนพื้นนถนนที่ราดด้วยยางมะตอย ซึ่งยางมะตอยที่มีลักษณะเป็นของเหลวข้นเหนียวหนืดยืดสูง สีน้ำตาลแก่แกมดำแท้จริง แล้วยางมะตอยเป็นส่วนหนึ่งของหลายผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม (น้ำมันดิบ) โดยยางมะตอยอยู่ในส่วนของน้ำมันดิบที่หนักที่สุด และก่อนนำมาใช้งานต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณสมบัติให้เหมาะสมกับงานประเภท ต่างๆ ทั้งนี้ กระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม (น้ำมันดิบ) คือ กระบวนการย่อยสลายสารประกอบไฮโดรคาร์บอนในปิโตรเลียม ที่มีความสลับซับซ้อน และผลิตภัณฑ์หลักที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ได้แก่

น้ำมันส่วนที่เบา (Lighter Fractions) เช่น น้ำมันเบนซิน พาราฟิน

น้ำมันส่วนที่หนักกว่า (Heavier Fractions) เช่น น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา

Advertisement

ผลิตภัณฑ์ยางมะตอย มี 4 ประเภท ได้แก่
1. Asphalt Cement (ยางแอสฟัลท์) ได้มาจากการกลั่นน้ามันปิโตรเลียม (น้ำมันดิบ) จะเป็นส่วนที่ข้นและหนักที่สุด ซึ่งก็จะมีหลายเกรดตามความอ่อน แข็ง ราคาถูก เป็นยางแข็งต้องให้ความร้อนถึงจะละลายเป็นของเหลว ใช้งานบนถนนเท่านั้น เช่น AC 60/70

2. Asphalt Emulsion (ยางอิมัลซิไฟเออร์) ยางมะตอยน้ำ ผลิตจากการนำยางแอสฟัลท์มาตีให้กระจายเป็นอนุภาคเม็ดเล็กๆ อยู่ในน้ำ และเป็นเนื้อเดียวกัน โดยใช้สารเคมีประเภท “อิมัลวิไฟเออร์” หลังจากใช้งาน น้ำในแอสฟัลท์อิมัลชั่นจะระเหยไป เหลือแต่แอสฟัลท์ให้เกาะตัวกันเป็นฟิล์มต่อเนื่อง ใช้ในการซ่อมถนน เช่น CSS-1 (20-70 °C)

3. Cut-back Asphalt (ยางคัทแบก) ได้จากการผสมแอสฟัลท์ซีเมนต์ (Asphalt Cement) กับ สารละลาย (Solvent) ให้เป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อแข็งตัว สารละลายจะระเหยไป เหลือแต่แอสฟัลท์ซีเมนต์ เช่น MC-30 (30 – 90 °C) , MC-70 (50 – 110 °C) ปกติใช้ในงานรองพื้น (Prime Coat) ก่อนที่จะลาดยาง เพื่อป้องกันการไหลซึมของน้ำลงไปที่พื้นดินที่อัดไว้ก่อนหน้านี้

Advertisement

4. Polymer Modified Asphalt (โพลิเมอร์โมดิฟายส์แอสฟัลท์) คือ ยางแอสฟัลท์เกรดพิเศษ ที่ได้จากการผสมระหว่างโพลีเมอร (POLYMER) กับ แอสฟลตซีเมนต (ASPHALT CEMENT) ภายใต้กระบวนการผสมที่ดำเนินการในโรงงานผลิต โดยใช้เครื่องผสมที่ออกแบบโดยเฉพาะสารโพลีเมอร ได้แก่ SBS (STYRENE BUTADIENE STYRENE), EVA (ETHYLENE VINYL ACETATE) หรือสารโพลี เมอรอื่น ซึ่งเมื่อนำมาผสมเป็นผิวทาง แอสฟัลท์คอนกรีตชนิดผสมร้อน (Hot Mix Asphalt) ให้คุณสมบัติที่เหนือกว่าผิวทางแอสฟัลท์คอนกรีตทั่วไป

จะเห็นได้ว่ากระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ให้ประโยชน์มากกว่าการได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันประเภทต่างๆ อย่างเช่น ยางมะตอย ที่ สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) ได้ยกตัวอย่างมาให้ได้ทราบกัน อย่างไรก็ตาม การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพนอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในกระเปาสตางค์ท่านแล้วยังช่วยให้ประเทศชาติประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าอย่างมั่นคงอีกด้วย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image