เรือบรรทุกเครื่องบินสร้างขึ้นเองของอินเดียเข้าประจำการแล้ว

เมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมานี้ นายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี แห่งประเทศอินเดีย ได้ทำพิธีขึ้นระวางประจำการเรือบรรทุกเครื่องบิน ไอเอ็นเอส วิกรันต์ ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สอง และเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่ออกแบบและผลิตเองภายในประเทศลำแรก รวมทั้งเป็นเรือรบลำใหญ่ที่สุดที่ต่อขึ้นเองภายในอู่ต่อเรือของทางการอินเดีย

เรือบรรทุกเครื่องบินวิกรันต์นี้ ใช้ลูกเรือประมาณ 1,600 คน และบรรทุกอากาศยานได้ 30 ลำ มีน้ำหนัก 45,000 ตัน ยาว 262 เมตร และกว้าง 62 เมตร ดาดฟ้าเรือมีพื้นที่ 12,000 ตารางเมตร ซึ่งสามารถรองรับเครื่องบินขับไล่ 12 ลำ และเฮลิคอปเตอร์ 6 ลำขึ้นลงพร้อมกันได้ เรือลำนี้ใช้เงินทั้งสิ้นในการต่อเรือ 2 แสนล้านรูปี หรือ 92,000 ล้านบาท ตอนนี้กองทัพเรืออินเดียกำลังพิจารณาต่อเรือบรรทุกเครื่องบินเองลำที่สอง ซึ่งยังอยู่ในขั้นวางแนวคิด โดยประมาณกันว่า เรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่อาจมีน้ำหนักถึง 65,000 ตัน และมีขนาดเทียบเท่าเรือบรรทุกเครื่องบิน เอชเอ็มเอส ควีน เอลิซาเบธ ลำล่าสุดของอังกฤษเลยทีเดียว

ความจริงประเทศอินเดียก็มีเรือบรรทุกเครื่องบินอยู่ลำหนึ่งอยู่แล้วชื่อเรือบรรทุกเครื่องบิน ไอเอ็นเอส วิกรมอทิตยา ที่อินเดียซื้อต่อมาจากรัสเซียพร้อมทั้งเครื่องบินมิก-29 ที่อินเดียใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบิน
ไอเอ็นเอสวิกรมอทิตยาด้วย

ทำไมจึงเป็นข่าวใหญ่ที่สำคัญ? เพราะว่าในอดีตลัทธิจักรวรรดินิยมของทางตะวันตกที่แผ่ขยายไปทั่วโลกจนบรรดาประเทศในทวีปอเมริกาทั้งเหนือและใต้ แอฟริกา เอเชียตลอดจนทวีปออสเตรเลียต้องตกเป็นอาณานิคมของชาวยุโรปก็เนื่องมาจากแสนยานุภาพของกองทัพเรือเป็นหลักนั่นเอง

Advertisement

เริ่มต้นจากเรือใบ มาเป็นเรือใช้เครื่องจักรไอน้ำ มาเป็นเรือเหล็ก และช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 เรือรบที่สำคัญในสมัยนั้นก็คือเรือประจัญบาน (Battleship) เรือประจัญบาน เป็นเรือที่ทรงอำนาจสูงสุดด้วยอำนาจการยิงที่รุนแรง ปืนใหญ่นานาขนาดถูกบรรจุลงไปในเรือจนแทบจะไม่มีที่ว่าง ปืนใหญ่หลักของเรือประจัญบานจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางสิบสี่นิ้วขึ้นไป ปืนใหญ่เรือที่ใหญ่ที่สุดเป็นของจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น เส้นผ่านศูนย์กลางสิบแปดนิ้ว ปืนใหญ่รองมีขนาดลดหลั่นลงมานับสิบกระบอก เสริมด้วยปืนใหญ่ที่มีขนาดเล็กลงมาอีกจนถึงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางสามนิ้ว ซึ่งถือว่าเป็นปืนใหญ่ที่สามารถยิงต่อสู้อากาศยานได้ด้วย

การมีฝูงเรือประจัญบานถือว่ามีความสำคัญมาก สำหรับประเทศใดๆ ก็ตามที่ต้องการคงไว้ซึ่งความเป็นใหญ่ทางทะเล

แต่ในสงครามโลกครั้งที่ 2 บรรดาเรือประจัญบานทั้งหลายกลับถูกจมอับปางโดยฝูงบินทิ้งระเบิดที่มีฐานบินมาจากเรือบรรทุกเครื่องบินทำให้เรือประจัญบานต้องแทบสูญพันธุ์ไปและราชาของกองทัพเรือก็เกิดขึ้นใหม่ในรูปของเรือบรรทุกเครื่องบินนั่นเอง แต่เนื่องจากเรือบรรทุกเครื่องบินแต่ละลำนั้นมีราคาแพงมากและการออกปฏิบัติการทางทะเลแต่ละครั้งต้องนำทหารและผู้คนนับหมื่นคนโดยต้องมีเรือคุ้มกันไปด้วยนับสิบลำ

Advertisement

ดังนั้น ประเทศที่จะมีเรือบรรทุกเครื่องบินได้จึงต้องเป็นประเทศที่มั่งคั่งมาก กล่าวกันว่าประเทศสหภาพโซเวียตที่ล่มสลายไปเมื่อปี 2534 นั้นมีสาหตุสำคัญประการหนึ่งคือรัฐบาลสหภาพโซเวียตทุ่มเทเงินงบประมาณในการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินหลายลำพร้อมๆ กันจนเศรษฐกิจล้มละลายไปเลยทีเดียว

ปัจจุบันนี้มีเรือบรรทุกเครื่องบินประจำการอยู่ 45 ลำในโลกของ 14 ประเทศโดยสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวมีเรือบรรทุกเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดและทันสมัยที่สุดถึง 11 ลำสามารถบรรทุกเครื่องบินโจมตีได้ ลำละ 80 เครื่อง นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกายังมีเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์แบบเรือหลวงจักรีนฤเบศร ของไทยแต่ใหญ่กว่าเพราะสามารถบรรทุกเครื่องบินรบแบบขึ้นลงแนวดิ่งได้ถึง 20 เครื่องอีก 9 ลำ

สำหรับอังกฤษ สาธารณรัฐประชาชนจีนและอินเดียมีเรือบรรทุกเครื่องบินประเทศละ 2 ลำ ส่วนฝรั่งเศส รัสเซียมีเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดกลางประเทศละ 1 ลำทั้ง 5 ประเทศนี้ใช้เรือบรรทุกเครื่องบินที่บรรทุกเครื่องบินโจมตีได้ 30-60 เครื่อง โดยอิตาลีมีเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็ก 2 ลำและสเปนมี 1 ลำ

ส่วนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ หรือบรรทุกเครื่องบินรบที่ขึ้นลงแนวดิ่งได้นั้น ญี่ปุ่นมี 4 ลำ ฝรั่งเศสมี 3 ลำ ออสเตรเลียและอียิปต์มีประเทศละ 2 ลำ แต่บราซิล เกาหลีใต้ และราชอาณาจักรไทยมีประเทศละ 1 ลำ

ญี่ปุ่นเพิ่มงบกลาโหมสูงสุดรอบหลายสิบปี ผวาภัยคุกคามจีน-เกาหลีเหนือสาธารณรัฐประชาชนจีนที่โชว์กำลังทางเรือข่มขู่ไต้หวันและอ้างสิทธิในทะเลจีนใต้เกือบทั้งหมดก็ได้ใช้เรือบรรทุกเครื่องบินรุ่น 30 กว่าปีมาแล้ว 2 ลำเป็นหลัก โดยกำลังสร้างใหม่อีกลำหนึ่งซึ่งจะใหญ่และทันสมัยกว่าเรือบรรทุกเครื่องบินที่มีอยู่ทั้ง 2 ลำในปัจจุบัน และมีโครงการที่จะสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์อีกในอนาคต
ซึ่งหากจีนสามารถสร้างเรือบรรทุกขึ้นอีก 2 ลำ ตามที่วางโครงการไว้ เมื่อนั้นกำลังทางนาวีของจีนก็จะน่าเกรงขามอย่างแท้จริง

สำหรับญี่ปุ่นที่เป็นประเทศเกาะถูกคุกคามจากสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เสริมสร้างกำลังทางนาวีขนานใหญ่โดยมีข้อพิพาทเรื่องเกาะกับญี่ปุ่นในทะเลจีนตะวันออกและเกาหลีเหนือ ที่มักยิงขีปนาวุธมาตกในทะเลใกล้ญี่ปุ่นเป็นประจำ) และยังต้องระวังภัยจากรัสเซียที่ยังมีกรณีพิพาทเรื่องเกาะในหมู่เกาะคูรีลอยู่ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเรื่อยมาทางการญี่ปุ่นจึงได้มีโครงการที่จะดัดแปลงเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำคือ

เรือเจเอส อิซุโมะ และ เรือเจเอส คางะ (แบบเดียวกับเรือรบหลวงจักรีนฤเบศรของไทย) ให้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินประเภทขึ้นลงทางดิ่งและใช้ทางวิ่งสั้น (STOVL aircraft) เรือรบทั้ง 2 ลำนี้มีความยาว 814 ฟุต ระวางขับน้ำ 27,000 ตัน ถือเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่สุดของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นในปัจจุบันเรือเจเอส อิซุโมะจะเข้าประจำการเร็ววันนี้นับเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินรบลำแรกของญี่ปุ่นในรอบ 75 ปีภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และเรือเจเอส คางะจะเข้าประจำการในปีหน้า โดยเรือบรรทุกเครื่องบินทั้ง 2 ลำนี้จะใช้เครื่องบิน F-35 Lightning II เครื่องบินขับไล่โจมตียุคที่ 5 และยังเป็นเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่ง ที่สามารถบินทะลุความเร็วเสียง และเป็นเครื่องบินแบบสเตลธ์ (ล่องหน- เรดาร์จับไม่ได้) รุ่นแรกที่ส่งขายออกนอกประเทศได้ ซึ่งญี่ปุ่นสั่งซื้อแล้ว 40 เครื่อง

ครับ ! เรือบรรทุกเครื่องบินจึงสำคัญที่สุด แต่ก็ต้องมีกองเรือพิฆาตคอยคุ้มกันอย่างหนาแน่นด้วยนะครับ

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image