วิศวกรรมแต่ละสาย ทำอาชีพอะไรได้บ้าง?

วิศวกรรมแต่ละสาย ทำอาชีพอะไรได้บ้าง?

วิศวกรรมแต่ละสาย ทำอาชีพอะไรได้บ้าง?

เพื่อนๆหลายคนยังคงสงสัยว่าเรียนวิศวะแต่ละสายต่างกันยังไง แล้วแต่ละสายจะไปทำงานอะไรได้บ้าง เพราะมีหลายสายเยอะแยะไปหมด วันนี้ BunBUn จะมาสรุปให้คร่าว ๆ ว่าวิศวะแต่ละสาย สามารถไปทำอาชีพอะไรได้บ้าง

1. สายวิศวกรรมไฟฟ้า (ELECTRICAL ENGINEERING)

เป็นสาขาวิชาที่เรียนเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องจักรกล การประมวลผลสัญญาณ ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น การส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า การออกแบบระบบไฟฟ้า ระบบควบคุมอัตโนมัติ สำหรับอาชีพที่สายวิศวกรรมไฟฟ้าทำได้ เช่น วิศวกรไฟฟ้ากำลัง วิศวกรคอมพิวเตอร์ วิศวกรระบบควบคุมและเครื่องมือวัดวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์วิศวกรโทรคมนาคม

2. สายวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (COMPUTER ENGINEERING)

เป็นสายที่เรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการออกแบบ สร้าง พัฒนา และบำรุงรักษาส่วนประกอบทางซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ของระบบคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ สำหรับอาชีพที่สายวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ทำได้ เช่น ผู้ออกแบบระบบ ผู้ตรวจสอบระบบ วิศวกรซอฟต์แวร์ นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาเว็บไซต์ และโปรแกรมเมอร์

3. สายวิศวกรรมการบินและอวกาศยาน (AEROSPACE ENGINEERING)

วิศวกรรมการบินและอวกาศจะเรียนเกี่ยวกับการออกแบบ การสร้าง และการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังของอากาศยานต่าง ๆ อาชีพที่วิศวกรรมการบินและอวกาศยานสามารถทำได้ เช่น วิศวกรออกแบบ วิศวกรควบคุมการโคจรและสถานีดาวเทียม วิศวกรควบคุมการซ่อมบำรุงอากาศยาน วิศวกรด้านการบริหารการจัดการในภาคอุตสาหกรรมธุรกิจการบินและอวกาศวิศวกรด้านการจัดการธุรกิจการขนส่งทางอากาศ

4. สายวิศวกรรมโยธา (CIVIL ENGINEERING)

ศึกษาครอบคลุมทั้งทักษะการออกแบบ การก่อสร้าง รวมถึงการบำรุงรักษา สิ่งปลูกสร้าง อาชีพที่วิศวกรรมโยธาสามารถทำได้ เช่น วิศวกรรมออกแบบ วิศวกรก่อสร้าง วิศวกรโครงการ

5. สายวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (ENVIRONMENTAL ENGINEERING)

เรียนเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์กับวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อวางแผน ออกแบบ ควบคุมการก่อสร้าง และเดินระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ สำหรับอาชีพที่วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมสามารถทำได้ เช่น วิศวกรสิ่งแวดล้อมบริหารจัดการระบบ นักวิจัย นักวิชาการสิ่งแวดล้อม บุคลากรในสถาบันทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

6. สายวิศวกรรมเคมี (CHEMICAL ENGINEERING)

เรียนเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี รวมไปถึงการควบคุมการผลิตและออกแบบโรงงาน เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาชีพที่สายวิศวกรรมเคมีสามารถทำได้ เช่น นักวิจัยด้านเคมี วิศวกรออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิต วิศวกรโครงการ วิศวกรผลิต

7. สายวิศวกรรมอุตสาหการ (INDUSTRIAL ENGINEERING)

เรียนเกี่ยวข้องกับการออกแบบ วางแผน ควบคุม การวิจัย ขั้นตอนการดำเนินงาน การจัดการระบบต่าง ๆ ที่จะครอบคลุมทุกด้าน ทั้งบุคคล สารสนเทศ อุปกรณ์ พลังงาน วัสดุ สถานที่ เวลา และการเงิน อาชีพที่สายวิศวกรรมอุตสาหการสามารถทำได้ เช่น วิศวกรวางระบบ วิศวกรโครงการ วิศวกรโรงงาน วิศวกรในหน่วยงานของรัฐ วิศวกรในสถาบันการเงินและอุตสาหกรรม

8. สายวิศวกรรมเหมืองแร่ (MINING ENGINEERING)

เป็นสาขาวิศวกรรมที่ต้องศึกษาความรู้ทางวิศวกรรมหลาย ๆ ด้านเพื่อค้นหา ขุดแยก และจัดการกับแร่ธาตุจากแหล่งธรรมชาติ สำหรับหน่วยงานที่สายวิศวกรรมเหมืองแร่สามารถเข้าทำงานได้ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กรมพลังงานทหาร กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัทสำรวจปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

ทั้งหมดนี่ก็คือสายอาชีพคร่าวๆ ขอวิศวกรรมแต่ละสาย มีอาชีพที่เพื่อนๆ อยากทำกันอยู่ไหม และในส่วนของเพื่อนๆ ที่อยากเข้าคณะวิศวกรรม BunBun แนะนำให้เช็กตัวเองก่อนนะว่าชอบแนวไหนจะได้เลือกสาขาที่จะเรียนถูก แต่ถ้ายังไม่แน่ใจว่าชอบอะไรมาปรึกษา BunBun ได้ที่ Match House Learning Center ทุกสาขาเลยน๊าาาา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก TCASTER

————————————————————————————
" เรียนอย่างมีความสุข..กับคอร์สที่ออกแบบได้ ที่ Match House Learning Center "
.
ปรึกษาสอบถามหรือวางแผนการเรียนได้ที่ Match House ทุกสาขา
.
สำนักงานใหญ่ (บางแค)
02-413-2556-7
ID Line : @matchhouse
.
สาขาพระราม2
02-872-4440
089-764-6243
ID Line : @bav7993b
.
สาขาซีคอนศรีนครินทร์
02-721-9703
089-764-6243
ID Line : @dzo9818y
.
สาขาซีคอนบางแค
02-458-2645
097-1652992
ID Line : @matchhouse.scbk