2022 ปีของอนันดา! เปิดเกมรุกกับทิศทางธุรกิจใหม่ และกลยุทธ์ ANANDA NEW BLUE

  • 10
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ช่วงที่ผ่านมาสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เรียกได้ว่าค่อนข้างนิ่งจนไปถึงซบเซาในช่วงที่เกิดวิกฤตการแพร่ระบาด ไม่ต่างจากธุรกิจอื่นอย่างอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หรือรีเทลที่ต้องปรับตัว ในส่วนของบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ANAN หนึ่งในนักพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับคนเมือง และเป็นผู้บุกเบิก ผู้นำในตลาดคอนโดมิเนียมติดรถไฟฟ้า จะเห็นว่าเล่นเกมรับมาตลอดระยะ 2 ปีที่ผ่านมาในช่วงที่สถานการณ์ยังไม่แน่นอน

อย่างไรก็ตาม มุมมองที่คุณชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้แชร์ล่าสุดมีความน่าสนใจ เพราะคุณชานนท์มองว่า “Worst is over.” (ความเลวร้ายมันผ่านไปแล้ว) และตลาดอสังหาฯ มีสัญญาณการฟื้นตัว โดยที่ผ่านมาอนันดาพยายามทำตัวเองให้ลีนและสร้าง muscles ให้แข็งแรงขึ้นกว่าเดิม

 

Business model ยังมีความหมายอยู่หรือไม่?

จากคอนเซปต์ของอนันดาที่ยึดมั่นมาตลอดก็คือ urban developer ถึงจุดที่ต้องตระหนักอยู่ตลอดเกี่ยวกับ positioning ของตัวเอง หลังจากที่ชีพจรของการฟื้นตัวในตลาดอสังหาฯ ส่งสัญญาณอีกครั้งช่วง post-COVID-19 อนันดาได้มองสะท้อนกลับมาดูตัวเอง และตั้งคำถามว่า business model ของอนันดายังมีความหมายอยู่หรือไม่ หรือว่าไลฟ์สไตล์จากนี้ ผู้คนสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ work from anywhere ไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ ทุกคนอยู่บ้าน ทุกคนสามารถอยู่ต่างจังหวัด และความเป็นเมือง (Urbanization) อาจจะไม่มีความหมายอีกต่อไปแล้วหรือไม่

แต่อินไซต์จาก vision ของอนันดาที่คุณชานนท์แชร์ มองเห็นความเชื่อมั่นว่า “คนเมืองยังไปต่อและจะกลับมาใช้ชีวิตเมืองเหมือนเดิม” โดยมองย้อนไปที่วิวัฒนาการที่เกิดขึ้นเมื่อ 500 ปีก่อน กลุ่มประเทศทั่วโลกมีการพัฒนาไปสู่เมืองมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วที่จะมองเห็น curve อย่างชัดเจน อย่าง สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ขณะที่ตัวเลขโดยเฉลี่ยทั่วโลกและประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 50% เทียบกับ 2 ประเทศดังกล่าวที่ 80%

 

 

ดังนั้น คุณชานนท์จึงค่อนข้างมั่นใจและฟันธงว่า “ยังไงคนต้องเข้ามาอยู่ในเมือง มาหางาน มีเฮลท์แคร์ที่ดี มีโรงเรียนที่ดี เพียงแต่ว่าตอนนี้เรายังเผชิญกับ disruption มากมายทั้งโควิด ทั้งดิจิทัล”

ทั้งนี้ จากอินไซต์ของทางอนันดาเปิดเผยเหตุผลมากมายที่เชื่อมั่นว่า “ความเป็นเมืองจะกลับมาแน่นอน” อย่างเช่น มูฟเมนต์ของโครงการก่อสร้างขยายต่อของสถานีรถไฟฟ้าจากปี 2020 ที่มีประมาณ 128 สถานี เป้าหมายเพิ่มเป็น 320 สถานีในปี 2030 โดยอัตราการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ เกือบ 2 สถานีต่อเดือน นี่คือสัญญาณที่ชัดมากว่า ความเป็นเมืองจะยังดำเนินต่อไปไม่หยุด

 

 

GDP ทั่วโลกส่งสัญญาณ rebound ทางเศรษฐกิจ

เหตุผลหนึ่งที่อนันดาขยับตัวแรงในครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าทั่วโลกต่างก็ส่งสัญญาณ rebound โดย IMF และ World Economic Outlook 2021 คาดการณ์ตัวเลขเติบโตของ GDP ในทางที่ดีขึ้น จาก -3.1 ในปี 2020 เป็น 5.9 ปีนี้ และ 4.9 ปี 2022

ขณะที่ดัชนี back-to-normal ของสหรัฐฯ ในตอนนี้อยู่ใน range ที่ค่อนข้างสูงประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ถึง 95% แล้ว

กลับมามองที่ไทยที่ได้เปิดประเทศไปตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา คุณชานนท์มองว่า ไทยค่อนข้างเก่งในเรื่องการปรับตัว เริ่มมีการ adopt แล้ว และข้อมูลของ Bloomberg ยังคาดการณ์ว่า GDP ของไทยจะโตขึ้นประมาณ 4.5% ในปี 2022 ขณะเดียวกันคาดการณ์ของกรุงศรี รีเสิรช ได้ปรับเพิ่ม GDP ไทยเช่นเดียวกันอยู่ที่ 3%

ทั้งนี้ในส่วนของการใช้จ่ายของผู้บริโภคคนไทยถือว่าพร้อมมาก โดยข้อมูลล่าสุดของหอการค้าฯ แสดงให้เห็นว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคกำลังกลับมา สูงสุดในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา

 

 

อนันดาเดินหน้าลุย core business และเพิ่มกลยุทธ์ New Blue

จากที่คุณชานนท์รีแคปสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบันเกี่ยวกับกระแส rebound จึงไม่แปลกใจว่าทำไมอนันดา ตัดสินใจลุยเส้นทางที่เป็น core business ของอนันดาต่อ ในฐานะที่เป็น urban living solutions และยังคงคอนเซปต์สร้างชีวิตที่ดีเพื่อคนเมือง โดยยึดหลัก 4 อย่างมาตลอด นั่นก็คือ

  • โลเคชั่น
  • ดีไซน์
  • ผลิตภัณฑ์
  • นวัตกรรม

คุณชานนท์เปิดใจเกี่ยวกับทิศทางในอนาคตของอนันดาว่า จากจุดเด่นมากมายของอนันดาไม่ว่าจะเป็นผู้บุกเบิกคอนโดติดรถไฟฟ้า ซึ่งได้สร้างมาแล้วเกินกว่า 150,000 ล้านบาท ในกว่า 40,000 ยูนิตตลอดปี 2007-2021 อนันดาจะยังเดินหน้าขยายตลาดนี้ต่อไปภายใต้หลายๆ แบรนด์ และจะ keep positioning ที่เป็นเบอร์หนึ่งครองตลาดนี้ต่อไป

ที่น่าสนใจคือ อนันดาต้องการเติมความหลากหลายมากขึ้นในตลาด New Blue ซึ่งเป็นกลยุทธ์ใหม่ของอนันดาในการเปิดเกมรุกหนัก เพื่อให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนทุกกลุ่ม อย่างคนกลุ่ม Gen Z ที่เน้น Live – Work – Play – Learn ความสะดวกสบายต้องมาอันดับแรกๆ หรือจะเป็นการใช้ชีวิตแบบ hybrid ซึ่งอนันดาได้วาง hybrid model เพิ่มเติมในยุคนิวนอร์มัลเพราะเชื่อว่ายังไงมนุษย์ก็เป็นสัตว์สังคมที่ชอบเจอเพื่อนฝูง แต่ก็มีความดิจิทัลในตัวเอง

 

 

ทั้งนี้ คุณประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยถึง 3 โจทย์ที่อนันดากำลังพุ่งชนในเกมการแข่งขันครั้งนี้ ก็คือ

  • การรักษาแชมป์คอนโดติดรถไฟฟ้า
  • การขยายธุรกิจต่อไป
  • ทำตัวเองให้เข้ากับกระแส disruption ต่างๆ ให้ได้

โดย 3 ทิศทางใหญ่นี้ของอนันดาแสดงจุดยืนชัดเจนว่า “2022 จะเป็นปีของอนันดา” ซึ่งคุณประเสริฐ ได้แชร์เกี่ยวกับภาพรวมธุรกิจของอนันดาในฐานะที่เป็น market leader ในการสร้างสีสันใหม่ๆ โดยเล่าให้ฟังว่านับจากนี้อนันดามีความพร้อมด้านไหนบ้างที่จะ rebound ธุรกิจหลังจากที่อยู่ในสถานการณ์แพร่ระบาดมา 2 ปีเต็มๆ

 

 

คุณประเสริฐ มองว่า “real estate bottom out ตลาดอสังหาฯ ตกต่ำถึงขีดสุดแล้ว” และต่อจากนี้จะส่งสัญญาณดีขึ้นเรื่อยๆ ดูได้จากช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาอนันดาขายดีที่สุดในรอบปีนี้ ทั้งบิ๊กล็อต และลูกค้าต่างชาติทั้งหมดเกือบ 100 ล้านบาท

ขณะที่ตลาด housing ยอดขายค่อนข้างมั่นคงอยู่แล้ว เพราะเป้าหมายหลักคือลูกค้าคนไทย แต่สำหรับตลาดคอนโดมิเนียม ดีมานด์ที่ฟื้นตัวเป็นเหตุผลที่จุดประกายอนันดาให้กลับมาและเพิ่มพลังให้ธุรกิจในครั้งนี้ เพราะจากข้อมูลที่เก็บย้อนหลังก่อนที่จะมีโควิด จะเห็นว่าทั้งบ้านและคอนโด bottom out ตั้งแต่ไตรมาส 3/2021 แล้ว

 

 

“สำหรับตลาดอสังหาฯ ในมุมมองของอนันดาในช่วงก่อนโควิดและหลังโควิด ยอดขายค่อนข้าง stable เพียงแต่ว่าผู้ซื้อในตลาดจะเปลี่ยนไป เช่น ก่อนหน้านี้ที่ลูกค้าจะเป็นกลุ่มคนออมในตลาดบน ทุกวันนี้เป็นลูกค้าต่างชาติมากขึ้น (จากเดิมที่มีอยู่แล้ว) โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ซื้อต่างชาติที่อยู่ในไทย หรือกลุ่มอื่นมากขึ้น ดังนั้น พูดได้เลยว่า urban life never dies.”

ดูจากข้อมูลยอดการสั่งซื้อที่คุณประเสริฐได้แชร์ เห็นได้ชัดว่าในช่วงเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ตลาดอสังหาฯ ของอนันดากำลังส่องสว่างขึ้น สำหรับคอนโดเติบโตขึ้นประมาณ 30% และบ้านประมาณ 20% จากจุดต่ำสุดในเดือน ก.ค.2021 และคาดว่าจะเติบโตได้ถึงดับเบิลดิจิทใน 3 เดือนสุดท้ายของปี ที่น่าสนใจคือ การฟื้นตัวเรื่องความเชื่อมั่นของลูกค้าอนันดาเกิดขึ้นทั้งกับลูกค้าในประเทศ และต่างประเทศ

 

 

มีอีกหนึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดจากอนันดา คือ การปรับตัว(ที่เร็วมาก) ไม่ใช่แค่ไอเดีย หรือทิศทางของธุรกิจเท่านั้น แต่ระดับการทำงานก็เปลี่ยนไปเช่นกัน อย่างที่คุณประเสริฐพูดว่า อนันดาเปลี่ยนไปสู่ new normal working platform โดยระดับ C ทั้งหมดของอนันดาได้ปรับการทำงานทั้งหมด ให้สามารถทำงานร่วมกับพนักงานของอนันดาได้โดยตรง ผ่านแพลตฟอร์มที่มีในระบบ เช่น Ananda Focus, Ananda Quick, Ananda Clear ฯลฯ

คุณประเสริฐ พูดว่า สำหรับการทำงานของชาวอนันดาในตอนนี้เกิดขึ้นในรูปแบบการปฏิวัติข้อมูลและการทำงานร่วมกันกับเทคโนโลยีสร้างสิ่งใหม่ที่ดีขึ้น (Data Revolution and Technology Collaboration) เพื่อขยายกรอบความคิดของตัวเองให้ใหญ่ขึ้น

 

 

จากที่ได้ศึกษาแนวคิดของระดับ C-suite ของอนันดา มีหลายๆ อย่างที่สะท้อนออกมาและเราสัมผัสได้ถึงความโมเดิร์น ความมี vision ทางธุรกิจ และไอเดียที่พร้อมจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นตามยุคสมัย

อย่างที่คุณประเสริฐ ยกตัวอย่างเรื่องการ transform data ของอนันดาไปสู่ business insight ซึ่งทำมาได้กว่า 1 ปีแล้ว ด้วยเหตุผลก็คือกลุ่มลูกค้าเปลี่ยนไป แหล่งลูกค้าก็เปลี่ยนไป กลายเป็นว่าลูกค้ามาจากโซเชียลมีเดียขึ้นเยอะ เช่น Facebook, Instagram ดังนั้น อนันดาจึงต้องปรับวิธีการทำงานใหม่เป็นการ wrap up ลูกค้าทุกสัปดาห์และศึกษาเพิ่มเติม ทำให้ลูกค้าจากอินไซต์ที่สนใจอนันดา มาอยู่ในกลุ่มลูกค้าที่มียอดโอนให้ได้

หรือจะเป็น Ananda Sure อีกหนึ่งแพลฟอร์ม seamless ของอนันดาที่ช่วยให้สินค้าและบริการประทับใจลูกค้า ซึ่งจะเป็น one stop platform ให้ลูกค้าในทุกบริการที่ต้องการ เพื่อพัฒนาด้าน consumer service action ให้ดีกว่าเดิม เป็นต้น

 

อนันดาพร้อม rebound เปิดกลยุทธ์ 2022

สิ่งแรกที่อยู่ในแผน rebound อนันดายังคงเป็นความสำคัญเรื่องโลเคชั่น นอกจากนี้ อนันดายืนยันในความพร้อมด้านการเงินว่ายังแข็งแกร่ง มีศักยภาพในการลงทุนขยายโครงการต่างๆ ด้วยการตุนกระแสเงินสดกว่า 5,000 ล้านบาท เชื่อว่าแผนระยะยาวของอนันดาก็เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจ

สำหรับแผนระยะกลางในปี 2022 อนันดาวางเป้าหมายไว้ที่ 12,000 ล้านบาท โดยอนันดามี backlog ประมาณ 52% และต้องทำอีกประมาณ 48% ซึ่งคุณประเสริฐมองว่า มาร์เก็ตดังกล่าวไม่ยากเพราะ DNA ของอนันดาพร้อมที่จะ disrupt ตัวเองอยู่แล้ว และเชื่อมันว่าจะผ่านทุกๆ ความท้าทายใหม่ได้

 

 

สิ่งที่อนันดาพร้อมในตอนนี้จนไปถึงปี 2022 ก็คือ การร่วมมือกับพันธมิตร และการบูรณาการทั้งความคิดและเทคโนโลยีความสร้างสรรค์ จนทำให้อนันดามี active projects ประมาณ 48 โครงการมูลค่ากว่า 83,000 ล้านบาทในมือ เป็น RTM บ้าน & คอนโดพร้อมอยู่ 34 โครงการ, กำลังก่อสร้างคอนโด (unpack) 3 โครงการที่จะเสร็จในปี 2022, 7 โครงการใหม่เปิดตัวปีหน้า และ 5 เซอร์วิสอพารท์เม้นท์

ทีนี้อยากจะเจาะลึกมาที่ 7 โครงการใหม่ (5 คอนโด และ 2 บ้านแนวราบ) ที่ได้เกริ่นไว้ ซึ่งสำหรับอนันดาอะไรคือ ANANDA NEW BLUE ที่จะเป็น rebound ใหม่ในปีต่อไป ภายใต้ปรัญชาที่เชื่อว่า “ไม่กลัวที่จะโดดเด่น แต่กลัวที่จะธรรมดา ทุกข้อจำกัดมีไว้เพื่อให้เราไปต่อ” ในเมื่อคุณชานนท์พูดว่า “innovation is a key to growth.” ลองมาดูกันเลยว่าทั้ง 7 โครงการใหม่ที่จะเป็น rebound ลูกแรกมีอะไรบ้าง

  • ARTALE RAMA 9 โครงการบ้านระดับ Luxury ใจกลางเมืองบนทำเลพระราม 9 โครงการนี้ไฮไลท์อยู่ที่การดีไซน์ให้เป็น POOL VILLA ใจกลางเมือง โดยราคาจะเริ่มต้นที่ประมาณ 30 ล้านบาท ซึ่งคุณชานนท์แชร์ข้อมูลด้วยว่า ในช่วงที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี 2016) เซกเมนต์บ้านหรือคอนโดลักชัวรารคา 30-40 ล้านบาทน่าจับตามาก กลุ่มผู้บริโภคที่พร้อมซื้อมี แต่ฟังก์ชั่นโครงการต้องสุดจริงๆ ต้องโดนจริงๆ ดังนั้นโจทย์ของอนันดาคือ “ถ้าไม่สุดอย่าทำ”
  • NEW HOUSING BRAND ติวานนท์ – แจ้งวัฒนะ ที่เป็นแบรนด์โครงการบ้านใหม่ล่าสุดจากอนันดา โฟกัสหลักของโครงการนี้ก็คือ จะทำอย่างไรให้ภาพลักษณ์ของทาวน์โฮมและบ้านแฝดเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้นดีไซน์ใหม่สำหรับโครงการนี้จะทำให้เราลืมภาพเดิมๆ ของทาวน์โฮมไปได้เลย ซึ่งราคาเริ่มต้นเพียง 2 ล้านบาทเท่านั้น
  • โคโค่ พาร์ค (COCO PARC) เป็นโครงการคอนโดมิเนียมไฮเอนด์แบรนด์ใหม่ ที่จับมือครั้งแรกระหว่าง ANANDA x DUSIT พร้อมจะเปิดตัวปี 2022 คุณชานนท์เปรียบภาพให้เห็นชัดขึ้นว่า อนันดา = hardware และทีมดุสิต = software ตั้งแต่ทีมนิติบุคคล บริการต่างๆ ที่แพลตฟอร์มของอนันดาจะทำงานร่วมกับ ดุสิต เซนทรัลพาร์ค ความน่าตื่นเต้นอีกหนึ่งอย่างจากการ collaboration นี้ก็คือ ทีมดุสิตธานีได้นำมาตรฐานโรงแรม 5 ดาวเข้าไปสู่บริการในคอนโด ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจมาก
  • แบรนด์ คัลเจอร์ (Culture) แบรนด์น้องใหม่ภายใต้แนวคิดแบบ eco-living เน้นความเป็นมิตรกับธรรมชาติอย่างสร้างสรรค์ โดยอนันดาได้ทำงานร่วมกับ SCRATCH และ WONDERFRUIT สิ่งสำคัญของโครงการคัลเจอร์ ก็คือ การใช้ชีวิตของคนเมืองที่รวมไปกับธรรมชาติและความยั่งยืนได้อย่างไร ซึ่งมาร์เก็ตของโครงการนี้ก็คือ community ของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม, ความยั่งยืน, รีไซเคิล, มลพิษทางอากาศระหว่างก่อสร้าง จนไปถึง on-demand ในกิจกรรมต่างๆ เช่น โยคะ, co-working space, การสร้างแรงบันดาลใจ ฯลฯ โดย 2 โลเคชั่นในโครงการคัลเจอร์ในตอนนี้ ก็คือ โครงการ คัลเจอร์ ทองหล่อ และ โครงการ คัลเจอร์ จุฬา
  • โครงการ ไอดีโอ (Ideo) คอนโดแบบ super convenience เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคน Gen Z มาก เพราะความสะดวกสบายมาเป็นอันดับหนึ่ง และนิยมใช้ชีวิตแบบ hybrid มีพื้นที่ทำกิจกรรม ทั้งทำงาน, ไลฟ์, ออกกำลังกาย, มีพื้นที่เพื่อถ่ายรูปแชร์ความภูมิใจในสถานที่ของตัวเอง ฯลฯ โดยตอนนี้มี 2 โลเคชั่นที่เป็น active projects คือ โครงการ ไอดีโอ สะพานควาย และ โครงการ ไอดีโอ รามคำแหง – ลำสาลี

 

 

คุณชานนท์ ได้พูดถึงการ rebound ที่เป็น New Blue ลูกที่ 2 โดยจะเป็น super luxury จากอนันดา อย่างที่แรกคือ โลเคชั่นติดกับสวนลุมพินี ที่สุดของดีไซน์หรู ดีไซน์แปลกใหม่ และมีคุณภาพสูง โดยมีประมาณ 20 ยูนิตเท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีคอนเซปต์ใหม่คือ Sky Villa ที่จะอยู่ในกลยุทธ์ Blue Ocean นี้ด้วย โดยทุกยูนิตจะมีสระว่ายน้ำแบบส่วนตัว คล้ายกับเรายกบ้านไปอยู่เป็นคอนโดแบบนั้นเลย เท่าที่ดูแผนระยะกลางบางส่วนของอนันดาต้องบอกเลยว่า กลยุทธ์การ rebound ของอนันดานั้นสุดจริงๆ ก้าวข้ามทุกขีดจำกัดอย่างแท้จริง

 

 

และไม่ใช่แค่ vision ของโครงการใหม่ต่างๆ ที่สะดุดตาอย่างที่เราเห็นเซอร์วิส อพาร์ทเม้น (Service Apartment) ถือว่าเป็นอีกหนึ่ง core สำคัญของอนันดาเช่นกัน เพราะสามารถสร้างรายได้ประจำ (Recurring Income) ได้น่าสนใจ คุณชานนท์ แชร์ว่า ในปี 2022 จะมีอีกประมาณ 5 โครงการเซอร์วิส อพาร์ทเม้นที่เปิดตัว เช่น Ascott ทองหล่อ, Ascott Embassy สาทร, Somerset  พระราม 9 และคาดว่า Recurring Income จะกลับมาดีขึ้นในไตรมาส 4/2021 หลังจากที่เริ่มเปิดประเทศและรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ

คุณชานนท์ พูดว่า ตลาดเซอร์วิส อพาร์ทเม้นค่อนข้างน่าสนใจเพราะส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเป้าหมายแบบ long stay เช่น คนญี่ปุ่น, เกาหลี โดยช่วงที่มีการแพร่ระบาดจะเห็นว่าอัตราการเข้าพักมีความยืดหยุ่นของตลาด (market resiliency) มากถึง 55%

“หากพูดถึง business model ของอนันดาในตอนนี้ มองว่ามันอยู่ช่วงกลายพันธุ์ เรามีทั้งบ้าน, คอนโด, เซอร์วิส อพาร์ทเม้น, ความร่วมมือกับโรงแรมชั้นนำ การแชร์ know how ระหว่างกันทำให้โมเดลของอนันดากำลังรวมตัวกัน ซึ่งต้องคอยดูต่อไปว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีกกับโมเดลของเรา”

นอกจากนี้ยังมีมูฟเมนต์ใหม่ในด้านดิจิทัลไลฟ์โซลูชั่นของอนันดา อย่างล่าสุดที่จับมือกับ Bitkub เป็นครั้งแรกที่อนันดาเปิดให้ซื้อบ้านและคอนโดด้วย bitcoin ทั้งยังจับมือกับ COCORO เปิดตัว COCORO App แอปพลิเคชั่น seamless ที่พัฒนาจาก tech startup สำหรับลูกบ้านอนันดาที่จะช่วยให้การอยู่อาศัยเป็นเรื่องง่ายขึ้น เช่น เช็คว่าอาหารที่ออเดอร์ไว้มาส่งหรือยัง, แจ้งซ่อมอย่างไร, จองห้องส่วนกลางอย่างไร ฯลฯ โดยอนันดามีแพลนที่จะขยายเพื่อเปิดให้นักพัฒนาที่สนใจสามารถใช้งานแอปฯ COCORO ได้ในอนาคต

เห็นจากแพลนการ rebound ของอนันดาแล้วอดหวั่นๆ แทนนักพัฒนาอื่นไม่ได้เพราะ passion ของอนันดาถือว่าจัดเต็ม รุกแรง และครบด้านจริงๆ ชอบประโยคหนึ่งที่คุณชานนท์พูดว่า “ธุรกิจอสังหาฯ เราต้องรู้จังหวะและเวลา รู้ว่าน้ำขึ้น-ลงอย่างไร และตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่ต้อง rebound”

 

 

ทั้งทิศทางธุรกิจหลังจากนี้ กลยุทธ์ใหม่ และเส้นทางที่จะเดินหน้าเพื่อรักษาแชมป์ของอนันดา แสดงให้เห็นถึง ‘แรงผลักดัน’ ที่มาจากข้อจำกัดต่างๆ โดยอนันดาจะไม่ยอมหยุดนิ่ง แต่เลือกที่จะเดินต่อ เลือกที่จะขยายกรอบความคิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งเราสามารถดูได้จากวิดีโอตัวล่าสุดนี้ ANANDA 2022 (แนบลิงก์ VDO: https://youtu.be/ax8Xvm_oFDg) ที่สะท้อนภาพความเป็น DNA ทั้งหมดของอนันดาได้ชัดเจนมาก ทั้ง passion และ vision ที่กล้าจะโดดเด่นและดีกว่าเดิม หรือจะเข้าไปข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://anan.ly/3CaTsVc

 

 

เราเชื่อว่าภาพในอนาคตของวงการอสังหาฯ น่าจะเปลี่ยนไปอย่างมาก เพราะ main player กำลังสร้างปัจจัยเชิงการตลาดใหม่ ทั้งยังรุกหนักและเปล่งประกายไปด้วยไอเดียที่ไม่เหมือนใคร

 

ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก >> https://anan.ly/3CaTsVc


  • 10
  •  
  •  
  •  
  •