LASTEST NEWS

06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

กว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

  • 06 เม.ย. 2560 เวลา 10:32 น.
  • 99,536
กว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

กว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
 
วันนี้ (วันที่ 6 เมษายน 2560) จะมีพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของรัชกาลปัจจุบัน (คลิกอ่าน หมายกําหนดการ พระราชพิธีประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560)

เรื่องนี้เกี่ยวกับเรา มีผลต่อการดำเนินชีวิต และบทบาทหน้าที่เรา
 จึงชวนท่าน มาดูความเป็นไป เป็นมา หลักการ เนื้อหาสาระสำคัญที่ควรรู้ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่จะประกาศใช้ ในกี่วินาทีข้างหน้านี้กันนะครับ
 
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 19 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญที่มีผลบังคับใช้ ณ เวลานี้ ( เช้า วันที่ 6 เมษายน 2560) คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(อีกสามฉบับ)
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560  ที่จะประกาศใช้นี้ เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 20 ซึ่งจัดร่างโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในระหว่าง พ.ศ. 2557-2560 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร จะทรงลงพระปรมาภิไธยในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร และมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ
 
ที่มารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560
สืบเนื่องมาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติกระทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22พฤษภาคม พ.ศ. 2557 และยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2550 ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งเนื้อหาในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้กำหนดให้มี "คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ" จำนวน 36 คน ซึ่งสรรหามาจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อร่างรัฐธรรมนูญถาวรฉบับใหม่ และกำหนดให้คณะกรรมมาธิการฯ ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 120 วันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นหรือข้อเสนอแนะจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมมาธิการฯ ซึ่งมีบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน
 
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้ครอบคลุมต่าง ๆ ตามที่มาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนด ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เดิมมี 315มาตรา หลังจากได้รับข้อเสนอของสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้วนั้น คณะกรรมมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ปรับแก้เนื้อหาให้เหลือ 285 มาตรา แต่ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2558 สภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการ ส่งผลให้สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมมาธิการฯ สิ้นสุดลงในวันนั้น
 
ซึ่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 39/1 ได้กำหนดว่า "ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง หรือนับแต่วันที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง หรือนับแต่วันที่ร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไป ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกไม่เกินยี่สิบคน เพื่อทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง"
 

ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจำนวน21 คนโดยมีชัย ฤชุพันธุ์เป็นประธาน
 
คณะกรรมการผู้เขียนร่างรัฐธรรมนูญ 2560  
จำนวน 21 คน ประกอบด้วย มีชัย ฤชุพันธุ์ (ประธาน) และคณะกรรมการอื่น ได้แก่ กีระณา สุมาวงศ์ จุรี วิจิตรวาทการ ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ธนาวัฒน์ สังข์ทอง ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย นรชิต สิงหเสนี พลเอก นิวัติ ศรีเพ็ญ ปกรณ์ นิลประพันธ์ ประพันธ์ นัยโกวิท ภัทระ คำพิทักษ์ ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ พลตรี วิระ โรจนวาศ เธียรชัย ณ นคร ศุภชัย ยาวะประภาษ สุพจน์ ไข่มุกด์ อมร วาณิชวิวัฒน์ อภิชาต สุขัคคานนท์ อุดม รัฐอมฤต อัชพร จารุจินดา และพลเอก อัฏฐพร เจริญพานิช
 
หลักการ เนื้อหาตามร่างรัฐธรรมนูญ 2560
คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้ออกมาชี้แจงหลักการ แนวคิดที่ใช้ และเนื้อหาโดยภาพรวมของร่างรัฐธรรมนูญก่อนจะมีการลงประชามติ  มีสาระสำคัญเขียนเป็นภาษาพูดที่ประชาชนเข้าใจง่ายว่า
1. รัฐธรรมนูญไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องการเมืองอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและทิศทางการพัฒนาประเทศเพื่อให้ลูกไทยหลานไทยอยู่ในโลกยุคต่อไปได้ทัดเทียมชาติอื่นได้อย่างยั่งยืน
 
2.ปัญหาของประเทศไทย คือ 1)ประเทศไม่เจริญ / ย่ำอยู่กับที่ / ดูทันสมัยแต่ไม่พัฒนา 2) เหลื่อมล้ำ / ไม่เป็นธรรมในทุกมิติ  3) สังคมแตกแยก / ใช้สิทธิเสรีภาพกันอย่างไม่รับผิดชอบ ต้องได้รับการแก้ไข
 
3.สาเหตุของปัญหาดังกล่าวข้องต้น คือ
   1) คอร์รัปชัน/ความไม่โปร่งใสและไม่รอบคอบของการวางนโยบายสาธารณะ/การใช้จ่ายเงินแผ่นดินโดยไม่คุ้มค่า/การบริหารราชการแผ่นดินไม่โปร่งใส/ไม่รับฟังความเห็นประชาชน กฎหมายไม่ทันสมัย
   2) คุณภาพการศึกษาต่ำมาก/เน้นปริมาณ/ละเลยการพัฒนาเด็กเล็กซึ่งเป็นพัฒนาการที่สำคัญที่สุดของมนุษย์/ไม่เปิดให้เด็กพัฒนาศักยภาพได้ตามถนัด
   3) กฎหมายให้ดุลพินิจแก่เจ้าหน้าที่มากเกินไป/ใช้ระบบควบคุมมากเกินไป/จึงเกิดการใช้ดุลพินิจหลายมาตรฐานและการทุจริต/คนรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม/ขณะที่คนไทยเองก็ขาดระเบียบวินัยที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย
   4) นักการเมืองจำนวนหนึ่งขาดคุณธรรมจริยธรรมอย่างรุนแรง เล่นพรรคเล่นพวก เอื้อประโยชน์พวกพ้อง ทุจริต
   5) ระบบราชการหย่อนประสิทธิภาพ
   6) ไม่มียุทธศาสตร์พัฒนาประเทศที่ประชาชนและรัฐเห็นดีเห็นงามร่วมกันที่มีความต่อเนื่องในระยะยาว จึงเดินเป๋ไปเป๋มาตามลมการเมือง
   7) ค่านิยมประหลาด บริโภคนิยม/วัตถุนิยม/ไม่คิดวางแผนระยะยาวให้ลูกหลาน คิดถึงแต่ประโยชน์เฉพาะหน้า/ขาดวินัย/ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม อยากทำอะไรก็ทำ
 
4.หลักการและประเด็นเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ
   1) รับรองความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ในบททั่วไปเพื่อคลุมทุกเรื่องว่าทุกคนต้องเสมอกัน และวางหลักว่ารัฐมีหน้าที่ทำสิ่งดี ๆ ให้แก่บ้านเมือง สิ่งที่บัญญัติไว้เป็นแต่เพียงมาตรฐานขั้นต่ำที่ต้องทำเท่านั้น จะทำดีมากกว่านั้น เป็นประโยชน์แก่ประชาชนมากกว่านั้น ทำได้หมด แต่ทำเรื่องเลว ๆ หรือเรื่องที่ รธน หรือ กฎหมาย ห้ามไว้ไม่ได้
   2) ประชาชน/ชุมชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น อะไรที่ รัฐธรรมนูญ หรือ กฎหมาย ไม่ได้ห้ามไว้ สามารถทำได้หมด ไม่ต้องเขียนจาระไนแบบเก่า ๆ ที่หลุดง่าย
   3)การออก กฎหมาย ที่จำกัดสิทธิ ต้องผ่านการรับฟังความเห็นประชาชน/ ผ่านรัฐสภา/ ต้องไม่ขัดหลักนิติธรรม / ไม่เกินจำเป็น ประชาชนและชุมชนขอให้ศาลตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายได้เสมอ
   4) การใช้สิทธิเสรีภาพของคนทุกคนต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้อื่น สังคม และประเทศชาติ ไม่ใช่ใช้อย่างไรก็ได้
   5) ไม่ได้ยกเลิกบัตรทอง แต่กำหนดชัดว่าให้ปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพให้ดีขึ้น รวมทั้งสิทธิประกันสังคมด้วย 
    6) ไม่ได้ยกเลิกเบี้ยผู้สูงอายุ แถมยังกำหนดให้มีเบี้ยยังชีพสำหรับบุคคลผู้ยากไร้ด้วยไม่ว่าจะมีอายุเท่าไร
    7) เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพตามศักยภาพของแต่ละคนที่แตกต่างกัน และมีคุณธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับคุณลักษณะของประชากรในอนาคตที่ต้องมี "creativity-collaboration-talent"
    8) รัฐต้องจัดการพัฒนาเด็กเล็กอย่างน้อยตั้งแต่ 2 ขวบ เรื่อยไปจนชั้นอนุบาล ประถม จนจบภาคบังคับ (ม.3) โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย รวมอย่างน้อย 14 ปี จบ ม.3แล้วให้เลือกตามถนัดจะเรียนต่อหรือจะไปทำงานก็ได้ แต่ถ้าจะเรียนต่อต้องได้เรียน โดยมีกองทุนสนับสนุน เป็นกองทุนใหม่ ไม่ใช่ กยศ / ขณะนี้ คสช เห็นด้วยกับแนวทางนี้และมีคำสั่งให้เรียนฟรีได้ถึง ม.6/ปวช.3 ด้วยแล้ว

     9) ต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ โดยกำหนดให้รัฐมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ใช่เรื่องลับเพื่อความโปร่งใส เพื่อให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบอย่างจริงจัง
    10) เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิตสำหรับผู้ทุจริตในการเลือกตั้ง/ต่อหน้าที่ ทรัพย์ที่ได้มาจากการทุจริตและที่ได้มาแทน ไม่ว่าจะโอนให้ใครไป ต้องถูกริบคืนให้ตกเป็นของแผ่นดิน
     11) ยังเป็นระบบ 2 สภาเหมือนเดิม คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.) และ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) โดย สส. 500 (แบ่งเขต 350 บัญชีรายชื่อ 150) เป็นแบบเขตเดียวเบอร์เดียวเหมือนเดิมและกาบัตรใบเดียว แต่เพิ่มเติมเรื่องการนำคะแนนที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเขตได้ลงคะแนนไว้ทุกคะแนน (ทั้งคนที่ได้ /ไม่ได้รับเลือกเป็น สส เขต) ไปรวมนับคะแนนจากเขตอื่นทั่วประเทศเพื่อกำหนดจำนวน สส. ทั้งหมดที่พรรคนั้น ๆ จะได้แล้วนำจำนวน สส. เขตที่พรรคนั้นได้ไปหักออก ก็จะได้ สส. บัญชีรายชื่อ
     12) สว. จำนวน 200 คน การเลือก สว. จะตั้งกลุ่มตามความรู้ / เชี่ยวชาญ / อาชีพการงาน ฯลฯ ปชช. สามารถสมัครเองได้ จากระดับอำเภอ ; จังหวัด ; ประเทศ
     13) ใน 5 ปีแรก ให้มี สว. 250 คน ทั้งจากการเลือกและสรรหาโดย คสช. เพื่อกำกับและติดตามการปฏิรูปประเทศ
     14) คสช. สนช. กรธ. จะพ้นตำแหน่งก่อนรัฐบาลใหม่เข้ามาทำหน้าที่
     15) ไม่กำหนดวิธีการว่าให้ใช้ระบบ เศรษฐกิจ แบบใด (เดิมระบุว่าต้องใช้ระบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาด) แต่เน้นว่า เป็นระบบที่ ประชาชน ต้องได้ประโยชน์ไปด้วยกันอย่างทั่วถึงและยั่งยืน (inclusive and sustainable growth) ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง / ไม่ใช่มือใครยาวสาวได้สาวเอาตามแบบกลไกตลาดอย่างเดียว
      16) รัฐไม่ประกอบกิจการแข่งเอกชน แต่ต้องส่งเสริมให้เอกชนมีความสามารถในการแข่งขัน ส่งเสริมธุรกิจ ขนาดกลาง-ย่อม
       17) พัฒนาวัตถุและจิตใจและตวามอยู่เย็นเป็นสุขของ ประชาชน อย่างสมดุล
       18) ปากท้องของพี่น้องประชาชนสำคัญมาก รัฐให้ความสำคัญ
        19) กฎหมาย ยุทธศาสตร์ชาติ; ต้องเสร็จใน 120 วัน หลังร่างรัฐธรรมนูญผ่าน; ยุทธศาสตร์ชาติ (20 ปี) เสร็จในอีก 12 เดือน ดังนั้น เท่ากับว่าหลัง รัฐธรรมนูญ ผ่าน ยุทธศาสตร์ชาติต้องเสร็จใน 16 เดือน ; เมื่อมี ครม. เข้ามา การทำงานต้องสอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงการทำงบประมาณด้วย
        20) กระบวนการ/ ระยะเวลาอนุมัติ งบประมาณ แผ่นดิน สั้นลง; แผนต่างๆ เดินหน้าเร็วขึ้น
        21) กำหนดระยะเวลาจัดทำ กฎหมาย หลายฉบับสั้นลงและบทลงโทษในกรณีทำไม่เสร็จ
         22) ขอเห็นชอบหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ต้อง พิจารณา ให้เสร็จใน 60วัน (เหมือนรัฐธรรมนูญ 50) ถ้าไม่เสร็จถือว่าเห็นชอบ
       ท่านสามารถคลิกอ่านเนื้อหาโดยละเอียดของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ (ฉบับผ่านประชามติ  วันที่ 7  ส.ค.2559)
 
การลงประชามติ
     26 มีนาคม พ.ศ. 2559 นรชิต สิงหเสนี โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ แถลงว่าคณะกรรมการได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีเนื้อหา 16หมวด 279 มาตรา
     29 มีนาคม พ.ศ. 2559 ศ. มีชัย ฤชุพันธุ์ แถลงข่าวเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับลงประชามติ) พ.ศ. 2559
     7 เมษายน พ.ศ. 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.... วาระ 2 และ 3 ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่มีพลเอก สมเจตน์ บุญถนอมเป็นประธาน โดยมีสาระสำคัญ คือ เปิดโอกาสให้แสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญได้โดยไม่ปิดกั้น แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยใช้เวลาผ่าน 5 ชั่วโมง และไม่ใช้ลงคะแนนโดยใช้เครื่องลงคะแนน
     9 เมษายน พ.ศ. 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้เพิ่มคำถามประชามติว่าจะให้รัฐสภาลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีใน 5 ปีหลังรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ได้หรือไม่
     19 เมษายน พ.ศ. 2559 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศกำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นวันออกเสียงประชามติ
     7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญผลออกมาปรากฏว่าร่างรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 15,562,027คะแนนขณะที่คำถามพ่วงว่าด้วยการกำหนดให้ ส.ส. และ ส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรีภายในระยะเวลา 5 ปีแรกผ่านความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง13,969,594 คะแนน
 

การดำเนินการหลังผ่านประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ 2560
จากนั้น คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ นำร่างรัฐธรรมนูญไปปรับปรุงในบางมาตราและในบทเฉพาะกาลเพื่อให้เข้ากับคำถามพ่วงเป็นเวลา 30 วันหลังจากนั้นเมื่อปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นแล้วคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจะทำการส่งร่างกลับคืนนายกรัฐมนตรีให้นำขึ้นทูลเกล้า ฯ เพื่อให้ลงพระปรมาภิไธยในร่างรัฐธรรมนูญเพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
 
หลังจากนั้นทางคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จะได้ทำการร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่สำคัญ 4 ฉบับจากทั้งหมด 10 ฉบับได้แก่ ร่าง พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง , ร่าง พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส) , ร่าง พ.ร.ป. ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และ ร่าง พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) โดย สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. จะได้ส่งความคิดเห็นไปยังคณะ กรธ. เพื่อประกอบร่าง พ.ร.ป. จากนั้นจะได้ส่งไปยัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อทำการพิจารณาร่าง พ.ร.ป. ทั้ง 4 ฉบับโดยใช้เวลาทั้งสิ้น 8 เดือนหรือ 240 วันจากนั้นสนช.จะได้ทำการพิจารณาร่าง พ.ร.ป. อีก6 ฉบับจนครบ 10 ฉบับเพื่อจะเข้าสู่การเลือกตั้งในช่วงปลายปี พ.ศ. 2560 หรือต้นปี พ.ศ. 2561
 
การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560
วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560 สำนักพระราชวังได้เผยแพร่หมายกำหนดการ ที่9/2560 เรื่อง หมายกำหนดการพระราชพิธีประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลา 15.00 น. ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ในพระราชวังดุสิต โดย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร จะเสด็จออกจาก พระที่นั่งอัมพรสถาน มายังพระที่นั่งอนันตสมาคมและประทับพระราชอาสน์หน้าพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์เพื่อลงพระปรมาภิไธยในร่างรัฐธรรมนูญและประทับตราพระราชลัญจกร
 
จากนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา และเมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก็ถือว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560  มีผลบังคับใช้ตามนั้น
 
สำเนาข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี โพสต์ทูเดย์
 
ด้วยความปรารถนาดี
Dr.borworn

 
แหล่งอ้างอิง
1.หมายกําหนดการ พระราชพิธีประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
2.ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
3.ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (ฉบับลงประชามติ  วันที่7  ส.ค.2559)

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลจาก :: เว็บไซต์ drborworn.com
  • 06 เม.ย. 2560 เวลา 10:32 น.
  • 99,536

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^