มาตรฐานการเดินสายไฟในรางเดินสายไฟ (รางไวร์เวย์ รางเคเบิ้ลเทรย์)

2021 - 06 - 17

การเดินสายไฟเป็นงานหลักของช่างไฟที่ต้องใช้ความระมัดระวังสูงในการทำงาน เพราะเสี่ยงที่จะโดนไฟฟ้าดูดได้ง่าย กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว โดยกระแสไฟฟ้าที่ทำให้เกิดไฟไหม้มี 2 สาเหตุ คือ ประกายไฟและความร้อนที่สูงผิดปกติ การป้องกันไฟไหม้ที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าสามารถทำได้โดยกำจัดแหล่งความร้อน เช่น ประกายไฟที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร หัวต่อ หรือหัวขั้วสายไฟหลวมทำให้การเดินของกระแสไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอจนเกิดการ spark ขึ้นรวมถึงการใช้ฟิวส์ที่ไม่ถูกต้อง และขนาดไม่เหมาะสม หรือใช้สวิทซ์ตัดไฟที่ไม่เหมาะสม แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดสำหรับช่างไฟมือใหม่ก็ควรที่จะต้องระวังมากเป็นพิเศษ

 

ข้อกำหนดการเดินสายไฟทั่วไป มีดังต่อไปนี้

  • ห้ามติดตั้งสายไฟที่ใช้กับระบบแรงดันต่ำรวมเข้ากับสายไฟระบบดันแรงสูง ยกเวันแต่ในแผงสวิตช์ หรือเปลือกห่อหุ้มที่ไม่ได้ใช้เพื่อการเดินสาย
  • ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และกระแสตรง (DC) อนุญาตให้ ติดตั้งสายไฟรวมกันได้ ถ้าฉนวนของสายมีความเหมาะสม กับระบบแรงดันสูงสุดที่ใช้
  • การเดินสายผ่านโครงสร้างไม้ รูที่เจาะต้องห่างจากขอบไม่น้อยกว่า 30 มม.
  • กรณีเดินสายเคเบิลแกนเดียวชนิดมีเปลือกนอกขนาดของสายต้องไม่เล็กกว่า 25 ตร.ม ม. เพื่อให้ฉนวนและเปลือกนอกของตัวนำสายมีความหนามากพอในการป้องกันความเสียหายต่อสายไฟ
  • กรณีสายดินทุกขนาดไม่ว่าจะเป็นสายเคเบิลชนิด หลายแกนสำหรับควบคุมสัญญาณ รวมทั้งท่อร้อยสายไฟชนิดโลหะ สามารถติดตั้งได้บนรางเคเบิลเช่นเดียวกัน
  • การติดตั้งท่อร้อยสายไฟชนิดอโลหะบนรางเคเบิล ท่อต้องมีคุณสมบัติต้านเปลวเพลิง หรือหน่วงไฟ (Flame retardant material)

 

หลักการเลือกสายไฟง่าย ๆ

1.พิกัดแรงดัน ( Voltage Rating)
2.พิกัดกระแส ( Current Rating )
3.สายควบ ( Multiple Conductors)
4.แรงดันตก ( Voltage Drop )

 

*โดยปัจจัยที่มีผลต่อพิกัดแรงดัน และพิกัดกระแสก็คือ อุณหภูมิโดยรอบ ๆ ของสายไฟฟ้าที่ใช้จะมีค่าสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าพิกัดของกระแสลดลงจากค่าปกติ รวมถึงการถ่ายเทอากาศของสายไฟฟ้าที่ติดตั้งควรยู่ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก แต่หากอยู่ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวกจะทำให้มีค่าพิกัดกระแสสูงกว่า

 

ความลึกของการเดินสายไฟลงดิน ควรเป็นดังนี้

1.หากเป็นสายเคเบิลฝังดินควรมีความลึกต่ำสุดอยู่ที่ 0.60 เมตร
2.กรณีเคเบิลฝังดินโดยตรง และมีแผ่นคอนกรีตที่หนาไม่น้อยกว่า 50 มม. ควรวางอยู่เหนือสายโดยมีความลึกต่ำสุดที่ 0.45 เมตร
3.ใช้วิธีการเดินสายไฟด้วยท่อโลหะหนา ควรมีความลึกต่ำสุด 0.15 เมตร
4.ถ้าใช้วิธีเดินสายด้วยท่ออโลหะที่ได้รับการรับรองให้ฝังใต้ดินโดยตรงได้โดยไม่ต้องมีคอนกรีตหุ้มไว้ อย่างเช่น HDPE และ PVC ควรมีความลึกต่ำสุดที่ 0.45 เมตร

 

สายไฟที่สามารถวางในรางไฟได้ไม่ว่าจะเป็นสายเคเบิลแกนเดี่ยว หรือสายแกนหุ้ม แบบฉนวน หรือแบบมีเปลือกนอก สามารถวางบนรางเคเบิลแบบด้านล่างทึบ , รางเคเบิลแบบระบายอากาศ หรือรางเคเบิลแบบบันไดได้

ซึ่งรางไฟ KJL มีให้เลือก 3 แบบนั่นก็คือ รางไฟไวร์เวย์ , รางไฟเคเบิ้ลเทรย์ , รางไฟเคเบิ้ลแลดเดอร์ ที่มีความทนทาน แข็งแรง ทนฝน ทนแดด สามารถใช้งานได้ในระยะยาว โดยสามารถสั่งผลิตได้ตรงความต้องการใช้งาน โดยผิวสัมผัสจะมีแบบชุบกัลวาไนซ์ป้องกันรอยขีดข่วนได้เป็นอย่างดี รางไฟสแตนเลสทนทานต่อการกร่อน อดทนต่อความชื้น และแบบพ่นสีที่เน้นความสวยงามไม่มีสารอันตรายที่ทำลายสิ่งแวดล้อม รางไฟ KJL เหมาะสมสำหรับสายไฟทุกประเภท อีกทั้งยังเหมาะสำหรับการเดินสายไฟทั้งภายใน และภายนอกอาคาร มั่นใจได้เลยว่ารางไฟ KJL จะช่วยให้ช่างไฟทำงานง่าย จบงานไว ส่งสินค้ารวดเร็วทันใช้ เพราะเรามี KJL NOW สั่งด่วนได้เร็ว

 

การติดตั้งการเดินสายไฟในรางไฟมีข้อกำหนด ดังนี้

ในการติดตั้งสายไฟใต้ดินบริเวณใต้อาคารให้เดินสายไฟในท่อ และท่อต้องเลยพ้นอาคารไป ซึ่งอุปกรณ์ปกป้องสายไฟใต้ดินจะต้องมีความแข็งแรง ทนทาน และได้มาตรฐาน อุปกรณ์การเดินสายไฟทุกชนิดต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพในการติดตั้ง บริเวณที่จะติดตั้ง และมีการป้องกันการชำรุด เสียหายที่เหมาะสม เพราะช่องเดินสายไฟจำเป็นต้องมีการจับยึดอย่างมั่นคง และ ต่อเนื่องทั้งทางด้านกลไกล และไฟฟ้า

* ในการเดินสายไฟในท่อเดินสายไฟ ในรางเคเบิล ไม่ควรมีอุปกรณ์อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามารวมอยู่ด้วย เพื่อป้องกันอันตราย และการผิดพลาดในการทำงานระบบไฟ ในการป้องกันไฟลุกลามการเดินสายไฟผ่านผนัง พื้น เพดาน รางไฟที่ใช้ป้องกันสายไฟควรได้มาตรฐานและมีการรับรองเรื่องความปลอดภัย หากเลือกใช้รางไฟ KJL ความปลอดภัยมาเป็นอันดับ 1 โดยสามารถอ่านข้อมูลรายละเอียดของรางไฟ KJL ได้ที่ลิงก์นี้ รางไฟ คืออะไร ?

 

มาตรฐานการติดตั้งให้เกิดความปลอดภัยเป็นหลักสำคัญ โดยต้องคำนึงถึงหลักต่อไปนี้

1) รางเคเบิลต้องติดตั้งแบบต่อเนื่องทั้งทางกล และทางไฟฟ้า
2) รางเคเบิลต้องติดตั้งในพื้นที่เปิดเผย เข้าถึงได้ และมีที่สำหรับการบำรุงรักษาได้สะดวก
3) หากติดตั้งสายเคเบิลระบบแรงต่ำ และสายเคเบิลระบบแรงสูงในรางเคเบิลเดียวกัน จะต้องมีที่กั้นที่แข็งแรง และไม่ติดไฟ แยกส่วนกันอย่างชัดเจน
4) สายไฟที่ติดตั้งอยู่บนรางเคเบิลเมื่อเดินแยกเข้าช่องร้อยสายอื่นต้องมีการจับยึดให้มั่นคง
5) จุดต่อสายต้องอยู่ภายในราง และไม่สูงจนเลยขอบ

 

กรณีไหนที่ไม่เหมาะสมกับรางไฟ

บริเวณที่อาจเกิดความเสียหายทางกายภาพของรางไฟ เช่น ในปล่องขนของ หรือปล่องลิฟต์ รวมถึงบริเวณที่เข้าตรวจสอบได้ยาก รวมถึงในสถานที่ใช้งานที่สายไฟจะมีโอกาสจถูกแสงแดดโดยตรง แนะนำให้ใช้สายชนิดทนแสงแดด ที่สำคัญคือห้ามใช้รางไฟเคเบิ้ลเป็นตัวนำสำหรับต่อลงดิน และห้ามติดตั้งรางไฟสำหรับงานอื่นที่ไม่ใช่งานไฟฟ้า เช่น ท่อไอน้ำ ท่อประปา ท่อแก๊ส บนรางไฟเคเบิ้ล

 

รางไฟถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับไฟฟ้า เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยดูแลสายไฟจากฝุ่นละออง น้ำ หรือความชื้นต่าง ๆ ที่จะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานไฟฟ้าได้ อีกทั้งรางไฟยังช่วยยืดอายุการใช้งานของสายไฟให้มีอายุยาวนานไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย และที่สำคัญคือความปลอดภัยที่ต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง มีความทนทานสามารถป้องกันการกัดกร่อนดี ทนแดด ทนฝน คุ้มค่าต่อการใช้งานในระยะยาวได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2015 (Full System) พัฒนาสินค้าด้วยเครื่องจักรทันสมัยจากประเทศญี่ปุ่น คุ้มค่าต่อการใช้งานอย่างแน่นอน