อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติชาวเชียงราย ผู้สร้างวัดร่องขุ่น สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย เผยเรื่องราวความประทับใจที่เคยถวาย งาน เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ด้วยน้ำเสียงอันฉะฉานตามสไตล์ แต่แฝงด้วยความเศร้าว่า ตนรักในหลวง รัชกาลที่ 9 มาตั้งแต่เกิด รู้เรื่องที่พระองค์ได้เสด็จพระราช ดำเนินไปยังหลายจังหวัดรวมถึงเชียงราย ทรงช่วยเหลือชาวไทยที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงและด้านอื่นๆ มากมาย เมื่อโตขึ้น และได้มีโอกาสไปเรียนด้านการวาดรูป หรือจิตรกรรม จึงได้รู้ว่าพระองค์ก็ทรงชอบการวาดภาพ และยังมีพระอัจฉริยภาพด้านศิลปะอย่างมากอีกด้วย ซึ่งสิ่งนี้เป็นแรงบันดาลใจสำหรับตนตั้งแต่ยังเรียนวิทยาลัยเพาะช่าง ว่าจะขอมีโอกาสถวายงานด้านศิลปะเพื่อพระองค์สักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อที่จะสร้างงานศิลปะสมัยใหม่ ตนอุทิศตนด้วยการเดินทางไปวัดพุทธประทีป ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และร่วมกับรุ่นน้องคนหนึ่งวาดรูปศิลปะร่วมสมัยเพื่อถวายพระองค์ โดยใช้เวลาสร้างสรรค์ผลงานเป็นเวลา 4 ปี
2-%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b9%88%e0%b8%99
พอกลับมาตอนนั้นพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ได้มีการเลือกศิลปินให้ไปวาดภาพ ซึ่งตนได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในนั้น เมื่อเข้าเฝ้าฯเป็นวันแรกทรงถามว่าใครเป็นคนวาดรูปวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน เมื่อทรงทราบว่าเป็นตนก็ตรัสว่าดีๆ มาก นั่นเป็นงานศิลปะสมัยใหม่ และทรงอยากให้หนังพระมหาชนกได้วาดศิลปะประจำพระองค์ท่านด้วย โดยอย่าลอกงานตามฝาผนังหรืองานศิลปะเก่าๆ แต่ต้องการให้เป็นศิลปะสมัยใหม่ประจำรัชกาลพระองค์

อาจารย์เฉลิมชัยกล่าวอีกว่าครั้งนั้นมีศิลปินจำนวน 8 คนที่ได้รับเลือกให้วาดภาพ โดยตนได้เขียนภาพตอนเรือแตกและตกทะเล ซึ่งขณะได้ถวายงานนั้นทำให้ตนล่วงรู้ในหลายๆ อย่าง เห็นพระองค์ทรงตรวจงานเป็นจำนวนมากเป็นร้อยๆ รูป พระองค์ทรงขับรถมาเองและทรงถือรูปจำนวนมากที่ตรวจลงรถมาเอง แล้วยังตรัสบอกพวกเราว่าเมื่อคืนไม่ได้บรรทมเลยเพราะตรวจรูปภาพดังกล่าว ทำให้พวกเราตกใจกันมากและไม่เคยคิดว่าจะทรงงานเองทั้งหมด ทรงตรวจรูปและมีพระราชวินิจฉัยอย่างละเอียดทีละรูปๆ ตนซึ่งอยู่แทบพระบาทคอยจับรูปให้ทีละรูป ได้เห็นความยิ่งใหญ่ของพระองค์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทุ่มเทละเอียดทุกอย่าง จึงเป็นที่มาที่ทำให้ตนตั้งใจในวันนั้นเลยว่าจะถวายชีวิต และเมื่อเสร็จงานพระมหาชนกแล้ว ตนจะกลับบ้านมาทำสิ่งที่พระองค์ทรงปรารถนาด้วยการสร้างศิลปะประจำรัชกาลของพระองค์จนวันตาย
1
“ผมไม่รู้จะพูดอะไร นี่เป็นแรงบันดาลใจของผมตั้งแต่เป็นเด็ก ผมรู้จักพระเจ้าอยู่หัว ผมรัก และผมก็มีโอกาสอย่างที่ผมฝัน ผมก็ได้ใกล้ชิดพระเจ้าอยู่หัว อยู่ใต้พระบาทท่าน ผมไม่ได้ทำงานพระมหาชนกอย่างเดียวแต่ผมเรียนด้วย เมื่อพระองค์ประชวรครั้งแรกผมมองแบบเรียนผมทุ่มเทให้กับ วัดร่องขุ่น ทุกอย่างคือความรัก วัดร่องขุ่นคือสิ่งที่ผมทุ่มเท เพื่อพระองค์ท่าน ความยิ่งใหญ่ของพระองค์ท่าน ผมอยากทำเพื่อถวายท่าน ผมอยากทำให้มันยิ่งใหญ่ที่สุดให้คนทั้งโลกรู้จักงานศิลปะของยุคสมัยของพระองค์ที่ยิ่งใหญ่ และทรงเมตตาทุ่มเทต่อประชาชน” อาจารย์เฉลิมชัยกล่าวทั้งน้ำตา

อีกหนึ่งในผลงานที่ผู้คนนิยมเข้าชมและยังเป็นปริศนาเนื่องจากอาจารย์เฉลิมชัยระบุว่าไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน คือภาพร่างด้วยดินสอดำบนกระดาษที่ตั้งอยู่ใกล้กันจำนวน 2 ภาพคือภาพทรงชนะมารและภาพร่างสมบูรณ์แบบที่แก้ไขตามพระราชกระแสรับสั่ง
7
อาจารย์เฉลิมชัย เปิดเผยเบื้องหลังภาพทั้งสองว่า เมื่อปี 2538 ตนเข้าถวายงานในหลวง ด้วยการจัดทำภาพร่างเพื่อนำไปจัดทำเหรียญพระราชทานแก่แพทย์และพยาบาลผู้รักษาพระหทัย เมื่อครั้งประชวรเป็นครั้งแรก โดยตนได้ทำภาพร่างเป็นภาพช้างชูรูปหัวใจและอักษร”ภอ” ซึ่งเมื่อตนนำภาพร่างทูลเกล้าฯถวายเมื่อวันที่ 4 พ.ค.ปีเดียวกัน ได้ทรงมีพระราชวินิจฉัยอย่างละเอียด และทรงให้ตนนำไปแก้ไขหลายจุด โดยทรงมีลายพระหัตถ์เป็นตัวหนังสือด้านบนภาพใบหนึ่งว่า “ช้างหน้าดุเกินไป” และยังมีรับสั่งให้ย้ายอักษร “ภอ” แก้ไขตรงดอกบัว ส่วนงาช้างก็ไม่ให้แหลมเกินไป และตรงงวงช้างชูก็ให้มีความอ่อนช้อยมากขึ้น ซึ่งตนได้จดบันทึกเอาไว้บนภาพร่างดังกล่าวด้วย

อาจารย์เฉลิมชัย เผยอีกว่าตนได้ใช้ระยะเวลาในการแก้ตามที่ทรงมีรับสั่งเป็นเวลา 1 วันจึงแล้วเสร็จและนำกลับไปทูลเกล้าฯถวายอีกครั้ง จึงได้นำไปจัดทำเป็นเหรียญจำนวน 800 กว่าเหรียญ ซึ่งตนได้รับพระราชทานด้วยจำนวน 1 เหรียญ เก็บเอาไว้ในตู้เซฟอย่างดีเพราะเป็นสิ่งที่มีสิริมงคลสำหรับตนเป็นอย่างยิ่ง
5
ทั้งนี้การได้มีโอกาสถวายงานดังกล่าวทำให้ตนทราบว่าในหลวงของเรา ทรงมีพระอัจฉริยภาพทางศิลปะเป็นอย่างมาก โดยพระองค์ทรงเป็นครูที่สุดยอดของตน ทรงชำนาญเรื่ององค์ประกอบของภาพ การประสานกลมกลืน รูปลักษณ์ รูปทรง ความสัมพันธ์ ความสมดุล ตนถือเป็นความภาคภูมิใจที่ตนและครอบครัวได้มีโอกาสถวายงานเป็นอย่างมากหาที่สุดมิได้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน