สืบสานศิลปหัตถกรรม รับปีวัฒนธรรมอาเซียน

สืบสานศิลปหัตถกรรม – ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT ขานรับไทยเป็นประธานอาเซียน และการประกาศสู่การเป็นปีแห่งวัฒนธรรมอาเซียน 2562” (ASEAN Cultural Year) เตรียมสานต่อเครือข่ายองค์กรพันธมิตรด้านศิลปหัตถกรรมในอาเซียน พัฒนางานศิลปหัตถกรรมของอาเซียนมุ่งสู่ตลาดโลก ชูจุดขายเอกลักษณ์และความร่วมสมัย

สืบสานศิลปหัตถกรรม

สืบสานศิลปหัตถกรรม สืบสานศิลปหัตถกรรม

นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) พร้อมเดินหน้าสานต่อการพัฒนาและยกระดับงานศิลปหัตถกรรมในวัฒนธรรมร่วม สอดคล้องและขานรับกับการที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นประธานอาเซียน และการประกาศสู่การเป็นปีแห่งวัฒนธรรมอาเซียน 2562” (ASEAN Cultural Year) ภายใต้แนวคิดหลากหลาย สร้างสรรค์ ยั่งยืน

สืบสานศิลปหัตถกรรม

นางอัมพวัน พิชาลัย

ความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ผสานกลมกลืนเป็นอัตลักษณ์ของอาเซียนนี้จะส่งเสริมความเข้มแข็งของอาเซียน โดย SACICT จับมือร่วมกับเครือข่ายองค์กรพันธมิตรด้านศิลปหัตถกรรมในอาเซียน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และร่วมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยในวัฒนธรรมร่วม (Cross Cultural Crafts) เป็นโครงการที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 5

มุ่งเน้นการดำเนินงานเชิงบูรณาการของเครือข่ายกลุ่มอาเซียน เพื่อร่วมอนุรักษ์และสืบสานหัตถกรรมใกล้สูญหาย งานศิลปหัตถกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตามท้องถิ่นหรือชุมชนในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน และได้รับผลกระทบจากกระแสวัฒนธรรมสมัยใหม่ จึงร่วมมือกันอนุรักษ์ฟื้นฟูและเชื่อมโยงผู้ที่มีทักษะฝีมือเชิงช่างชั้นสูงและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีประเทศที่เข้าร่วมโครงการทั้งในอาเซียนและในกลุ่มเอเชีย

สืบสานศิลปหัตถกรรม สืบสานศิลปหัตถกรรม

อาทิ งานเครื่องรักเครื่องเขินประเทศเมียนมา งานดุนโลหะจากกัมพูชาและอินโดนีเซีย งานประดับมุกจากเกาหลี งานจักสานจากฟิลิปปินส์และไต้หวัน รวมทั้งงานไม้จากญี่ปุ่น ความร่วมมือระหว่างกันนี้ก่อให้เกิดการสืบสานภูมิปัญญาและพัฒนางานศิลปหัตถกรรมของอาเซียน เกิดมูลค่าเพิ่มจนสามารถพัฒนาสู่ตลาดสากล SACICT มีแผนงานขยายความร่วมมือให้ครอบคลุมกลุ่มประเทศที่กว้างขวางมากขึ้น สำหรับประเทศที่มีความร่วมมือระหว่างกันแล้วจะขยายสู่งานหัตถศิลป์ในด้านอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ SACICT ยังให้ความสำคัญการพัฒนาต่อยอดให้สินค้าหัตถศิลป์เป็นที่ต้องการของตลาด ผ่านโครงการร่วมรังสรรค์ศิลปหัตถกรรม Craft Co-Creation เพื่อสร้างสรรค์งานหัตถศิลป์ให้สอดรับกับยุคปัจจุบันและเตรียมความพร้อม เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถแข่งขันได้ในอนาคต โดยเกิดจากการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ ทักษะ การผลิต การหาช่องทางการตลาดใหม่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ

เพื่อสนับสนุนความหลากหลายทางวัฒนธรรม อนุรักษ์และพัฒนาต่อยอดงานศิลปหัตถกรรมซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีมายาวนานของอาเซียนให้คงอยู่ และปรับตัวเข้ากับสังคมและประชาคมโลกได้ อันจะสร้างความยั่งยืนในบริบททางวัฒนธรรมของอาเซียนต่อไป

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน