spot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ข้อควรรู้ที่จำเป็นเกี่ยวกับ : ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light) ตามมาตรฐาน

ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light)

การให้แสงสว่างทันทีที่แหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติเกิดการล้มเหลว มาตรฐานกำหนดให้มีแสงสว่างฉุกเฉินเพื่อการหนีภัย  และ การให้แสงสว่างสำรองจะต้องเพียงพอในระยะเวลาที่จะสามารถออกจากจุดเกิดเหตุได้อย่างปลอดภัย

การส่องสว่างฉุกเฉินเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเช่นไฟไหม้ ระบบไฟฟ้าขัดข้อง เราจำเป็นต้องใช้แสงสว่างในการอพยพผู้คนเพื่อนำผู้ที่อยู่ในอาคารให้ออกไปสู่ที่ปลอดภัยได้อย่างรวดเร็ว

 

NFPA 101 ไฟส่องสว่างฉุกเฉิน

ในสหรัฐอเมริกา OSHA ยอมรับมาตรฐานของ NFPA 101 : การตรวจสอบไฟฉุกเฉินและเครื่องหมายทางออกเมื่อเปิดอาคารใหม่ และยังมีมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับไฟฉุกเฉิน เช่น มาตรฐาน OSHA 1910.34 อธิบายเกี่ยวกับเส้นทางออกไว้ว่า ต้องต่อเนื่องและไม่มีสิ่งกีดขวางภายในสถานที่ทำงานถึงสถานที่ปลอดภัย ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ ไฟฉุกเฉินจะต้องเปิดใช้งานโดยอัตโนมัติระหว่างที่ไฟฟ้าดับ และ ต้องใช้งานได้อย่างน้อย 90 นาที

OSHA และ NFPA ยังได้กำหนดการบำรุงรักษาและการทดสอบข้อกำหนดของไฟฉุกเฉินเป็นประจำ รวมถึงการตรวจสอบรายเดือนและการทดสอบประจำปีตามมาตรฐาน NFPA 101 เพื่อให้แน่ใจว่ายังคงอยู่ในสภาพการทำงานที่เหมาะสม

ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light) คือ

ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light) คืออะไร

ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light) หมายถึง แหล่งกำเนิดแสงที่ใช้แบตเตอรี่สำรอง หรือ ใช้พลังงานอย่างอิสระซึ่งออกแบบมาเพื่อส่องสว่างขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อไฟฟ้าดับ ทำให้เกิดสภาพการมองเห็นต่ำในสถานที่ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันการติดตั้งไฟฉุกเฉินนอกจากเพื่อการส่องสว่างในกรณีไฟฟ้าดับแล้ว ในประเทศไทยการติดตั้งไฟฉุกเฉินยังเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายอีกด้วย

ทำไมต้องติดตั้งไฟฉุกเฉิน

การติดตั้งไฟฉุกเฉิน นอกจากจะใช้สำหรับการส่องสว่างในกรณีฉุกเฉินแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้น ยังเป็นข้อกำหนดทางกฎหมาย ซึ่งกำหนดไว้ดังนี้

  • กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555

ข้อ 10 ให้หายจ้างจัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอสำหรับเส้นทางหนีไฟในการอพยพลูกจ้างออกจากอาคารเพื่อการหนีไฟ รวมทั้งจัดให้มีแหล่งจ่ายไฟสำรองที่สามารถจ่ายไฟฟ้าเพื่อการหนีไฟและสำหรับใช้กับอุปกรณ์ดับเพลิงขั้นต้นหรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้องได้ในทันทีที่ไฟฟ้าดับ

  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ผู้ประกอบกิจการอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย มีไว้ซึ่งอุปกรณ์เครื่องช่วยในการหนีไฟจากอาคารที่ประกอบกิจการ โดยระบุไว้ในคู่มือท้ายประกาศ

ป้ายบอกทางหนีไฟ

(7) ป้ายบอกชั้นและป้ายบอกทางหนีไฟช่องบันไดหนีไฟที่อยู่ภายในตัวอาคารหรือสถานประกอบกิจการจะต้องมีแสงสว่างจากระบบไฟฟ้าฉุกเฉินพร้อมทั้งมีป้ายบอกชั้นและป้ายบอกทางหนีไฟที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งด้านในและด้านนอกของบันไดหนีไฟทุกชั้นเพื่อป้องกันการหนีออกผิดชั้นซึ่งจะช่วยให้ผู้หนีไฟทราบว่าขณะนี้อยู่ที่ชั้นใดและทราบว่าถึงชั้นล่างที่มีทางออกสู่ภายนอกอาคารหรือสถานประกอบกิจการแล้ว

การเลือกซื้อไฟฉุกเฉินพิจารณาจากอะไร

ในการเลือกซื้อโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน ต้องเลือกที่มีมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานที่ใช้ทั่วไป คือ มาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) โดยจะกำหนดรายละเอียดมาตรฐานของไฟฉุกเฉินไว้ดังนี้

  • ช่วงเวลาการส่องสว่าง
    – ความส่องสว่างเพื่อการเคลื่อนไหวที่ปลอดภัยต้องมีความส่องสว่างตามพิกัดที่กำหนด ได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 120 นาที
  • ดัชนีสีที่ปรากฏทั่วไป
    – แหล่งกำเนิดแสงที่ใช้ ต้องมีดัชนีสีที่ปรากฏทั่วไปไม่ต่ำกว่า 40 (Ra มากกว่าหรือเท่ากับ 40)
  • ชนิดของแบตเตอรี่
    – แบตเตอรี่ที่ใช้ต้องเป็นแบบหุ้มปิดมิดชิดและไม่ต้องมีการบำรุงรักษา เช่น แบตเตอรี่ชนิดนิเคิลเมทัลไฮไดรด์แบบหุ้มปิดมิดชิด (sealed nickel – metal hydride) แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรดแบบหุ้มปิดมิดชิด (sealed lead acid)
  • ความจุแบตเตอรี่
    – แบตเตอรี่ต้องจ่ายไฟได้นานไม่น้อยกว่า 120 นาที โดยมีแรงดันไฟฟ้าต่ำสุดไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของแรงดันพิกัดปกติและมีระยะเวลาอัดประจุ (recharge time) นานไม่เกิน 24 ชั่วโมง
  • ระยะเวลาเริ่มทำงาน
    – โคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ต้องให้ปริมาณแสงของโคมไฟฟ้าออกมาได้กึ่งหนึ่งของพิกัดตามที่ผู้ผลิตแจ้งภายใน 5 วินาที และเต็มพิกัดตามที่ผู้ผลิตแจ้งภายใน 60 วินาที หลังจากที่แหล่งจ่ายไฟปกติล้มเหลว
  • ระยะเวลาประจุไฟ
    – อุปกรณ์บรรจุแบตเตอรี่ต้องสามารถอัดประจุได้เต็มภายใน 24 ชั่วโมง

ไฟส่องสว่างฉุกเฉิน อัตโนมัติ.psd

การติดตั้งไฟฉุกเฉิน ระบบการให้แสงสว่างฉุกเฉิน

การติดตั้งไฟฉุกเฉิน ติดในตำแหน่งให้ส่องสว่างไปยังบริเวณทางออกของอาคาร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของอาคาร และ อันตราย รวมถึงสิ่งกีดขวาง ในการอพยพออกสู่นอกอาคารอย่างปลอดภัย โคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินต้องติดตั้งในบริเวณเส้นทางหนีภัยและสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 2 เมตร โดยวัดจากพื้นถึงด้านล่างของโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินกรณีติดตั้งต่ำกว่า 2 เมตรต้องไม่กีดขวางเส้นทางหนีภัยบริเวณที่ต้องติดตั้งโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินมีดังนี้

  • ทางหนีภัยและบริเวณทางออก
  • บริเวณภายนอกหลังจากออกจากอาคารแล้ว 
  • ทางแยก 
  • ทางเลี้ยว
  • พื้นเปลี่ยนระดับ
  • พื้นที่ปฏิบัติงานของพนักงานดับเพลิง จุดติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง พื้นที่เตรียมการหนีภัย 
  • บริเวณพื้นที่งานอันตรายสูง รวมถึงห้องเครื่องไฟฟ้าเครื่องกล ห้องควบคุม ห้องต้นกำลัง 
  • ห้องน้ำ 
  • บันไดเลื่อนและทางเลื่อน
  • พื้นที่เปิดโล่งภายในอาคาร
  • จุดรวมพลเพื่อการหนีภัยภายในอาคาร
  • บริเวณภายนอกประตูดาดฟ้าและบริเวณพื้นที่รอการหนีภัยทางอากาศ

ซึ่งในแต่ละสถานที่ที่ต้องติดตั้งแสงสว่างฉุกเฉิน ได้ระบุรายละเอียดไว้ใน ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4745 (พ.ศ.2558) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การติดตั้งระบบการให้แสงสว่างฉุกเฉิน ตามมาตรฐานเลขที่ มอก.2690-2558 ซึ่งจะพูดถึงลักษณะที่ต้องการสำหรับการติดตั้งระบบให้แสงสว่างฉุกเฉินสำหรับภายในอาคาร โดยครอบคลุมการออกแบบ การติดตั้งใหม่ การเปลี่ยนแปลง และการตรวจสอบภาคสนาม สำหรับงานติดตั้งและบำรุงรักษาระบบการให้แสงสว่างฉุกเฉิน เพื่อให้บุคคลออกจากพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วจนถึงทางออกที่ปลอดภัย

 

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ตามมาตรฐาน วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.)

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ตามมาตรฐาน วสท. แบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา ดังนี้

  • การติดตั้งไฟฉุกเฉินใหม่
    – ต้องได้รับการตรวจสอบและทดสอบโดยการจำลองความล้มเหลวของแหล่งจ่ายไฟปกติ ต้องส่องสว่างได้ไม่น้อยกว่า 120 นาที โดยถ้าระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินหรือโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินมีสวิตช์ถ่ายโอน เมื่อติดตั้งใช้งานในระบบแล้ว ต้องทดสอบโดยการตัดหรือยกเลิกการทำงานของสวิตช์ไฟฟ้าดังกล่าว เพื่อแสดงว่าระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินยังคงส่องสว่างได้
  • การตรวจสอบราย 3 เดือน
    – ต้องทำทุก 3 เดือน ตรวจสอบและทดสอบโดยจำลองความล้มเหลวของแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติ ต้องส่องสว่างได้ไม่น้อยกว่า 60 นาที กรณีที่แบตเตอรี่ไม่สามารถจ่ายไฟได้นานถึง 60 นาที ในระหว่างการทดสอบระบบต้องมีสัญญาณแสดงความล้มเหลวของแบตเตอรี่
  • การตรวจสอบรายปี
    – ต้องทำทุก 1 ปี ตรวจสอบและทดสอยโดยจำลองความล้มเหลวของแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติ ต้องส่องสว่างได้ไม่น้อยกว่า 90 นาที

สรุป

ไฟฉุกเฉินมีความสำคัญอย่างมากในสภาวะที่เกิดไฟดับทำให้ไม่มีแสงสว่างเพียงพอที่จะอพยพผู้คนในพื้นที่ในระยะเวลาอันสั้น หลายครั้งเราพบว่าสถานที่เกิดเหตุฉุกเฉินอัคคีภัยที่ทำให้คนเสียชีวิตมาจาก ผู้คนไม่สามารถอพยพไปยังภายนอกอาคารได้เนื่องจากไม่มีไฟส่องสว่างฉุกเฉิน การติดตั้ง และ ตรวจสอบไฟฉุกเฉินควรเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกฎหมายเพื่อให้ระบบไฟฉุกเฉินมีประสิทธิภาพสูงสุด

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* สงวนลิขสิทธิ์ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

Similar Articles

Special advertising

spot_img

Special Ads

spot_img

Ads.1

spot_img

Ads.3

spot_img

Ads.4

spot_img
spot_img

Ads.5

spot_img

Most Popular