ฟ้าให้ทีวี ครั้งแรกที่ใช้ ม.44 ปิดสถานีโทรทัศน์

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 สถานีวิทยุโทรทัศน์ ฟ้าให้ทีวี (Fah Hai TV) ที่มีพรทิพา หรือ ดีเจฟ้า เป็นเจ้าของ ถูกเจ้าหน้าที่ทหารเข้าตรวจค้นและยึดอุปกรณ์ของสถานี โดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ประกอบมาตรา 44 หลังตรวจสอบพบว่า รายการทีวีรายการหนึ่งที่ออกอากาศทางสถานี อาจมีเนื้อหาเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน นอกจากนี้ยังพบว่า สถานีฟ้าให้ทีวี ออกอากาศโดยไม่มีใบอนุญาต จึงยึดอุปกรณ์ของทางสถานีเป็นของกลาง ทำให้สถานีออกอากาศไม่ได้อีก
ซึ่งตามปกติอำนาจกำกับดูแลเนื้อหาสื่อโทรทัศน์ เป็นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และ กสท.จะตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยทำงานด้านต่างๆ โดยมีคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ ทำหน้าที่พิจารณาเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ถ้าอนุกรรมการด้านเนื้อหาฯ มีมติว่าผิดจริง ก็จะส่งต่อให้ กสท. ลงโทษทางปกครอง
หลังรัฐประหาร คสช. ตั้งคณะกรรมการเพื่อติดตามการเผยแพร่ข่าวสารต่อสาธารณะ เช่นโทรทัศน์ โดยส่งเรื่องร้องเรียนไปยัง กสท. ว่ามีรายการอะไร ของช่องใดบ้าง ที่ออกอากาศเนื้อหาที่อาจขัดความมั่นคง ยิ่งไปกว่านั้น คสช. ยังใช้มาตรการพิเศษสำหรับช่องการเมืองที่เคยถูกระงับออกอากาศตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 15/2557 คือ จะอนุญาตให้กลับมาออกอากาศก็ต่อเมื่อลงนามในบันทึกข้อตกลง (MoU) ซึ่งกำหนดเงื่อนไขว่า ทางสถานียินยอมงดเว้นการนำเสนอเนื้อหาที่ขัดต่อประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และ 103/2557 หากฝ่าฝืน กสท. อาจพิจารณาถอนใบอนุญาตทันที
จากการรวบรวมข้อมูลของไอลอว์ พบว่า ตั้งแต่รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 จนถึงปัจจุบัน (พฤศจิกายน 2558) มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับช่องโทรทัศน์ที่นำเสนอเนื้อหาทางการเมือง เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม กสท. แล้ว อย่างน้อย 18 กรณี จาก 12 สถานี เช่น สถานีโทรทัศน์พีซทีวีที่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต, รายการนินทาการเมือง ช่อง 4 Channel ที่ถูกปรับ 500,000 บาท และการนำเสนอสกู๊ปนักศึกษากลุ่มดาวดิน ของรายการที่นี่ ThaiPBS ซึ่ง กสท. มีมติไม่ลงโทษทางปกครอง
ทั้งนี้การเข้าตรวจค้นและยึดอุปกรณ์ออกอากาศของฟ้าให้ทีวี นับเป็นครั้งแรกที่ คสช. ใช้มาตรา 44 เพื่อกำกับดูแลสื่อโทรทัศน์โดยตรง แทนที่จะใช้ กสท. เป็นกลไกอย่างที่ผ่านมา ภายหลังตรวจค้นนอกจากยึดอุปกรณ์ของสถานีเเล้ว เจ้าหน้าที่ทหารยังนำบุคคล 5 คน ที่เกี่ยวข้องกับสถานี ไปแจ้งความที่กองบังคับการปราบปราม ข้อหาร่วมกันประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหาปลุกปั่น ยั่วยุให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116
อ่านรายละเอียดเรื่องราวของ กรณีปิดฟ้าให้ทีวี ได้ที่ “ฟ้าให้ทีวี” ครั้งแรกที่ใช้ ม.44 ปิดสถานีโทรทัศน์
จากกรณีเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 สถานีวิทยุโทรทัศน์ ฟ้าให้ทีวี (Fah Hai TV) ที่มีพรทิพา หรือ ดีเจฟ้า เป็นเจ้าของ ถูกเจ้าหน้าที่ทหารเข้าตรวจค้นและยึดอุปกรณ์ของสถานี โดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ประกอบมาตรา 44 หลังตรวจสอบพบว่า รายการทีวีรายการหนึ่งที่ออกอากาศทางสถานี อาจมีเนื้อหาเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ และกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน นอกจากนี้ยังพบว่า สถานีฟ้าให้ทีวี ออกอากาศโดยไม่มีใบอนุญาต จึงยึดอุปกรณ์ของทางสถานีเป็นของกลาง ทำให้สถานีออกอากาศไม่ได้อีก
ซึ่งตามปกติอำนาจกำกับดูแลเนื้อหาสื่อโทรทัศน์ เป็นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และ กสท.จะตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยทำงานด้านต่างๆ โดยมีคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการทำหน้าที่พิจารณาเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ถ้าอนุเนื้อหาฯ มีมติว่าผิดจริง ก็จะส่งต่อให้ กสท. ลงโทษทางปกครอง
หลังรัฐประหาร คสช.ตั้งคณะกรรมการเพื่อติดตามการเผยแพร่ข่าวสารต่อสาธารณะ เช่นโทรทัศน์ โดยส่งเรื่องร้องเรียนไปยังกสท.ว่ามีรายการอะไร ของช่องใดบ้าง ที่ออกอากาศเนื้อหาที่อาจขัดความมั่นคง ยิ่งไปกว่านั้น คสช. ยังใช้มาตรการพิเศษสำหรับช่องการเมืองที่เคยถูกระงับออกอากาศตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 15/2557 คือ จะอนุญาตให้กลับมาออกอากาศก็ต่อเมื่อลงนามในบันทึกข้อตกลง (MoU) ซึ่งกำหนดเงื่อนไขว่า ทางสถานียินยอมงดเว้นการนำเสนอเนื้อหาที่ขัดต่อประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และ 103/2557 หากฝ่าฝืนกสท.อาจพิจารณาถอนใบอนุญาตทันที
จากที่ไอลอว์รวบรวมข้อมูลพบว่า ตั้งแต่รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 จนถึงปัจจุบัน (พฤศจิกายน 2558) มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับช่องโทรทัศน์ที่นำเสนอเนื้อหาทางการเมือง เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมกสท.แล้ว อย่างน้อย 18 กรณี จาก 12 สถานี เช่น สถานีโทรทัศน์พีซทีวีที่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต, รายการนินทาการเมือง ช่อง 4 Channel ที่ถูกปรับ 500,000 บาท และการนำเสนอสกู๊ปนักศึกษากลุ่มดาวดิน ของรายการที่นี่ ThaiPBS ซึ่งกสท.มีมติไม่ลงโทษทางปกครอง
ทั้งนี้การเข้าตรวจค้นและยึดอุปกรณ์ออกอากาศของฟ้าให้ทีวี นับเป็นครั้งแรกที่คสช.ใช้มาตรา 44 เพื่อกำกับดูแลสื่อโทรทัศน์โดยตรง แทนที่จะใช้กสท.เป็นกลไกอย่างที่ผ่านมา ภายหลังตรวจค้นนอกจากยึดอุปกรณ์ของสถานีเเล้ว เจ้าหน้าที่ทหารยังนำบุคคล 5 คนที่เกี่ยวข้องกับสถานีไปแจ้งความ ที่กองบังคับการปราบปราม ข้อหา ร่วมกันประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหาปลุกปั่น ยั่วยุให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116
อ่านรายละเอียดเรื่องราวของ กรณีปิดฟ้าให้ทีวี ได้ที่ http://freedom.ilaw.or.th/case/695
ดูบทความ ข้อมูล และขั้นตอนการปิดกั้นเนื้อหาในสื่อโทรทัศน์ ภายใต้ยุค คสช. ได้ที่ http://freedom.ilaw.or.th/TVContentRegulation