มลพิษทางอากาศกำลังทำร้ายพวกเราในขณะนี้ พวกเรากำลังหายใจอากาศที่สร้างความเสียหายให้กับอวัยวะส่วนใหญ่ในร่างกายเข้าไป ที่แย่ไปกว่านั้น สาเหตุหลักของมลพิษทางอากาศเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล และยังเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศของโลกที่พวกเรากำลังอาศัยอยู่ในขณะนี้

เนื้อหาโดยสรุป

  • การเผาถ่านหินไม่เพียงแค่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ทำให้โรคร้อน แต่ยังปล่อยสารอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพออกมา
  • การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ต่างจากการเผาถ่านหิน รถยนต์ไม่ว่าจะใช้น้ำมันเบนซินหรือดีเซลล้วนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซอื่น ๆ ที่ส่งผลต่ออุณหภูมิของโลก
  • ปีพ.ศ.2562 พบว่าเป็นปีที่มีการลดการใช้ถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้ามากที่สุดตั้งแต่เคยบันทึกมา

แม้ว่าเรากำลังเผชิญกับวิกฤตมลพิษทางอากาศ แต่พวกเราสามารถแก้ไขได้ และผู้คนทั่วโลกก็กำลังแก้ไขวิกฤตนี้อยู่

1.ถ่านหิน

หญิงเลี้ยงแกะดูแลฝูงแกะของเธอที่กำลังเล็มหญ้าในบริเวณใกล้กับโรงไฟฟ้าถ่านหิน เมืองเจปารา จังหวัดชวากลาง © Kemal Jufri / Greenpeace © Kemal Jufri / Greenpeace

เรารู้กันดีอยู่แล้วว่าการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นเป็นสิ่งไม่ดี แต่ที่เลวร้ายที่สุดคือ การเผาถ่านหิน การเผาถ่านหินจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ต่อหน่วยพลังงานมากกว่าน้ำมันหรือก๊าซ ซึ่งหมายความว่ามันทำให้โลกเราร้อนเร็วขึ้น

การเผาถ่านหินทำให้เกิดสารมากมาย เช่น ปรอท สารหนู และอนุภาคเล็กๆของเขม่าซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ เมื่อเราหายใจในอากาศแบบนี้จะทำให้เกิดอันตรายต่อหัวใจและปอด อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย

ขณะนี้มีการใช้ถ่านหินอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า เราใช้ถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้ามากกว่าหนึ่งในสามของกระแสไฟฟ้าทั่วโลก โรงไฟฟ้าถ่านหินเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศหลายร้อยกิโลเมตรและส่วนใหญ่มักจะอยู่ในศูนย์กลางของเมือง ดังนั้นผู้คนนับล้านมีความเสี่ยงที่จะได้รับมลพิษที่เกิดจากโรงไฟฟ้าเหล่านี้

เราต้องยุติการใช้ถ่านหิน และหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดอย่างพลังงานลม พลังงานงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานมหาสมุทรโดยใช้กระแสน้ำขึ้นน้ำลง

หลายประเทศได้เริ่มไปบ้างแล้ว ในปีพ.ศ.2562 พบว่ามีการลดการใช้ถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้ามากที่สุดตั้งแต่เคยบันทึกมา ซึ่งเราต้องการทุกประเทศทั่วโลกให้หันมาใช้พลังงานหมุนเวียนโดยเร็ว กรีนพีซสากลได้วางแผนไว้ว่าเราจะสามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างไร

2. รถยนต์

การจราจรบริเวณแยกอโศกตัดกับถนนเพชรบุรี ในวันที่กรุงเทพมหานครมีฝุ่นละอองคล้ายหมอกควันปกคลุมในหลายพื้นที่ © Chanklang Kanthong / Greenpeace © Chanklang Kanthong / Greenpeace

รถยนต์ส่วนมากใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล  การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ต่างจากการเผาถ่านหิน รถยนต์ไม่ว่าจะใช้น้ำมันเบนซินหรือดีเซลล้วนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซอื่น ๆ ที่ส่งผลต่ออุณหภูมิของโลก นอกจากนั้นไอเสียจากรถยนต์ยังปล่อยไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเราเช่นกัน

แต่เรามีวิธีที่สามารถเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยไม่ต้องใช้รถยนต์ได้

หลายเมืองทั่วโลกเริ่มตื่นตัวกับการเดินทางโดยไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ ตั้งแต่การเดินเท้าบนทางเดินฟุตบาท ไปจนถึงระบบขนส่งสาธารณะที่ครอบคลุมและราคาไม่แพง นี่คือสิ่งที่รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีขึ้น เพื่อที่ประชาชนจะได้ใช้งานขนส่งสาธารณะได้อย่างทั่วถึง และมากขึ้น ซึ่งจะเป็นทางออกให้คนใช้รถยนต์น้อยลง และทำให้เราได้อากาศ สุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีอีกด้วย

แต่ในบางครั้งรถยนต์ยังคงจำเป็นต่อการเดินทาง เราควรริเริ่มที่จะคิดเกี่ยวกับรถยนต์ให้แตกต่างออกไปจากเดิม อาทิเช่น  การใช้รถพลังงานไฟฟ้าแทนที่จะใช้รถน้ำมันเบนซินหรือดีเซล รถยนต์พลังงานไฟฟ้าไม่มีการปล่อยควันจากท่อไอเสีย แต่จะปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตรถยนต์และการผลิตไฟฟ้าที่ใช้เพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ ถ้ารถยนต์ไฟฟ้าใช้พลังงานหมุนเวียนในการขับเคลื่อน อัตราการเกิดก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์พลังงานไฟฟ้านั้นก็จะเทียบเท่ากับศูนย์ แต่ประเทศที่ใช้ถ่านหิน อาทิเช่นประเทศโปแลนด์ก็ยังสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ด้วยการลดขนาดรถยนต์ลง ซึ่งจะส่งผลโดยตรงที่ทำให้การปล่อยมลพิษจากท่อไอเสียลดลงไปด้วย เนื่องจากมีการใช้พลังงานในการผลิตและขับขี่น้อยลง นอกจากนี้การใช้ขนส่งมวลชนแทนการใช้รถส่วนบุคคลก็จะช่วยลดมลพิษได้ด้วยเช่นกัน

3. ชุมชน

Air Pollution Protest in Bangkok. © Wason Wanichakorn / Greenpeace
กรีนพีซ ประเทศไทย องค์กรภาคประชาสังคม และประชาชน ร่วมเดินรณรงค์ไปยังศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) เพื่อยื่นแถลงการณ์ “พอกันที ขออากาศดีคืนมา” รวมถึงข้อเสนอแนะ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลลงมือจัดการกับปัญหาวิกฤตฝุ่น PM2.5 อย่างจริงจังและเร่งด่วน © Wason Wanichakorn / Greenpeace

มลพิษทางอากาศไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง เป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องช่วยกัน วิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ระบุไว้นั้นเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก และทุกคนต่างร่วมกันเรียกร้องให้เกิดขึ้น

ความกังวลเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศทำให้เกิดความเคลื่อนไหวในหลาย ๆ ที่ เช่น เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน ใช้ไฟฟ้าในการเดินรถของรถโดยสาร, ผู้ปกครองในเบลเยี่ยมมีการรวมตัวกันเพราะอากาศในโรงเรียนสกปรก ตอนนี้เมืองบรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยี่ยม ได้ห้ามใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล และยังมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของขนส่งสาธารณะ และทางจักรยานอีกด้วย  ในขณะที่ทั่วโลกกังวลกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากถ่านหิน รัฐบาลได้เล็งเห็นวิธีการใหม่ ๆ ที่จะทำให้เราได้พลังงานมา ตุรกีเองก็ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน 5 แห่งภายในปีพ.ศ. 2563

พวกเราคือทางออกของวิกฤตมลพิษทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็นใคร เราสามารถร่วมมือและแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ และสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ตอนนี้

Air Pollution in Bangkok. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace
ขออากาศดีคืนมา

กรีนพีซเสนอให้กรมควบคุมมลพิษยกร่างมาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศสำหรับประเทศไทยขึ้นใหม่

มีส่วนร่วม