สถานะ ดำเนินการ

เหมืองลิกไนต์แบบเปิด (open pit mining) ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีปอยู่ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยเป็นตัวอย่างคลาสสิกของอุตสาหกรรมขุดเจาะ(extractive industries) ที่สร้างผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมาเป็นลำดับ เหมืองลิกไนต์ที่แม่เมาะมีการสำรวจตั้งแต่ปี 2460 และมีแผนที่จะปิดในอีก 30 ปีข้างหน้า เนื่องจากแหล่งสำรองลิกไนต์ 300-400 ล้านตันจะหมดลง

แหล่งถ่านหินในประเทศไทยที่สำรวจพบโดยกรมทรัพยากรธรณีส่วนใหญ่เป็นลิกไนต์อยู่ทางภาคเหนือและบางส่วนทางภาคใต้ โดยมีทั้งหมด 43 แหล่ง มีปริมาณทรัพยากรถ่านหินรวม ประมาณ 2,007 ล้านตัน แบ่งเป็นแหล่งถ่านหินที่มีการพัฒนาแล้ว 14 แหล่ง มีปริมาณสำรองราว 1,181 ล้านตัน และแหล่งถ่านหินที่ยังไม่ได้พัฒนา 29 แหล่ง มีปริมาณทรัพยากรถ่านหินราว 826 ล้านตัน โดยแหล่งถ่านหินที่ใหญ่ท่ีสุดและมีการผลิตมากที่สุดคือ เหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง โดยมีปริมาณสำรองกว่าร้อยละ 90 ของปริมาณถ่านหินสำรองทั้งประเทศ

โรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์แม่เมาะใช้ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง มีทั้งหมด 13 เครื่อง ซึ่งเครื่องที่ 1-3 ได้หยุดเดินเครื่องตั้งแต่ปี 2542 ดังนั้นในปัจจุบันโรงไฟฟ้าแม่เมาะจึงมีกำลังผลิตเครื่องที่ 4-13 จำนวน 2,400 เมกะวัตต์ เหมืองถ่านหินแม่เมาะได้ทำการขุดถ่านหินจำนวนประมาณ 15-17 ล้านตันส่งให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จำนวน 13 หน่วยกำลังผลิต 2,625,000 กิโลวัตต์ ซึ่งจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั้งภาคเหนือตอนบนและล่างเชื่อมต่อไปยังภาคกลางและเชื่อมโยงกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย โดยกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ 

การใช้เงินประชาสัมพันธ์ของ กฟผ.ในช่วงปีงบประมาณ ปี 2551-2553 วงเงินรวม 134,435,550 และ 38,417,890 และ 30,223,450 ตามลำดับ และเฉพาะ 6 เดือนแรกของปีงบประมาณปี 2554 มีการใช้เงินประชาสัมพันธ์รวม 18 รายการ วงเงิน 77,147,000 บาท หากแต่วันนี้มาตรการการชดเชยความเสียหายต่อผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าวยังคงอยู่ระหว่างการต่อสู้ในชั้นศาล เนื่องจากหลังจากศาลชั้นต้นตัดสินให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจ่ายค่าชดเชยให้กับชาวบ้านในพื้นที่รายละ 246,000บาท กฟผ.ยื่นอุทธรณ์ จึงทำให้ค่าเสียหายตามกฎหมายที่จะเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเบื้องต้นชะงัก และชาวบ้านแม่เมาะหลายคนได้เสียชีวิตก่อนที่การตัดสินคดีประวัติศาสตร์จะจบสิ้นเสียอีก

ในช่วงเดือนกรกฏาคมและกันยายนปี 2554 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ว่าจ้างให้บริษัททีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด ให้ดำเนินการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โครงการโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 4-7 และโครงการเหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะตามคำขอประทานบัตร ในปี 2562 กฟฝ. ได้มีโครงการการก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนเครื่องที่ 8-9 ทดแทนเครื่องเดิมที่กำลังหมดอายุการใช้งาน แทนที่ด้วยเครื่องขนาดกำลังผลิต 660 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง 
มลพิษจากถ่านหินแม่เมาะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชนในพื้นที่ ก่อให้เกิดการฟ้องคดีและต่อสู้กันมายาวนาน 23 ปีมลพิษที่แม่เมาะ: ความยุติธรรมที่มิอาจยุติความตาย และคดีมลพิษที่มีการฟ้องร้องให้กฟผ.รับผิดชอบต่อหายนะดังกล่าวตั้งแต่ปี2547 และอีกหลายคดีที่ประชาชนในพื้นที่ได้ฟ้องร้องเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ