หลักสูตรอบรม “การประมวลผลภาพถ่ายทางอากาศจากโดรนเพื่อการให้บริการด้านเกษตรแม่นยำ”

293

สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร ร่วมกับคณะวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย รศ.ดร.ขวัญตรี แสงประชาธนารักษ์ และ อ.ดร.อาทิตย์ ภูผาผุด พร้อมทีมนักวิจัย นักศึกษา และเจ้าหน้าที่กลุ่ม Bio-Sensing and Field Robotic Laboratory KKU ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประมวลผลภาพถ่ายทางอากาศจากโดรนเพื่อการให้บริการด้านเกษตรแม่นยำ” ให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายติดตามและประเมินผลผลิตอ้อย รวมถึงวิศวกรชลประทาน และฝ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้องของโรงงานน้ำตาลมิตรผล

โดยหัวข้อหลักๆของหลักสูตรจะเน้นไปที่

– ทำความเข้าใจกับคุณภาพของภาพถ่ายจากโดรน หากถ่ายมาแล้วต่อภาพไม่ได้ ภาพเบลอ ภาพหาย ภาพมืด ค่าผิดปกติ ปัญหาเกิดจากอะไรแล้วควรจะแก้ไขอย่างไร 

– ทำความเข้าใจการใช้ดัชนีพืชพรรณ การแบ่งแยกพื้นดิน การแบ่งระดับ เพื่อเอาไปแปลผลหรือใช้งานคำนวณผลผลิตต่อไป

– ฝึกปฏิบัติการต่อภาพ การกำหนด GCPs การตรึงและซ้อนภาพถ่ายจากการบินหลายๆครั้ง ซึ่งตำแหน่งภาพอาจจะเลื่อนหรือบิดรูปร่างไป  การสร้าง 3D map จากโดรน

– ฝึกการหาปริมาตรของอ้อยในแปลง เปรียบเทียบวิธีแบบต่างๆ เข้าใจที่มาของ DSM DTM ที่ได้จากแต่ละ option ในการต่อภาพ และเลือกใช้ให้เหมาะสม เข้าใจที่มาของปัญหาระดับพื้นจากโปรแกรมคลาดเคลื่อน ทำให้ประเมินปริมาตรคลาดเคลื่อน 

– ฝึกการ export ข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศ เป็นไฟล์ชนิดอื่นๆ สำหรับการแชร์หรือใช้งานในโปรแกรมอื่นเช่น Google earth

 

การอบรมได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ผู้เข้าอบรมมีความกระตือรือร้น และมีคำถามที่เกิดจากปัญหาจริงที่ตนเองเคยพบมา และได้มีโอกาสแชร์ประสบการณ์กันระหว่างผู้อบรมและผู้จัดฝึกอบรม เป็นการฝึกอบรม 2 วันที่ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมตั้งใจมากๆ 

 

In this article