ประวัติศาสตร์อันยาวนานของผ้าฝ้าย การค้า การเมืองและอุตสาหกรรม

16 มกราคม 2023
DOBBYTEX ADMIN

ผ้าฝ้าย ผลผลิตที่มีอิทธิพลทางการเมืองและอุตสาหกรรมทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ใครจะรู้ว่าแค่พันธ์ุไม้ขนาดเล็กชนิดหนึ่งมีพุ่มดอกเป็นใย ที่สามารถนำมาทักทอให้เป็น ผ้าฝ้าย เสื้อผ้าเครื่องนุ่มห่มได้ จะสร้างมูลค่าทางการค้าระหว่างประเทศได้หลายพันล้านบาทต่อปี อีกทั้งยังผลผลิตที่มีอิทธิพลทางการเมืองและอุตสาหกรรมทั้งในอดีตและปัจจุบันอีกด้วย

ผ้าฝ้าย หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Cotton (คอตตอน) เรียกได้ว่าในปัจจุบันฝ้ายนั้นเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของหลายประเทศ ที่สามารถปลูกฝ้ายได้มากเป็นอันดับต้นๆ ของโลกอย่าง อินเดีย, จีนและสหรัฐอเมริกา ที่สร้างมูลค่าทางการค้าระหว่างประเทศต่อปีได้มหาศาล และทิศทางของความต้องฝ้ายในแต่ละปีมียังมากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย

นอกจากฝ้ายจะเป็นพืชเศรษฐกิจแล้ว ผ้าฝ้าย นับเป็นผ้าที่มีความเก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลกที่มีประวัติยาวนานกว่า 4,000 ปี โดยมีหลักฐานทางโบราณหลายชิ้นที่บ่งชี้ว่าฝ้ายมีความสำคัญต่อการค้า เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม รวมไปถึงการเมืองของหลายประเทศอีกด้วย ในบทความนี้ DOBBYTEX จะขอพาคุณย้อนไปพบกับประศาสตร์ของพันธ์ุไม้ขนาดเล็ก ที่มีพุ่มดอกเป็นใยสามารถนำมาถักทอเป็นผ้าผืนหรือเครื่องนุ่มห่มได้ อีกทั้งยังมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมและการเมือง

ประวัติศาสตร์กว่า 4,000 ปีของ “ผ้าฝ้าย

ย้อนไปเกือบ 4,000 ปีก่อนคริสตศักราชในประเทศอินเดีย ฝ้ายถูกเลี้ยงครั้งแรกจากพืชป่าในอินเดีย, เม็กซิโก โดยฝ้ายมีหลายสายพันธุ์ที่ปลูกทั่วอเมริกา แอฟริกา เอเชีย แม้แต่ออสเตรเลีย เพราะต้นฝ้ายเป็นไม้พุ่มที่ชอบสภาพอากาศแบบเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ฉะนั้นประเทศในแถบเอเชียอย่าง อินเดียและจีนจึงเป็นผู้นำในการผลิตฝ้ายมากที่สุดของโลก ส่วนในแถบยุโรปนั้นสหรัฐอเมริกาถือเป็นผู้นำอันดับต้นๆ ของโซนนี้ และประเทศอื่นๆ ที่ผลิตฝ้ายได้รองลงมาได้แก่ อุซเบกิสถาน, ตุรกี, ปากีสถานและบราซิล

ประวัติการค้าฝ้าย

ในประเทศอินเดียมีการผลิต “ผ้าฝ้าย” และสิ่งทอจากฝ้ายอย่างน้อยหนึ่งพัน ปีก่อนที่อเล็กซานเดอร์มหาราชจะบุกเข้าตีดินแดนแถบตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ในปี 327 ก่อนคริสตศักราช และด้วยเหตุนี้นี่เองที่ทำให้พ่อค้าชาวกรีกได้ทำการซื้อขายฝ้ายกับอินเดีย และเมื่อเข้าสู่คริสตศักราชศตวรรษที่ 1 ชาวโรมันจึงตามมาทำการค้าฝ้ายกับอินเดียเพิ่มเติม นอกจากนั้นฝ้ายังเป็นที่ชื่นชอบของชาวอาหรับ เนื่องจากเป็นผ้าที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ง่ายทุกสภาพอากาศ ชาวอียิบต์โบราณจึงนำ ผ้าฝ้าย มาถักทอให้ดูหรูหราด้วยรูปแบบและลวดลายเฉพาะทางของชาวอียิปต์

ในยุคกลางตอนต้นของคริสตศักราชตั้งแต่ 1000 -1300 ชาวอิตาลีเริ่มต้นอุตสาหกรรมฝ้ายของตนเองจากการค้าขายกับประเทศอาหรับ ตั้งตนเป็นศูนย์กลางการปลูก การปั่นและการทอฝ้ายในภาคเหนือของอิตาลี มีการผสมผสานวัสดุอื่นๆ เช่น การนำขนสัตว์และผ้าลินินเข้ามาถักทอเข้ากันเป็นผ้าชนิดใหม่ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะผ้าลินินที่นำมาผสมกับ ผ้าฝ้าย จึงมีผ้าชนิดใหม่ที่ทนทานมากกว่าฝ้าย100% หรือผ้าลินิน100% และใช้งานได้หลากหลายมากกว่านำมาทำเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่มห่ม อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าอีกด้วย และหลังจากปีค.ศ. 1300 เป็นต้นมา อิตาลีเริ่มมีคู่แข่งทางการค้าจากประเทศอื่นๆ มากขึ้นอย่าง เยอรมัน ที่นับเป็นศูนย์กลางการผลิตฝ้ายแห่งใหม่ที่เกิดขึ้นในปีนั้น

ปีค.ศ. 1615 บริษัท British East India ซึ่งเป็นบริษัทนำเข้า ผ้าฝ้าย พิมพ์ลายเข้ามาในประเทศอังกฤษ ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อมาแข่งขันกับอุตสาหกรรมผ้าขนสัตว์ของอังกฤษ จึงมีคำสั่งจากรัฐบาลอังกฤษห้ามสวมผ้าดิบพิมพ์ลาย จนกระทั่งช่วงหลังปี 1700 ฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ได้ก่อตั้งการค้าของประเทศตนเองกับอินเดีย ทำให้ผ้าพิมพ์ลายที่ผลิตจากฝ้ายได้กระจายตัวออกสู่ตลาดยุโรปอีกครั้ง และได้รับความนิยมจากทุกระดับของสังคมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีลวดลายและสีสันที่สดกว่าผ้าที่ผลิตในประเทศ ทำให้บางลวดลายที่ทำจากกระบวนการย้อมหลายขั้นตอน ผสมผสานการเพ้นต์ด้วยมือ ให้ได้ลวดลายดอกไม้ที่วิจิตรบรรจงเป็น ผ้าฝ้าย พิมพ์ลายที่มีราคาแพงมากที่สุดในยุคนั้น จนชาวยุโรปพยายามหาวิธีเลียนแบบการพิมพ์ลายที่สดใสจากทางอินเดีย ในช่วงทศวรรษที่ 1790 สหราชอาณาจักรยกเลิกการห้ามใช้ผ้าดิบพิมพ์ และเริ่มอุตสาหกรรมของตนเอง โดยผลิตผ้าฝ้ายพิมพ์ลายราคาถูกที่เหมาะสำหรับทารกและคนยากจนไปจนถึงผู้ที่ร่ำรวยที่สุดในยุโรปก็ยังคงสวมชุดผ้าพิมพ์ที่นำเข้าจากอินเดีย

ผ้าฝ้าย” ในสหรัฐอเมริกา

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าในช่วงทศวรรษที่ 1700 ผ้าพิมพ์ลายที่ทำจากฝ้ายของอินเดียได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศแถบยุโรปรวมถึงประเทศสหรัฐอเมริกา โดยอุตสาหกรรมฝ้ายของอเมริกาเติบโตอย่างมากระหว่างปี 1750 ถึง 1790 เนื่องจากวิศวกรชาวอังกฤษท่านหนึ่งชื่อ Samuel Slater ได้จดจำการออกแบบของโรงงานทอผ้าอังกฤษ และนำมาสร้างโรงงานทอผ้าพลังน้ำขึ้นใหม่แห่งแรกในสหรัฐอเมริกา

นอกจากนั้นในปี1793 ยังมีการประดิษฐ์เครื่องกลั่นฝ้ายโดย Ely Whitney ดังนั้นการผสมผสานระหว่างโรงงานสิ่งทอของ Slater และโรงกลั่นฝ้ายของ Whitney ทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยเฉพาะ ผ้าฝ้าย ของอเมริกาเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ 1860 จนอเมริกาสามารถผลิตฝ้ายได้เป็นอันดับ 2 ใน 3 ของอุปทานฝ้ายทั่วโลกใ จึงไม่ต้องแปลกใจอะไรหากฝ้ายจะกลายเป็นพืชที่ทำกำไรได้อย่างมากมายในสหรัฐอเมริกา

King Cotton ในช่วงสงครามกลางเมืองของสหรัฐอเมริกา

King Cotton เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ก่อนเกิดสงครามกลางเมืองของอเมริกาช่วงปี ค.ศ. 1861 ถึง 1865 โดยมีมูลเหตุแห่งการสู้รบมาจากข้อโต้แย้งที่ยืดเยื้อเกี่ยวกับการถือครองทาส ระหว่างฝ่ายชาตินิยมสหภาพกับกลุ่มผู้ที่ต้องการจะแยกตัวออกจากกันในรัฐทางใต้ เพื่อโน้มน้าวให้อังกฤษเข้าร่วมอุดมการณ์และทำลายอุตสาหกรรมสิ่งทอของนิวอิงแลนด์ กลยุทธ์ดังกล่าวคือการควบคุมการส่งออกของฝ้ายที่ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีมูลค่ามหาศาลในขณะนั้น อีกทั้งการกักตุน ผ้าฝ้าย ไว้จำนวนมากจะเพิ่มมูลค่าได้อีกมหาศาล โดยฝ้ายมากกว่า 75% ของการส่งออกฝ้ายมาจากทางฝั่งตอนใต้ของสหรัฐ เนื่องจากภูมิประเทศและภูมิอากาศบริเวณนั้นเหมาะสำหรับการปลูกฝ้ายได้นั่นเอง

อย่างไรก็ตามอังกฤษไม่ได้ตอบสนองต่อกลยุทธ์ King Cotton อีกทั้งอังกฤษเองก็ไม่เคยคิดจะทำสงครามกับทางสหรัฐฯ อีกทั้งโรงงานของอังกฤษมีฝ้ายจำนวนมากอยู่แล้ว หากทางกลุ่มผู้ที่ต้องการจะแยกตัวออกจากกันในรัฐทางใต้ไม่ส่งออกฝ้ายให้ก็ยังไม่ได้รับผลกระทบมากมายในทันที ดังนั้นกลยุทธ์ King Cotton เป็นอันต้องล้มเหลวและล้มเลิกไปในที่สุด

ศตวรรษที่ 20 และอุตสาหกรรมฝ้าย

ในปี 1920 มหาตม คานธี ตระหนักได้ว่าฝ้ายมีความสำคัญต่อเอกราชของประเทศอินเดีย จึงสนับสนุนให้ชาวอินเดียคว่ำบาตร ผ้าฝ้าย ของอังกฤษและให้ประชาชนชาวอินเดียหันมาใช้สินค้าจากในประเทศของตนเองที่เรียกว่า ผ้าคาดี (Khadi) คือผ้าที่ได้จากฝ้ายทอมือที่ผ่านเครื่องปั่นด้ายที่เรียกว่า ชาร์คา (Charkha) ของอินเดีย และการยุติถูกบังคับให้ซื้อเสื้อผ้าที่ราคาสูงเกินจริงจากอังกฤษในยุคอาณานิคม ทำให้เกิดผลกระทบในทางที่ดีภายในประเทศอินเดียคือ มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็น 460,000 คนในอุตสาหกรรมที่ทำผลิตภัณฑ์คาดี การผลิตและการขายเพิ่มขึ้น 31.6% และ 33% ตามลำดับในปี 2017 ในปี 2019 มีรายงานว่า ยอดขาย Khadi โดยรวมในอินเดียเพิ่มขึ้น 28% รายได้จาก Khadi ในปีงบการเงินที่ผ่านมาอยู่ที่ 3,215 ล้านรูปี

จนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนั้น มีความต้องการผ้าคาดี (Khadi) ที่มากขึ้น…อินเดียสามารถใช้เครื่องจักรในอุตสาหกรรมฝ้าย เพื่อสร้างฐานการผลิตขนาดใหญ่ได้อีกครั้ง ในขณะเดียวกัน การผลิตสิ่งทอของอังกฤษไม่สามารถผลิตแรงงานราคาถูกนอกประเทศได้ทัน จนโรงงานสิ่งทอหลายแห่งปิดตัวลงลามไปถึงในสหรัฐอเมริกาและทั่วยุโรป ฉะนั้นผ้า Khadi จึงไม่ใช่แค่ ผ้าฝ้าย ทอมือธรรมดา แต่คือผืนผ้าแห่งอิสรภาพของอินเดีย

ในปัจจุบันฝ้ายเป็นอุตสาหกรรมระหว่างประเทศที่มีมูลค่ามากกว่า 425 พันล้านดอลลาร์… เพราะไม่ว่าใคร ชนชั้นไหน ฐานะเป็นอย่างไร ต่างก็สามารถจับต้องผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่มาจากฝ้ายได้อย่างทั่วถึงกัน ทั้งเครื่องนุ่มห่มโดยส่วนใหญ่ของมนุษย์มีส่วนประกอบของผ้ามาจากพืชทรงอิทธิพลอย่างฝ้าย ตั้งแต่ชุดชั้นในไปจนถึงชุดราตรีสุดหรูหรา อีกทั้งยังมีราคาที่สูงต่ำให้เลือกหยิบไปสร้างสรรค์เสื้อผ้าหรือผลิตภัณฑ์จากผ้าได้มากมาย

อย่างที่บริษัท ด๊อบบี้เท็กซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด ก็มี ผ้าฝ้าย คุณภาพดีมีเอกลักษณ์ให้คุณเลือกใช้มากมายเช่นกัน เพราะเราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผ้าฝ้ายมามากกว่า 20 ปี ไม่ว่าจะเป็น ผ้าฝ้าย 100%, ผ้าฝ้ายพื้นเมือง หรือผ้าฝ้ายกบ เราก็มีบริการให้คุณแบบครบวงจร ภายใต้เเบรนด์ DOBBYTEX ที่ได้รับความไว้วางจากร้านขายผ้าทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย

สั่งซื้อผ้าฝ้าย-ปรึกษาได้ที่ :
โทร : 095-6098163, 065-0564299, 081-1714553
Line ID : @Dobbytexfabric
WhatsApp : (+66) 847269009
Email : Dobbytexfabric@gmail.com
Website : www.dobbytexfabric.com

Tag


สั่งซื้อผ้าฝ้าย-ปรึกษาได้ที่

เบอร์โทรติดต่อ

ช่องทางออนไลน์

บทความอื่นๆจากเรา

ดูทั้งหมด