รุมค้านค้าเครื่องดื่ม ! ขอขาย เหล้า-เบียร์ ผ่านออนไลน์ ส่งด่วน

เครือข่ายงดเหล้า ภาคเหนือและกลุ่มเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ พื้นที่เชียงใหม่-ลำพูน กล่าวว่า การเรียกร้องของ
กลุ่ม ตัวแทนจากภาคธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 7 องค์กรถึงประธานคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งในสถานการณ์ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน อีกทั้งการดื่มคือ จุดเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างรวมถึงโรคโควิด 19 ด้วย ๆ ไม่มีความเหมาะสมที่จะพิจารณาตามคำรองขอแต่อย่างใด

โดยสาระสำคัญ ๆ ที่เรียกร้องคือให้ผ่อนปรน เยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการห้ามจำหน่ายสุรา เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ไม่ให้มีการขยายเวลาห้ามจำหน่ายสุราออกไปหลังวันที่ 30 เม.ย. 2563 อีก และขอให้ร้านที่มีใบอนุญาตจำหน่ายสุราสามารถจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อซื้อกลับบ้านหรือส่งให้ถึงบ้านได้เหมือนอาหารประเภทอื่น เป็นต้น

ทั้งนี้เครือข่ายผู้ผลิตสุราพื้นบ้าน กล่าวเพิ่มเติมว่า สุราแช่ สุรากลั่นพื้นบ้าน ต้องมีการจัดเก็บตามอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค ซึ่งมาตรการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มมีแอลกหอฮฮลล์นั้น ส่งผลกระทบต่อรายได้ ควรได้รับมาตรการเยียวยาเช่นธุรกิจภาคอื่น ๆ ด้วย

ประเด็นการขอให้พิจารณาผ่อนปรนเรื่องการขนย้ายสุราหากมีการห้ามจำหน่าย เนื่องจากคราฟท์เบียร์ ไวน์องุ่นและสุราแช่หลายชนิดเป็นสินค้าที่ต้องจัดเก็บตามอุณหภูมิที่กำหนด เมื่อมีการนำเข้ามาจึงต้องมีการชำระภาษีและขนย้ายเข้าไปเก็บคลังสินค้าของผู้ประกอบการให้เร็วที่สุด การประกาศห้ามขายส่ง (ใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 1) ทำให้ไม่สามารถนำสินค้าที่เสียภาษีแล้วไปเก็บในคลังของผู้ประกอบการได้ เกิดภาระค่าใช้จ่ายในการเช่าโกดัง รวมถึงปัญหาการควบคุมอุณหภูมิในเขตปลอดภาษี

หากยังขยายระยะเวลาห้ามจำหน่ายสุราออกไป โดยไม่มีการชดเชยหรือมาตรการเยียวยาใดๆเพิ่มเติมจะกระทบต่อการจ้างงาน การทยอยปิดกิจการจากระดับร้านค้าไปถึงผู้นำเข้าและผู้ผลิตฯ

ด้านตัวแทนกลุ่มธุรกิจค้าส่งเหล้า เบียร์ ในเชียงใหม่ อ้างข้อมูลการจัดเก็บภาษีเบียร์และสุรา ปี 2562นั้นเฉพาะภาษีสรรพสามิตจากสุราสูงถึง 62,146 ล้านบาท และภาษีเบียร์กว่า 70,090 ล้านบาท รวมเป็นรายได้ 132,236 ล้านบาท ใน10% หรือ 14,100 ล้านบาท เป็นงบที่จัดสรรสู่อปท.ทั่วประเทศ เป็นงบประมาณพัฒนาท้องถิ่น และรายได้จากภาษียังจัดสรรไปยัง สสส., สมาคมกีฬา และ คนชรา ที่ละ 2% หรือ 2,800 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ทำโครงการฯ ในหน่วยงานและสถานีทีพีบีเอสราวๆ 1.5% หรือ 2,100 ล้านบาท และนำส่งในรูปแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 7% หรือไม่ต่ำกว่า 11,500 ล้านบาท เพื่อนำไปเป็นงบประมาณรัฐด้วย

อย่างไรก็ตาม ภาคประชาสังคม เชียงใหม่ กลุ่มจิตอาสา รณรงค์ลดการดื่ม เมืองเชียงใหม่ แสดงความคิดเห็นว่า ข้ออ้างรายได้จากการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่ม ทั้ง เหล้า เบียร์ ที่มีการจัดสรรสู่กิจกรรม โครงการ ผ่านงบรูปแบบต่าง ๆ ต้องแยกส่วนออกจากมาตรการขอความร่วมมือ เพื่อการควบคุม ป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19

หากการขยายเวลางดการจำหน่ายออกไปอีกระยะตามเหมาะสม ส่วนหนึ่งก็ทราบกันดีว่า มีช่องทางการเข้าถึงเครื่องดื่มเหล่านี้ หลากรูปแบบ แม้จะมีมาตรการทางกฎหมายทั้ง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ที่ห้ามขาย แลกเปลี่ยนหรือให้สุราหแก่เด็กอายุต่ำกว่า 20ปี พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา26 (10) กฎกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2548 ห้ามเปลี่ยนแปลงสุรา (เช่นผสมยาดองเหล้า) พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 17, 40 ห้ามลักลอบผลิตสุราทุกชนิด (สุรากลั่น, สุราแช่, กระแช่) มาตรการที่มีมากมาย ก็ยังพบว่าสถิติผู้ดื่มเหล้า เบียร์ เพิ่มต่อเนื่อง และเป็นสาเหตุของปัญหาด้านต่างๆในครอบครัว ในสังคม ทั้งการทะเลาะวิวาท อุบัติเหตุ

“ดังนั้นการขยายเวลาห้ามจำหน่ายเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็นเหล้า, เบียร์ และผ่อนผันการซื้อ ในบางสถานที่เป็นเรื่องดีเพราะควรคำนึงถึงด้านสุขภาพ มากกว่าด้านเศรษฐกิจที่สามารถฟื่้นฟูได้ แต่ การแพร่ระบาดโรค การติดเชื้อ ไม่สามารถคาดเดาได้ ในภาวะการร์ที่วัคซีนป้องกันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในขณะนี้”

ร่วมแสดงความคิดเห็น