มัดรวมมาให้ครบ! Test Sieve ตะแกรงร่อน อุตสาหกรรม เข้าใจจบในบทเดียว

ตะแกรงร่อนคืออะไร?

ตะแกรงร่อน อุตสาหกรรม เป็นเครื่องมือวัดชนิดหนึ่งที่ใช้ในการกรองอนุภาคและคัดแยกวัตถุดิบขนาดต่างๆ โดยมีช่องเปิดที่มีขนาดรูและรูปร่างสม่ำเสมอ ติดตั้งบนโครงเหล็กสแตนเลสที่มีความแข็งแรงทนทาน ตะแกรงทดสอบประกอบด้วยลวดตะแกรงที่ยึดไว้ในโครงโลหะทรงกลมและมีหลายขนาด ตะแกรงร่อนส่วนมากใช้ในภาคอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภทเพื่อทำการวิเคราะห์อนุภาคเช่น พลาสติก, วัสดุก่อสร้าง, วิศวกรรม, การเกษตร, ชีววิทยา, เคมี, เภสัชกรรม, ยา, อิเล็กทรอนิกส์, สิ่งแวดล้อม, การรีไซเคิล, อาหาร, ธรณีวิทยา, เซรามิก, เหมืองแร่และแก้ว เป็นต้น

ตะแกรงร่อนใช้สำหรับอะไร

ตะแกรงร่อนใช้สำหรับการแยกสารหรือวัตถุต่างชนิดออกจากกัน  เพื่อวิเคราะห์ขนาดของอนุภาคของแข็งหรือความละเอียด (fineness) โดยการร่อนผ่านของแข็งที่ทราบน้ำหนักไปบนชุดตะแกรงทดสอบ ซึ่งมีช่องขนาดต่างๆ กัน โดยจัดเรียงตะแกรงตามลำดับช่องที่ต้องการ ตะแกรงเหล่านี้อาจติดอยู่กับที่หรือเคลื่อนไหวได้

หน่วยการวัด จะใช้เป็นหน่วย mm (มิลลิเมตร) และ µm (ไมครอน)

ลักษณะและประเภทของตะแกรงร่อน (Test Sieve)

มาตราฐานของช่องตะแกรง (sieve) มี 2 ประเภทคือ

1.ตะแกรงแบบลวดสานมือ เกิดจากการนำลวดขนาดต่างๆ มาสานกันเป็นช่อง โครงรอบตะแกรงทำด้วยแสตนเลส หรือทองเหลือง โดยเส้นลวดที่ใช้สานนั้นทำมาจากแสตนเลส ความกว้างของช่องตะแกรงเรียกว่าเมช (mesh) ซึ่งหมายถึงจำนวนช่องของตะแกรงที่มีอยู่ในความยาว 1 นิ้ว เช่น ตะแกรงขนาด 10 เมช ในความยาว 1 นิ้ว จะมีช่องอยู่ 10 ช่อง และช่องหนึ่งจะมีความยาวกว้าง 0.1 นิ้ว หักออกด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นลวด ดังนั้น เมชขนาดเดียวกัน อาจแตกต่างกัน ถ้าทำจากเส้นลวดที่ต่างกันจึงต้องบอกขนาดช่องหรือ Aperture Size ควบคู่กับขนาดเมชของตะแกรงด้วย

ตะแกรงร่อนแบบสานมือ ,สอบเทียบเครื่องมือวัด, Calibration, Calibration Lab

 

2. ตะแกรงแบบเจาะรูด้วยเครื่องจักร ช่องของตะแกรงมีลักษณะถูกเจาะรูผ่านโดยใช้เครื่องจักรเจาะซึ่งมีหลายขนาดและรูปทรง เช่นแบบรูกลม, กลมรีและสี่เหลี่ยม เป็นต้น
ตะแกรงร่อนประเภทนี้ ผลิตมาเพื่อใช้กับงานเฉพาะทาง ที่ต้องการอนุภาคได้ขนาดตามรูผ่าน โดยทั่วไปแล้ว อนุภาคที่มีเป็นรูปทรงหลายมิติ จะผ่านรูร่อนสี่เหลี่ยมได้ดี แต่ถ้าเป็นรูกลม 2 มิติ อนุภาคที่แตกย่อยหรือไม่กลมจะไม่สามารถร่อนผ่านได้ รูปทรงกลมรีหรือ 2 มิติเท่านั้นจึงจะร่อนผ่านได้ เช่น เมล็ดข้าวสารหอมมะลิ ถ้าเป็นเม็ดที่สมบูรณ์ สวยงาม

ตะแกรงแบบเจาะรู,สอบเทียบเครื่องมือวัด, Calibration, Calibration Lab

วัสดุที่ใช้ในการทดสอบ (Feed Materials)

  1. ผง (Powders) เช่นแป้ง ผงปูน ผงสี ทราย น้ำตาลเป็นต้น
  2. วัสดุปริมาณมวล (Bulk Material) หรือวัสดุที่มีขนาดเล็กชิ้นย่อยที่รวมกันเป็นปริมาณมากๆ เช่น หิน เมล็ดกาเฟ
  3. สารแขวนลอย (Suspension) หรือสารเนื้อผสมที่ประกอบด้วยอนุภาคเล็ก ๆ ของของแข็งซึ่งกระจายอยู่ในของเหลวหรือแก๊ส

วิธีการใช้งานและขั้นตอนการทดสอบตะแกรงร่อน

  1. ทำความสะอาดตะแกรงร่อนก่อนใช้งานทุกครั้งโดยใช้เครื่องเป่าลมเป่าไปที่ตะแกรง เพื่อนำเศษวัสดุต่างๆที่ติดอยู่หลุดออกไป
  2. จัดชุดตะแกรงโดยนำตะแกรงที่มีรูขนาดใหญ่สุดอยู่ด้านบนสุด ไล่ตามลำดับลงไปจนถึงขนาดเล็กสุดอยู่ด้านล่าง พร้อมชั่งน้ำหนักตะแกรงทั้งหมด
  3. นำตัวอย่างวัตถุดิบที่ต้องการทดสอบ เทลงในตะแกรงด้านบนสุด
  4. นำตะแกรงทั้งหมดไปติดตั้งบนเครื่องเขย่า
  5. เปิดเครื่องโดยใช้เวลาเขย่าอย่างน้อยประมาณ 10 นาที ของแข็งที่มีขนาดใหญ่เกินขนาด (Oversize) จะค้างอยู่บนตะแกรง ส่วนของแข็งที่เล็กเกินขนาด (undersize) จะลอดผ่านช่องตะแกรงไปได้
  6. เสร็จแล้วนำตัวอย่างที่ได้ไปชั่งน้ำหนัก
  7. จดบันทึกค่าผลลัพธ์ที่ได้

ขั้นตอนการทดสอบตะแกรงร่อน,ตะแกรงร่อน,,สอบเทียบเครื่องมือวัด, Calibration, Calibration Lab

ตะแกรงร่อน ,สอบเทียบเครื่องมือวัด, Calibration, Calibration Lab

การวิเคราะห์ขนาดมวล (Sieve Analysis) ทำได้ 2 วิธี คือ

  1. แบบแห้ง (Dry)
  2. แบบใช้น้ำช่วย (Wet) ซึ่งจะเติมน้ำลงไปเพื่อช่วยให้ของแข็งที่มีขนาดเล็กลอดผ่านช่องตะแกรงได้ดีกว่าแบบแห้ง

 

ข้อควรระวังและคำแนะนำในการใช้งาน

  1. การใช้เครื่องเขย่า (Sieve Shaker) ทำให้ตะแกรงเคลื่อนไหวหรือสั่น จะช่วยให้การร่อนตัวอย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และใช้เวลาที่น้อยลง
  2. ไม่ควรใช้ตัวอย่างมากจนเกินไปในการทดสอบในแต่ละครั้ง เพราะจะทำให้ร่อนยากและเป็นสาเหตุให้อุดตันตามรูช่อง และของแข็งรวมตัวเป็นก้อนทำให้ผลลัพท์ที่ได้ผิดเพี้ยนไป
  3. ตัวอย่างที่ใช้ทดสอบไม่ควรมีความชื้น
  4. ถ้าตัวอย่างจับกันเป็นก้อน ใช้ค้อนยางทุบให้แตกออกจากกัน ก่อนนำไปทดสอบ
  5. ทำความสะอากตะแกรงร่อนทุกครั้งหลังจากใช้งานแล้ว
  6. ควรนำเครื่องมือตะแกรงร่อนไปสอบเทียบประจำปี เพื่อตรวจสอบค่าความถูกต้องของเครื่องมือโดยทางห้องปฏิบัติการสอบเทียบ CLC สามารถสอบเทียบได้และได้รับการรับรอง Accredited 17025:2017

วิธีการ สอบเทียบเครื่องมือวัด และ Scope ที่ได้รับการรับรอง (Accredited 17025)

 ทางบริษัท แคริเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด สามารถสอบเทียบตะแกรงร่อนได้โดยใช้วิธีการสอบเทียบแบบ Direct measurement with Vision Auto measuring และได้รับการรับรอง Accredited ISO/IEC 17025:2017 ของ Scope ภายในประเทศจาก สมอ. และต่างประเทศ ANAB จากอเมริกา Range ที่ได้รับการรับรองมีดังนี้

Accredited TISI (สมอ.) หน้าที่ 17

สมอ., ,สอบเทียบเครื่องมือวัด, Calibration, Calibration Lab

Accredited ANAB หน้าที่ 22

ANAB ,สอบเทียบเครื่องมือวัด, Calibration, Calibration Lab

ภาพตัวอย่างเครื่อง Vision Auto Measuring Machine ที่บริษัทฯ ใช้สอบเทียบ Test Sieve

เครื่อง Vision Auto Measuring Machine ที่บริษัทฯ ใช้สอบเทียบ Test Sieve,สอบเทียบเครื่องมือวัด

Credited by Timnorton

 

 

การแบ่งประเภทและการดูแลรักษาไมโครมิเตอร์ทำอย่างไร

 

ขอใบเสนอราคา    ติดต่อเรา

บริการสอบเทียบด้านมิติ ดูสินค้าด้าน Dimension