ตู้แช่แข็ง วิธีใช้? ทำอย่างไรให้ใช้งานได้นาน

ตู้แช่แข็ง วิธีใช้? ทำอย่างไรให้ใช้งานได้นาน,freezer,ตู้แช่,ตู้แช่แข็ง,วิธีใช้,วิธีรักษา,ดูแลรักษา,,สอบเทียบเครื่องมือวัด,สอบเทียบเครื่องมือ ,เครื่องมือวัด,PIN ON DISK,เครื่องมือสึกหรอ

การวัดค่า ตู้แช่แข็ง (Freezer) ให้ได้ค่าที่ถูกต้อง

ตู้แช่แข็ง ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มของ เครื่องมือวัด แต่เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นต้องมีการ สอบเทียบเครื่องมือ  เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมเสมอ เมื่อตู้แช่แข็งถูกใช้งานผ่านไปนาน ๆ อาจะมีน้ำแข็งชั้นหนาๆ ก่อตัวขึ้นได้ภายในตู้แช่แข็ง ซึ่งจะลดประสิทธิภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้า เพิ่มค่าไฟ ทำให้ยุ่งยากตอนเอาของเข้า-ออกจากช่องแช่ และทำให้อุณหภูมิภายในตู้กระจายไปไม่ทั่วตู้ และนี่คือวิธีการละลายน้ำแข็งในช่องแช่แข็งอย่างรวดเร็วและสะดวกที่สุด

1. ปิดสวิตช์ freezer :

เพื่อไม่ให้ตู้แช่ทำงาน และทำการถอดปลั๊กไฟตู้ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายจากไปฟ้ารั่วการตู้แช่แข็ง, Freezer, การทำความสะอาดตู้แช่ , Calibration, สอบเทียบเครื่องมือวัด,สอบเทียบตู้แช่แข็ง, ถอดสวิชต์ตู้

2. นำอาหารหรือผลิตภัณฑ์ ออกจากช่องแช่แข็ง :

เคลียร์ช่องแช่แข็งให้ว่างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นำอาหารออกจากช่องแช่แข็งมากเท่าที่จะทำได้ ห่อของไว้ในผ้าเช็ดตัวแล้วใส่ไว้ในกระเป๋าเก็บความเย็น เพื่อไม่ให้ของละลาย
ตู้แช่แข็ง, Freezer, การทำความสะอาดตู้แช่ , Calibration, สอบเทียบเครื่องมือวัด,สอบเทียบตู้แช่แข็ง, นำของที่แช่ไว้ออก

3. เลือกวิธีการละลายน้ำแข็ง   

ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียต่างกันไป

ตู้แช่แข็ง, Freezer, การทำละลายน้ำแข็ง , Calibration, สอบเทียบเครื่องมือวัด,สอบเทียบตู้แช่แข็ง

3.1 รอให้น้ำแข็งละลายจาก ตู้แช่แข็ง

รอให้น้ำแข็งละลายแค่ให้เวลาในการละลายน้ำแข็งในช่องแช่แข็งตามวิธีดั้งเดิม แม้ว่านี่อาจจะช้า  แต่ก็เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด

3.2 การใช้ไดร์เป่าเพื่อละลายน้ำแข็ง

ใช้ไดร์เป่าผม การใช้ไดร์เป่าผมเพื่อละลายน้ำแข็งในช่องแช่แข็งนั้นควรระวังด้านความปลอดภัย ความร้อนสูงอาจจะทำให้ชุดอุปกรณ์เสียหายได้  ให้เน้นที่บริเวณเล็กๆ จุดเดียวในแต่ละครั้ง

3.3 การใช้พัดลมเป่าเพื่อละลายน้ำแข็ง 

ใช้พัดลม การใช้พัดลมธรรมดาๆ เป่า สามารถช่วยหมุนเวียนอากาศที่ร้อนกว่าให้เข้าไปในช่องแช่แข็งได้ วิธีนี้จะใช้ได้ผลดีกับสภาพอากาศบ้านเราได้อย่างเหมาะสม

3.4 การใช้น้ำร้อนเพื่อละลายน้ำแข็ง

ตั้งหม้อน้ำร้อนไว้บนชั้นวาง วิธีที่พบได้บ่อยเพื่อเร่งกระบวนการคือการวางชามหรือหม้อน้ำเดือดไว้บนชั้น วางผ้าขนหนูหนาๆ รองไว้ใต้หม้อบนชั้นวางและปิดประตู ไอน้ำจะทำให้น้ำแข็งคลายตัว และคุณจะสามารถใช้มือหยิบน้ำแข็งทั้งหมดออก

 
4.เช็ดน้ำและทำความสะอาดทั้งหมด :

ใช้ผ้าขนหนูเช็ดน้ำตามที่คุณทำได้ แล้วทำให้ตู้แช่แข็งแห้งก่อนเปิดเครื่องอีกครั้ง ผู้อ่านควรใช้ผ้าขนหนูเพื่อทำให้ตู้แช่แข็งแห้งก่อนที่จะเปิดเครื่องอีกครั้ง ซึ่งจะป้องกันไม่ให้น้ำแข็งก่อตัวทันที

ตู้แช่แข็ง, Freezer, การทำความสะอาดตู้แช่ , Calibration, สอบเทียบเครื่องมือวัด,สอบเทียบตู้แช่แข็ง

ระบบ DEFROST

คือการละลายน้ำแข็งที่จะพบได้ในตู้แช่ ซึ่งบริเวณ ช่อง FREEZE ของตู้เย็นดังกล่าวจะมีท่อ น้ำยาความเย็นที่เรียกว่า DIREC COOL เดินไว้โดยรอบ ไม่ได้ใช้พัดลมส่งความเย็นแบบตู้เย็น NOTROST เวลาที่เปิดดู อากาศชื้นภายนอกจะไหลเข้าไป  ความชื้นจะกลั่นตัวเป็นน้ำแข็งเกาะที่ผนังช่อง FREEZE ไปเรื่อย ๆ การ DEFROST คือการปิดตัว COMPRESSOR ให้หยุดทำงานโดยผู้ใช้จะต้องทำการกดเอง เพื่อน้ำแข็งเริ่มก่อตัวมากเกินไป เมื่อน้ำแข็งเริ่มละลายก็จะไหลทางช่อง DRAIN

การ สอบเทียบเครื่องมือ ตู้แช่แข็ง

            ติดตั้ง SENSOR วัดอุณหภูมิไว้ ภายในตู้แช่แข็ง แล้วทำการเปิดตู้แช่แข็ง โดย SET อุณหภูมิไว้ที่ 20 องศาเซลเซียส แล้วเก็บค่าโดยเก็บค่าเป็นระยะเวลา 30 นาที

ตู้แช่แข็ง, Freezer, Sensor , Calibration, สอบเทียบเครื่องมือวัด,สอบเทียบตู้แช่แข็งรูป แสดงตำแหน่งวาง SENSOR ทั้ง 9 ตำแหน่ง

ตู้แช่แข็ง, Freezer, Sensor , Calibration, สอบเทียบเครื่องมือวัด,สอบเทียบตู้แช่แข็ง

รูป แสดงค่าก่อนละลายน้ำแข็ง

ตู้แช่แข็ง, Freezer, Sensor , Calibration, สอบเทียบเครื่องมือวัด,สอบเทียบตู้แช่แข็ง

รูป แสดงค่าหลังละลายน้ำแข็ง

จะเห็นได้ว่ากราฟของตู้แช่ที่ไม่ได้ละลายน้ำแข็ง ตู้จะทำงานหนัก และอุณหภูมิไม่นิ่งสม่ำเสมอเหมือนกับตู้แช่ที่ทำการละลายน้ำแข็งแล้ว และอุณหภูมิจะไปถึงกันทั่วทั้งตู้  โดยตู้แช่แข็งที่มีน้ำแข็งเกาะหนา จะต้องทำการละลายน้ำแข็งอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ ตู้แช่เย็นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้งานได้ยาวนาน

 

ผู้เขียน กิตติพันธ์

 

 

การใช้งานตู้แช่แข็งที่ถูกวิธี

บริการสอบเทียบอุณหภูมิและความชื้น

ขอใบเสนอราคา   ติดต่อเรา 

พูดคุยกับเรา