เตือนภัย! น้ำแข็งแห้ง อันตรายใกล้ตัว ห้ามโดนตัว ห้ามสูดดมนาน

เตือนภัย! น้ำแข็งแห้ง หรือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่แข็งตัว อันตรายใกล้ตัว ห้ามให้เด็กเล่นเด็ดขาด ห้ามโดนตัว ห้ามสูดดมนาน

ทุกคนต้องเคยรู้จัก “น้ำแข็งแห้ง” แน่นอน ซึ่งตอนเด็กเราน่าจะเคยเล่นกันบ่อยๆ จากของแถมไอศกรีมละเราเอาไปแช่น้ำก็จะเกิดเป็นควันออกมา ต้องเคยเล่นแน่นอน แต่รู้หรือไม่การว่าน้ำแข็งแห้งมีข้อควรระวังอยู่ ก็คือห้ามโดนตัว ห้ามสูดดมนาน ซึ่งต้องยิ่งระมัดระวังในเด็กน้อย พ่อแม่อย่าปล่อยให้เล่นตามลำพังเด็ดขาด แล้วน้ำแข็งแห้งเป้นอันตรายต่อร่างกายเรายังไงบ้างมาดูเลย

ice-forms-drinks-isolated-white

น้ำแข็งแห้ง คืออะไร?

น้ำแข็งแห้ง คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่แข็งตัว ได้มาจากการใช้แรงดันทำให้ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดความเย็น จนควบแน่นกลายเป็นของเหลว และกลายเป็นน้ำแข็งในที่สุด น้ำแข็งแห้งนั้นอาจมีอุณหภูมิติดลบถึง -78.5 องศาเซลเซียส หรือน้อยกว่านั้น ในขณะที่น้ำแข็งปกติจะอยู่ที่อุณหภูมิประมาณ 0 องศาเซลเซียส และเมื่อน้ำแข็งแห้งจะระเหิดกลับคืนสู่รูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยไม่มีการละลายกลายเป็นของเหลว

อันตรายจากการสัมผัส

น้ำแข็งแห้งนั้นมีอุณหภูมิที่เย็นจัด ถึง -78.5 องศาเซลเซียส หากเราจับน้ำแข็งแห้งด้วยมือเปล่า หรือให้น้ำแข็งแห้งมาสัมผัสโดยผิวหนังของเราโดยตรง จะทำให้ผิวไหม้จากความเย็นจัดอย่างรุนแรง (frostbite) เนื่องจากเซลล์ผิวหนังแข็งตัว และเสียหายอย่างรวดเร็ว

อันตรายจากการสูดดม

น้ำแข็งแห้งเมื่อระเหิดกลายเป็นไอ จะกลับไปอยู่ในรูปแบบของ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นี้สามารถเข้าแทนที่ออกซิเจนในอากาศได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ปิดที่ไม่มีรูระบายอากาศอย่างภายในห้อง และสามารถทำให้เกิดอาการหายใจลำบากเนื่องจากขาดออกซิเจน และอาจส่งผลให้หมดสติ หรือเสียชีวิตได้ในที่สุด

อันตรายจากการระเบิด

หากเราบรรจุน้ำแข็งแห้งไว้ในภาชนะปิด ที่ไม่มีช่องสำหรับระบายอากาศ อาจทำให้เกิดการระเหิดของ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกมาอย่างรวดเร็ว จนเกิดแรงดันภายในภาชนะที่บรรจุน้ำแข็งแห้ง จนอาจเกิดการระเบิดได้

ข้อควรระวัง

  1. ใช้คีมสำหรับคีบน้ำแข็งแห้ง อย่าสัมผัสน้ำแข็งแห้งโดยตรง
  2. หากต้องหยิบจับน้ำแข็งแห้ง ควรสวมถุงมือหนาป้องกันความเย็น
  3. สวมแว่นตาหรือเครื่องป้องกันใบหน้า รวมถึงเสื้อแขนยาวเพื่อป้องกันผิว

วิธีการเก็บรักษาน้ำแข็งแห้ง

  • ควรเก็บรักษาน้ำแข็งแห้งไว้ในภาชนะฉนวนความร้อน ยิ่งฉนวนหนาเท่าไหร่ น้ำแข็งแห้งก็จะ ระเหิด ช้าลงเท่านั้น
  • ภาชนะที่บรรจุน้ำแข็งแห้ง ควรมีช่องสำหรับระบายอากาศ เพื่อป้องกันการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จนเกิดการระเบิด
  • อย่าเก็บน้ำแข็งแห้งไว้ในห้องที่มีเพดานต่ำ ไม่มีลมเข้าออกไหลเวียน หรือห้องที่ไม่มีช่องระบายอากาศ เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ที่ระเหิดจะเข้าทดแทนออกซิเจน ทำให้ขาดอากาศหายใจ
  • อย่าเก็บน้ำแข็งแห้งไว้ในตู้เย็น

แหล่งที่มา hellokhunmor

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

“พายุเข้าถล่มอุตรดิตถ์” หนักสุดในรอบ 60 ปี บ้านเรือนและโรงพยาบาล เสียหายยับเยิน!

เปิดภาพความเสียหาย พายุฝน ถล่มจังหวัดอุตรดิตถ์ สร้างความเสียหายกว่า 664 บ้านเรือน โรงพยาบาล และสถานที่ราชการจำนวนหลายแห่ง

มุงด่วน! วงในเมาท์สนั่น พระเอกหน้าหล่อ เที่ยวแจกเบอร์ หาสาวคุยแก้เหงา

ขาเผือกมุงด่วนๆ! วงในเมาท์สนั่น พระเอกหน้าหล่อ ผิวขาว เที่ยวแจกเบอร์ไปทั่ว เพื่อหาสาวๆ ไว้คุยแก้เหงา

อุ๊ย! เพจดังเฉลยแล้ว นางร้ายเบอร์ต้นอันฟอลผัว เหตุเพราะฝ่ายชายติดกลิ่นใหม่

อุ๊ยรู้เลยใคร! เมื่อเพจดังออกมาเฉลยแล้ว นางร้ายเบอร์ต้นอันฟอลผัว เหตุเพราะฝ่ายชายติดหญิง แถมไม่สนใจลูกเมีย บอกเลยงานนี้ขาเผือกถึงบางอ้อ

กทม.สั่ง กฟน. ระงับการก่อสร้าง-ปิดฝาท่อทุกจุด ด่วนที่สุด ต้องเสร็จภายใน 3 วัน!

กทม. แจ้ง กฟน. ระงับการก่อสร้างบ่อพักฯ เกาะกลางปากซอยลาดพร้าว 49 ขีดเส้น 3 วัน ทำฝาบ่อให้ได้มาตรฐาน ด้านกฟน. ปิดฝาท่อร้อยสายชั่วคราวแล้ว

กรมอุตุฯ ประกาศเตือน! ปชช. ให้เฝ้าระวัง “พายุฤดูร้อน” 4 วันนี้

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ วันที่ 4 – 7 พฤษภาคม 2567 ให้พี่น้องประชาชน โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน เฝ้าระวังและเตรียมรับมือกับ “พายุฤดูร้อน”

เฟิร์น วรรณภา เล่านาทีเจอ นุ่น ดำดง เผย ร้องไห้หนัก ข้าวแทบไม่กิน!

เฟิร์น วรรณภา เล่านาทีเจอ นุ่น เนตรชนก หรือ ดำดง ครั้งแรก หลังเกิดปมดรามาลาออกจากคณะลิเก ศรราม น้ำเพชร เผย เครียด ร้องไห้หนัก ข้าวแทบไม่กิน!
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า