bloggang.com mainmenu search


จุดที่ 1-2 เป็นกระบวนการในการอัดไอสารทำความเย็นให้มีความดันสูงขึ้นจาก Low pressure เป็น High pressure ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพของสารทำความเย็นจะเปลียนแปลงไปตามเส้นเอนโทรปีคงที่

จุดที่ 2-3 เป็นกระบวนการในการระบายความร้อนของสารทำความเย็นออก ไอสารทำความเย็น ที่มีความดันสูงและอุณหภูมิสูง จะระบายความร้อนออกที่ Condenser เมื่ออุณหภูมิของสารทำความเย็นลดลง จนกระทั่งมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิควบแน่นที่ระดับความดันนั้นๆ (สภาวะไออิ่มตัว) การระบายความร้อนต่อจากนี้ก็จะทำให้ไอสารทำความเย็นควบแน่นเป็นสารทำความเย็นเหลว ที่จุด 3 สารทำความเย็นมีสถานะเป็นของเหลวอิ่มตัว

จุดที่ 3-4 เป็นกระบวนการในการลดความดันของสารทำความเย็นเหลวลงเพื่อให้สามารถเดือดระเหยที่ระดับอุณหภูมิต่ำได้ จุด 4 สถานะของสารทำความเย็นจะมีสถานะผสมกันระหว่างก๊าซและของเหลวทั้งนี้เนื่องจากการลดความดันจะทำให้สารทำความเย็นบางส่วนเดือดระเหยกลายเป็นก๊าซ ซึ่งความร้อนที่ใช้ในการระเหยของสารทำความเย็นนี้ ก็ได้มาจากสารทำความเย็นเหลวส่วนที่เหลืออยู่ มีผลให้อุณหภูมิของสารทำความเย็นลดลง

จุดที่ 4-1 เป็นกระบวนการรับความร้อนจากบริเวณทำความเย็น สารทำความเย็นเหลวที่ได้รับความร้อนจะเดือดระเหยกลายเป็นก๊าซ จนกระทั่งถึงทางออกของ Evaporator สารทำความเย็น จะมีสภาวะเป็นจุด 1 คือมีสถานะเป็นไออิ่มตัว

Superheat และ Subcool
ในทางปฎิบัติ Compressor ที่ทำหน้าทีดูดอัดสารทำความเย็นจะถูกออกแบบมาให้ทำงานกับไอสารทำความเย็นเท่านั้น การกำหนดให้ไอสารทำความเย็นที่ออกจาก Evaporator
มีสภาพเป็นไออิ่มตัวนั้น แม้ว่าสารทำความเย็นจะมีสถานะเป็นของผสมระหว่างของเหลวและก๊าซก็ตามอุณหภูมิของสารทำความเย็นที่ถูกดูดเข้า Compressor ที่ตรวจวัดได้ก็จะมีอุณหภูมิเท่ากันกับสภาพที่สารทำความเย็นเป็นไออิ่มตัว ดังนั้นเพื่อให้การทำงานของระบบเครื่องทำความเย็นทำงานได้
แน่นอน สารทำความเย็นที่ถูกดูดเข้า Compressor มีสถานะป็นก๊าซ จึงมีการกำหนดให้สารทำความเย็นภายใน Evaporator ที่มีสถานะเป็นไออิ่มตัวรับความร้อนต่อไปอีก ซึ่งความร้อนที่เพิ่มให้แก่ไอสารทำความเย็นนี้ก็จะมีผลให้ไอสารทำความเย็นมีอุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่าอุณหภูมิระเหยช่วงของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นนี้เรียกว่า Superheat

ส่วนทางด้านสารทำความเย็นเหลวที่ไหลออกจาก Condenser การที่สารทำความเย็นมีสภาวะเป็นของเหลวอิ่มตัวนั้น ในทางปฎิบัติ Condenser จะถูกติดตั้งอยู่ห่างจาก Expansion valve โดยมีท่อส่งสารทำความเย็นต่อถึงกัน การเกิดเสียงเสียดทานภายในท่อส่งสารทำความเย็น จะมีผลให้สารทำความเย็นบางส่วนเกิดการเดือดระเหยตัวก่อนที่จะไปถึงอุปกรณ์ลดแรงดัน ซึ่งปัญหานี้ก็จะทำให้สารทำความเย็นไหลลงสู่ Evaporator ได้น้อยลงไปมากกว่าที่ได้ออกแบบไว้ จึงจำเป็นจะต้องมีการระบายความร้อนของของเหลวอิ่มตัวต่อไปอีกเพื่อให้มีอุณหภูมิลดลง ซึ่งจะทำให้การลดลงของแรงดันของสารทำความเย็นขณะที่ไหลไปยังอุปกรณ์แรงดันไม่ทำให้เกิด
สภาพของของเหลวผสมก๊าซ หรือ flash gas ช่วงของอุณหภูมิของสารทำความเย็นเหลวลดลงไปนี้เรียกว่า Subcool

ที่มาภาพ : Daikin Room Air-Condition.//[CD-ROM].//Daikin Industries,LTD.(JAPAN),2004
Create Date :15 มีนาคม 2553 Last Update :22 มีนาคม 2553 10:02:06 น. Counter : Pageviews. Comments :2