bloggang.com mainmenu search




กระทรวงวัฒนธรรมจัดกิจกรรมบูชาพระบรมสารีริกธาตุ เถลิงราชย์ นวธรรมราชา

นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ

ที่เก็บไว้ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 5 แห่ง ใน 5 ยุคสมัย

มาจัดแสดงนิทรรศการประวัติพระบรมสารีริกธาตุ

ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน - 31 ตุลาคม 2559

  

ทวารวดี

 

พ.ศ.2504 กรมศิลปากรพบในขณะขุดแต่งบูรณะโบราณสถานหมายเลข 1

พระธาตุจำนวน 7 องค์ สัณฐานคล้ายเมล็ดผักกาดและเมล็ดข้าวสารหัก

บรรจุในผอบทองคำพร้อมฝาทรงกลมมีเชิง วางซ้อนอยู่ในผอบเงินฝาทรงสูงลายดอกบัว

อยู่ในช่องกล่องหินรูปสี่เหลี่ยม เจาะเป็นช่อง 5 ช่อง คล้ายเครื่องพิธีวางศิลาฤกษ์

 

 

สุโขทัย

พ.ศ 2544  กรมศิลปากรทำการขุดแต่งบูรณะซากเจดีย์ทรงระฆัง

ส่วนบนทลายลงมาเหลือเพียงฐานสี่เหลี่ยม ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง

พบผอบบรรจุอยู่ภายในกรุใต้ฐานเป็นช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส ปากช่องกรุถูกปิดทับไว้ด้วยหิน

ผอบทำจากสำริดพร้อมฝาทรงกลมสีน้ำตาล ฝาครอบมีจุกด้านบนเป็นรูปกรวย

ภายในตลับบรรจุผอบทองคำขนาดลดหลั่นซ้อนกันอีก 2 ชั้น

ภายในตลับทองคำมีพระบรมสารรีริกธาตุ 2 องค์

 

 

ล้านนา

 ได้จากวัดร้าง ก่อนการก่อสร้างเขื่อนภูมิพลระหว่าง พ.ศ. 2502-2504

จากซ้ายเจดีย์จำลองภายในบรรจุพระธาตุ ได้จากวัดดอกคำ

ตรงกลางได้จากวัดเจดีย์สูง ด้านขวาได้จากวัดศรีโรง

 

ผอบสำริดบรรจุพระธาตุ พบที่โบราณสถานเจดีย์กุด

ต. แม่เหี๊ยะ อ. เมือง จ. เชียงใหม่ ศิลปะจีนพุทธศตวรรษที่ 21 - 22

 

 พบที่โบราณสถานเวียงกุมกาม อ.สารภี จ. เชียงใหม่

ทั้งหมดนำมาเก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่

 

อยุธยา

ผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมบุษบก พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

พระสถูปชั้นที่ 6 วัดมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา ประดิษฐานในพระโกศ

 เป็นพระสถูปแก้ววางซ้อนกัน 3 ชั้น ชั้นล่างเป็นแก้วโกเมน ชั้นกลางเป็นแก้วมรกต

ชั้นยอดเล็กเป็นทับทิม

ภายในเป็นสถูปนี้บรรจุตลับทองคำมีฝาปิด พระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ใน

น้ำมันจันทร์ สันฐานเล็กคล้ายพิมเสน เป็นรุ้งพราว ขนาด 1/3 ของเมล็ดข้าวสาร

เจดีย์ทองคำจำลอง ชิ้นส่วนทองคำ ชุดพระธาตุเจดีย์ พร้อมเครื่องสูง

ได้จากการปฏิสังขรณ์เจดีย์ศรีสุริโยทัย เมื่อปี 2533

ทั้งหมดนี้เก็บรักษาที่พิพิธภัณสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

ในห้องเครื่องทอง ซึ่งปรกติห้ามถ่ายรูปโดยเด็ดขาด

 

รัตนโกสินทร์

พระบรมสารีริกธาตุบรรจุในกรัณฑ์ทองคำลงยา(ผอบมีเชิง มีฝาครอบทรงยอด)

ประดิษฐานอยู่ในช่องเสียบก้านพระรัศมีของพระพุทธสิหิงค์

แสดงให้เห็นว่า พระพุทธรูปนั้นมีค่าควรเมือง และผู้ถวายเป็นพระมหากษัตริย์

เก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

 

 

Create Date :27 มิถุนายน 2559 Last Update :28 มิถุนายน 2559 10:54:52 น. Counter : 1891 Pageviews. Comments :6