bloggang.com mainmenu search


สิ่งของในสมัยสุโขทัยล้วนจัดแสดงอยู่ในตึกประพาสพิพิธภัณฑ์
ยกเว้นแต่ศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์
จึงถูกแยกไปจัดแสดงในบริเวณทางเข้าของพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน
ห้องที่จัดแสดง timeline ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน

มันสำคัญจนกระทั่งเป็นวัตถุ 1 ใน 9 ชิ้นที่หากใครต้องการที่จะทำจำลอง
ต้องมีการขอนุญาติจากทางราชการ โดยต้องมีขนาดไม่เท่ากับชิ้นงานจริง
นอกจากนี้คณะกรรมการ UNESCO ได้จดทะเบียนศิลาจารึกหลักที่ 1
เป็นหนึ่งในมรดกความทรงจำของโลก (Memory of the World)


ซึ่งแตกต่างจากที่เรารู้จักกันทั่วไปว่า มีแต่สถานที่เท่านั้นที่เป็นมรดกโลกได้
ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 193 รายการจาก 87 ประเทศ โดยประเทศไทยยังมีอีก 2 ชิ้น
คือเอกสารราชการสมัยปฏิรูปการปกครองช่วงรัชกาลที่ 5 กว่า 500,000 แผ่น
ปัจจุบันเก็บรักษาที่หอสมุด อาคารถาวรวัตถุ วัดมหาธาตุยุวราษฎร์รังสฤษดิ์

และชิ้นล่าสุดที่หลายคนอาจจะได้ยินข่าวก็คือ จารึกต่างๆ ในวัดโพธิ์นั่นเอง

แต่ก่อนหน้าที่ศิลาจารึกหลักที่ 1 จะได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกนั้น
มันได้ฝ่าฟันวิกฤติการณ์ที่สำคัญ นั่นก็คือ คำถามจากนักวิชาการว่า
ศิลาจารึกหลักที่ 1 นั้น เป็นสิ่งที่ทำขึ้นในสมัยสุโขทัยจริงหรือไม่
หากคำตอบนั้นคือไม่ใช่ สิ่งที่เราเคยเรียนมาทั้งหมดอาจหายไปในพริบตา


ศิลาจารึก หลักที่ 1
ปีที่จารึก พ.ศ. 1835 ผู้จารึก พ่อขุนรามคำแหง
ลักษณะ หลักสี่เหลี่ยมด้านเท่า ทรงกระโจม จำนวน 4 ด้าน 127 บรรทัด
ปีที่พบจารึก พ.ศ. 2376

สถานที่พบ เนินปราสาท ต. เมืองเก่า อ. เมือง จ. สุโขทัย
ผู้พบ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร



พ.ศ. 2376 สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎขณะทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
ได้ออกเสด็จจาริกธุดงค์ไปยังหัวเมืองเหนือ เมื่อถึงเมืองเก่าสุโขทัย
ทรงพบศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาเขมร
และพระแท่นมนังศิลาบาตร ที่เนินปราสาทเก่าสุโขทัย

ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าโบราณวัตถุเหล่านี้เป็นโบราณวัตถุที่สำคัญ
จึงโปรดเกล้าให้นำลงมาเก็บรักษาไว้ที่วัดราชาธิวาส
พ.ศ. 2479 เมื่อทรงย้ายไปประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร
จึงโปรดให้ย้ายไปไว้ที่วัดบวร พระองค์ทรงเริ่มอ่านศิลาจารึกหลักนี้

แม้ภาษาไทยจะวิวัฒนาการมาหลายร้อยปี แต่ก็น่าจะพอแกะได้บางส่วน
แต่ปัญหาก็คือวิธีการของพ่อขุนรามคำแหงนั้นเขียนอักษรบนบรรทัดเดียวกัน
ครั้นเสด็จเสวยราชย์แล้วโปรดเกล้าให้ย้ายจารึกไปไว้ที่วัดพระแก้ว
ตรงศาลาราย ข้างด้านเหนือพระอุโบสถ หลังที่สองนับจากตะวันตก

หลังจากนั้นพระองค์ไม่มีเวลาที่จะถอดข้อความได้ทั้งหมด
แต่ทรงโปรดเกล้าให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
เป็นแม่กองคณะนักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันคัดตัวอักษรลงแผ่นกระดาษ

พ.ศ. 2398 ทรงพระราชทานสำเนาแก่ Sir John Bowring เอกอัครราชทูตอังกฤษ
และได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือ The Kingdom and People of Siam
และสำเนาให้แก่ราชฑูตฝรั่งเศสอีกชุดหนึ่งด้วย

จุดนี้เองที่เป็นการเริ่มข้อสงสัยถึงความจริงแท้ของหลักศิลาจารึกหลักนี้
เมื่อนักวิชาการรุ่นหลังมองว่า มันถูกใช้เพื่อสร้างหลักฐานทางการเมือง
เป็นความพยายามที่จะแสดงความศิวิไลซ์ให้ชาวตะวันตกเห็นว่า
สยามมีอารยะธรรมสืบย้อนไปได้ถึงกว่า 600 ปี
Create Date :25 กันยายน 2558 Last Update :1 ตุลาคม 2558 16:18:41 น. Counter : 9486 Pageviews. Comments :5