bloggang.com mainmenu search



รูปแบบสถูปในครั้งนั้นอาจเป็นเพียงพูนดินที่ก่อคันกั้นล้อมรอบ
อาจปักร่มหรือฉัตรไว้เป็นเครื่องหมายเกียรติยศเพียงเท่านั้น
หนังสืออรรถกถามหาปรินิพพานสูตรได้เพิ่มเหตุการณ์ต่อว่า

เมื่อเวลาผ่านไป พระมหากัสสปะเกรงว่าพระธาตุอาจจะสูญหาย
จึงทูลต่อพระเจ้าอชาติศัตรูขอให้ทรงทำการวบรวมพระธาตุทั้งหมด
มาเก็บไว้ที่กรุงราชคฤห์เพียงแห่งเดียว พระเจ้าอชาตศัตรูเห็นด้วย
จึงได้ไปนำพระสารีริกธาตุทั้งหมด เว้นแต่ที่นครรามคามกลับมา

แล้วสร้างสถูปเป็นการลับ โดยการขุดลึกลงกว่า 80 ศอก
แล้วปูพื้นเด้วยแผ่นทองแดง อัญเชิญพระสารีริกธาตุลงในกล่องจันทร์เหลือง
จากนั้นเป็นกล่องจันทร์แดง งา แก้ว ทอง เงิน แก้วมณี ซ้อนกัน 8 ชั้น
เป็นที่มาของคติการบรรจุพระบรมธาตุในผอบซ้อนชั้นในประเทศไทย

หลังจากนั้นคือเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในยุคปัจจุบันที่ได้บันทึกไว้ว่า




หลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน 200 ปี พระเจ้าอโศกได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
จากสถูปของพระเจ้าอชาตศัตรู ทางทิศตะวันออกของเมืองเวฬุวันแบ่งไปบรรจุไว้
ในพระสถูปเจดีย์ที่พระองค์สร้างไว้ทั่วพระราชอาณาจักรจำนวน 84,000 องค์
ตั้งแต่เมืองตักกสิลา เหนือสุดของอินเดีย ลงไปจนถึงแคว้นมลกูฏทางใต้สุด


สถูปสร้างด้วยอิฐทำเป็นรูปทรงบาตรคว่ำบนยอดมีที่นั่งเป็นบัลลังก์
แล้วสร้างฉัตรปักไว้หลังบัลลังก์อีกที นี่คือต้นแบบที่จะเป็นเจดีย์ยุคต่อไป
และนั่นคือเรื่องราวที่บันทึกเกี่ยวกับบูชาพระบรมสารีริกธาตุในอินเดีย
ก่อนที่พุทธศาสนาจะค่อยๆ เสื่อมสลายหายไปในที่สุด

แต่มีเรื่องราวที่สำคัญต่อชาวพุทธเรื่องหนึ่งนั่นก็คือพระเขี้ยวแก้ว
แน่นอนว่าลังกาก็ได้รับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศก
และมีพระมหากษัตริย์ที่นับถือพุทธศาสนาสืบต่อกันมาแทบจะตลอด
รวมถึงการบันทึกพระไตรปิฎกซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในนิกายเถรวาท

เพราะหลังจากสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชไปแล้ว
นิกายเถรวาทก็เสื่อมถอย กลายเป็นมหายานที่วิวัฒนาการมาเพื่อต่อสู่กับศาสนาฮินดู
ดังนั้นคนไทยสมัยก่อนจึงถือว่า ลังกาคือต้นธารของพุทธศาสนาอันบริสุทธิ์



พวกเขาได้สร้างตำนานว่า เมื่อถวายพระเพลิงพุทธสรีระแล้ว พระเขมเถระ
ได้นำพระธาตุองค์หนึ่งจากเชิงตะกอนไปถวายพระเจ้าพรหมทัตแห่งกาลิงคะ
พระองค์ได้สร้างวิหารหุ้มด้วยทองคำเพื่อประดิษฐานต่อมาเป็นเวลาหลายชั่วคน

ถึงสมัยพระเจ้าคูหาสิวะมีกองทัพมารุกราน พระองค์สั่งพระราชบุตรเขย
ทนตกุมารว่า หากพระองค์พ่ายแพ้ให้อัญเชิญพระเขี้ยวแก้วไปเมืองสิงหล
ครั้งพระเจ้าคูหาสิวะสิ้นพระชนม์ในสนามรบ ทนตกุมารพร้อมพระธิดาจึงลงเรือ
พร้อมนำพระเขี้ยวแก้วไปถึงเกาะลังกา แล้วถวายแด่พระเจ้ากฤตศิริเมฆวัณณะ

พระเจ้ากฤตศิริเมฆวัณณะได้สร้างสถูปบูชาถือว่าเป็นของศักดิสิทธิ์ของเมือง
มีการเคลื่อนย้ายหลายครั้งเพื่อนำพระเขี้ยวแก้วอันเป็นของศักดิ์สิทธิ์ให้พ้นภัยสงคราม
จนกระทั่ง พ.ศ. 2043 พระทันตธาตุองค์แรกนี้ ได้หายสาบสูญไปอย่างสิ้นเชิง
โปรตุเกสเห็นว่าชาวศรีลังกาไม่ยอมเข้ารีตด้วยด้วยมีพระเขี้ยวแก้วเป็นศูนย์รวมจิตใจ


พ.ศ. 2103 โปรตุเกสพบที่เมืองแจฟนาจึงนำไปยังเมืองคัว ซึ่งเป็นอาณานิคม
ของโปรตุเกสในประเทศอินเดียด้านตะวันตก มอบให้ผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสประจำอินเดีย
จากนั้นสังฆราชโปรตุเกส ได้เผาทำลายต่อหน้าผู้สำเร็จราชการและขุนนางจำนวนมาก

แต่พระเจ้าวิมลธรรมสุริยะแห่งกรุงแคนดีบอกว่า
พระเขี้ยวแก้วของจริงอยู่ที่ตน ที่พวกบาทหลวงทำลายเป็นของปลอม
ซึ่งปัจจุบันคือพระเขี้ยวแก้วองค์เดียวกับที่มีประเพณีอย่างยิ่งใหญ่ทุกปีในปัจจุบันนี่เอง




แต่พม่าเองก็อ้างว่าของจริงนั่นอยู่ที่ตน เพราะในช่วงเวลานั้นพระเจ้าบุเรงนอง
ได้ส่งทูตมาสู่ขอเจ้าหญิงลังกามาเป็นมเหสี พวกทูตเห็นพระทันตธาตุหุ้มด้วยทองคำ
บรรจุในพระเจดีย์ประดับพลอย ก็อ้อนวอนขอดู อำมาตย์ก็ไม่ค่อยจะยอมนัก
แต่เสียอ้อนวอนไม่ได้ก็พาไปดูในเวลากลางคืนทูตพม่าเห็นเข้าเลื่อมใสนัก

รีบสวดมนต์เป็นการใหญ่แล้วเจรจาขอแลกด้วยทองคำสิบหมื่น
อำมาตย์จึงยอมตกลง ทูตพม่าจึงอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วแห่แหนมาทางทะเล
ครั้นถึงท่าเมืองหงสาวดี ก็เชิญพระเขี้ยวแก้วใส่มณฑปผูกแพล่องขึ้นมาตามลำน้ำ
สองฝั่งแม่น้ำมีเสียงร้องสาธุการของพม่ารามัญ

พระเจ้าบุเรงนองเองรีบเข้าที่สรงประพรมด้วยน้ำหอมแล้วแต่งพระองค์ใหม่
เสด็จลงมากราบและเชิญพระธาตุ แล้วอัญเชิญมณฑปพระทันตธาตุทูนใส่พระเศียร
เสด็จดำเนินไปในกระบวนแห่สู่พระราชวัง โปรดให้สมโภชถึงสองเดือน
แล้วสร้างพระวิหารประดิษฐานพระทันตธาตุบูชาไว้ในพระราชฐาน

และนั่นคือเรื่องราวแห่งความเชื่อในเรื่องพระเขี้ยวแก้ว ซึ่งดูจะสำคัญกว่า
พระบรมสารีริกธาตุแบบกระจัดกระจายในแบบของบ้านเรา แต่มีที่สุดกว่านี้
เพราะชาวมอญอ้างเรื่องนี้ได้เก่ากว่าเรื่องทุกประเทศชาวพุทธทั้งหมดรวมกัน
โดยอิงในพุทธประวัติว่ามีพ่อค้าได้พระเกศาจากการถวายข้าวมื้อแรกหลังตรัสรู้

ตปุสสะและภัลลิกะที่เป็นพ่อค้า จริงๆ แล้วคือชาวมอญนั่นเอง
และเจดีย์ชเวดากองคือเจดีย์หลังแรกที่สร้างด้วยพระพระเกศาธาตุ
เรียกได้ว่าเก่าร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า เก่ากว่าใครในทุกประเทศ
และอาจอ้างอิงได้ว่าชาวมอญเป็นพุทธบริษัทกลุ่มแรกสุด




บทสุดท้ายพระปฐมสมโพธิกถาเรื่อง อันตรธานแห่งพระบรมสารรีกริกธาตุ
ธาตุอันตรธานหรือการนิพพานแห่งพระบรมสารีริก
โดยเหตุการณ์จะเริ่มเป็น 5 ขั้นตามลำดับ คือ

ปริยัติอันตรธาน คือการเสื่อมสูญแห่งคัมภีร์
ปฏิบัติอันตรฐาน คือการเสื่อมสูญแห่งพระธรรม
ปฏิเวธอันตรธาน คือการเสื่อมสูญแห่งการบรรลุมรรคผล
ลิงคอันตรธาน คือการเสื่อมสูญจากผู้ดำรงสมณเพศ
ธาตุอันตรธาน คือการเสื่อมสูญแห่งพระบรมสารีริกธาตุ

เมื่อไม่มีผู้สักการบูชา ธาตุแห่งพระบรมศาสดาที่ประดิษฐานอยู่ในที่ต่าง ๆ ก็จะเสด็จไปยังถิ่นประเทศที่ยังมีคนเคารพสักการบูชา
จนกระทั่งทั่วทุกถิ่นประเทศหาผู้สักการบูชาไม่มีเลย

พระบรมธาตุทั้งหลายจากโลกมนุษย์ เทวโลกและนาคพิภพ
จะเสด็จมาสู่ต้นพระศรีมหาโพธิ์สถานที่ตรัสรู้ทั้งหมด
แล้วรวมกันเป็นรูปของพระพุทธองค์ ทรงประดิษฐ์สถาน ณ โคนต้นศรีมหาโพธิ์นั้น
ประหนึ่งว่าพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ จะทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ในที่นั้น
แต่ในครั้งนี้มนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายจะไม่มีผู้ใดได้เห็นพระองค์เลย

ฝ่ายเทพยดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาล จะพากันมาประชุม ณ ที่นั้น
ต่างก็กรรแสงโศกาอาดูรเหมือนเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ปรินิพพานที่เมืองกุสินารา
เตโชธาตุก็เกิดขึ้นที่พระสรีรธาตุเผาผลาญพระบรมธาตุจนหมดสิ้นหาเศษมิได้
อายุกาลแห่งพระพุทธศาสนาก็สิ้นสุดลงในบัดนั้น
เหล่าเทพยดาพากันทำสักการบูชาแล้ว
ทำประทักษิณสิ้น 3 รอบเสร็จสิ้นต่างก็พากันกลับสู่วิมานของตน ๆ ในเทวโลก
จะเกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เช่นเดียวกับวันตรัสรู้ และปรินิพพาน
Create Date :07 กรกฎาคม 2559 Last Update :8 กรกฎาคม 2559 9:16:53 น. Counter : 2015 Pageviews. Comments :6