30 ก.ค. 2022 เวลา 06:17 • ประวัติศาสตร์
ศิลาจารึก คืออะไร ?
ศิลาจารึก วรรณกรรมชนิดลายลักษณ์อักษรอย่างหนึ่ง อาศัยการบันทึกบนเนื้อศิลา ทั้งชนิดเป็นแผ่น และเป็นแท่ง โดยใช้โลหะแหลมขูดเนื้อศิลาให้เป็นตัวอักษร เรียกว่า จาร หรือ การจารึก
ศิลาจารึก คืออะไร ?
ศิลาจารึกมีคุณค่าในเชิงบันทึกทางประวัติศาสตร์
ผู้จารึกหรือผู้สั่งให้มีศิลาจารึกมักจะเป็นผู้มีอำนาจ มิใช่บุคคลทั่วไป
เนื้อหาที่จารึกมีความหลากหลายตามความประสงค์ของผู้จารึก เช่น บันทึกเหตุการณ์ บันทึกเรื่องราวในศาสนา บันทึกตำรับตำราการแพทย์และวรรณคดีเป็นต้น
จารึกบนแท่งศิลานั้นมีความคงทนและ คงสภาพอยู่ได้นับพัน ๆ ปี
ด้วยเหตุนี้ นักประวัติศาสตร์และนักภาษาศาสตร์จึงสามารถสืบสานความรู้ย้อนไปได้นับพัน ๆ ปี โดยเฉพาะความรู้ด้านอักษรและภาษา ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา
#สาระจี๊ดจี๊ด
ในสมัยโบราณบริเวณอันเป็นที่ตั้งประเทศไทยปัจจุบัน เป็นดินแดนที่มีกลุ่มชนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ จารึกที่คนพื้นเมืองทำขึ้น ในสมัยหลังต่อมา จึงเป็นจารึกที่ใช้รูปอักษรอันเปลี่ยนแปลงมาจากรูปอักษรปัลลวะ ซึ่งนำมาจากประเทศอินเดีย ได้แก่ กลุ่มจารึก ที่ใช้อักษรมอญโบราณ และอักษรขอมโบราณ
ศิลาจารึกเก่าที่สุดพบในประเทศไทย
เท่าที่มีหลักฐานทางศักราชปรากฏอยู่ด้วยคือ "จารึกเขาน้อย" พบที่เขาน้อย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 1180
ศิลาจารึกชิ้นนี้เป็นหลักฐานเอกสารโบราณ ที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมทางด้านการใช้รูปอักษร ที่ปรากฏบนผืนแผ่นดินไทยครั้งแรก
และเป็นยุคเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์ ของไทยด้วย นับว่าเป็นช่วงเวลาที่สอดคล้องตรงกัน กับหลักฐานทางด้านศิลปกรรมในประเทศไทย ซึ่งร่วมสมัยกับพุทธศิลปะ สมัยทวารวดี ศิลปกรรมสมัยแรกของประเทศไทย
ลักษณะของวัตถุจารึก แบ่งวิธีการจารึกออกเป็น ๓ แบบ ดังนี้
1. จารึกด้วยเหล็กสกัด
การจารึกแบบนี้จะทำบนแผ่นหรือแท่งหินเนื้อแข็ง เช่น หินดินดาน หรือหินทราย เมื่อตัดหินได้รูปทรงตามที่ต้องการแล้ว ก็จะขัดผิวหน้าด้านที่จะจารึกจนเรียบ แล้วลงมือจารึกสิ่งที่ต้องการสื่อความหมาย โดยการสลักให้เป็นรูปรอย หรือลายลักษณ์อักษรลงไป ด้วยเหล็กที่มีปลายแบนและคม
เรียกว่า เหล็กสกัด เช่นที่ปรากฏในศิลาจารึก
2. จารึกด้วยเหล็กจาร
การจารึกแบบนี้จะใช้วัตถุอื่นที่ไม่ใช่หิน เช่น อาจจะเป็นไม้ หรือโลหะชนิดต่าง ๆ เนื้อวัตถุไม่แข็งมากอย่างหิน และบางกว่า เครื่องมือที่ใช้จารึกจะเป็นเหล็กแท่งกลมปลายแหลมคม เรียกว่า เหล็กจาร
3. จารึกด้วยวิธีอื่น ๆ
เอกสารที่บันทึกลายลักษณ์อักษรบนแผ่นไม้ และแผ่นโลหะเหล่านี้ บางครั้งพบว่า มิได้จารึกด้วยเหล็กจาร แต่ใช้วิธีเขียนหรือชุบด้วยสีหรือหมึก ด้วยการใช้พู่กัน หรือปากกาจุ่มสีหรือหมึกเขียนตัวอักษร เอกสารดังกล่าวนี้เรียกว่า จารึกเช่นเดียวกัน ดังปรากฏบนฝาผนังพระอุโบสถ ตู้ลายรดน้ำ หรือเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
โฆษณา