18 ก.ค. 2022 เวลา 10:19 • อาหาร
“คุณชอบกิน 'ไอติม’ หรือ ‘ไอศกรีม’ มากกว่ากัน?”
ว่าแต่…
'ไอติม' ต่างจาก 'ไอศกรีม' ตรงไหน?
แค่เขียนไม่เหมือนกัน?
มาจากคนละรากภาษากัน?
หรือ วัตถุดิบต่างกัน?
ไอติมจากน้ำผลไม้ —- มะเขือเทศ มะพร้าว และเสาวรส
ที่แน่ ๆ หากเขียน ‘ไอติม’ ราชบัณฑิตจะชี้นิ้วบอกว่าผิด ต้องเขียนว่า ‘ไอศกรีม’ ทั้งที่เวลาพูดก็ไม่ค่อยมีใครออกเสียง ก ไก่ หรือแม้แต่ ค ควายกันเลย แต่เอาจริงคำนี้มาจากภาษาอังกฤษว่า Cream พอมี ‘Ice’ นำหน้า เขาบอกให้เขียน ‘กรีม’ แต่พอไม่มี ‘Ice’ นำแบบ Cream ที่ใช้ทาผิวเขาก็บอกให้เขียนว่า ‘ครีม’
1
ประเด็นชวนมึนนี้ ขยี้ประเด็นโดยนักวิชาการซึ่งเว็บไซต์สำนักงานราชบัณฑิตยสภานำมาแปะไว้ให้อ่านอย่างน่ามึนงงยิ่งกว่าเก่า
...คนส่วนใหญ่มักจะเรียกขานของหวานชนิดนี้กันว่า ไอติม สำหรับผู้ที่ทราบว่าคำนี้มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษในคำว่า ice- cream ก็อาจมีผู้ที่เรียกทับศัพท์กันไปบ้าง แต่ส่วนใหญ่คนก็ยังนิยมเรียกว่า ไอติม กันอยู่ดี ซึ่งจะเรียกอย่างไรก็คงไม่ผิด แต่เขียนอย่างไรจึงจะถูกต้อง ทั้งที่พวกเรารู้จักและชื่นชอบของหวานเย็นรสอร่อยนี้กันมาช้านาน แต่ก็มักจะสะกดชื่อของหวานชนิดนี้กันหลากหลาย เช่น ไอศกรีม ไอศครีม ไอสกรีม ไอสครีม ไอซครีม...
รัตติกาล ศรีอำไพ (2551)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามความหมายของ 'ไอศกรีม' ว่า เป็นคำนาม หมายถึง ของกินที่ทำด้วยน้ำหวาน กะทิ หรือนม เป็นต้น ทำให้ข้นด้วยความเย็น
1
'ไอศกรีม' เป็นคำทับศัพท์ แต่ก็ไม่ได้เขียนตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตฯ น่าจะเป็นเพราะ ‘ไอศกรีม’ เขียนกันมาแบบนี้มาตั้งแต่เมื่อตอนที่คนไทยเพิ่งจะรู้จักมันก็เมื่อตอนต้นรัชกาลที่ 5 จึงถือได้ว่าคำนี้เป็นคำยืมภาษาต่างประเทศกระทั่งมันได้กลายเป็นคำไทยไปแล้ว
1
เท่ากับว่า จากสิ่งที่มันไม่ถูก ได้รับการสถาปนาให้เป็นสิ่งที่ถูกต้องไปแล้ว สุดท้าย นักวิชาการก็บอกกับเราว่า ถ้าภาษาพูดจะเรียก ไอติม ก็ไม่ว่ากัน แต่ภาษาเขียนก็ต้องเขียนให้ถูกต้องซึ่งมันไม่ถูกต้อง (ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตฯ) ตามพจนานุกรมฯ ว่า 'ไอศกรีม'
1
ประวัติศาสตร์ "ไอศกรีม"
เมื่อย้อนกลับไปดูวัฒนธรรมต้นทางก็พบว่า "ไอศกรีม" มีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่ 200 ปี ก่อนคริสต์กาล เอกสารจีนบันทึกว่า กษัตริย์แห่งราชวงศ์ถังโปรดนมควายมาก มีคนงานทำหน้าที่รีดนมควายมากถึง 94 คน มีการนำนมควายแช่ในหิมะเพื่อให้เก็บรักษาได้นาน ครั้งหนึ่งคนงานพบว่าส่วนผสมของนมควายและแป้งที่แช่อยู่ในหิมะข้นแข็ง มีรสอร่อยขึ้น มันจึงกลายเป็นอาหารชนิดใหม่แต่นั้นมา
นอกจากนี้ ยังปรากฏหลักฐานอยู่ในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลว่า กษัตริย์กรีกองค์สำคัญ คือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) ได้ทดลองเสวยหิมะใส่น้ำหวานหรือน้ำผึ้ง เดาว่าคงจะเป็นการริเริ่มที่ยิ่งใหญ่ จนถึงกับมีผู้บันทึกไว้ในไบเบิ้ล
หนึ่งพันปีต่อมา "มาร์โคโปโล" พ่อครัวจากอิตาลีที่โลกรู้จักในนามนักเดินทางผู้เชื่อมโลกตะวันตกกับตะวันออก ได้นำสูตรอาหารหวานที่พบในจีนซึ่งมีลักษณะแปลกจากตะวันออกไปสู่ตะวันตก และมันถูกเรียกว่า เชอร์เบท (Sherbet) ที่เชื่อกันว่าเป็นต้นตำรับของไอศกรีมในปัจจุบัน
ส่วนผสมของไอศกรีม
1
ไอศกรีมแบบที่มีส่วนผสมของผลไม้ น้ำตาล นม ครีม ไข่ขาว เจลาติน และเนย เพื่อทำให้เนื้อไอศกรีมมีความเหนียวและเนียนละเอียดนี้เรียกว่า เชอร์เบท (Sherbet) รสชาติออกเปรี้ยวหวาน กลมกล่อม มีความเข้มข้นกว่าซอร์เบท (Sorbet)
ส่วนผสมของไอติม
สิ่งที่เรียกว่า ซอร์เบท (Sorbet) มีส่วนผสมหลักเพียง 2 อย่าง คือ น้ำผลไม้ และน้ำตาล และอาจมีกรดหรือส่วนผสมอื่นอีกเล็กน้อย แต่จะไม่มีนมหรือไขมัน สรุปง่าย ๆ ซอร์เบท ก็คือน้ำผลไม้แช่แข็ง ซึ่งดูจะตรงกับสิ่งที่เรียกว่า "ไอติม" หรือ "ป็อปไซเคิล" (Popsicle)
และ "ไอติม" ก็มีประวัติศาสตร์เป็นของตัวเอง
1
In 1905, eleven-year-old Frank Epperson left a cup filled with powdered soda, water, and a stirring stick on his San Francisco porch. That night, low temperatures caused the mixture to freeze…
Country Living Staff , May 20, 2010
"ไอติม" ที่เรากำลังพูดถึง จึงน่าจะเป็น "Popsicle" ไม่ใช่ "ไอศกรีม" (Ice Cream) ที่ยังเถียงกันไม่จบว่า Cream ควรจะเขียนด้วย ก ไก่ ต่อไปหรือใช้ ค ควาย แบบครีมทาผิวจะดีกว่ากัน
  • ปี 1905 เอพเพอร์สัน (Frank Epperson) เด็กชายวัย 11 ขวบ ชาวซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ค้นพบนวัตกรรมขนมหวานโดยบังเอิญ เขาผสมน้ำผลไม้วางทิ้งค้างคืนไว้นอกบ้าน บังเอิญเป็นคืนในฤดูหนาว เช้าวันรุ่งขึ้นส่วนผสมนั้นจับตัวเป็นน้ำแข็ง เขาเลียกินอย่างเอร็ดอร่อย และตั้งชื่อให้มันว่า Epsicle แท่งน้ำแข็งรสหวานของ 'เอพ' และเริ่มทำขายแถวละแวกบ้าน
  • ปี 1923 เอพเพอร์สัน ขยายกิจการ Epsicles แท่งน้ำแข็งรสหวานในชื่อ Ice Pop ของเขาออกไปยังพื้นที่ใกล้เคียง และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง
  • ปี 1924 เอพเพอร์สัน ยื่นจดสิทธิบัตร "ขนมแช่แข็งที่มีลักษณะน่าดึงดูด สามารถบริโภคได้สะดวกโดยไม่เกิดการปนเปื้อนโดยการสัมผัสกับมือ และไม่ต้องใช้จาน ช้อน ส้อม หรืออุปกรณ์อื่นใด"
  • ต่อมา ลูก ๆ ของ เอพเพอร์สัน ได้เสนอให้เขาเปลี่ยนชื่อ Ice Pop เป็น 'Popsicle' (ไซเคิลของป็อป)
  • ปี 1925 เอพเพอร์สัน ได้ขายลิขสิทธิ์ 'Popsicle' ของเขาให้กับบริษัท Joe Lowe Co.
2
  • The Lowe Co. เปิดตัว Popsicle รุ่นสองแท่งคู่ พร้อมกับคู่แข่งขันหน้าใหม่ที่ไม่น่าวางใจ คือ Good Humor ผู้ผลิตไอศกรีมเคลือบช็อกโกแลต ซึ่งมีส่วนผสมสำคัญ คือ นม และเมื่อ The Lowe Co. นำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ชื่อ "Milk Popsicle" ออกสู่ตลาดก็ได้เกิดข้อขัดแย้งและคดีไปสู่ชั้นศาล
1
  • การฟ้องร้องกันหลายครั้งอยู่บนข้อถกเถียงที่ว่าด้วยคำจำกัดความของเชอร์เบท (Sherbet) ซอร์เบท (Sorbet) ป็อปไซเคิล (Popsicle) และไอศกรีม (Ice Cream)
  • ปี 1989 บริษัท ยูนิลิเวอร์ ได้ก่อตั้งแบรนด์ Popsicle พร้อมกับการซื้อลิขสิทธิ์ Ice Cream จาก Good Humor เพื่อยุติความบาดหมางระหว่างสองคู่แข่งอันเยือกเย็น
  • ปี 2010 บริษัท ยูนิลิเวอร์ ดำเนินการฟ้องร้อง People's Pops ผู้ผลิต Ice Pop หน้าใหม่ในบรูคลิน เพื่อให้ชื่อ Popsicle มีเพียงหนึ่งเดียว
2
สรุปได้หรือไม่ว่า Ice Cream เป็นผลจากการที่ Good Humor พยายามฉีกจาก Ice Pop ของ Popsicle ด้วยการใส่ Cream แต่ Ice Pop ก็พบช่องทางเก็บตลาดเพิ่มโดยการเติม Milk และ Cream เป็น Milk Popsicle ไอติมน้ำผลไม้ที่มี Cream แต่ Good Humor ไม่ยอม ที่สุดกิจการของทั้งคู่ก็ถูกยูนิลิเวอร์ Takeover และตอนนี้ Unilever กำลังไล่ฟ้อง Ice Pop หน้าใหม่ ๆ เพื่อขอเป็นหนึ่งแห่ง Popsicle ต่อไปอีกสักพัก...
…พอก่อนนนนนน แอดมินขอไปอร่อยกับ ‘ไอติม’ ซอร์เบทผลไม้เปรี้ยว ๆ หวาน ๆ ต่อดีกว่า
1
เอกสารอ้างอิง
BBC. (2022). The origin of ice cream.
Retrieved July 10, 2022, From: http://
guides/tech/ice-cream/
newsid_3634000/3634978.stm7
Elizabeth Yuko. (2022). The History of Ice
Cream, One of the World’s Oldest
Desserts. Retrieved July 10, 2022,
invented-ice-cream/
Shelby Pope. (2015). How An 11-Year-Old
Boy Invented The Popsicle. Retrieved
July 10, 2022, From: https://
2015/07/22/425294957/how-an-11-
year-old-boy-invented-the-popsicle/
โฆษณา